realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (246)
 (322)
 (427)
 (32)
 (14)
 (4)
 (19)
 (225)
 (55)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (56)
 (9)
 (34)
 (28)
 (9)
 (9)
 (189)
 (89)
 (115)
 (111)
 (43)
 (17)
 (50)
 (25)
 (41)
 (19)
 (20)
 (13)
 (39)
 (14)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (246)
 (322)
 (427)
 (32)
 (14)
 (4)
 (19)
 (225)
 (55)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (56)
 (9)
 (34)
 (28)
 (9)
 (9)
 (189)
 (89)
 (115)
 (111)
 (43)
 (17)
 (50)
 (25)
 (41)
 (19)
 (20)
 (13)
 (39)
 (14)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

กระเบื้อง

10 May 2010

กระเบื้อง

10 May 2010
 

รู้จักวัสดุกระเบื้อง

กระเบื้อง อีกหนึ่งวัสดุปิดผิวที่เป็นที่นิยมตลอดกาล เพราะวัสดุชนิดนี้ถูกใช้ในหลากหลายบริบท โดยหลักๆ กระเบื้องจะมีลักษณะเป็นแผ่นทำด้วยดินเผา ซีเมนต์อัด หรือวัสดุอื่นๆ ใช้มุงหลังคา ปูพื้น กรุผนัง หรือประดับตกแต่งอาคาร ซึ่งกระเบื้องแต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการผลิต ทำให้วัสดุกระเบื้องมีคุณสมบัติที่ดีมากยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อนำมาใช้กับอาคารก็ทำให้อาคารแห่งนั้นมีความโดดเด่นสวยงามขึ้นมา แต่โดยรวมแล้วก็คงจะขึ้นอยู่กับงบประมาณและประเภทของอาคารนั้นๆ ที่จำเป็นต้องเลือกใช้งานกระเบื้องให้เหมาะสม เพื่อให้วัสดุช่วยส่งเสริมอาคารให้โดดเด่นและน่าใช้สอยยิ่งขึ้น
ในบทความนี้ ทาง Realist อยากจะพาผู้อ่านไปสำรวจเกี่ยวกับวัสดุกระเบื้องกัน เพื่อเริ่มทำความเข้าใจกับภาพรวมของวัสดุประเภทนี้ตั้งแต่การผลิต ไปจนถึง การแยกประเภทของมัน ซึ่งในตอนนี้กระเบื้องแต่ละประเภทนั้นได้มีชื่อเรียกมากมายตามแต่ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายแต่ละเจ้าจะใช้เรียก และนิยามมันขึ้นมา แต่แท้จริงแล้วกระเบื้องเหล่านั้นก็มีจุดร่วมบางอย่างคาบเกี่ยวกันอยู่ ซึ่งอาจมาจากการเติมแต่งสารตั้งต้นและอุณหภูมิการเผา ในบทความนี้เราจึงช่วยจำแนกประเภทและจัดหมวดหมู่ให้กับมันตามคุณสมบัติและวัสดุที่ใช้ซึ่งมีร่วมกัน เพื่อให้ผู้อ่านได้ใช้เป็นตัวช่วยในการพิจารณาเลือกซื้อกระเบื้องให้เหมาะสมกับความต้องการและการใช้งานมากยิ่งขึ้นครับ
.

ก่อนจะมาเป็นกระเบื้อง

หากกล่าวสั้นๆ กระเบื้องนั้นก็คือ วัสดุที่มีส่วนประกอบของ ดิน หิน และ แร่ต่างๆ ผ่านกระบวนการแปรรูปด้วยการเผาในอุณหภูมิสูง โดยในเรื่องอุณหภูมินี้เองที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คุณสมบัติของวัสดุชนิดนี้ มีความแตกต่างกันออกไป
ขั้นแรกคือการเริ่มต้นเตรียมวัสดุ ซึ่งหลักๆคือ ดิน โดยการนำมาผ่านกระบวนการล้าง แยกและกรองส่วนที่ไม่ใช้ออก แล้วจึงนำมาผสมน้ำ และสารตั้งต้นต่างๆ ก่อนที่จะนำไปบดอัดและขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์ สุดท้ายคือการนำไปเผาด้วยอุณหภูมิสูง ส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มต้นที่ประมาณ 900 องศาเป็นขั้นต่ำ ซึ่งเป็นการทำกระเบื้องดินเผา หากเป็นเซรามิกจะใช้ที่ 1,250  องศาขึ้นไป

ส่วนประกอบหลัก

แปรรูป

.

ประเภทของกระเบื้อง

แบ่งตามลักษณะทางกายภาพและลวดลาย

Natural

กระเบื้องลายไม้ - ที่เห็นโดยหลักๆทั่วไป จะเป็นแบบกระเบื้องยางลายไม้ หรือกระเบื้อง Vinyl กับกระเบื้องเซรามิกปั๊มลาย
กระเบื้องลายหิน - ส่วนใหญ่จะเป็นกระเบื้องแบบเนื้อพอร์ซเลน ที่มีส่วนประกอบของหิน ที่นิยมใช้คือ กระเบื้องแกรนิต และกระเบื้องลายหินอ่อน

Graphic / Pattern

ส่วนใหญ่จะเป็นกระเบื้องเซรามิก ประเภทกระเบื้องเคลือบ

Plain / Color

ส่วนใหญ่จะเป็นกระเบื้องดินเผา และกระเบื้องเคลือบ

.

แบ่งตามวัสดุที่ใช้ทำและอุณหภูมิในการเผา

เราสามารถจำแนกและแยกประเภทของกระเบื้องได้ตามวัสดุที่ใช้ทำและอุณหภูมิในการเผา โดยสามารถแบ่งเป็นข้อใหญ่ได้ 2 ประเภทหลักๆคือ กระเบื้องดินเผา และกระเบื้องเซรามิก โดยกระเบื้องดินเผาจะเป็นดินที่มีสีของอิฐ แต่ก่อนจะเผาด้วยอุณหภูมิที่สูงไม่เกิน 1,000 องศา ทำให้ตัวกระเบื้องมีรูพรุนค่อนข้างมาก และดูดซึมน้ำเยอะ ทำให้ไม่เหมาะแก่การใช้ในพื้นที่เปียก และน้ำขัง แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ดีขึ้น กระเบื้องดินเผาก็ถูกพัฒนาให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับเซรามิกซึ่งมีความทนทานกว่า อีกประเภทคือเซรามิกนั้น ถ้าพูดให้เห็นภาพชัดๆ ก็คือการใช้ดินที่มีสีขาวมาเป็นส่วนประกอบหลัก
โดยกระเบื้องเซรามิกจะถูกแยกออกมาอีก เป็นกระเบื้องเซรามิกแบบเคลือบผิวหน้า หรือที่เรียกกันว่ากระเบื้องเคลือบ กับกระเบื้องเซรามิกเนื้อพอร์ซเลน โดยเซรามิกเนื้อพอร์ซเลนนั้นปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากมีความทนทานกว่ากระเบื้องชนิดอื่นๆ อีกทั้งมีอัตราการดูดซึมน้ำที่ต่ำทำให้สามารถติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร โดยทั่วไปคนจะเรียกรวมๆว่า กระเบื้องพอร์ซเลน แต่เราสามารถแบ่งกระเบื้องชนิดนี้ออกได้อีกเป็นสามประเภทย่อยๆ คือ กระเบื้องเกลซพอร์ตเลน, กระเบื้องโมเสค และกระเบื้องแกรนิตโต้ หรือ ที่นิยมเรียกกันอีกชื่อว่า Homogeneous Tiles

1.กระเบื้องดินเผา

กระเบื้องดินเผา เป็นกระเบื้องที่มีผลิตขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณและยังคงมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน สามารถใช้ได้ทั้งมุงหลังคา กรุผนังและปูพื้น ซึ่งข้อดีของกระเบื้องดินเผาคือให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ เย็นสบาย ถ้านำไปปูพื้นหรือผนังอาคารใดๆ ก็จะช่วยให้อาคารนั้นดูกลมกลืนกับบริบทมากยิ่งขึ้น ส่วนข้อเสียคือ กระเบื้องชนิดนี้มีอัตราการดูดซึมน้ำที่สูง (ประมาณ 15 - 22%)
เนื่องจากใช้วิธีการเผาและเคลือบที่แตกต่างไปจากกระเบื้องเซรามิก ทำให้มีรูพรุนมาก ดูดซึมสิ่งสกปรกเข้ามาได้ง่ายและทำความสะอาดยาก อีกทั้งยังใช้ได้เพียงกับพื้นที่ที่ไม่ต้องการความแข็งแรงมากนัก โดยรวมแล้วตัวกระเบื้องดินเผาจะมีผิวสัมผัสให้เลือกอยู่ 2 แบบ คือ ผิวธรรมชาติกับผิวเคลือบเงา และมีหลากหลายขนาดกับรูปทรงให้เลือกใช้ ส่วนราคานั้นก็ไม่แพงมากนักเมื่อเทียบกับกระเบื้องชนิดอื่นๆ อยู่ที่ประมาณ 300 - 400 บาท/ตร.ม.
.

.

2.กระเบื้องเซรามิก

กระเบื้องเซรามิกเป็นกระเบื้องที่ใช้กรรมวิธีผลิตโดยการรีดก้อนดินเหนียวสีขาว บางที่อาจมีการผสมหินบดละเอียดเข้าไปด้วยเช่น หินสบู่ นำทั้งสองวัตถุดิบเข้าเครื่องผสม แล้วจึงใช้เครื่องรีดความดันสูงตัดเป็นแผ่น ก่อนจะนำไปอบในเตาที่มีอุณหภูมิ 1,250 องศา
ทำให้ผิวหน้าของกระเบื้องมีความหยาบเล็กน้อย ขั้นตอบสุดท้ายคือการนำไปเคลือบสีต่างๆ ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทย่อยของกระเบื้องเซรามิกได้อีก 2 แบบคือ กระเบื้องเคลือบ กับ กระเบื้องเซรามิกเนื้อพอร์ซเลน

2.1) กระเบื้องเคลือบ (Glazed Tile)

กระเบื้องเคลือบ คือ กระเบื้องเซรามิคนั่นเอง โดยนำมาเคลือบผิวหน้าเป็นพื้นผิวต่างๆทั้งด้านและมันวาว รวมถึงทำให้มีสีสันที่แตกต่างกันไป สามารถนำมาปูพื้นหรือผนังก็ได้ แต่ส่วนใหญ่กระเบื้องเคลือบจะนิยมนำมาตกแต่งเป็นผนังบ้านมากกว่าและแต่หากจะใช้ปูพื้นต้องใช้กระเบื้องเคลือบสำหรับปูพื้นเท่านั้น ไม่สามารถนำกระเบื้องกรุผนังมาปูได้เนื่องจากเป็นเรื่องของการรับน้ำหนักและความแข็งแรง ส่วนใหญ่ผู้ใช้งานจะนิยมนำไปประดับห้องครัว ห้องน้ำ หรือห้องนั่งเล่น 
คุณสมบัติของกระเบื้องเคลือบ คือ มีการเผาด้วยอุณหภูมิ 900 - 1200 องศา มีน้ำหนักเบา การดูดซึมน้ำขึ้นอยู่กับชนิดของกระเบื้อง หากเป็นแบบปูพื้นก็จะมีการดูดซึมน้ำปานกลางอยู่ที่ 6% หากเป็นแบบกรุผนังจะมีการดูดซึมน้ำสูงถึงประมาณ 18% มีความทึบแสง และเหมาะกับการใช้งานภายในอาคารเป็นหลัก ข้อดีคือเป็นวัสดุที่ราคาไม่แพงมาก ข้อเสียคือไม่ทนแดดทนฝน และไม่เหมาะกับการใช้งานกับพื้นที่ที่มีน้ำขัง อีกทั้งยังไม่ทนต่อการขูดขีดทำให้เป็นรอยง่ายมาก
.

.

2.2) กระเบื้องเซรามิกเนื้อพอร์ซเลน

พอร์ซเลน (Porcelain) คือ เซรามิกที่มีส่วนประกอบหลักเป็นดินขาว ที่ผสมกับแร่อื่นๆ เมื่อนำไปผ่านกรรมวิธีการเผาในอุณหภูมิความร้อนเกิน 1,200 องศา ทำให้เนื้อเซรามิกมีค่าการดูดซึมน้ำต่ำ ไม่เกิน 1% หรือไม่มีการดูดซึมน้ำเลย มีความแข็งแรง รองรับน้ำหนักได้ดี ทนทานต่อการเสียดสีและขูดขีด สามารถนำไปใช้งานได้ทั้งกระเบื้องปูพื้นและผนัง ตามแต่ประเภทของเนื้อดินพอร์ซเลนและส่วนผสม 
มีทั้งแบบตัดขอบเรียบ และแบบไม่ตัดขอบ เมื่อรวมกับคุณสมบัติที่มีการยืดหดตัวน้อยจึงสามารถปูชิดกันได้เหมือนกับการปูหิน เมื่อปูเสร็จแล้วจึงสวยงามดูเหมือนปูด้วยแผ่นหินธรรมชาติ เราสามารถจำแนกประเภทของกระเบื้องพอร์ซเลนได้อีกเป็นสามประเภทย่อยๆ คือ กระเบื้องเกลซพอร์ซเลน, กระเบื้องโมเสค และกระเบื้องแกรนิตโต้ หรือปัจจุบันมีอีกชื่อเรียกคือ Homogeneous Tiles 
.

2.2.1) กระเบื้องเกลซพอร์ซเลน (Glazed Porcelain Tiles)

กระเบื้องเกลซพอร์ตเลน คือ กระเบื้องพอร์ซเลนที่มีการเคลือบผิวหน้ากระเบื้องให้มีความมันวาวหรือเคลือบแบบผิวด้าน อีกทั้งยังมีแบบที่ทำลวดลายให้คล้ายกับวัสดุธรรมชาติอื่นๆอีกด้วย แต่โทนสีส่วนใหญ่จะเน้นความเรียบง่าย เช่นลายหินธรรมชาติหรือลายไม้ เน้นการประยุกต์ใช้กับห้องได้หลากหลายสไตล์ ตัวเนื้อกระเบื้องไม่นับรวมผิวเคลือบจะมีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั้งแผ่น
กระเบื้องเกลซพอร์ตเลนมีความแข็งแรง รองรับน้ำหนักได้ดี ทนต่อการขูดขีด และยังมีค่าการดูดซึมน้ำต่ำ เพียง 0.5% หรือไม่มีการดูดซึมน้ำเลยแล้วแต่อุณหภูมิการเผาและรูพรุนที่มี กระเบื้องชนิดนี้เหมาะสำหรับการติดตั้งทุกพื้นที่ทั้งภายในและภายนอกของอาคาร โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการสัญจรของผู้คนตลอดเวลา เช่น พื้นห้างสรรพสินค้า พื้นโถงโรงแรม เป็นต้น หรือจะใช้ในการปูผนังก็ได้เช่นกัน
.

.

2.2.2) กระเบื้องแกรนิตโต้

กระเบื้องแกรนิตโต้ หรือที่ปัจจุบันมีอีกชื่อเรียกว่า Homogeneous Tiles คือ กระเบื้องเซรามิกเนื้อพอร์ซเลนอีกชนิดหนึ่ง ที่ผ่านขั้นตอนการเผาที่อุณหภูมิสูง จึงมีความแข็งแกร่ง ทนทาน มีค่าการดูดซึมน้ำต่ำมาก พื้นผิวมีทั้งผิวด้าน และมันเงาเนื้อกระเบื้องจะเป็นเนื้อเดียวกันทั้งแผ่น หากเกิดการกะเทาะหรือเกิดรอยขีดข่วนจะสังเกตเห็นได้ยาก 
ในเนื้อกระเบื้องยังมีการผสมหินแกรนิตบดลงไปทำให้มีความแข็งแรงทนทานมากยิ่งขึ้นไปอีก ในเรื่องของขนาดนั้น มีขนาดหลากหลายให้เลือกใช้ ซึ่งมักจะเป็นขนาดที่ใหญ่กว่ากระเบื้องปูพื้นหรือผนังทั่วไป และความหนาส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 1 ซม. การใช้งานนั้น เราสามารถใช้งานได้ในทุกพื้นที่เช่นเดียวกับเกลซพอร์ตเลน และใช้ปูได้ทั้งพื้นและผนังอาคาร
. .

2.2.3) กระเบื้องโมเสค

กระเบื้องโมเสคเป็นกระเบื้องที่มีขนาดเล็ก ออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้ในรูปแบบทั่วๆไปคือปูพื้นและผนัง แต่โดยหลักแล้วจะนิยมใช้ในงานตกแต่ง ตัวคุณสมบัติของกระเบื้องโมเสคคือ มีขนาดเล็กทำให้ปูได้ปริมาณน้อย จึงต้องใช้จำนวนมากทำให้มีราคาสูงกว่ากระเบื้องทั่วไป แต่การที่มีขนาดเล็กก็จะทำให้ตกแต่งได้หลายรูปแบบขึ้น เช่น สีเดียวกันทั้งแผน หรือการสลับสี รวมถึงเรียงให้เกิดเป็นรูปทรงต่างๆก็สามารถทำได้ 
ส่วนในเรื่องของความแข็งแรงนั้น โมเสคสามารถรับแรงได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่ควรใช้ปูพื้นที่ต้องรับแรงกดทับมากหรือใช้งานหนัก อีกทั้งหากจะปูพื้นก็ควรเลือกชนิดแบบปูพื้น เพื่อความเหมาะสมไม่ควรปูพื้นที่ๆลื่นได้ง่ายข้อจำกัดหนึ่งคือโมเสคอาจไม่สามารถปูได้เรียบเนียนเหมือนกระเบื้องอื่นๆ เนื่องจากมีขนาดของแผ่นที่เล็กกว่า พื้นที่เหมาะสมในการปูคือ ผนังห้องน้ำ ผนังห้องครัว ผนังห้องรับแขก สระว่ายน้ำ
.

ค่ากันความลื่นของกระเบื้อง

การเลือกใช้กระเบื้องที่มีผิวหน้าที่ต่างกัน ควรเลือกกระเบื้องให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยใช้วิธีดูจากการจัดอันดับค่าต้านทานความลื่นของกระเบื้องปูพื้น คือ Slip Resistance หรือ ค่ากันความลื่นของกระเบื้องแต่ละแบบ สามารถวัดได้จากค่า R ( R Value) ซึ่งมีตั้งแต่ R9 ถึง R13 โดยยิ่งพื้นที่นั้นมีองศาพื้นมากเท่าไหร่ ตัวกระเบื้องหรือวัสดุที่ปูก็จำเป็นต้องมีค่า R ที่มากขึ้น เพื่อรองรับการเดินของผู้ใช้งานให้ปลอดภัยได้ 
อีกข้อหนึ่งคือ ค่าสัมประสิทธิความเสียดทาน (COF) ของกระเบื้องโดยทั่วไป โดยเฉพาะกระเบื้องเคลือบ มีค่าอยู่ในช่วง 0.3 – 0.5 ซึ่งเป็นช่วงที่มีคำแนะนำ ที่ควรให้ความระมัดระวังในการใช้งาน ซึ่งเป็นช่วงที่เป็นค่ากลางๆ ของกลุ่มกระเบื้องเซรามิก และอาจรวมถึงผิวพื้นวัสดุอื่น ซึ่งจะพอให้ข้อสังเกตคร่าวๆ คือ ผิวที่มีความมันจะลื่นกว่าผิวหยาบ ผิวเรียบจะลื่นกว่าผิวขุรขระ เช่น กระเบื้องเคลือบในกลุ่มผิวมัน Glossy และกระเบื้องขัดมัน แกรนิตโต้ จะมีผิวที่ลื่นง่าย
R9 เป็นค่าต่ำสุดสำหรับกระเบื้องปูพื้นทั่วไป
สามารถใช้ได้กับ บ้านพักอาศัยและอาคารสาธารณะบริเวณที่เป็นพื้นที่แห้ง เช่น ทางเข้าอาคาร, บันได, โถงทางเดิน
R10 เหมาะกับบริเวณที่เปียกน้ำ
สามารถใช้ได้กับ ห้องน้ำ, โรงรถ, ที่จอดรถ
R11 ใช้กับพื้นที่ภายนอกอาคารเป็นหลัก
สามารถใช้ได้กับ บันไดภายนอกอาคาร, ทางเข้าภายนอกอาคาร, ที่จอดรถภายนอกอาคาร และพื้นที่จราจร
R12 ใช้สำหรับพื้นที่ภายนอกที่มีความลาดชัน
สามารถใช้ได้กับ พื้นที่ลาดชันสูง, พื้นที่ที่มีคาบไขมันและความมัน
R12 ใช้สำหรับพื้นที่ภายนอกที่มีความลาดชันสูงมาก
สามารถใช้ได้กับ พื้นที่ลาดชันสูง, พื้นที่ที่มีคาบไขมันและความมัน
       
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (246)
 (322)
 (427)
 (32)
 (14)
 (4)
 (19)
 (225)
 (55)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (56)
 (9)
 (34)
 (28)
 (9)
 (9)
 (189)
 (89)
 (115)
 (111)
 (43)
 (17)
 (50)
 (25)
 (41)
 (19)
 (20)
 (13)
 (39)
 (14)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon