realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รู้จักกับ"บันได"

14 May 2010 3.2K

รู้จักกับ"บันได"

14 May 2010 3.2K
 

รู้จักกับ "บันได"

"บันได" เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ของอาคารหรือบ้านที่มีมากกว่า 2 ชั้นขึ้นไป โดยหน้าที่ของบันไดคือการเป็นทางเชื่อมต่อระหว่างชั้นหนึ่งไปอีกชั้นหนึ่งนั่นเองและนอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยแล้วรูปแบบของบันไดยังเป็นส่วนที่ช่วยส่งเสริมความสวยงามของตัวสถาปัตยกรรมอีกด้วย
การเลือกบันไดมาใช้งานนั้น ควรคำนึงถึงปัจจัย 3 ข้อดังนี้ 1.โครงสร้าง โครงสร้างของบันไดในแต่ละแบบนั้นเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดรูปแบบบันได 2.รูปแบบ รูปแบบบันไดควรสอดคล้องกับพื้นที่ในตัวสถาปัตยกรรม เพื่อที่จะได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ให้ได้มากที่สุด 3.วัสดุปิดผิว/ตกแต่ง เป็นส่วนที่มาเสริมความสวยงามและความปลอดภัยในการใช้งานบันได
1.จมูกบันได ส่วนที่ยื่นออกมาจากจากวัสดุปิดผิวลูกนอน เพื่อให้บันไดดูเรียบร้อยสวยงามและยังช่วยให้สามารถใช้งานได้สะดวกมากขึ้น 2.ลูกนอน พื้นที่ระนาบกับพื้นมีความลึกประมาณ 25-30 ซม. (มากกว่า 22 ซม. ตามกฏหมาย)/ ลูกตั้ง พื้นที่ตั้งฉากกับพื้นมีความสูงขั้นละ 17-20 ซม. (ไม่เกิน 20 ซม. ตามกฏหมาย) 3.ชานพักบันได พื้นที่ระหว่างบันไดหนุ่งช่วง สามารถอยู่ตรงกลางหรือไม่ก็ได้ เพื่อเป็นจุดพักระหว่างทางขึ้นบันไดหรือเป็นจุดหักเลี้ยวของบันได
4.ระยะดิ่ง ระยะจากขั้นบันไดหรือชานพักถึงส่วนต่ำสุดเหนือขึ้นไปมากกว่า 1.9 ม. ตามกฏหมาย 5.ช่วงบันได บันไดช่วงหนึ่งต้องสูงไม่เกิน 3 ม. หากเกินนั้นจะต้องมีชานพัก ตามกฏหมาย 6.ความกว้างบันไดสุทธิ ระยะหน้ากว้างบันไดวัดตั้งแต่ขอบราวกันตกด้านในถึงอีกฝั่ง 7.ความกว้างบันไดสุทธิ ระยะหน้ากว้างบันไดวัดตั้งแต่ขอบบันไดถึงขอบอีกฝั่ง

ประเภทของบันไดแบ่งตามลักษณะโครงสร้าง

1.บันไดคอนกรีตเสริมเหล็ก

1.1 บันไดคอนกรีตเสริมเหล็กแบบท้องเรียบ เป็นบันไดคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยที่ฉาบท้องบันไดเรียบ ติดตั้งได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ช่างไทยมีความชำนาญ 

1.2 บันไดคอนกรีตเสริมเหล็กแบบพับผ้า การติดตั้งยากกว่าแบบท้องเรียบเนื่องจากต้องมีการตีไม้แบบตามรอยหยักของบันได
1.3 บันไดคอนกรีตเสริมเหล็กแบบพับผ้ามีแม่บันไดอยู่ตรงกลาง มีแม่บันไดช่วยรับน้ำหนักอยู่บริเวณตรงกลาง ทำให้สามารถทำความหนาของบันได้ให้บางมากขึ้นได้
1.4 บันไดลอย หากดูจากภายนอกนั้นจะเหมือนขั้นบันไดยิ่นมาจากผนังแต่จริงๆแล้ว โครงสร้างบันไดจะมีแม่บันไดคอยรับน้ำหนักอยู่ด้านในกำแพง
 

2.บันไดโครงสร้างเหล็กและโครงสร้างไม้

2.1 บันไดชนิดแม่บันไดขนาบข้างแบบโปร่ง จะมีแม่บันไดขนาบข้างคอยรับน้ำหนักทั้งสองของของบันได โดยบันไดเหล็กจะใช้การยึดด้วยสกรูส่วนบันไดไม้จะเชื่อมด้วยสลัก
2.2 ลักษณะโครงสร้างจะเหมือนกับแม่บันไดข้างแบบโปร่ง ต่างตรงที่จะมี การปิดลูกตั้ง
2.3 บันไดชนิดแม่บันไดอยู่ใต้บันแบบโปร่ง โดยจะมีพุกเป็นตัวรับบันไดที่วางบนแม่บันไดที่วางเฉียง
2.4 บันไดชนิดแม่บันไดอยู่ใต้บันแบบทึบ ลักษณะโครงสร้างจะเหมือนกับแบบโปร่ง ต่างตรงที่จะมีการปืดลูกตั้ง
2.5 บันไดชนิดแม่บันไดอยู่ตรงกลาง จะมีพุกรับตรงกลางและมีโครงสร้างยื่นออกมารับทั้งสองฝั่ง

ประเภทของบันไดแบ่งตามรูปแบบของบันได

1.บันไดตรง (Straight) บันไดตรงยาวจากชั้นหนึ่งสู่อีกชั้นหนึ่งโดนไม่ได้หักเลี้ยว เหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่น้อย 
2.บันไดหัก 90 องศา (L-Shape) บันไดหัก 90 องศา ช่วงบันไดทั้ง 2 ช่วงสามารถมีจำนวนขั้นเท่ากันหรือไม่ก็ได้
3.บันไดหัก 180 องศา (Dog Leg) เป็นแบบที่นิยมใช้ในบ้านมากที่สุด พื้นที่ใต้บันไดนั้นสามารถทำเป็นห้องเก็บของหรือห้องน้ำได้
4.3.บันไดหัก 180 องศา 3 ช่วง (U Shape) เป็นบันไดแบบหัก 180 องศา ที่มีช่วงบันได 3 ช่วง ในด้านการใช้งานนั้นจะเหมือนกับบันไดหัก 180 องศา
      *** ชานพัก Winder บันไดที่บริเวณชานพักถูกแบ่งย่อยเป็นขั้นบันไดด้วย มีข้อดีคือสามารถเพิ่มความสูงของบันไดได้มากขึ้น แต่ทำให้ขั้นบันไดบริเวณนั้นมีลักษะเป็นเหมือนหัวลูกศรอาจทำให้ใช้งานลำบากในบางครั้ง ***
5.บันไดวน (Spiral) บันไดที่มีขั้นบันไดวนขึ้นไปโดยมีจุดหมุนเดียวกัน มีจุดเด่นที่ใช้พื้นที่น้อยมากๆ แต่ก็มีข้อเสียคือการใช้งานได้ยาก 
6.บันไดโค้ง (Curve) บันไดโค้งบันไดที่มีลักษณะโค้งแต่ยังไม่ถึงขั้นบันไดวน ไม่ได้มีจุดหักชัดเจน ให้ความรู้สึกหรูหราและยิ่งใหญ่ โดยจะเป็นบันไดที่มีการใช้พื้นที่ค่อนข้างเยอะ

วัสดุตกแต่ง/ปิดผิวของบันได

พื้นบันไดคอนกรีตขัด 1.คอนกรีต บันไดคอนกรีตนั้นเป็นวัสดุที่ทำง่าย ดูแลรักษาง่ายและทนทาน ให้ความรู้สึกของอาคารเป็นแบบ Loft หรือ Industrial Design
พื้นบันไดหินควอทซ์ จากโครงการ MEWS 2.หินอ่อน/หินแกรนิต/หินควอทซ์ เป็นวัสดุที่ให้ความรู้สึกหรูหราและมีคุณสมบัติที่เย็น อายุการใช้งานนาน แต่มีข้อเสียที่มีราคาสูงและมีเกิดรอยได้ง่าย หินแกรนิตและหินควอทซ์ คุณสมบัติจะคล้ายกับหินอ่อนเพียงแต่จะมีราคาถูกกว่าหินอ่อน หินควอทซ์จะมีจะมีจุดเด่นที่เป็นหินที่ไม่มีรูพรุนทำให้ของเหลวไม่สามารถซึมจนเกิดรอยได้
 
พื้นบันไดแกรนิตโต้ 3.กระเบื้องแกรนิตโต้ เป็นวัสดุที่แข็งแรงทนทาน เป็นรอยยากทำให้สามารถดูแลรักษาง่าย ข้อเสียคือเวลาเปียกน้ำจะมีความลื่นค่อนข้างสูง
พื้นบันไดไม้ 4.ไม้จริง ไม้เป็นวัสดุที่นิยมใช้กับบันไดภายในบ้าน เพราะให้ความรู้สึกที่อบอุ่นและสบาย โดยประเภทไม้จริงนั้นจะแบ่งเป็นไม้จริงและไม้ Joint (ไม้จริงที่นำมาผ่านวิธีการประสานกัน) มีความแข็งแรงทนทาน สามารถดูแลรักษาได้โดยง่าย สามารถขัดและทำสีหลายครั้งได้
พื้นบันไดลามิเนต 5.ลามิเนต ลามิเนตนั้นเป็นวัสดุที่ให้ความรู้สึกคล้ายไม้จริงแต่มีราคาที่ถูกกว่ามาก มีข้อเสียคือหากช่างติดตั้งไม่ดี เมื่อเหยียบจะมีความรู้สึกยวบๆ
พื้นบันได UPVC 6.UPVC เป็นวัสดุที่มีความทนทานต่อแดดสูง ไม่มีปัญหาปลวกและแมลง ทนความชชื้น ไม่หดตัวหรือขยายตัวตามสภาพอากาศ ข้อเสียคือหากเป็นเกรดต่ำเมื่อใช้ไปจะเริ่มออกสีเหลือง
 

ราวกันตกจากวัสดุต่างๆ

ราวกันตกไม้

ราวกันตก UPVC

ราวกันตกเหล็กดัด

ราวกันตกลวดสลิง

ราวกันตกกระจก

ราวกันตกแสตนเลส

Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon