realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

ปิดดีล !! Bangkok Terminal ติด BTS จตุจักร ลงทุนกว่า 27,000 ลบ.

29 May 2020 5.5K

ปิดดีล !! Bangkok Terminal ติด BTS จตุจักร ลงทุนกว่า 27,000 ลบ.

29 May 2020 5.5K
 

ปิดดีล !! Bangkok Terminal โครงการ Mega Project ติด BTS จตุจักร ลงทุนกว่า 27,000 ลบ.

ล่าสุด กรมธนารักษ์ จับมือ “เสี่ยน้ำ - มหฐิติรัฐ” เจ้าของ บจ.ซันทาวเวอร์ส พัฒนาโครงการ Bangkok Terminal โครงการ Mixed-use ขนาดใหญ่ ติดสวนจตุจักร ซึ่งเป็นที่ดินของราชพัสดุ ในการดูแลของกรมธนารักษ์ สำหรับตัวโครงการจะประกอบด้วย สำนักงาน, ที่พักอาศัย, ศูนย์การค้า, บขส. เป็นต้น โดยอายุสัมปทานจะอยู่ที่ 30 ปี ซึ่งสามารถต่ออายุได้ 2 ครั้ง (ครั้งละ 10 ปี)

การจับมือครั้งนี้ กรมธนารักษ์ จะได้ผลตอบแทน ดังนี้ ค่าตอบแทน 550 ลบ. ค่าตอบแทน (ระหว่างใช้ที่ดินก่อสร้าง) 509,300 บ. ค่าเช่าเริ่มต้น 5.35 ลบ./ปี (ปรับขึ้น 15% ทุก 5 ปี)

ปัจจุบัน โครงการอยู่ในช่วงทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) แต่เนื่องจากเหตุการณ์ COVID-19 ทำให้การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด ทำให้ต้องเลื่อนการเซ็นสัญญา ออกตามไปด้วย ( ข้อมูลจาก : ประชาชาติ )

ที่มาโครงการ

บริษัท บางกอกเทอร์มินอล จำกัด เป็นผู้ได้รับสิทธิในการดำเนินงานในโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานในที่ดินราชพัสดุบริเวณสถานขนส่งหมอชิตจากกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง โครงการนี้พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบายของภาครัฐด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย
ถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์กลางการขนส่งคมนาคม (Transportation Hub) โดยมีสถานีกลางขนส่งมวลชนเพื่อเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ รวมทั้งมีการพัฒนาคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ในพื้นที่โครงการนี้ด้วย
 

Mega Project ประเภท Mixed-use ว่าที่ บขส. ใหม่

โครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานในที่ดินราชพัสดุบริเวณสถานีขนส่งหมอชิต มีพื้นที่ประมาณ 63-0-94 ไร่ ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพ ภายในพื้นที่โครงการประกอบด้วย

อาคารสำนักงาน, อาคารที่พักอาศัย, โรงแรม, ศูนย์การค้า, อาคารจอดรถ, ศูนย์ประชุม และสถานีรับส่งผุ้โดยสาร โดยบริษัท ขนส่ง จำกัด

ระยะเวลาก่อสร้าง: 60 เดือน (5 ปี) คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2564

เป็นสถานีจอดรับ-ส่งผู้โดยสารรูปแบบใหม่ที่เน้นการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพพร้อมกับเทคโนโลยีที่เหมาะสม มีการกำหนดเวลาเข้า-ออกสถานีขนส่งของรถโดยสารตามตารางเวลา ให้บริการแบบการใช้ชานชาลาร่วมกัน ลักษณะเดียวกับสนามบิน มีระบบการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้โดยสารโดยการแสดงข้อมูลรถโดยสารและชานชาลาด้วยระบบสารสนเทศ มีระบบการตรวจสอบตั๋วและตรวจความปลอดภัยที่ชานชาลาก่อนโดยสาร มีระบบตู้ขายตั๋วอัตโนมัติและออนไลน์ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ประชาชน

รูปแบบการจราจร เข้า-ออกโครงการ

ทางเชื่อมยกระดับด้านถนนพหลโยธิน ฝั่งมุ่งหน้าห้าแยกลาดพร้าว

เป็นทางยกระดับบนถนนพหลโยธินฝั่งขาออก สำหรับรถที่ออกจากโครงการมุ่งหน้าไปยังห้าแยกลาดพร้าว เพื่ออำนวยความสะดวกกับผู้ที่ต้องการมุ่งไปทางทิศเหนือ สามารถบรรเทาผลกระทบด้านการจราจรของจุดกลับรถบริเวณแยกกำแพงเพชร และช่วยแบ่งเบาปริมาณจราจรที่จะออกจากโครงการด้านถนนวิภาวดีรังสิต ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบด้านจราจรบริเวณห้าแยกลาดพร้าว โครงการมีแนวคิดที่จะขยายทางยกระดับไปลงบนถนนวิภาวดีรังสิตก่อนถึงด่านโทลล์เวย์ลาดพร้าว

ทางเชื่อมยกระดับด้านถนนพหลโยธิน ฝั่งมุ่งหน้าสะพานควาย

เป็นทางยกระดับที่บูรณาการกับโครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณแยกเกียกกาย ช่วงบริเวณถนนพหลโยธินและถนนกำแพงเพชร ผู้ที่เดินทางมาจากสะพานควายสามารถเลี้ยวซ้ายไปขึ้นทางยกระดับจากถนนกำแพงเพชร 2 เข้าสู่โครงการ เป็นการบรรเทาผลกระทบด้านการจราจรของจุดกลับรถบริเวณห้าแยกลาดพร้าว นอกจากนี้ ยังเป็นการเชื่อมต่อโครงข่ายกับพื้นที่ด้านตะวันตกของกรุงเทพมหานคร โดยสามารถรองรับผู้เดินทางที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณแยกเกียกกายมาสู่โครงการได้อย่างสะดวก

ทางเชื่อมยกระดับด้านถนนวิภาวดีรังสิตและดอนเมืองโทลเวย์

เป็นทางยกระดับเพื่อเชื่อมพื้นที่สถานีขนส่งผู้โดยสารในอาคารกับถนนวิภาวดีรังสิตกับดอนเมืองโทลล์เวย์ สามารถรองรับรถโดยสารและรถยนต์ที่ใช้ดอนเมืองโทลล์เวย์ในทิศมุ่งเหนือออกจากโครงการและทิศมุ่งใต้เข้าสู่โครงการ มีทางขึ้น-ลงเชื่อมกับถนนวิภาวดีรังสิตสำหรับรถที่ไม่ต้องการใช้ทางด่วน ช่วยบรรเทาผลกระทบด้านการจราจรที่เกิดจากรถโดยสารขนาดใหญ่โดยให้แยกใช้ทางยกระดับเข้า-ออกพื้นที่สถานีขนส่งโดยตรง นอกจากนี้ เป็นการเพิ่มทางเลือกในการเข้า-ออกโครงการสำหรับผู้ที่เดินทางมายังโครงการนอกเหนือจากทางเข้า-ออกบนถนนพหลโยธิน

ที่มา : Bangkok-Terminal
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon