แผนปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่!! สนามบินดอนเมือง ระยะ 3

สนามบินดอนเมือง ระยะ 3 นี้เป็นแผนการขยายเต็มพื้นที่สนามบิน เพื่อรองรับจำนวนผู้โดยสารที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นการขยายเต็มขีดความสามารถของสนามบินดอนเมืองเลย
ซึ่งมีการปรับ Terminal 1 และ 2 เป็นอาคารภายในประเทศ และรื้อ Terminal 3 หลังเดิมแล้วสร้างใหม่เป็นอาคารระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเพิ่มทั้งพื้นที่อาคารและการรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 50 ล้านคน/ปี รวมถึงมีการพัฒนาที่จอดรถรองรับได้มากขึ้นและปรับปรุงถนนให้รถไม่ติดภายในสนามบินอีกด้วย
ยังมีรายละเอียดในส่วนต่างๆที่จะพัฒนาในแผนระยะ 3 นี้ แล้ว Terminal 3 หลังใหม่จะเปลี่ยนไปอย่างไร ติดตามอ่านต่อได้เลย
ปัญหาการรองรับผู้โดยสารในสนามบินดอนเมือง

สนามบินดอนเมืองในปัจจุบันสามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 30 ล้านคน/ปี แต่ด้วยการบริหารจัดการภายในสนามบินจึงรองรับผู้โดยสารประมาณ 40 ล้านคน/ปี อย่างปี 2562 ก็มีจำนวนผู้โดยสารรวม 41.3 ล้านคน/ปี
ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่เกินขีดความสามารถการรองรับของสนามบินดอนเมือง อีกทั้งในอนาคตมีแนวโน้มจำนวนผู้โดยสารเพิ่มสูงขึ้น
ด้วยศักยภาพของสนามบินดอนเมืองที่ยังสามารถขยายเพื่อรองรับกับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นนี้ได้อีก จึงพัฒนาเป็นแผนการขยายสนามบินดอนเมือง ระยะ 3 ที่จะสามารถรองรับได้สูงสุดถึง 50 ล้านคน/ปี นั่นเอง
แผนการขยายเต็มพื้นที่สนามบินดอนเมือง

การขยายสนามบินในครั้งนี้ถือเป็นการขยายเต็มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของสนามบินดอนเมือง ด้วยทำเลของสนามบินดอนเมืองที่อยู่ในตัวเมือง ไม่มีพื้นที่บริเวณโดยรอบให้ขยายพื้นที่สนามบินได้อีกแล้วนั่นเอง
ก่อนขยาย
- อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ 106,000 ตร.ม.
- อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ 137,000 ตร.ม.
- จำนวนผู้โดยสาร 30 ล้านคน/ปี
- จำนวนที่จอดรถ 4,400 คัน
- ระบบถนน 1,200 - 2,500 คัน/ชั่วโมง
- อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ 240,000 ตร.ม.
- อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ 166,000 ตร.ม.
- จำนวนผู้โดยสาร 40 ล้านคน/ปี แต่บริหารจัดการได้สูงสุด 50 ล้านคน/ปี
- จำนวนที่จอดรถ 10,000 คัน
- ระบบถนน 2,500 - 5,000 คัน/ชั่วโมง
Timeline สนามบินดอนเมือง ระยะ 3

ด้วยสถานการณ์ Covid - 19 ทำให้มีการปิดประเทศบางประเทศ ควบคุมการเดินทาง รวมถึงปิดสนามบิน ทำให้แผนระยะ 3 นี้จึงเลื่อนออกไปก่อน แต่ตอนนี้มีการผ่อนคลายมาตราการการป้องกันมากขึ้นแล้ว มีการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้นทั้งนไทยและต่างประเทศ ทาง AOT จึงเร่งดำเนินแผนระยะ 3
- ม.ค. 2565 : ประมูลจ้างที่ปรึกษาออกแบบโครงการ
- ต.ค. 2565 : สนามบินดอนเมือง ระยะ 3 ผ่าน EIA
- พ.ย. 2565 : คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการ
- ปี 2566 : ประมูลงานก่อสร้างและเริ่มก่อสร้างโครงการ
- ปี 2572 : คาดเปิดบริการทั้งโครงการ
สนามบินดอนเมือง ระยะ 3 คาดเปิด 2572

แผนสนามบินดอนเมือง ระยะ 3 งบรวม 37,000 ลบ. คาดเปิดปี 2572 แบ่งออกได้เป็น 6 กลุ่มงาน
- พัฒนาพื้นที่ด้านทิศใต้
- พัฒนาพื้นที่ด้านทิศเหนือ
- พื้นที่ลานจอดอากาศยาน
- ปรับปรุง Terminal 1 และอาคารเทียบเครื่องบิน
- งานระบบสาธารณูปโภค
- งานสิ่งแวดล้อมและที่ปรึกษา
กลุ่มงาน 1 - Terminal 3 และอาคารจอดรถ 7 ชั้น

กลุ่มงานที่ 1 : งานพัฒนาด้านทิศใต้ วงเงินรวม 15,100 ลบ.
- งานปรับปรุงระบบถนนภายใน 1,298 ลบ.
- งานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 โดยรื้ออาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 (อาคารในประเทศเก่า) แล้วสร้างใหม่เป็นอาคารระหว่างประเทศ พร้อมอาคารเทียบเครื่องบินหมายเลข 6 วงเงิน 11,976 ลบ.
- งานปรับปรุงอาคารจอดรถยนต์ 7 ชั้น เป็นชานชาลาจอดรับส่งผู้โดยสารรองรับได้ 2,300 คัน วงเงิน 16 ลบ.
- งานปรับปรุงคลังสินค้าหมายเลข 1 และ 2 เป็นการปรับปรุงสถาปัตยกรรมภายนอกและปรับปรุงระบบภายใน วงเงิน 314 ลบ.
- งานก่อสร้างกลุ่มอาคารบำรุงรักษา และพื้นที่พักขยะ วงเงิน 255 ลบ.
- งานก่อสร้างระบบระบายน้ำ วงเงิน 1,071 ลบ.
- งานก่อสร้างอาคารดับเพลิงและกู้ภัย วงเงิน 144 ลบ.
กลุ่มงาน 2 - พัฒนาพื้นที่สำนักงาน

กลุ่มงานที่ 2 : งานพัฒนาด้านทิศเหนือ วงเงินรวม 7,600 ลบ.
- งานปรับปรุงระบบถนนภายใน 483 ลบ.
- งานปรับปรุงหลุมจอดอากาศยาน วงเงิน 139 ลบ.
- งานก่อสร้างขยายอาคารเทียบเครื่องบิน วงเงิน 902 ลบ.
- งานก่อสร้างอาคารจอดรถยนต์พนักงาน รองรับ 1,600 คัน วงเงิน 803 ลบ.
- งานก่อสร้างอาคารรับรองพิเศษ VVIP วงเงิน 173 ลบ.
- งานก่อสร้างอาคารสำนักงาน วงเงิน 420 ลบ.
- งานก่อสร้างอาคารสำนักงานสายการบิน วงเงิน 560 ลบ.
- งานปรับปรุงอาคารส่วนกลาง วงเงิน 239 ลบ.
- งานก่อสร้างทางเชื่อมระหว่างอาคารสนามบินดอนเมืองกับสำนักงานใหญ่ ทอท. วงเงิน 3,811 ลบ.
กลุ่มงาน 3 - พัฒนาลาดจอดเครื่องบินสะดวกขึ้น

กลุ่มงานที่ 3 : งานพัฒนาพื้นที่ลานจอดอากาศยาน วงเงินรวม 3,700 ลบ.
- งานก่อสร้าง Rapid Exit Taxiway บริเวณทางวิ่ง 21L/03R และ Exit Taxiway เชื่อมต่อทางขับสาย B และ C วงเงิน 192 ลบ.
- งานปรับปรุงพื้นที่ด้านทิศใต้เพื่อรองรับกิจกรรมการบิน และก่อสร้างลานจอดอากาศยาน และอาคารผู้โดยสาร General Aviation (GA) เป็นอาคารที่รองรับเที่ยวบินนอกเหนือการบินตามตารางเวลาหรือพวก Commercial Flight วงเงิน 391 ลบ.
- งานก่อสร้างลานจอดอากาศยาน ด้านทิศเหนือ พร้อมทางขับเชื่อม ปรับปรุงลานจอดภายใน และปรับปรุงพื้นที่ด้านทิศเหนือเป็นเขตการบิน วงเงิน 3,071 ลบ.
กลุ่มงาน 4 - Terminal 1 และอาคารเทียบเครื่องบิน

กลุ่มงานที่ 4 : งานปรับปรุง Terminal 1 และอาคารเทียบเครื่องบิน วงเงินรวม 6,800 ลบ.
- งานปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร อาคาร 1 เป็นอาคารภายในประเทศ และปรับปรุงสถาปัตยกรรมภายนอกอาคารให้อาคาร 1 กับอาคาร 2 เป็นอาคารเดียวกัน แต่การปรับปรุงอาคาร 1 จะต้องรอให้อาคาร 3 เปิดใช้งานก่อน คาดเปิดปี 2569 และย้ายเที่ยวบินระหว่างประเทศไปใช้อาคาร 3 ก็จะปิดปรับปรุงอาคาร 1 แล้วคาดเปิดปี 2572
- งานปรับปรุงอาคารเทียบเครื่องบิน หมายเลข 2 - 4
กลุ่มงาน 5 - สาธารณูปโภค & กลุ่มงาน 6 - งานสิ่งแวดล้อม

กลุ่มงานที่ 5 : งานสนับสนุนโครงการ วงเงินรวม 1,140 ลบ.
- งานก่อสร้างระบบสุขาภิบาล
- งานก่อสร้างระบบไฟฟ้า
- งานจ้างติดตาม ตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระยะ
- การปรับปรุงและฟื้นฟูสิ่งอำนวยความสะดวกโครงการ
Terminal 3 อาคารหลังใหม่ งานใหญ่สุดในแผนระยะ 3

รื้ออาคารเก่า ก่อสร้าง Terminal 3 หลังใหม่

หลังจากการรื้ออาคาร 3 หลังเดิมแล้ว จะก่อสร้าง Terminal 3 หลังใหม่เป็นอาคารระหว่างประเทศ พร้อมอาคารเทียบเครื่องบิน 6 (Pier 6) รวมถึงก่อสร้างอาคารจอดรถ Terminal 3 รองรับรถได้ 2,300 คัน
Terminal 3 นี้ อยู่ติดกับ Junction Building ที่เป็นพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมที่มีร้านค้าต่างๆอยู่ข้างใน รวมถึงเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงด้วย
อาคารจอดรถ 7 ชั้นที่อยู่ระหว่าง Junction Building และ Terminal 2 ก็จะปรับปรุงเป็นชานชาลาจอดรถรับ - ส่ง ผู้โดยสาร สามารถรองรับได้ 1,300 คัน
Terminal 3 อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ

Terminal 3 เป็นงานใหญ่สุดของโครงการ ที่รื้ออาคาร 3 หลังเดิมออก และสร้างใหม่เป็นอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ
- พื้นที่อาคารรวม 166,000 ตร.ม. โดยเพิ่มจำนวนเคาน์เตอร์เช็กอิน ช่องตรวจค้น จุดตรวจหนังสือเดินทาง รวมถึงพื้นที่โถงพักคอยผู้โดยสาร และเพิ่มความสะดวกสบายในการให้บริการด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ระบบ Self Check in, Self Bag drop และ Early Baggage
- รองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศได้ถึง 18 ล้านคนต่อปี
- มูลค่าโครงการรวม 12,000 ลบ.


