คลองช่องนนทรี กำลังจะเปลี่ยนไป!! นับเป็นช่วงเวลาที่เราได้เห็นการพัฒนาพื้นที่สาธารณะในกรุงเทพฯ เยอะมากขึ้นตั้งแต่การเพิ่มพื้นที่สีเขียวไปจนถึงการปรับปรุงภูมิทัศน์ริมคลอง เช่นพื้นที่ริมคลองโอ่งอ่างที่กำลังเป็นที่พูดถึงอยู่มากในช่วงเวลานี้ ตอนนี้ถึงเวลาของคลองช่องนนทรีแล้ว!!
การพัฒนาคลองช่องนนทรีเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนา Green Bangkok 2030 ซึ่งเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้พื้นที่กรุงเทพฯ โดยจะมีการใช้แนวคลองเป็นทางระบายน้ำเหมือนเดิม แต่มีการปรับปรุงโครงสร้างคลองใหม่โดยการปรับภูมิทัศน์ เพิ่มพื้นที่สาธารณะเข้าไปในคลองให้มีการถึงของประชาชนได้มากขึ้น ในส่วนของงานระบบก็จะจัดเก็บสายไฟฟ้าแรงต่ำ สายโทรศัพท์ ไว้ใต้ดินทั้งหมด และเพิ่มท่อระบายน้ำเสีย รวมทั้งการสร้างระบบบำบัดน้ำธรรมชาติทำให้น้ำที่ไหลผ่านได้รับการบำบัด
คลองช่องนนทรี 5 ช่วง 4.5 กม.
สำหรับโครงการคลองช่องนนทรี ถูกวางแผนและพูดถึงมาตั้งแต่ประมาณปี 2563 โดยการพัฒนาทั้งหมด คาดว่าใช้งบประมาณทั้งหมด 980 ล้านบาท รวม 4.5 กม. โดยมีการแบ่งสร้าง 5 ช่วงได้แก่
- ช่วงที่ 1 ถนนสุรวงศ์ถึงถนนสาทร ระยะทาง 800 เมตร วงเงิน 80 ล้านบาท
- ช่วงที่ 2 ถนนสาทรถึงซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 7 ระยะทาง 200 เมตร วงเงิน 80 ล้านบาท
- ช่วงที่ 3 ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 7 ถึงถนนจันทน์ ระยะทาง 1.6 กิโลเมตร วงเงิน 370 ล้านบาท
- ช่วงที่ 4 ถนนจันทน์ถึงถนนรัชดาภิเษก ระยะทาง 1 กิโลเมตร วงเงิน 250 ล้านบาท
- ช่วงที่ 5 ถนนรัชดาภิเษกถึงถนนพระราม 3 ระยะทาง 900 เมตร วงเงิน 200 ล้านบาท
เริ่มทำช่วงที่ 2 ก่อน
ช่วงที่ 2 ระยะทาง 200 ม. มีการจัดพื้นที่สำหรับเชื่อมต่อเมืองและผู้คนโดยมีลานกิจกรรม, สถานที่พักผ่อน และออกกำลังกาย จะเริ่มทำการก่อสร้างก่อน ระยะทางประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันอยู่ในช่วงเตรียมความพร้อมปรับพื้นที่โดยรอบก่อนเริ่มสร้างจริง และอยู่ในระหว่างการ ประกวดราคาของผู้รับเหมาเริ่มดำเนินการแล้วตั้งแต่เดือนสิงหาคม และจะดำเนินการของบประมาณ และทำช่วงอื่นต่อไปหลังจากช่วงที่ 2 แล้วเสร็จในต้นปีหน้า จะดำเนินการจนครบทั้ง 4.5 กม.
ปรับปรุงโครงสร้างคลอง ทำอะไรบ้าง?
- การปรับปรุงโครงสร้างคลองตามการออกแบบจะส่วนที่จะเห็นได้ชัดคือการเพิ่มพื้นที่สาธารณะริมคลองเพื่อให้เกิดการเข้าถึงได้ง่าย สร้างการเชื่อมต่อในการเดินเท้า เพิ่มพื้นที่กิจกรรมริมคลอง รวมทั้งการเพิ่มพื้นที่สีเขียวช่วยสร้างบรรยากาศให้มีความร่มรื่น
- ในส่วนของงานระบบบจะมีการจัดเก็บสายสาธารณูปโภคต่างๆ ลงใต้ดิน เช่นสายไฟฟ้าแรงดันต่ำ โทรศัพท์ เคเบิ้ล เพื่อให้ทัศนียภาพมีความสวยงาม
- การเพิ่มท่อระบายน้ำช่วยระบายน้ำเสียจากท่อระบบายน้ำเสียเดิม
- การเพิ่มระบบบำบัดน้ำธรรมชาติ 4 ขั้นตอน ซึ่งจะมีการ ดักตะกอน ใช้พืชในการดูดซึม เติมอากาศให้กับน้ำ และการเปิดพื้นที่ก่อนปล่อยสู่น้ำธรรมชาติ เป็นต้น
ภาพก่อน - หลัง การพัฒนา
การออกแบบเบื้องต้นของโครงการ

info: LANDPROCESS / @Thailand.Infra