realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

BEM รวบ 2 ธุรกิจโลจิสติกส์

05 Jan 2016 14.1K

BEM รวบ 2 ธุรกิจโลจิสติกส์

05 Jan 2016 14.1K
 

BEM 2 ธุรกิจจาก ช.การช่าง

"BEM" บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เกิดขึ้นจากการรวมตัวของ BECL (ทางด่วน) และ BMCL (รถไฟฟ้า) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ช. การช่าง ผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ ภายในปี 2559 BECL จะเปิดเส้นทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกให้ใช้บริการกัน ซึ่งจะส่งผลให้มีเส้นทางการเดินทางครอบคลุมฝั่งตะวันตกของกทม.มากขึ้น และทาง BMCL จะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงคลองบางไผ่-เตาปูนอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 ส.ค. 59 โดยการคาดการณ์รายได้ในปี 2560 หลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จทั้ง 2 โครงการ BECL จะมีรายได้ประมาณ 6,000 ลบ. ในขณะที่ BMCL จะมีรายได้ประมาณ 4,000 ลบ. ถือเป็นรายได้ที่น่าสนใจและดึงดูดนักลงทุน BEM จะมีมูลค่ารวมของหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap) เพิ่มขึ้นเป็นอันดับที่ 35 ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วยมูลค่ากว่า 7.8 หมื่นลบ. และจะเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหุ้น วันที่ 5 ม.ค.59 นี้

ชื่อใหม่ คือ BEM!

BEM หรือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่เกิดขึ้นจากการควบบริษัทตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ระหว่างบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) ที่มีคู่สัญญาเป็น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ (BECL) ที่มีคู่สัญญาเป็นการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ในวันที่ 30 ธ.ค. 58 โดยทั้งสองเป็นบริษัทลูกของบริษัทก่อสร้างรายใหญ่อย่าง ช. การช่าง แผนธุรกิจของ BEM จะมีธุรกิจหลัก 3 ประเภท คือ ระบบราง, ระบบถนน , การพัฒนาเชิงพาณิชย์
การควบรวมกิจการเป็นการรวมจุดแข็งของทั้ง 2 บริษัทเข้าไว้ด้วยกัน โดย BECL มีฐานะทางการเงิน รายได้ ที่แข็งแกร่ง ขณะที่ BMCL มีศักยภาพในการเติบโตสูง เนื่องจากมีโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ที่รัฐบาลเร่งลงทุน ดังนั้นบริษัทใหม่ที่มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งจะสามารถเพิ่มโอกาสในการลงทุนโครงการต่างๆทั้งในและนอกประเทศเพื่อสร้างรายได้และผลตอบแทนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการรวมหุ้น BECL และ BMCL เป็น BEM พร้อมเปิดการซื้อขายในตลาดหุ้นวันที่ 5 ม.ค. 59 เป็นวันแรก อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่า ธุรกิจของ BECL และ BMCL ที่ผ่านมามีอะไรบ้าง ทางrealistจึงรวบรวมโครงการที่อยู่ในการดูแลของทั้ง2ธุรกิจมาให้ดูกัน    
เป็นผู้ให้บริการทางด่วน คือ ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) และทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด) ซึ่งเชื่อมต่อกับเครือข่ายทางพิเศษที่ครอบคลุมพื้นที่หลักของกรุงเทพและปริมณฑล ทําให้ผู้ใช้ทางสามารถเดินทางจากทิศเหนือของกรุงเทพมหานครไปยัง ทิศใต้และทิศตะวันออกของกรุงเทพฯได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่จําเป็นต้องเดินทางผ่านเส้นทางถนนพื้นล่างมีการจราจรที่ติดขัด ภายในปี 2559 นี้เมื่อโครงการทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครเปิดให้บริการ ก็จะสามารถเชื่อมโยงไปยังทิศตะวันตกของ กรุงเทพครบทุกทิศทาง โดยมีรายละเอียดของแต่ละเส้นทางดังนี้
 

ทางด่วนที่ได้รับสัมปทานจาก BECL

  • BECL = Bangkok Expressway Public Company Limited
  • NECL = North Bangkok Expressway Public Company Limited
  • EXAT = Expressway Authority of Thailand
  • SOE = Si Rat - Outer Ring Road Expressway
  • BTO = Build-Transfer-Operate

ทางพิเศษศรีรัช (ระบบทางด่วนขั้นที่ 2)

ลักษณะของทางพิเศษศรีรัช เป็นการก่อสร้างทางพิเศษยกระดับขนาด 6 เลน ความยาวประมาณ 38.5 กม. เชื่อมพื้นที่ตอนบนของกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี ได้รับสัมปทานจาก BECL  30 ปี โดยแบ่งพื้นที่บริการเป็น 2 โครงข่าย ดังนี้
  • โครงข่ายในเมือง
  • SECTOR A พระราม 9 - รัชดาภิเษก
  • SECTOR B โครงกรองน้ำสามเสน - บางโคล่
  • โครงข่ายนอกเมือง 
  • SECTOR C รัชดาภิเษก - แจ้งวัฒนะ
  • SECTOR D พระราม 9 - ศรีนครินทร์
 

ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน - ปากเกร็ด)

BECL ได้จัดตั้ง บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด (NECL) ให้เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างและบริหารโครงการ อายุสัมปทาน 30 ปี นับจากวันที่ 27 ก.ย. 39 ถึง วันที่ 26 ก.ย. 69 เชื่อมต่อจากทางพิเศษศรีรัชที่ SECTOR C ทำให้ระบบโครงข่ายของถนนและทางพิเศษในพื้นที่กรุงเทพตอนบนสมบูรณ์ขึ้น เพราะทางพิเศษอุดรรัถยา ทำหน้าที่เป็นเส้นแนวรัศมีรับปริมาณการจราจรจากใจกลางเมือง มาเชื่อมกับถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตกของกรมทางหลวง แบ่งออกเป็น 2 ระยะ
  • SECTOR C1+ แจ้งวัฒนะ - เชียงราก
  • SECTOR C2+ เชียงราก-บางไทร  
 

ล่าสุด! ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ

BECL ได้รับสัมปทานโครงการทางพิเศษสายศรีรัช - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นการขยายโครงข่ายของทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลไปทางทิศตะวันตก ที่ถ.วงแหวนรอบนอก (กาญจนาภิเษก) ฝั่งตะวันตก โดยมีรายละเอียดดังนี้

แนวเส้นทาง

เป็นทางพิเศษยกระดับขนาด 6 เลน มีระยะทาง 16.7 กม. แนวเส้นทางโครงการจะเป็นการขยายโครงข่ายทางด่วนไปด้านทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างพื้นที่ฝั่งธนบุรีกับในเมือง โดยแนวจะเริ่มจากถนนวงแหวนรอบนอก หรือถนนกาญจนาภิเษก บริเวณใกล้โรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์ ไปทางทิศตะวันออกตามแนวเขตทางรถไฟสายใต้เดิม ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระราม 6 จนถึงบริเวณบางซื่อเชื่อมต่อทางด่วนขั้นที่ 2 ด้านเหนือของสถานีขนส่งหมอชิต 2

จุดต่อเชื่อม

โครงการมีจุดต่อเชื่อมกับถ.สายหลักและทางพิเศษ ดังนี้ - ด่านกาญจนาภิเษก-ถ.กาญจนภิเษกด้านตะวันตก - ด่านราชพฤกษ์-ถ.ราชพฤกษ์ - ด่านบรมราชชนนี-ทางยกระดับบรมราชชนนี (ขาเข้าเมือง) - ด่านบางบำหรุ-ถ.สิริธร, ถ.เทิดพระเกียรติ, รอบสถานีรถไฟบางบำหรุ - ด่านจรัญสนิทวงศ์ 2-ถ.จรัญสนิทวงศ์, โครงการสะพานเกียกกาย - ด่านจรัญสนิทวงศ์ 1-ถ.จรัญสนิทวงศ์ หน้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (ถ.บางกรวยไทรน้อย) - ด่านพระราม 6-ถ.ประชาราษฏร์สาย 1, ถ.รัชดาภิเษกฝั่งพระนคร, ถ.พิบูลย์สงคราม - ด่านศรีรัช-ทางพิเศษศรีรัช, ถ.กำแพงเพชร 2

ทางขึ้น-ลง

มีการกำหนดทางขึ้น-ลงไว้ 6 แห่ง โดยแต่ละแห่งมีระยะห่างกันประมาณ 3 กม. ดังนี้

-  ทางขึ้น-ลง กาญจนาภิเษก -  ทางขึ้น-ลง ราชพฤกษ์ -  ทางขึ้น-ลง บางบำหรุ -  ทางขึ้น-ลง จรัญสนิทวงศ์ -  ทางขึ้น-ลง พระรามหก -  ทางขึ้น-ลง กำแพงเพชร

ทางแยกต่างระดับ

ตอบสนองต่อความปลอดภัย และการเลี้ยวเปลี่ยนทิศทางของพาหนะ โดยทำให้เกิดการเลื่อนไหลของการจราจรอย่างอิสระ ในโครงการมี 3 แห่ง

-  ทางแยกต่างระดับถ.กาญจนาภิเษก -  ทางแยกต่างระดับบรมราชชนนี -  ทางแยกต่างระดับศรีรัช

ความคืบหน้าโครงการ

โครงการมีมูลค่ารวมภาษีแล้ว อยู่ที่ประมาณ 24,000 ลบ. ปัจจุบันมีความก้าวหน้ากว่า 70% เร็วกว่าแผนงานที่ตั้งไว้ 2.52% ขณะนี้อยู่ระหว่างงานก่อสร้างสายทางหลัก งานสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา งานอาคารด่าน และงานโครงสร้างทางขึ้น-ลง คาดว่าก่อสร้างจะแล้วเสร็จ พ.ค. 2559 จากนั้นจะเปิดให้บริการใน ก.ค. 2559 หลังเปิดใช้บริการปีแรก คาดรถมาใช้บริการ 97,000 คัน/วัน การเก็บค่าผ่านทางมี 2 แบบ เก็บเงินก่อนใช้บริการทางด่วนในราคาเหมาจ่าย 50 บาท และเก็บเงินผ่านระบบเก็บเงินอัตโนมัติหรือบัตร Easy Pass    
ปัจจุบันได้รับสัมปทานจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในโครงการระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง) ซึ่งให้บริษัทมีสิทธิ ในการให้บริการเดินรถและจัดเก็บรายได้ค่าโดยสาร และอีกโครงการคือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (คลองบางไผ่-เตาปูน) เป็นสัมปทานรับจ้างเดินรถ ซึ่งอยู่ระหว่างการทดสอบเดินรถ และพร้อมเปิดให้บริการได้ภายในปี 2559 ในอนาคตBMCL อาจได้รับสัมปทานในรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-ท่าพระเพิ่มเติม เนื่องจากเป็นเส้นทางต่อเนื่องจากเส้นทางสัมปทานเดิม รวมถึงส่วนต่อขยายสายสีม่วง สายสีส้ม สายสีแหลือง และสายสีชมพู ซึ่งเราต้องรอดู ติดตามควาบคืบหน้ากันต่อไป เนื่องจากเป็นโครงการในมาตรการเร่งรัดให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP fast track) 
   

เส้นทางสัมปทานรถไฟฟ้าของ BMCL

 

ความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีม่วง

  โครงสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ เริ่มจากบริเวณคลองบางไผ่ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า ถนนวงแหวนรอบนอก (ตะวันตก) กาญจนาภิเษก เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้สะพานพระนั่งเกล้า ก่อนถึงสี่แยกแครายจะเลี้ยวขวาไปตามถนนติวานนท์ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนกรุงเทพ - นนทบุรี ถึงบริเวณแยกเตาปูน มีสถานีเตาปูนเป็นสถานีเชื่อมต่อกับสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้ารถไฟฟ้าใต้ดิน MRT (สายสีน้ำเงิน) และในอนาคตจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ ปัจจุบันสถานีและเส้นทางเดินรถก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมทดลองเดินรถแล้ว มีรถไฟมาแล้ว 3 ขบวน หลังจากนี้ขบวนรถไฟฟ้าจะทยอยเดินทางมาถึงประเทศไทย จนครบทั้ง 21 ขบวนภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2559   

รายได้ที่ผ่านมาของ BECL และ BMCL

จากการรวบรวมรายได้ของBECL และ BMCL พบว่ารายได้ของทั้งสองบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไปอีก BEM จะเข้าสู่ยุคทองตั้งแต่ปี 59 เนื่องจากจะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เพิ่มอีก 2 เส้นทางคือ ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกราว 3Q59 และ รถไฟฟ้าสายสีม่วงในวันที่ 12 ส.ค. 59 คาดว่าเมื่อทั้งสองโครงการเปิดให้บริการแก่ประชาชน ในปี 2560 ธุรกิจทางด่วนจะสามารถสร้างรายได้ถึง 6,000 ลบ. และ ธุรกิจรถไฟฟ้าสร้างรายได้ได้ประมาณ 4,000 ลบ. ซึ่งจะทำให้รายได้รวมขยายตัวได้เฉลี่ยถึงปีละ 25% และ ในช่วง 5 ปีข้างหน้าอาจเติบโตได้ถึง 32% เมื่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงเปิดให้บริการ จะมีส่วนทำให้รถไฟฟ้าทั้งสองสายมีผู้มาใช้บริการเพิ่มขึ้น 60,000 คน จากเดิมเฉลี่ย 260,000 คน/วัน เป็น 300,000 คน/วัน ซึ่งผ่านจุดคุ้มทุน ส่งผลให้รายรับของ BMCL เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมถึง 700 ลบ./ปี อีกทั้งยังคาดการณ์ว่าผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงินพร้อมกับส่วนขยายในปี 60 จะมีมากถึง 800,000 คน/วันเลยทีเดียว นอกจากนั้น จำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงจำนวนผู้ชมสื่อโฆษณาเคลื่อนที่ที่มากขึ้น จึงเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจสื่อโฆษณาบนรถไฟฟ้าของบริษัทลูกอย่าง BMN ค่อยๆเติบโตขึ้น และจะเติบโตชัดเจนอย่างมากเมื่อการขนส่งมวลชนระบบรางครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างมากยิ่งขึ้น Info : BECL, BMCL, BEM, EXAT, MONEY CHANELS, BANGKOK POST, NOW26 BECL & BMCL
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon