(197)
 (302)
 (319)
 (21)
 (7)
 (4)
 (18)
 (145)
 (50)
 (29)
 (5)
 (5)
 (10)
 (49)
 (8)
 (32)
 (23)
 (8)
 (4)
 (159)
 (88)
 (98)
 (104)
 (37)
 (18)
 (31)
 (22)
 (40)
 (20)
 (19)
 (13)
 (29)
 (11)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (197)
 (302)
 (319)
 (21)
 (7)
 (4)
 (18)
 (145)
 (50)
 (29)
 (5)
 (5)
 (10)
 (49)
 (8)
 (32)
 (23)
 (8)
 (4)
 (159)
 (88)
 (98)
 (104)
 (37)
 (18)
 (31)
 (22)
 (40)
 (20)
 (19)
 (13)
 (29)
 (11)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
อาคารผู้โดยสารใหม่ SAT-1 สนามบินสุวรรณภูมิ เปิดใช้ 2565
09 Jun 2021 9.2K

อาคารผู้โดยสารใหม่ SAT-1 สนามบินสุวรรณภูมิ เปิดใช้ 2565

Airport 09 Jun 2021 9.2K
 

อาคารผู้โดยสารใหม่ SAT-1 สนามบินสุวรรณภูมิ เปิดใช้ 2565

อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 SAT-1

บริษัทท่าอากาศยานไทย หรือ AOT เตรียมเปิด อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1)  ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในปี 2565 ที่จะถึงนี้ 
อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1) เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟส2 ปีงบประมาณ 2554-2560 วงเงินลงทุนกว่า 39,760 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร จากเดิม 45 ล้านคนต่อปี เป็น 60 ล้านคนต่อปี อีกทั้งยังบรรเทาความแออัดของผู้โดยสารและเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี 
ในส่วนของการก่อสร้าง ขณะนี้โครงสร้างอาคารสร้างเสร็จแล้ว 100%  และกำลังติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสาร (APM) ซึ่งคืบหน้าไปแล้ว 84.69% ในส่วนของตกแต่งภายใน กำลังดำเนินการตามส่วนต่างๆ
สำหรับกลุ่มงานการพัฒนาสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่
  1. งานออกแบบและก่อสร้างงานอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และลานจอดประชิดอาคาร
  2. งานออกแบบและก่อสร้างส่วนต่อเชื่อมอุโมงค์ด้านทิศใต้และระบบขนส่งผู้โดยสาร (APM)
รายละเอียดจะเป็นยังไง สามารถติดตามได้ที่บทความข้างล่างได้เลยค่ะ

สำหรับ อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ตั้งอยู่ในบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ โดยมีลักษณะเป็นอาคาร 4 ชั้น มีพื้นที่ประมาณ 216,000 ตร.ม. มีจำนวนประตูทางออกที่เชื่อมต่อกับหลุมจอดประชิดอาคาร 28 หลุมจอด สามารถจอดอากาศยานขนาด CODE F เช่น A380 ได้ 8 หลุมจอด และอากาศยานขนาด  CODE E เช่น Boeing 747 ได้ 20 หลุมจอด 
สำหรับตัวโครงการได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2559 ด้วยงบประมาณกว่า 39,760 ลบ. โดยกำหนดระยะเวลาก่อสร้างอยู่ที่ 67 เดือน คาดว่าจะเสร็จในปี 2565 สำหรับวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาคือ
  1. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร จากเดิม 45 ล้านคนต่อปีเป็น 60 ล้านคนต่อปี
  2. เพื่อบรรเทาความแออัดของผู้โดยสารและเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี

ที่มา : AOT

DESIGN CONCEPT

รูปแบบ Concept ของตัวอาคารจะเน้นดีไซน์ที่เข้ากับตัวอาคารเดิม โดยที่เพิ่มความเป็นไทยเข้าไป ซึ่งแบ่งออกดังนี้
  1. ฝ้า – จะใช้ลายจักสานและลายผ้าไหมบริเวณฝ้าของตัวอาคาร โดยจะใช้ Pattern และ ลายเส้น
  2. เสา – สำหรับจะใช้รูปแบบของตัวค้ำยันและใช้รูปทรงของพญานาค
  3. ผนัง – จะใช้เป็นตัว Pattern ของลายกระเบื้องศิลาดล

SUSTAINABLE DESIGN

นอกจากนี้แล้ว ทางโครงการยังชูในเรื่องของ Sustainable Design ไว้ดังต่อไปนี้
  1. อาคารประหยัดพลังงาน
  2. ใช้แสงธรรมชาติลดการเปิดไฟ
  3. ติดอุปกรณ์กันความร้อน
  • 4. นำน้ำเสียกลับมาใช้ 
  • 5. ใช้ Solar Cell ช่วยลดการใช้พลังงาน 
  • 6. ลดการสร้างมลพิษสู่ภายนอก

ที่มา : AOT

ผังอาคาร

อาคารเทียบเครื่องบินรองมีลักษณะเป็นอาคาร 4 ชั้น พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 216,000 ตารางเมตร โดยแบ่งชั้นดังนี้ 
  • ชั้น B2 : สถานีขนส่งผู้โดยสาร (APM Station) 
  • ชั้น B1 : ชั้นลำเลียงกระเป๋าและสัมภาระ (Baggage Handling) 
  • ชั้น GF : ชั้นลานจอดเครื่องบิน (Apron Level)  โดยชั้นนี้เป็นชั้นที่มีรถบัสรับ-ส่ง, มีโถงพักคอย และ Office ของเจ้าหน้าที่
  • ชั้น 2 : ชั้นผู้โดยสารขาเข้า (Arrival Level) 
  • ชั้น 3 : ชั้นผู้โดยสารขาออก (Departure Level) 
  • ชั้น 4 : ชั้นบริการผู้โดยสารพิเศษ (VIP Lounges Level)

ชั้น B2

ชั้น B1

   

ชั้น GF

ชั้น 2

ชั้น 3

 

ชั้น 4

1.4 สิ่งอำนวยความสะดวก

สำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกภายในอาคารสามารถแบ่งออกตามหมวดหมู่ดังต่อไปนี้ 
  • 1. ส่วนที่นั่งพักคอย : Open Gate ออกแบบได้ตามมาตรฐานสากล  ส่วนเข้าแถวรอกว้างและ สะดวกสบาย 
  • 2. ห้องน้ำผู้โดยสาร : จัดสรรให้เพียงพอตามมาตรฐานสากล รองรับผู้โดยสารที่มาใช้พร้อมๆกัน จำนวนมากและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม 
  • 3. โถงพักคอยผู้โดยสารรถบัส : ออกแบบเผื่อการขยายในอนาคต จอดเทียบรถรับส่งได้สะดวก อีกทั้งสร้างบรรยากาศให้มีบรรยากาศดี มองเห็นวิว และสวนภายใน  
  • 4. พื้นที่ร้านค้าและสันทนาการ : ร้านค้าอยู่ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัด ผู้โดยสารเดินผ่านตลอดเวลา มีผู้เชี่ยวชาญในทีมให้คำปรึกษา  
  • 5. พื้นที่บริการผู้โดยสารพิเศษ / SKY LOUNGE : มองเห็นได้ชัด ขึ้นมาใช้ได้สะดวก มีที่นั่งพักผ่อนที่เป็นส่วนตัวและสามารถชมวิวสนามบินได้  

ที่พักคอย

ห้องน้ำผู้โดยสาร

โถงผู้โดยสารรถบัส

พื้นที่ร้านค้าและสันทนาการ

SKY LOUNGE

1.5 เส้นทางสัญจรของผู้โดยสาร

ขาเข้าและขาออก

เส้นทางสัญจรผู้โดยสารขาออก 
1. จากสถานีรถ APM 
2. ขึ้นบันไดเลื่อน 
3. มายังพื้นที่โถงผู้โดยสารขาออก 
4. เดินตามทางเดิน / ทางเลื่อน 
5. ไปยังที่พักคอยผู้โดยสาร / โถงพักคอย ผู้โดยสารรถบัส
เส้นทางสัญจรผู้โดยสารขาเข้า 
1. จากสะพานเทียบเครื่องบิน / โถงรับ  ผู้โดยสารรถบัสขาเข้า 
2. เดินตามทางเดิน / ทางเลื่อน 
3. มายังพื้นที่โถงผู้โดยสารขาเข้า 
4. ลงบันไดเลื่อน / ไปยังจุดผู้โดยสาร เปลี่ยนเครื่อง 
5. ขึ้นรถ APM เพื่อไปยัง อาคาร ผู้โดยสารหลัก

เปลี่ยนเครื่อง

เส้นทางสัญจรผู้โดยสารเปลี่ยนเครื่อง 
1. จากสะพานเทียบเครื่องบิน 
2. เดินตามทางเดิน / ทางเลื่อน 
3. มายังพื้นที่โถงผู้โดยสารขาออก 
4. เข้ามายังพื้นตรวจค้น / ติดต่อที่เคาท์ เตอร์สายการบิน 
5. ขึ้นบันไดเลื่อนมายังชั้นผู้โดยสารขาออก 
6. ไปยังที่พักคอยผู้โดยสารขาออกเพื่อทำการขึ้นเครื่องบินต่อไป
ระบบขนส่งผู้โดยสาร หรือ ​Automated People Mover (APM) เป็นรถไฟฟ้าไร้คนขับแห่งแรกของไทย ที่สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 210 คนต่อขบวน ซึ่งจะสามารถขนส่งผู้โดยสารได้มากถึง 3,590  คนต่อชั่วโมงต่อเที่ยว โดยจุดประสงค์หลักของ APM คือเชื่อมต่ออาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 เพื่อให้ผู้โดยสารเดินทางได้อย่างสะดวกรวดเร็ว อีกทั้งยังไม่กีดขวางกิจกรรมบนทางขับและลานจอดอากาศยาน 
ในส่วนของการก่อสร้าง เดิมมีการก่อสร้างอุโมงค์ไว้แล้ว 812 ม. และมีการสร้างต่อเติมอีก 700 ม. รวมถึงติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสาร (APM) เชื่อมต่อระหว่างอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 เพื่อรองรับผู้โดยสารที่จะใช้บริการอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ให้เพียงพอต่อความต้องการ  

ที่มา : AOT, Interlink

อัพเดทความคืบหน้า APM 

ความคืบหน้าล่าสุดในส่วนของอุโมงค์เชื่อมต่อเสร็จสมบูรณ์แล้ว 100 % ขณะนี้กำลังดำเนินการในส่วนงานติดตั้งงานระบบ APM ซึ่งคืบหน้าไปแล้ว 84.69%
 
สำหรับความคืบหน้าล่าสุดคือ ในส่วนของอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (ภายนอก) และ ลานจอดประชิดอาคาร เสร็จสมบูรณ์แล้ว 100%
สำหรับงานออกแบบภายใน ขณะนี้กำลังทำตามส่วนต่างๆ ทั้งที่นั่งพักคอย, โถงพักคอยรสบัส, พื้นที่ร้านค้าและสันทนาการ, Sky Lounge, ห้องน้ำผู้โดยสาร และอื่นๆ  คาดว่าพร้อมเปิดใช้บริการปี 65 นี้

ที่มา : AOT

ภายนอกอาคาร

 

ภายในอาคาร

 
 
Content Creator
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA >

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA >

 (197)
 (302)
 (319)
 (21)
 (7)
 (4)
 (18)
 (145)
 (50)
 (29)
 (5)
 (5)
 (10)
 (49)
 (8)
 (32)
 (23)
 (8)
 (4)
 (159)
 (88)
 (98)
 (104)
 (37)
 (18)
 (31)
 (22)
 (40)
 (20)
 (19)
 (13)
 (29)
 (11)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon