ความคืบหน้าของสถานีกลางบางซื่อ
อัพเดทเมื่อ กุมภาพันธ์ 2562

สำหรับสถานีกลางบางซื่อคาดว่าจะเสร็จในเดือน พ.ย. 2562 เมื่อเปิดใช้จะเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในภูมิภาคอาเซียน เป็นอาคาร 4 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นใต้ดิน พื้นที่ใช้สอย 72,542 ตร.ม. เป็นที่จอดรถรองรับได้ 1,700 คัน มีโถงเชื่อมต่อจากพื้นที่จอดรถไปยังชั้น 1
ชั้นที่ 1 พื้นที่ใช้สอยรวม 98,720 ตร.ม. เป็นพื้นที่จำหน่ายตั๋ว มีโถงพักคอย รวมถึงพื้นที่เชิงพาณิชย์และร้านค้า เชื่อมกับรถไฟฟ้าใต้ดิน
ชั้นที่ 2 พื้นที่ใช้สอยรวม 50,800 ตร.ม. เป็นส่วนชานชาลารองรับรถไฟชานเมืองสายสีแดง 4 ชานชาลา และรถไฟทางไกล 8 ชานชาลา
และชั้นที่ 3 พื้นที่ใช้สอย 42,300 ตร.ม. เป็นชานชาลารถไฟรางมาตรฐาน 1.435 ม. เชื่อมภูมิภาค 10 ชานชาลา แบ่งเป็นสายใต้ 4 ชานชาลา สายเหนือและอีสาน 6 ชานชาลา และจะรองรับรถไฟความเร็วสูง 3 เส้นทาง และมีทางเชื่อมกับรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีบางซื่อ
ชั้น 3 มี 12 ชานชาลา
เป็นชานชาลา Airport Link 2 ชานชาลา อีก 10 ชานชาลาเป็นของรถไฟความเร็วสูง
ข้างโดมโค้งหน้าสถานีจะเป็นส่วนอาคารที่เรียกว่าโซน Plaza ยาวไปจนสุดความยาวของสถานี
มีห้องจำหน่าวตั๋ว, ศูนย์อาคาร, พื้นที่เชิงพาณิชย์, พิ้นที่สำนักงาน
INFO : Render Thailand
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ
ระยะทาง 11.08 กม. เป็นเส้นทางยกระดับทั้งหมดมี 8 สถานี โครงการจะเริ่มต้นโดยการต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล บริเวณสถานีบางซื่อ และสิ้นสุดที่แยกท่าพระ โดยเชื่อมต่อกับโครงการฯ สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง - บางแค
ช่วงหัวลำโพง - บางแค
ระยะทาง 15.9 กม. ในช่วงหัวลำโพง - ท่าพระ ระยะทาง 5.4 กม. มีสถานีใต้ดินจำนวน 4 สถานี และทางวิ่งยกระดับในช่วงท่าพระ - บางแค ระยะทาง 10.5 กม. มีสถานียกระดับจำนวน 7 สถานี โครงการจะเริ่มต้นที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินหัวลำโพง และสิ้นสุดสายทางที่บริเวณวงแหวนรอบนอกถนนกาญจนาภิเษก
คลิ๊ก! เพื่ออ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
รถไฟฟ้าสายสีเขียว
ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต
โครงการมีระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร ลักษณะเป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับตลอดเส้นทาง มีสถานียกระดับจำนวน 16 สถานี แนวเส้นทางเริ่มต้น ต่อเนื่องจากแนวเส้นทางของโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (BTS) ที่สถานีหมอชิต
สถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต ประกอบด้วยสถานีทั้งหมด 16 สถานี โดยบางสถานีจะเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนสายอื่นๆ เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ยังมีบันไดเลื่อน ลิฟท์ ห้องน้ำ ป้ายประชาสัมพันธ์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อผู้พิการอีกด้วย
คลิ๊ก! เพื่ออ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม
ช่วงบางซื่อ - รังสิต
มีจุดเริ่มต้นโครงการทางทิศใต้ของสถานีบางซื่อ ไปตามแนวเขตทางรถไฟในเส้นทางรถไฟสายเหนือ ผ่านเขตจตุจักร บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง และไปสิ้นสุดที่สถานีรังสิต จังหวัดปทุมธานี ระยะทางรวมประมาณ 26.3 กิโลเมตร โดยในอนาคตอันใกล้นี้จะต่อขยายไปยังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
โดยการก่อสร้างเป็นทางยกระดับจากบางซื่อ ไปยังดอนเมือง ระยะทาง 19.2 กิโลเมตร และลดระดับลงอยู่ระดับพื้นดินจากสถานีดอนเมือง ถึงรังสิต ระยะทาง 7.1 กิโลเมตร โดยมีทั้งหมด 10 สถานี
คลิ๊ก! เพื่ออ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน
รถไฟชานเมืองสายตะวันออก - ตะวันตก พื้นที่โครงการจะมีระยะทาง 127.5 กิโลเมตร จากนครปฐมถึงชุมทางฉะเชิงเทรา ปัจจุบัน อยู่ในระหว่างการก่อสร้างช่วง ชุมทางตลิ่งชัน-สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว 96.80 %
ช่วงตลิ่งชัน - สถานีกลางบางซื่อ
โครงสร้างทางวิ่งช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ ระยะทาง 15 กิโลเมตร เริ่มต้นเป็นทางรถไฟระดับดิน ที่สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน จากนั้นแนวสายทางตรงไปทางทิศตะวันออกตามแนวทางรถไฟสายใต้ ผ่านสถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน สถานีรถไฟบางบำหรุโครงสร้างเปลี่ยนเป็นทางยกระดับ และเข้าสู่สถานีบางซื่อ
โครงการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ
ZONE การพัฒนารอบสถานีกลางบางซื่อ
แนวคิดการพัฒนาพื้นที่ภายใต้คอนเซ็ปต์ “To become ASEAN Linkage and Business Hub” โดยทำเป็นคอมเพล็กซิตี้ เช่น สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า ที่พักอาศัย และพื้นที่นันทนาการ ซึ่งจะช่วยยกระดับให้สถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางการเดินรถไฟของประเทศ มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 218 ไร่
โซน A: Smart Business Complex เนื้อที่ 35 ไร่
โซน B: ASEAN Commercial and Business Hub เนื้อที่ 78 ไร่
โซน C: SMART Healthy and Vibrant Town เนื้อที่ 105 ไร่
โซน D : World Renowned Garden Interchange Plaza เนื้อที่ 87.5 ไร่
เส้นทาง BRT เชื่อมต่อพื้นที่รอบสถานีกลางบางซื่อ
เป็นโครงข่ายเชื่อมการเดินทางภายในย่านพหลโยธิน ระยะทางรวม 10.3 กิโลเมตร
แนวเส้นทางวิ่งเป็นวงกลม จากสถานีกลางบางซื่อ ผ่านรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีจตุจักร ห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว อาคารเอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ โครงการพัฒนาย่าน กม.11 มาสิ้นสุดที่สถานีจตุจักรของรถไฟสายสีแดง
รูปแบบก่อสร้างจะเป็นโครงสร้างยกระดับ 3.14 กิโลเมตร ขณะที่การพัฒนาแบ่งเป็น 2 เฟส ระยะแรกเริ่มต้นสถานีกลางบางซื่อ-ห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว มี 6 สถานี จะเริ่มปี 2560 มูลค่าลงทุน 3,793.6 ล้านบาท ส่วนสถานีที่ 7-13 เริ่มจากเซ็นทรัล ลาดพร้าว-สถานีกลางบางซื่อ ให้พัฒนาเป็นเฟสที่ 2 เริ่มปี 2565 เงินลงทุน 4,504.8 ล้านบาท
4 แหล่งการค้าและห้างสรรพสินค้าชั้นนำ
TESCO
LOTUS
JATUJAK
MARKET
CENTRAL
LADPRAO
UNION MALL