realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
 

อัพเดทแผนคมนาคม 60 ถึงไหนแล้วน่ะ?

 

แผนด้านคมนาคมขนส่ง คืออะไร?

รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม กำหนดแผนคมนาคม 60 เพื่อลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และ สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน โดยเชื่อมโยงกับ แผนร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ปี 60 – 79) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (ปี 60 - 64) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (ปี 60 - 79) และ แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย (ปี 58 – 65)
สำหรับ Action Plan 60 พิจารณาคัดเลือกโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ภายใต้แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง ปี 58 – 65 , โครงการที่มีความสำคัญเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาลและพร้อมดำเนินการในปีงบประมาณ 60 และ โครงการสำคัญที่ต้องการเร่งผลักดัน จำนวน 36 โครงการ รวมทั้ง โครงการที่จำเป็นต้องขยายระยะเวลาปี 59 ที่ครม. ยังไม่อนุมัติดำเนินโครงการ รวมทั้งสิ้น 43 โครงการ 10 ประเภท มูลค่า 1,769,992 ลบ.
 

สรุปข่าวความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว?

(* = โครงการจำเป็นต้องขยายระยะเวลาเพื่อประโยชน์สูงสุดปี 59 )
 

*4 รถไฟความเร็วสูง (วงเงิน 701,000 ลบ.)

1.รถไฟความเร็วสูง กทม. - โคราช 2.รถไฟความเร็วสูง กทม. - ระยอง
3.รถไฟความเร็วสูง กทม. - พิษณุโลก 4.รถไฟความเร็วสูง ช่วงกทม. - หัวหิน
 รถไฟไฮสปีดไทย - จีน ลงนาม 4 ก.ย.นี้
ครม. เห็นชอบร่างสัญญา 2.2 งานที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วง กทม. - นครราชสีมา) วงเงิน 179,412 ลบ. และอนุมัติปรับกรอบวงเงินสัญญา 2.2 จากเดิมกำหนดไว้ที่ 1,649 ลบ. เป็น 3,500 ลบ. เป็นไปตามเกณฑ์งบที่คาดไว้  จากนี้จะร่างสัญญา 2.1 ออกแบบรายละเอียดงานโยธา วงเงิน 1,706 ลบ. ที่ ครม. อนุมัติแล้วไปลงนามสัญญาร่วมกัน รฟท. และ ฝ่ายจีน ในวันที่ 4 ก.ย. เมืองเซี๊ยะเหมิน ประเทศจีน หลังจากนั้น ทางจีนจะส่งรายละเอียดการก่อสร้างให้ไทย เพื่อดำเนินการก่อสร้างตอนที่ 1 ระยะทาง 3.5 กม. เส้นทางกลางดง - ปางอโศก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในช่วงปลายเดือน ต.ค นี้ แต่ต้องรอ EIA ผ่านก่อน คาดจะเป็นช่วงเดือน ก.ย.  ส่วนการออกแบบในส่วนที่เหลือ ได้เร่งให้จีนส่งมอบแบบให้เร็วขึ้น  เพื่อให้ รฟท. มีเวลาเตรียมแผนเปิดประมูลหาผู้รับเหมาในช่วง 2 , 3 , 4 info: (voicetv 30  Aug 60)
แผนที่เส้นทางเดินรถไฟความเร็วสูง กทม. - โคราช
ญี่ปุ่นสนใจสร้างรถไฟ กทม. - ระยอง 
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจเผย ญี่ปุ่นสนใจลงทุนรถไฟความเร็วสูง กทม. - ระยอง และพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนด้านยุทธศาสตร์กับไทยในด้านต่างๆทุกมิติ โดย รมต. เศรษฐกิจฯ ญี่ปุ่นเตรียมนำนักธุรกิจ 500 คนมาเยือนไทย 11 - 13 ก.ย. นี้ info: (T - News 23  Aug 60)
แผนที่เส้นทางเดินรถไฟความเร็วสูง กทม.  - ระยอง
รถไฟ กทม. - เชียงใหม่คาดสรุปผลเสร็จปี 60
ล่าสุดเส้นทาง กทม. – เชียงใหม่ ฝ่ายญี่ปุ่นเสนอให้ให้ปรับรูปแบบการใช้งานสถานีกลางบางซื่อ เพราะ จำเป็นต้องแยกชานชาลาของรถไฟความเร็วสูงที่สถานีกลาง ออกจากระบบรถไฟอื่นๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ไม่กระทบการปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนและแบบการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ เพราะไทยมีแผนแม่บทพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อและพื้นที่ย่านพหลฯ ทั้งหมดไว้แล้ว   ยืนยันโครงการเดินหน้าตามกรอบ  ส่วนเรื่องลงนามความร่วมมือและเริ่มก่อสร้างต้องรอฟังความเห็นจากญี่ปุ่นอีกครั้ง รวมทั้งญี่ปุ่นจะใช้ระบบรถไฟชินคันเซน มาใช้ในโครงการ แบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1. ช่วงกทม. – พิษณุโลก และ 2. ช่วงพิษณุโลก – เชียงใหม่  info: (voicetv 30  Aug 60)
แผนที่เส้นทางเดินรถไฟความเร็วสูง กทม.  - เชียงใหม่
รถไฟ กทม. - หัวหิน สะดุด สคร. สั่งฟังความเห็นใหม่
รองปลัดคมนาคม อัพเดทความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทาง กทม. - หัวหิน อยู่ในช่วงกลับไปเปิดรับฟังความคิดเห็นจากนักลงทุนใหม่ เพราะแบบเดิมทำแบบสอบถามความเห็นผ่านจดหมาย ซึ่งผิดเงื่อนไขการร่วมทุนแบบพีพีพี คาดว่าจะรับฟังความเห็นใหม่แล้วเสร็จพร้อมสรุปเสนอ สคร. พิจารณาได้ในช่วงต้นเดือน มิ.ย. นี้ info: (Thairath 26 Apr 60)
แผนที่เส้นทางเดินรถไฟความเร็วสูง กทม. - หัวหิน
 

12 รถไฟทางคู่ (วงเงิน 408,000 ลบ.)

1.ช่วงหัวหิน – ประจวบคีรีขันธ์ 2.ช่วงชุมพร – สุราษฎร์ธานี 3.ช่วงสุราษฎร์ธานี – สงขลา 4.ช่วงหาดใหญ่ – ปาดังเบซาร์
5.ช่วงปากน้้าโพ – เด่นชัย 6.ช่วงเด่นชัย – เชียงใหม่ 7.ช่วงเด่นชัย – เชียงราย - เชียงของ 8.ช่วงขอนแก่น – หนองคาย
9.ช่วงชุมทางถนนจิระ - อุบลราชธานี 10.ช่วงบ้านไผ่ – นครพนม *11.ช่วงนครปฐม – หัวหิน *12.ช่วงลพบุรี – ปากน้าโพ
แผนที่เส้นทางเดินรถไฟทางคู่ในประเทศไทย    
รถไฟชุมพร - สุราษฎร์ เริ่มก่อสร้างปี 61 รถไฟหัวหิน - ประจวบฯ ได้ผู้รับเหมาแล้ว
รถไฟทางคู่ชุมพร - สุราษฎร์ธานี เริ่มก่อสร้างปี 61 ใช้เวลาสร้าง 3 ปี โดยจะเปิดบริการปี 64 ส่วนรถไฟทางคู่หัวหิน - ประจวบฯ ผู้ชนะการประมวลคือ บ. อิตาเลียนไทยดีเวลอปเม้นท์ คาดว่าจะลงนามเซ็นสัญญากับเอกชนอย่างเป็นทางการได้ปลายเดือน ส.ค. และเวนคืนระยะทาง 86 กม. วงเงิน 10,239 ลบ. จำนวน 13 สถานี โดยก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มขึ้น 1 ทาง เป็นคันทางระดับดินขนานไปกับเส้นทางรถไฟเดิม และยกเลิกจุดตัดทางรถไฟเสมอดินทุกระดับ เพื่อก่อสร้างทางยกระดับข้ามและสะพานข้ามทางรถไฟแทน โดยมีกรอบดำเนินการใน 4 ปี  info: (Thairath  28 Jul 60) (voicetv 30  Aug 60)  
อัพเดทรถไฟ สุราษฎร์ - หาดใหญ่ - สงขลา
จะเริ่มก่อสร้างปี 61 อยู่ร่วมในโครงการรถไฟทางคู่ช่วงสุราษฎร์ธานี - ชุมทางหาดใหญ่ - สงขลา ก่อสร้างเชื่อมโครงการรถไฟทางคู่ช่วง ชุมพร - สุราษฎร์ , ประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร , หัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์ , นครปฐม - หัวหิน และ ชุมทางหาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ โดยกำหนดแล้วเสร็จในปี 64  ช่วงนี้รอโครงการเข้าสู่ ครม. เพื่ออนุมัติภายในเดือน ก.ย. 60  โดยแนวเส้นทางรถไฟช่วงหาดใหญ่ - สงขลา ใช้แนวเขตที่ดินรถไฟเดิมไม่มีการเวนคืนที่ดินเพิ่มเติม  info: (Hatyaifocus 12 Jul 60)   
เลื่อนสร้างรถไฟสายเด่นชัย - เชียงรายออกเป็นปี 64
การก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมจาก อ. เด่นชัย จ. แพร่ ไปยัง จ. เชียงราย หลังการรถไฟแจ้งว่าจะพยายามให้มีการก่อสร้างภายในปี 60 นั้น ล่าสุดโครงการจะเลื่อนก่อสร้างออกเป็นปี 64 เพราะต้องมีการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องผลการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอีกเล็กน้อย เนื่องจากมีบางช่วงของเส้นทางที่ต้องผ่านป่าเขา อย่างไรก็ตามเส้นทางรถไฟจะต้องไปถึง จ.เชียงราย อย่างแน่นอน เพราะได้มีการออกแบบโครงการเสร็จไปแล้ว  info: (คมชัดลึก  17 Mar 60)
  ภาพตัดรถไฟทางคู่ยกระดับ ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางจิระ 
 
รฟท.ออกแบบใหม่รถไฟโคราช 5.1 กม.
จากเปิดประชุมพิจารณาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ยกระดับ ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางจิระ ผ่านตัวเมืองนครราชสีมา และ อ. สีคิ้ว ได้ข้อสรุป แก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ จะมี ถ. ลอดทางรถไฟจำนวน 8 แห่ง และ เป็นโครงสร้างยกระดับทางรถไฟ  5.1 กม. เริ่มก่อสร้างจากช่วงเลยสถานีภูเขาลาด และ ได้มีแนวทางดำเนินการในพื้นที่ตัวเมือง นครราชสีมาดังนี้ 1.มีการยกระดับ 8 ม.(ระดับ 2 ) ยาว 5.1 กม. 2.สถานีหัวรถไฟมีการยกระดับ ส่วนสถานีชุมทางจิระอยู่ระดับพื้นดิน สูง 2 ม. 3.ทุบสะพานโรงแรมสีมาธานี แล้วสร้างสะพานU - Turn 2แห่ง 4.งบประมาณดำเนินการก่อสร้างเพิ่มขึ้น 2,992 ลบ. 5.ระยะเวลาในการดำเนินการทั้งหมดเพิ่มขึ้น 19 เดือน สำหรับ อ.สีคิ้ว ยกระดับใช้ท่อเหลี่ยมสูง 3 ม.และยกระดับ 2 แห่ง ใช้งบเพิ่ม 93 ลบ. ระยะเวลาเพิ่ม 17 เดือน โดยจะยกเลิกประกวดราคาในวันที่ 1 ก.ย. 60  และขออนุมัติเปลี่ยนแปลง และขอเพิ่มวงเงินในการประชุม ครม. ต่อไป info: (thansettakij  31 Aug 60)
 

7 รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน  (วงเงิน 221,000 ลบ.)

1.สายสีน้ำเงิน บางแค - พุทธมณฑลสายสี่ 2.สายสีส้ม ตลิ่งชัน - ศูนย์วัฒนธรรมฯ 3.สายสีเขียวเข้ม สมุทรปราการ - บางปู
4.สายสีเขียวเข้ม คูคต - ลำลูกกา 5.ระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อม ทสภ. ส่วนต่อขยาย (ช่วงดอนเมือง - บางซื่อ - พญาไท) ARL
6.ระบบขนส่งมวลชน จังหวัดภูเก็ต *7.สายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ

ครม. เห็นชอบมติ เตาปูน - ราษฎร์บูรณะแล้ว
ครม. เห็นชอบให้ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กม. วงเงิน 101,112 ลบ. และภายหลังปรับลดวงเงินเนื่องจาก ปรับรูปแบบศูนย์ซ่อมบำรุงให้มีขนาดเล็กลง  คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลโครงการได้ภายในเดือน ต.ค. ก่อนเดินหน้าจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมของโครงการและลงนามสัญญาเอกชนภายในเดือน ก.ย.61 ตามกรอบที่วางไว้ เพื่อเริ่มต้นก่อสร้างโครงการในช่วงปลายปี 61 และเปิดให้บริการในเดือน พ.ค. 67 ระยะเวลาก่อสร้างราว 6 ปี info: (Posttoday 25 Jul 60)
ภาพรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่จะวิ่งสายเตาปูน - ราษฎ์บูณะ

รถไฟฟ้าภูเก็ต คาดได้ผู้รับสัมปทานต้นปีหน้า

รฟม. จะเร่งคัดเลือกผู้รับสัมประทานภายในต้นปีหน้า และ จัดทำรายงานพีพีพี ส่งไป ครม. ซึ่งคาดว่าน่าจะเสร็จสิ้นภายในปีนี้ เพื่อนำไปสู่การตั้งคณะกรรมการคัดเลือกผู้รับเหมาได้ในต้นปีหน้า งบการดำเนินโครงการอยู่ที่ 39,400 ลบ. โดยเฟสแรกจะเริ่มสร้างจากท่าอากาศยานภูเก็ตถึง 5 แยกประกอบด้วย 6 ทางลอด และ 1 สถานียกระดับ ที่สนามบินนานาชาติภูเก็ต ประกอบด้วย 24 สถานี โดยในพื้นที่เขตเมืองเก่า จะออกแบบให้สอดคล้องกับสถาปัตยกรรมแบบ ชิโนโปรตุกีส อนุรักษ์ย่านเมืองเก่าของภูเก็ต คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างได้ในปีหน้า และ โครงการมีระยะเวลา 3 ปี หรืออาจจะแล้วเสร็จก่อนกำหนด  info: (khaophuket  29 May 60)

info: สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) 

เตรียมเสนอ สายสีน้ำเงิน ส้ม เขียว เข้า ครม.
สายสีส้ม (ตก) ช่วงตลิ่งชัน – ศูนย์วัฒนธรรมฯ วงเงิน 1.21 แสน ลบ. ระยะทาง 16.4 กม. สายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค – พุทธมณฑลสายสี่ วงเงิน 2.11 หมื่น ลบ.  ระยะทาง 8 กม. สายสีเขียว (ใต้) ช่วงสมุทรปราการ – บางปู วงเงิน 1.37 หมื่น ลบ. และ สายสีเขียว (เหนือ) ช่วงคูคต – ลำลูกกา วงเงิน 1.19 หมื่น ลบ. อยู่ระหว่างเตรียมเสนอ ครม. อนุมัติ วงเงินรวมกว่า 1.5 แสน ลบ. แต่โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตก) ได้เสนอเร็วๆนี้ เพราะ ได้ส่งเรื่องมายังกระทรวงคมนาคมแล้ว นอกจากนี้ยังปรับลด 2 สถานีออกทำให้ลดเงินลงทุนได้ประมาณ 7 พัน ลบ. เป็นเส้นทางบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ จากเดิมเส้นทางตลิ่งชัน – ศูนย์วัฒนธรรมฯ เพราะไม่ต้องการลงทุนทับซ้อนกับเส้นรถไฟสายสีแดงของ รฟท. และเมื่อผ่าน ครม. จะประมูลใช้เวลาก่อสร้าง 5 – 6 ปี   info: (Thaipost  20 Feb 60)(Posttoday 25 Jul 60)
แผนที่เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตก) ช่วงตลิ่งชัน – ศูนย์วัฒนธรรม แผนที่เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตก) ช่วงตลิ่งชัน – ศูนย์วัฒนธรรม แผนที่เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 
 

รถไฟชานเมือง 2 เส้นทาง 26,000 ลบ.

1.สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มธ. รังสิต 2.สายสีแดงอ่อน ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช
แผนที่เส้นทางรถไฟสายสีแดง info: สนข.
สายสีแดงเข้มเสร็จแน่ปี 61 สีแดงอ่อนปี 62
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ระหว่างสถานีบางซื่อ - หัวลำโพง มีทั้งหมด 5 สถานี คือ สามเสน ราชวิถี ยมราช ยศเส และ หัวลำโพง โดยคาดการณ์ว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค. 61 รวมถึงส่วนต่อขยายระหว่างสถานีรังสิต - ธรรมศาสตร์ และ จะเพิ่มมาอีก 3 สถานี คือ คลองหนึ่ง เชียงราก และ ธรรมศาสตร์ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค. 61 เช่นกัน รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน บางซื่อ-ตลิ่งชัน ตอนนี้ได้ข้อมูลมาว่าสร้างเสร็จแล้ว แต่ต้องรอเชื่อมระบบเข้ากับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ - รังสิต) ที่กำลังก่อสร้างอยู่ก่อน คาดว่าจะสามารถเปิดใช้งาน โดยเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงได้ภายในปี 2561 นอกจากนี้ยังจะมีส่วนต่อขยายของสายนี้ ระหว่างตลิ่งชัน - ธนบุรีศิริราช คาดว่าแล้วเสร็จปี 61 และส่วนต่อขยายระหว่าง ตลิ่งชัน - ศาลายา คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 62 info: (Thairath  14 Mar 60)
 

5 มอร์เตอร์เวย์ และทางด่วน (วงเงิน 167,000 ลบ.)

1.มอเตอร์เวย์ สายนครปฐม - ชะอำ 2.มอเตอร์เวย์ สายหาดใหญ่ - ชายแดนไทย / มาเลเซีย 3.ทางด่วน สายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอก กทม. ด้านตะวันตก
4.ทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และ E - W Corridor 5.โครงการทางพิเศษ สายกระทู้ - ป่าตอง
มอเตอร์เวย์ นครปฐม - ชะอำ ผ่าน EIA แล้ว
โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย นครปฐม – ชะอำ ความคืบหน้า อยู่ระหว่างเสนอรูปแบบการลงทุนแก่กระทรวงคมนาคมออกแบบรายละเอียด (Detail Design) แล้วเสร็จ ผ่านEIAแล้วอยู่ในระหว่างออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืน info: (bangkokbiznews 3 Aug 60)
แผนที่เส้นทางมอเตอร์เวย์ นครปฐม - ชะอำ
 
พระราม3 - ดาวคะนอง สร้างด่วนคาดเปิดใช้ปี 64
กระทรวงคมนาคม เผยว่าเมื่อวันที่ 6 มิ.ย.60 ครม. มีมติเห็นชอบให้การทางพิเศษ เป็นผู้ดำเนินการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนองวงแหวนรอบนอก กทม. ด้านตะวันตกระยะทาง 18.7 กม. วงเงิน 31,244 ลบ. คาดว่าจะเวนคืนที่ดิน 18 เดือน ตั้งแต่ ก.ย. 60 - ก.พ. 62 จ้างที่ปรึกษาตั้งแต่ เม.ย. - ส.ค.60 เปิดประกวดราคา ก.ค. - ต.ค. 60 ก่อสร้างใช้เวลา 39 เดือน ตั้งแต่ ธ.ค. 60 เปิดใช้ มี.ค. 64 info: (prachachat 6 Jun 60)
แผนที่เส้นทางด่วน พระราม 3 - ดาวคะนอง
กทพ.ดำเนินทางด่วนขั้นที่ สายเหนือ N2 แล้ว
คสช.ได้มีหนังสือแจ้ง กทพ. ให้ดำเนินโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และ E - W Corridor และพิจารณาความเป็นไปได้การเชื่อมต่อโครงการกับทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) ที่สนข.เสนอ โดยต้องหารือกับกรมทางหลวง ตอนนี้กำลังทบทวนการศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อมและออกแบบรายละเอียดของโครงการในช่วง N2 เชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอก กทม. อยู่ info: (Thairath 6 Jun 60)
แผนที่เส้นทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ N2 แยกเกษตร - วงเเหวนรอบนอก
สายกระทู้ ป่าตอง เร่งผลักดันให้เปิดประมูล 61
โครงการอยู่ในช่วงวิเคราะห์ EIA คาดว่าจะได้รับการพิจารณาให้นำเสนอ ครม. อนุมัติให้เปิดประมูลโครงการในช่วงปลายปีนี้ โดยอุโมงค์เชื่อมจากอำเภอกะทู้ไปยังอำเภอป่าตอง ของ จ. ภูเก็ต ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 2 ปี ล่าสุดมีการหารือร่วมกันระหว่าง กทพ. กับ จ. ภูเก็ตเพื่อเร่งผลักดันโครงการวงเงินลงทุนกว่า 1 หมื่น ลบ. ให้สามารถเปิดประมูลในปี 61 info: (thansettakij 2 - 4 Feb , 26 Jul 60)
ภาพรวมโครงการทางพิเศษ กระทู้ - ป่าตอง
 

3 ทางน้ำ (วงเงิน 36,000 ลบ.)

1.การเดินเรือเฟอร์รี่เชื่อมอ่าวไทยตอนบน 2.การพัฒนาท่าเรือเฟอร์รี่เชื่อมอ่าวไทยตอนบน 3.ท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่3
ภาพรวมโครงการเรือเฟอร์รี่เชื่อม พัทยา – หัวหิน 
เริ่มสายแรกเฟอร์รี่เชื่อม พัทยา - หัวหิน เปิดแล้ว
เปิดโครงการเรือเฟอร์รี่ข้ามอ่าวไทยระหว่าง พัทยา - หัวหิน อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 12 ก.พ. ที่ผ่านมา หลังจากทดลองฟรีช่วงปลายปี 59 -ม.ค. 60 ได้รับการตอบรับอย่างดี ส่วนการเดินทางจะเป็นการลงทุนภาคเอกชนที่เข้ามารับสัมปทานเดินเรือ จากการศึกษาประชุมกับหน่วยงานรัฐและเอกชนพิจารณาพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาการเชื่อมโยงขนส่งและท่องเที่ยวในพื้นที่อ่าวไทย โดย จ. ชลบุรี ได้แก่ แหลมบาลีฮาย  ส่วนพื้นที่ทางเล็กฝั่งตะวันตก ได้แก่ พื้นที่ อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี ร่องน้ำปราณบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์ info: (matichon  24 Feb 60)
ภาพท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3  
ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 เสนอ ครม. ปลายปี 60
คาดว่าจะจัดทำประชาพิจารณ์ครั้งที่ 3 ในเดือน ก.ย. ปีนี้ โครงการมีเงินลงทุนของภาครัฐและเอกชนไว้ 8.6 หมื่น ลบ.  โดยจะมีการก่อสร้างท่าเรือ 1,600 ไร่ ความยาวท่า 4,500 ม. ความลึกแอ่งจอดเรือ 18 ม. จากระดับนํ้าทะเลปานกลาง ประกอบดว้ย ท่าเทียบเรือขนส่งรถยนต์ (Ro/Ro) 1 ท่า , ท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไป , ตู้สินค้า 1 ท่า และ ท่าเทียบเรือตู้สินค้า 7 ท่า สาเหตุที่ต้องพัฒนา เพราะปัญหาด้านการจราจรและความแออัดของเรือที่ขยาย อาจจะส่งผลการขยายตัวทางเศรษฐกิจนั้นสะดุด  ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) เนื่องจากต้องมีการถมทะเล ส่วนผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับประมงพื้นบ้าน ท่าเรือจะต้องมีการเยียวยาและจะนำพื้นที่ว่างเปล่ากว่า 60 ไร่ มาจัดสรรพื้นที่ให้ผู้ได้รับผลกระทบและมีการสร้างตลาดประมงเพื่อที่ว่าจะให้ชาวบ้านสามารถพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต info: (หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37  วันที่ 18 - 20  May 60)
 

5 สถานีขนส่งสินค้า (วงเงิน 21,000 ลบ.)

1.พัฒนาจุดพักรถบรรทุกตามเส้นทางหลัก 2.ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ 3.ศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม
4.พัฒนาสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค (ชายแดน 9 จังหวัด) 5.พัฒนาสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค (เมืองหลัก 8 จังหวัด)
จุดพักรถบรรทุก แผน 6 ปีสร้าง 18 แห่ง เริ่มปี 58
ทล. เร่งพัฒนาโครงการก่อสร้างจุดจอดพักรถบรรทุก (Truck Rest Area) ตามเส้นทางหลัก จำนวน 18 แห่ง เริ่มตั้งแต่ปี 58 - 63 ใช้งบประมาณกว่า 3,400 ลบ. จำแนกเป็นปี 58 นำร่องที่ อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา (ขาเข้า) เสร็จและเปิดบริการตั้งแต่ปี 58 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างที่จุด อ.โนนสูง (ขาออก) คาดว่าจะให้บริการในช่วงปลายปีนี้ ส่วนปี 61 มี 2 จุดคือ อ. เมือง จ. ขอนแก่น และที่ อ. หนองกี่ จ. บุรีรัมย์ ปี 62 ดำเนินการ 7 แห่งคือ อ. เมือง จ. อุดรธานี , อ. เมือง จ. กำแพงเพชร (ขาเข้า) , อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ , อ. สว่างวีระวงศ์ จ. อุบลราชธานี , อ. เมือง จ. กำแพงเพชร (ขาออก) , อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ และ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ปี 63 กำหนดก่อสร้าง 7 แห่ง คือ ต.ทุ่งโพธิ์ อ. นาดี จ. ปราจีนบุรี , อ. เกาะคา จ. ลำปาง (ด้านซ้ายของทาง) , อ. เมือง จ. พะเยา , อ. สมเด็จ จ. กาฬสินธุ์ , อ. คำชะอี จ. มุกดาหาร , อ. คุระบุรี จ. พังงา และ อ. เด่นชัย จ. แพร่ สำหรับอาคารบริการจุกพักรถบรรทุกที่ ทล. ดำเนินการมีทั้งพื้นที่จอดรถบรรทุก รถยนต์ส่วนบุคคล รถคนพิการ ห้องนํ้าสาธารณะ ห้องอาบนํ้า อาคารควบคุม ศาลาทางหลวงเพื่อการพักผ่อน และ งานอำนวยความปลอดภัย info: (thansettakij 24 – 26 Aug 60)
ภาพบรรยากาศจุดพักรถบรรทุก

 

ชง ครม. สร้างศูนย์ขนส่งสินค้าเชียงของ 2,200 ลบ.

กรมการขนส่งทางบกชง ครม. จ่ายค่าเวนคืนกว่า 780 ลบ. ดันโครงการศูนย์ขนส่งสินค้าเชียงของ 2.2 พัน ลบ.เป็นศูนย์ CIQ ครบวงจร วัตถุประสงค์สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าชายแดน เชื่อมสะพานข้าม ม. โขงไทย - สปป.ลาว แห่งที่ 4 กับถนน R3A ไทย -สปป.ลาว - จีนตอนใต้ ออกแบบ 2 ระยะ เล็งเอกชนร่วมทุน พร้อมสอดรับรถไฟโครงการรถไฟสายเด่นชัย - เชียงรายในอนาคต

เป็นพื้นที่ก่อสร้างกว่า 330 ไร่ 18 ตร.ว ใช้พื้นที่ฝั่งซ้ายของ ถ. หน้าด่านพรมแดน ก่อนถึงสะพานข้าม ม.โขง หลังจากเวนคืนที่ดิน จะนำเรื่องเข้าสู่ ครม. ดำเนินการก่อสร้างศูนย์เชียงของ ด้วยงบผูกพัน 3 ปี ตั้งแต่ปี 60 เสร็จปี 62 ด้วยงบประมาณ 2,265 ลบ. ออกแบบภายในศูนย์มี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 อาคารดำเนินการ คลังสินค้า ลานเปลี่ยนหัวลาก เป็นต้น สามารถรองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้ปีละกว่า 27,000 ตัน หรือรองรับปริมาณสินค้าได้วันละกว่า 6,652 ตัน รถยนต์บรรทุกวันละ 262 คัน ลักษณะการบริหารงาน คือ ภาครัฐทำหน้าที่จัดหาที่ดิน และสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก และให้ภาคเอกชนเข้าไปดำเนินการอาจเป็นลักษณะร่วมทุน และ ระยะที่ 2 เพื่อรับระบบรางตามโครงการรถไฟสายเด่นชัย - เชียงราย ในอนาคต info: (prachachat 27 Apr 60)
ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบขนส่งสินค้าเชียงของ info: The leader สถานีขนส่งสินค้าเชียงของ info: The leader

ขบ.เดินหน้าสร้างสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค 17 จังหวัด 

จากการร่วมสัมนาของกรมขนส่งทางบกกับเอกชน เพื่อแสดงเห็นต่อแนวทางการลงทุนโครงการสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาคตามแผนกำหนดไว้ทั้งหมด 17 แห่ง แต่คัดมาดำเนินการในระยะแรก 9 แห่ง รวมวงเงินกว่า 18,000 ลบ. (สถานีละ 600 - 1,000 ลบ.) จัดหาที่ดินและออกแบบแล้วเสร็จ ได้แก่ จ. เชียงราย , ตาก , หนองคาย , มุกดาหาร , สระแก้ว , ตราด , กาญจนบุรี , สงขลา และ นราธิวาส

ส่วนระยะที่ 2 อีก 8 แห่งนั้นตั้งงบประมาณปี 61 ดำเนินการเวนคืนและศึกษาออกแบบต่อไป เพื่อเสริมศักยภาพด้านการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศให้สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศต่างๆในภูมิภาค ได้แก่ จ. เชียงใหม่ , พิษณุโลก , นครสวรรค์ , ขอนแก่น , อุบลราชธานี , นครราชสีมา , ปราจีนบุรี และ สุราษฎร์ธานี 

โดยขณะนี้กรมขนส่งทางบกอยู่ในช่วงจ้างศึกษา และ วิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อต้องการหาแนวทางในการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาคที่มีความเหมาะสมมากที่สุด info: (thansettakij 10 Jun 60)

สถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค เสริมศักยภาพโลจิสติกส์

3 ทางอากาศ  (วงเงิน 11,000 ลบ.)

1.การพัฒนาท่าอากาศยานภูมิภาค 2.ปรับปรุงระบบล้าเลียงกระเป๋าสัมภาระ ทสภ. 3.MRO ณ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา
ภาพจำลองสามบินพาณิชย์เบตง ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 62 info: benarnews ภาพจำลองสามบินแม่สอด ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 62 info: skyscrapercity
เปิดแผนลงทุนสนามบินเชื่อมภูมิภาค
ท่าอากาศยานทำแผนพัฒนาท่าอากาศยานทั่วประเทศระยะแรกพัฒนา 5 ปี 60 - 64 วงเงิน 2.4 หมื่นลบ. ประกอบด้วย งบการพัฒนาสนามบินรวมทั้งสิ้น 16,184 ลบ. และงบการพัฒนาและปรับปรุงสนามบินทั่วประเทศ28 แห่ง วงเงิน 7,816 ลบ. เพิ่มปริมาณรองรับผู้โดยสารให้ถึง 30 ล้านคน ภายในปี 68  ในอนาคตเร่งพัฒนาแผนแม่บทระยะที่ 2 วงเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท เพื่อขยายรองรับผู้โดยสาร 58 ล้านคน ภายในปี  78 ทั้งนี้ เริ่มจากพัฒนาสนามบินกระบี่วงเงิน 6,892 ลบ.ระยะเวลาดำเนินการปี 61 - 63 ,สนามบินขอนแก่น วงเงิน 2,500 ลบ. โดยมีกำหนดการแล้วเสร็จในปี 64 , สนามบินนครศรีธรรมราช จะใช้วงเงิน 2,250 ลบ. , สนามบินตรัง วงเงิน 1,316 ลบ.คาดว่าช่วงระยะเวลาดำเนินโครงการจะอยู่ในปี 62 - 64 , สนามบินอุบลราชธานีนั้นใช้งบประมาณ 114 ลบ.  อย่างไรก็ตามยังมีแผนขยายสนามบินเพื่อเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้านและรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ การก่อสร้างสนามบินเบตง วงเงิน 2,040 ลบ. ขณะนี้ก่อสร้างคืบหน้าไปแล้วร้อยละ 5 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน ก.ค. 62 นอกจากนี้ ยังเร่งพัฒนาสนามบินแม่สอด วงเงิน 877 ลบ. ขณะนี้ก่อสร้างไปแล้วร้อยละ 32 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 62 คาดว่าจะแล้วเสร็จก่อนรันเวย์ในช่วงกลางปี 61 info: (Posttoday 19 Apr 60)
ภาพรวมโครงการสนามบินอู่ตะเภา - สัตหีบ
ครม. เคาะ 760 ล้านใส่อู่ตะเภา - สัตหีบพัฒนารับ ECC
ครม.อนุมัติงบ 760 ลบ. ใช้จ่ายในการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และ ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบรองรับอีอีซี ครม. สนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบเงินสำรองกรณีฉุกเฉินวงเงิน 760 ลบ. แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายแผนการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ กองทัพเรือ วงเงิน 690 ลบ. และ ค่าจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาจัดทำศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการวงเงิน 70 ลบ.  นอกจากนั้น ครม. ยังอนุมัติขยายกรอบวงเงินลงทุนเพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารเรียน ศูนย์พัฒนาบุคลากรด้านการบิน อาคารฝ่ายอำนวยการและสิ่งก่อสร้างประกอบ พร้อมครุภัณฑ์ของสถาบันการบินพลเรือน วงเงิน 1,402 ลบ. มีระยะเวลาดำเนินการ 1,260 วัน คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ภายในเดือน ก.ย.และจะแล้วเสร็จภายในปี 64 info: (Thaipost 26 Jul 60)
รูปจำลองอาคารรองสนามบินเชียงใหม่ Info : Thailand Skyline
สร้างแน่ สนามบินเชียงใหม่ 2 - สนามบินพังงา 
เนื่องจากจำนวนท่องเที่ยวสูงมากขึ้นจนเกินศักยภาพที่สนามบินรองรับได้ต้องเร่งขยาย อาคารผู้โดยสาร และ รันเวย์และสร้าง สนามบินใหม่ โดยเริ่มต้น มีโครงการจะสร้างสนามบินภูเก็ต และ สนามบินเชียงใหม่ ล่าสุด รมต. คมนาคมประชุมหารือ เตรียมพิจารณาหาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่ รวมทั้ง รูปแบบการลงทุน ของสนามบินเชียงใหม่ โดย กพท. เสนอก่อสร้างสนามบินรอง  เพื่อทำหน้าที่ถ่ายเทผู้โดยสารจากเชียงใหม่ พื้นที่ต้องอยู่ห่างจากเชียงใหม่ไม่เกิน 20 กม. และต้องมีระบบถนนที่สามารถเชื่อมต่อสะดวก สำหรับพื้นที่ก่อสร้างที่เหมาะสม กพท. เห็นควรใช้พื้นที่รอยต่อ 2 จังหวัด คือระหว่าง อ. สันกำแพง จ. เชียงใหม่ และ อ. บ้านธิ จ. ลำพูน เนื่องจากอยู่ติดกับเชียงใหม่ และปัจจุบันยังมี ถ. ของกรมทางหลวงเชื่อมต่อการเดินทางอยู่แล้ว แต่อาจจะต้องมีการขยายช่องจราจรเพิ่มขึ้นในอนาคต ส่วนแนวทางการแก้ปัญหาสนามบินภูเก็ต กพท. เห็นควรให้มีการสร้างสนามบินรองเพิ่มโดยใช้พื้นที่ใน จ.พังงา อย่างไรก็ตาม หากบอร์ด ทอท.พิจารณาแล้วว่ามีศักยภาพในการลงทุนก่อสร้างสนามบินใหม่ทั้งสองแห่ง ก็ต้องไปปรับแผนการลงทุนและทำแผนใหม่มาเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา หลังจากนั้นจะเริ่มต้นทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการต่อไป info: (oknation 26 Aug 60)
 

1 รถโดยสารสาธารณะ  (วงเงิน 2,000 ลบ.)

ซื้อรถไฟฟ้า 200 คัน พร้อมก่อสร้างสถานีประจุไฟฟ้า
ตามแผนคมนาคม 60 มีแผนจัดซื้อรถไฟฟ้า 200 คัน ขณะนี้ได้ประกาศร่าง TOR 
อ้างอิงจากเว็บไซต์ขององค์การขนส่งมวลชน กทม. อยู่ในช่วงประกาศร่างTOR จัดซื้อพร้อมว่าจ้างซ่อมรถโดยสารไฟฟ้า จำนวน 200 คัน(ครั้งที่ 2)
 

1 ตั๋วร่วม (วงเงิน 1,000 ลบ.)

1.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม
บัตรแมงมุมเริ่มใช้ 1 ตุลาคมนี้
โดยคมนาคมตั้งเป้าไว้จะใช้บัตรกับ 5 ระบบขนส่งคือ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางซื่อ-เตาปูน , สายสีม่วง บางใหญ่ - บางซื่อ , รถไฟฟ้าบีทีเอส , รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรียลลิงค์ และ รถเมล์เอ็นจีวี  เริ่มใช้เเน่ บัตรแมงมุม 1 ต.ค.นี้ใช้กับรถเมล์ ขสมก. จากนั้นปลายปี 60 - ต้นปี 61 จะสามารถใช้กับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ , สายสีม่วงช่วงบางใหญ่ - เตาปูน , รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง - บางซื่อ และ รถไฟฟ้าบีทีเอสจะทยอยเริ่มใช้บริการตั้งแต่กลางปี 61 เป็นต้นไป แต่ในส่วนของระบบรถไฟฟ้า จะใช้บัตรได้แค่สถานีร่วม เช่น สถานีจตุจักร , สถานีอโศก และ สถานีพญาไท เท่านั้น ยังไม่สามารถใช้ได้ครบทุกสถานีทุกสายทาง แต่จะมีการเร่งรัดให้ปรับระบบรองรับบัตรแมงมุมได้ครบทุกสถานีในเดือน มี.ค. ปีหน้า  ส่วนของรถไฟฟ้าสายสีชมพู และ สีเหลือง ที่กำลังเริ่มก่อสร้างมีข้อกำหนดใน TOR ให้ใช้ระบบบัตรแมงมุม เมื่อก่อสร้างเสร็จเปิดให้บริการก็จะใช้บัตรแมงมุมได้ทันที และ บัตร Rabbit ที่มีอยู่ ส่วน E - Ticket ของรถเมล์ หลังจากลงนามกับพารท์เนอร์ เรื่อง สัญญาเช่าระบบบัตร E - Ticket จำนวน 2,600 คัน ล่าสุด คาดต้องติดตั้งกล่องเก็บค่าโดยสาร (Cash Box) และ เครื่องสแกนตั๋วอัตโนมัติ (E-ticket) ให้ได้  800 คันภายใน 30 ก.ย. นี้ เพื่อใช้งานร่วมกับบัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อย และ บัตรแมงมุมได้ ส่วนที่เหลืออีก 1,800 คัน ต้องติดตั้งให้แล้วเสร็จภายใน  1 ปี หรือไม่เกินกลางปี 61 ส่วนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรียลลิงค์ อยู่ในระหว่างปรับปรุงระบบ งบกว่า 140 ลบ.เตรียมเสนอให้ รฟท. อนุมัติเร็วๆนี้ และถ้าผ่านแล้วต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปีซึ่งไม่สามารถใช้ได้ตามระยะเวลาที่ สนข.ตั้งไว้แน่นอน info: (bltbangkok 13 Jul 60)
ภาพไทม์ไลน์การใช้บัตรแมงมุม  info: bltbangkok
 

สรุปสถานะโครงการ

โครงการที่พร้อมให้บริการ

- เดินเรือเฟอร์รี่เชื่อมอ่าวไทยตอนบน (พัทยา - หัวหิน)
- การพัฒนาท่าเรือเฟอร์รี่เชื่อมอ่าวไทยตอนบน (พัทยา - หัวหิน)
- การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม

โครงการที่เริ่มดำเนินการก่อสร้างได้

- มอเตอร์เวย์สายนครปฐม - ชะอำ - ทางด่วนสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอก กทม. ด้านตะวันตก
- การปรับปรุงระบบลำเลียงกระเป๋าสัมภาระท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - MRO ณ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา
- การพัฒนาท่าอากาศยานในภูมิภาค (ท่าอากาศยานแม่สอด จ.ตาก ท่าอากาศยานสกลนครและสนามบินเบตง )

โครงการที่เริ่มประกวดราคาได้

- รถไฟทางคู่ช่วงหัวหิน – ประจวบคีรีขันธ์ - รถไฟทางคู่ช่วงชุมพร – สุราษฎร์ธานี - รถไฟทางคู่ช่วงปากน้้าโพ – เด่นชัย - รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ
- รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายสีส้ม ตลิ่งชัน - ศูนย์วัฒนธรรมฯ - รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายสีเขียวเข้ม สมุทรปราการ - บางปู - รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายสีเขียวเข้ม คูคต - ลำลูกกา - รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อม ทสภ. ส่วนต่อขยาย (ช่วงดอนเมือง - บางซื่อ - พญาไท) 
- โครงการจัดซื้อรถโดยสารไฟฟ้า จำนวน 200 คัน - รถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม - หัวหิน - รถไฟทางคู่ช่วงลพบุรี – ปากน้าโพ - รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนระบบขนส่งมวลชน จังหวัดภูเก็ต

โครงการที่เสนอคณะรัฐมนตรี หรือคณะกรรมการ PPP

- รถไฟความเร็วสูง กทม. - โคราช - รถไฟทางคู่ช่วงสุราษฎร์ธานี – สงขลา - รถไฟทางคู่ช่วงหาดใหญ่ – ปาดังเบซาร์ - รถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย – เชียงใหม่ - รถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย – เชียงราย - เชียงของ - รถไฟทางคู่ช่วงบ้านไผ่ – นครพนม
- รถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น – หนองคาย - รถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ - อุบลราชธานี - รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ระบบขนส่งมวลชน จังหวัดภูเก็ต - รถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต - มธ. รังสิต - รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน - ศิริราช
- มอเตอร์เวย์ สายหาดใหญ่ - ชายแดนไทย / มาเลเซีย - ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ - ศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม - พัฒนาสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค (ชายแดน 9 จังหวัด) - พัฒนาสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค (เมืองหลัก 8 จังหวัด)

โครงการที่หน่วยงานเตรียมข้อเสนอโครงการแล้วเสร็จ

- รถไฟความเร็วสูง กทม. - หัวหิน - รถไฟความเร็วสูง กทม. - ระยอง - รถไฟความเร็วสูง กทม. - พิษณุโลก
- รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายสีน้ำเงิน บางแค - พุทธมณฑลสาย 4 - ทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และ E - W Corridor
- โครงการทางพิเศษ สายกระทู้ - ป่าตอง - ท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3

โครงการสำคัญที่ต้องการผลักดัน

- โครงการพัฒนาจุดพักรถบรรทุกตามเส้นทางการขนส่งสินค้าหลักของประเทศ (จ.บุรีรัมย์ อุดรธานี และ กำแพงเพชร)  

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

   
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon