realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

มอเตอร์เวย์ บางปะอิน-โคราช

08 May 2023 88.6K

มอเตอร์เวย์ บางปะอิน-โคราช

08 May 2023 88.6K
 

มอเตอร์เวย์ สาย 6 หรือ M6 เป็นหนึ่งในโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองระยะเร่งด่วน ภายใต้แผนแม่บททางหลวงพิเศษระหว่างเมือง พ.ศ. 2560 - 2579 โดยกรมทางหลวง ดำเนินโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองระยะเร่งด่วน 3 สายทาง สำหรับสายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา ระยะทางก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 196 กม. หากเดินทางจาก กรุงเทพฯ - โคราช คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ชม.
มีการแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 40 ช่วง เพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้างได้แล้วเสร็จตามกำหนด มูลค่าโครงการกว่า 84,600 ลบ. รูปแบบการก่อสร้างช่องทางจราจร เป็นไปตามมาตรฐานทางหลวงพิเศษ ขนาด 4-6 ช่องจราจร ปัจจุบันผลงานภาพรวมอยู่ที่ 88% คาดว่าเปิดใช้งานได้จริงในปี 2568 นี้

 

ความคืบหน้า (Update เม.ย. 2566)

ความคืบหน้าในการก่อสร้างปัจจุบัน (เม.ย. 2566) ภาพรวม 88%
  • สร้างเสร็จไปแล้ว 24 สัญญา จากทั้งหมด 40 สัญญา
  • จากทั้งหมด 16 สัญญาที่เหลือ มี 12 สัญญา ที่ได้รับงบประมาณเพิ่มเนื่องจากมีการปรับแบบก่อสร้างใหม่ ซึ่งได้แก่สัญญาที่ 1-2, 4-5, 18-21, 23-24 34 และ 39
แผนการดำเนินงานในอนาคต
ปี 2566
  • จะเริ่มเปิดทดลองใช้งานในช่วงเทศกาลปีใหม่ (ปลายปี 2566 ถึงต้นปี 2567) เส้นทางตั้งแต่ ปากช่อง - นครราชสีมา คิดเป็นระยะทาง 80 กม. จากทั้งหมด 196 กม.
ปี 2567
  • จะเริ่มทดลองใช้ฟรีตลอดเส้นทาง
  • ด้านการก่อสร้าง จะเริ่มติดตั้งระบบคิดเงิน M-Flow
ปี 2568
  • เริ่มใช้งานจริงตลอดเส้นทาง 196 กม. แบบเก็บค่าผ่านทาง
 

ด่านและจุดพักรถ

เส้นทางมอเตอร์เวย์ M6 จะเริ่มที่ จ.อยุธยา ไปถึง จ.นครราชสีมา ระยะทางทั้งหมด 196 กม. ขนาด 4 - 6 ช่องจราจร
วงเงิน 84,100 ลบ. แบ่งการก่อสร้างเป็น 40 สัญญา
มีด่านเก็บค่าผ่านทาง 8 แห่ง ดังนี้
  • ด่านบางปะอิน
  • ด่านวังน้อย
  • ด่านหินกอง
  • ด่านสระบุรี
  • ด่านแก่งคอย
  • ด่านมวกเหล็ก
  • ด่านปากช่อง
  • ด่านสีคิ้ว
  • ด่านขามทะเลสอ
มีจุดพักรถทั้งหมด 8 จุด แบ่งได้ดังนี้
จุดพักรถ (ที่พักริมทางขนาดเล็ก 5 ไร่ขึ้นไป) 5 แห่ง ได้แก่
  • วังน้อย
  • หนองแค
  • ทับกวาง
  • ลำตะคอง
  • ขามทะเลสอ
สถานที่บริการทางหลวง (ที่พักริมทางขนาดกลาง 20 ไร่ขึ้นไป) 2 แห่ง ได้แก่
  • สระบุรี
  • สีคิ้ว
ศูนย์บริการทางหลวง (ที่พักริมทางขนาดใหญ่ 50 ไร่ขึ้นไป) 1 แห่ง ได้แก่
  • ปากช่อง
 

การก่อสร้างปัจจุบัน (เม.ย. 2566)

 

จุดพักรถทั้ง 3 แบบ

   

โครงการการก่อสร้างทางหลวงพิเศษ (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 6

 
  • เส้นทาง : บางปะอิน - สระบุรี - นครราชสีมา
  • ระยะทาง : 196 กม.
  • วงเงินลงทุน : 84,600 ลบ. แบ่งเป็น - ค่าก่อสร้าง 77,970 ลบ - ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6,630 ลบ.
  • สัญญาการก่อสร้าง : 40 ตอน - งบปี 59 จำนวน 20 ตอน 
  • สถานะการก่อสร้าง : เริ่มก่อสร้างจุดแรกที่แยกต่างระดับสระบุรี
  • การลงทุน : รัฐเปิดโอกาสให้เอกชนร่วมลงทุนในส่วนที่พักริมทาง
  • ปีที่สร้างเสร็จ : 2562
  • ปีที่เปิดให้บริการ : 2563
Info : กรมทางหลวง (2 Aug 2016)
 

สำหรับมอเตอร์เวย์สายนี้ จะเป็นเส้นทางเชื่อมโยงกรุงเทพมหานคร ภาคกลางกับศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ด้วยระยะทาง 196 กม. ใช้เวลาเพียง 127 นาที อีกทั้งยังเป็นโครงข่ายเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็น “ลาว-เวียดนาม-กัมพูชา-จีนตอนใต้” 
แนวเส้นทางเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับวงแหวนรอบนอกตะวันออก กับ ถ.พหลโยธินที่บริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นแนวใหม่ขนานไปกับ ถ.พหลโยธินและ ถ.มิตรภาพ และบรรจบกับทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา บริเวณหลัก กม.ที่ 2 เส้นทางพาดผ่านพื้นที่ 3 จังหวัด 12 อำเภอ ได้แก่
  1. จ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน อ.วังน้อย อ.อุทัย
  2. จ.สระบุรี อ.หนองแค อ.เมืองสระบุรี อ.แก่งคอย อ.มวกเหล็ก
  3. จ.นครราชสีมา อ.ปากช่อง อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน อ.ขามทะเลสอ อ.เมืองนครราชสีมา
Info : กรมทางหลวง (2 Aug 2016)

การก่อสร้างแบ่งเป็น 2 ช่วง ใน 2 รูปแบบ ได้แก่
ช่วงที่ 1
  • ทางพิเศษ 6 ช่องจราจร
  • จากบางปะอิน-อ.ปากช่อง
  • ระยะทาง 103 กม.
  ช่วงที่ 2
  • ทางพิเศษ 4 ช่องจราจร
  • จากอ.ปากช่อง-นครราชสีมา
  • ระยะทาง 93 กม.
โดยมีรูปแบบการก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นทางระดับพื้น แต่จะมีทางยกระดับ 4 ช่วง ระยะทางรวม 32.1 กม. ได้แก่
  1. ช่วงทางเลี่ยงเมืองสระบุรี ระยะทาง 7 กม.
  2. ช่วงพื้นที่สัมปทาน TPI ระยะทาง 5.5 กม.
  3. ช่วงเขาตาแป้น ระยะทาง 2.3 กม.
  4. ช่วงอ่างเก็บน้ำลำตะคอง ระยะทาง 17.3 กม.
Info : กรมทางหลวง (2 Aug 2016)
 

  มีการควบคุมการเข้า-ออกแบบสมบูรณ์ (รั้วกั้น) ตลอดทาง โดยใช้ระบบเก็บค่าผ่านทางระบบปิด ซึ่งมีด่านจัดเก็บค่าผ่านทางทั้งหมด จำนวน 9 ด่าน ได้แก่
  1. ด่านบางปะอิน
  2. ด่านวังน้อย
  3. ด่านหินกอง
  4. ด่านสระบุรี
  5. ด่านแก่งคอย
  6. ด่านมวกเหล็ก
  7. ด่านปากช่อง
  8. ด่านสี่คิ้
  9. ด่านนครราชสีมา
มีจุดทางแยกต่างระดับที่เชื่อมต่อกับทางหลวง จำนวน 10 แห่ง ได้แก่
  1. ทางต่างระดับบางปะอิน 1
  2. ทางต่างระดับบางปะอิน 2
  3. ทางต่างระดับวังน้อย
  4. ทางต่างระดับหินกอง
  5. ทางต่างระดับสระบุรี
  6. ทางต่างระดับแก่งคอย
  7. ทางต่างระดับมวกเหล็ก
  8. ทางต่างระดับปากช่อง
  9. ทางต่างระดับสีคิ้ว
  10. ทางต่างระดับนครราชสีมา
Info : กรมทางหลวง (2 Aug 2016)
 
พื้นที่บริการทางหลวง จำนวน 8 แห่ง ประกอบด้วย
1. ที่พักริมทางหลวง (Rest Area) 15 ไร่ จำนวน 5 แห่ง
2. สถานีบริการทางหลวง (Service Area) 20 ไร่ จำนวน 2 แห่ง
3. ศูนย์บริการทางหลวง (Service Center) 50 ไร่ จำนวน 1 แห่ง
Info : กรมทางหลวง (20 Jan 2022)

ข้อกำหนดลักษณะของโครงการที่พักริมทาง แต่ละรูปแบบ

 
มาตรฐานและลักษณะที่พักริมทาง จะมีรูปแบบฟังก์ชั่นที่แตกต่างกันออกไป โดยศูนย์บริการทางหลวง จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบทุกข้อ ส่วนสถานที่บริการทางหลวง จะไม่มีฟังก์ชั่น ของศูนย์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น และหน่วยกู้ภัยฉุกเฉิน สุดท้ายทางด้านของจุดพักรถ จะคล้ายกับสถานที่บริการทางหลวง แต่จะไม่มีในส่วนของ สถานีบริการน้ำมัน กับ สถานที่เปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก
Info : กรมทางหลวง (20 Jan 2022)

รูปแบบของโครงการที่พักริมทาง ล่าสุด 2565 

ล่าสุด ทางกรมทางหลวง ได้เผยรูปแบบและหน้าตาของโครงการที่พักริมทางออกมาให้ชมกัน เพื่อเป็นจุดแวะพักสำหรับผู้ที่เดินทางไกล และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่ผู้ที่มาใช้งาน โดยรูปแบบ จะแบ่งออกเป็น 2 โซน หลักๆ คือ ส่วนอาคารพื้นราบ และ ส่วนอาคารยกระดับ อยู่เหนือช่องทางจราจร ซึ่งทั้ง 2 ส่วนก็มีฟังก์ชั่นที่แตกต่างกันออกไป อาคารพื้นราบจะมีฟังก์ชั่น ได้แก่ ที่จอดรถ, ที่นั่งพัก, ห้องน้ำ, ร้านสะดวกซื้อ, ร้านอาหาร และ ปั๊มน้ำมัน และ ส่วนอาคารยกระดับ จะเป็นการเชื่อมพื้นที่จากทั้ง 2 ฝั่งเข้าหากัน และมีร้านค้าต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ในส่วนนี้
Info : กรมทางหลวง (20 Jan 2022)
 
 

กรมทางหลวงยังมีแนวทางที่จะเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมลงทุนการบริหารจัดการและงานบำรุงรักษา ตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ด้วยรูปแบบ PPP Gross Cost หรือ DBFMO (Design, Build, Finance, Maintainand Operated) เพื่ออำนวยความสะดวก ปลอดภัย และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการประชาชนผู้ใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองให้เป็นมาตรฐานสากล Info : กรมทางหลวง (2 Aug 2016)
 

ตามกำหนดจะสร้างเสร็จปี 2562 พร้อมเปิดบริการปี 2563 เมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จจะช่วยเสริมศักยภาพด้านคมนาคมขนส่งทางถนนและระบบโลจิสติกส์ รวมทั้งแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนถ.พหลโยธิน และถ.มิตรภาพ  นอกจากเชื่อมการขนส่งภาคอีสานไปท่าเรือแหลมฉบังให้ฉลุยแล้ว ยังเสริมแกร่งท่องเที่ยวภาคอีสานมากขึ้น โดยเฉพาะจุดชมวิวที่ลำตะคอง ที่จะเป็นโค้งที่สวยที่สุดและแลนด์มาร์กใหม่เลยก็ว่าได้ Info : กรมทางหลวง (2 Aug 2016)
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon