realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (220)
 (317)
 (380)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (40)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (220)
 (317)
 (380)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (40)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล

29 Sep 2017 6.6K

รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล

29 Sep 2017 6.6K
 

อัพเดตรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (2566)

 
โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) เป็นโครงการที่เริ่มต้นมาจากแนวคิดที่จะศึกษาและทบทวนโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ที่มีการก่อสร้างเสาตอม่อเตรียมไว้แล้วบนแนวกึ่งกลางถนนประเสริฐมนูกิจ (ถนนเกษตร-นวมินทร์) กระทรวงคมนาคมจึงมีแนวคิดที่จะดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลเป็นการทดแทนโดยใช้เสาตอม่อโครงการทางด่วนดังกล่าวให้เกิดประโยชน์
ซึ่งในปี 2561 ได้มีการสรุปผลการศึกษาออกมาว่าสามารถสร้างได้ทั้ง 2 ระบบ โดยจะมีส่วนที่ซ้อนทับกันในบางช่วง ทางด่วนขั้นที่ 3 จะเป็นเส้นทางเชื่อมกับระบบทางพิเศษระหว่างเมืองด้านตะวันออก-ตะวันตก ในตอนนี้ทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของส่วนทดแทนตอน N1 ส่วนทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2 นั้นคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ได้มีมติเห็นชอบให้ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ดำเนินโครงการ ซึ่งจะเชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก
โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 จะเริ่มก่อสร้างในต้นปี 2568 ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลตามแผนคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างประมาณเดือน ต.ค. 2568  
รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ยกระดับตลอดเส้นทาง มีระยะทางรวม 22.1 กม. มี 20 สถานี โดยมีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากแยกแคราย (เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง และสายสีชมพู) ไปตามแนวถนนงามวงศ์วาน (เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง บริเวณสถานีบางเขน) ผ่านแยกเกษตร (เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม บริเวณสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ผ่านแยกฉลองรัช(เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา) ไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ถนนนวมินทร์ และไปสิ้นสุดบริเวณถนนรามคำแหง (เชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มและสีเหลือง บริเวณแยกลำสาลี)
เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2566 นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด รฟม. ได้มีมติเห็นชอบหลักการ ผลการศึกษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 รูปแบบ PPP-Net cost หลังจากนี้จะนำเสนอรายงานผลการศึกษาโครงการฯ ขอความเห็นชอบในการดำเนินโครงการฯ จากกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ ประมาณช่วงเดือน ก.ย. 2566 และจะเข้าสู่ขั้นตอนการตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 36 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เพื่อคัดเลือกเอกชน มีแผนเริ่มก่อสร้างช่วงปลายปี 2568
ขณะนี้รายงานการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ คชก. ซึ่ง รฟม.ได้นำข้อมูลเพิ่มเติมให้ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ที่เป็นผู้ดำเนินการด้าน EIA โครงการฯ ตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อชี้แจงต่อ คชก.ต่อไป
งบประมาณ มูลค่าลงทุนรวม 41,720 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 7,371 ล้านบาท ค่างานก่อสร้างงานโยธา 19,247 ล้านบาท ค่าติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าและงานจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้า 12,442 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารควบคุมงานก่อสร้างงานโยธา งงานติดตั้งและทดสอบงานระบบรถไฟฟ้าฯ 1,159 ล้านบาท ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด(Provisional Sum) 1,501 ล้านบาท
การเวนคืน โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล มีที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามแนวเส้นทาง สถานี และศูนย์ซ่อมบำรุงรวม 436 แปลง พื้นที่ประมาณ 67 ไร่ 1 งาน 52.3 ตารางวา และต้องรื้อถอนอาคาร รวมถึงสิ่งปลูกสร้างประมาณ 232 หลัง
คาดการณ์ มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของโครงการ (EIRR) 23.48%, NPV 56,662 ล้านบาท, B/C Ratio 2.79 เท่า โดยคาดการณ์ผู้โดยสารปี 2571 ณ ปีเปิดให้บริการ ที่ 222,650 คน-เที่ยวต่อวัน ค่าโดยสาร 14 บาทสูงสุด 42 บาท ราคา ณ ปี พ.ศ. 2566

ที่มา : สนข., รฟม.

เบื้องต้นได้กำหนดสถานีต่างๆ ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล รวม 20 สถานี ประกอบไปด้วย 
1.ศูนย์ราชการนนทบุรี (BR01)
2.งามวงศ์วาน 2 (BR02)
3.งามวงศ์วาน 18 (BR03)
4.ชินเขต (BR04)
5.บางเขน (BR05)
6.ม.เกษตรฯ ประตูงามวงศ์วาน (BR06)
7.แยกเกษตร (BR07)
8.คลองบางบัว (BR08)
9.ประเสริฐมนูกิจ-ลาดปลาเค้า (BR09) 
10.ประเสริฐมนูกิจ-เสนานิคม (BR10) 
11.สตรีวิทยา 2 (BR11)
12.ทางต่างระดับฉลองรัช (BR12)
13.คลองลำเจียก (BR13)
14.นวลจันทร์ (BR14)
15.ประเสริฐมนูกิจ-นวมินทร์ (BR15)
16.โพธิ์แก้ว (BR16)
17.อินทรารักษ์ (BR17)
18.สวนนวมินทร์ภิรมย์ (BR18)
19.การเคหะแห่งชาติ (BR19)
20.ลำสาลี (BR20)
 
แผนการดำเนินงานในอดีต
ปี 2556
  • สนข. ปรับโครงการเป็นรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลเนื่องจากม.เกษตรศาสตร์มีข้อกังวลกับโครงการทางด่วน แต่ในปี 2561 สรุปว่าควรทำทั้งสองเพราะมีจุดมุ่งหมายในการใช้งานที่ต่างกัน
ปี 2562
  • ม.เกษตรศาสตร์ขอให้ สนข.ทบทวนรถไฟฟ้ารูปแบบอื่น เกรงส่งผลกระทบต่อการใช้พื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยและภูมิทัศน์โดยรอบ
ปี 2563
  • ม.เกษตรศาสตร์เห็นด้วยและยินดีให้ใช้พื้นที่ในรูปแบบของการรอนสิทธิที่ดิน โดยภาครัฐจะจ่ายค่าใช้จ่ายสิทธิที่ดินให้
แผนการดำเนินงานในปัจจุบัน
ปี 2566
  • วันที่ 23 ม.ค. 2566 มีการประชุมเพื่อจัดทำรายงาน EIA ฉบับปรับปรุง และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคชก.
  • วันที่ 18 พ.ค. 2566 บอร์ด รฟม.ได้มีมติเห็นชอบหลักการ ผลการศึกษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 รูปแบบ PPP-Net cost
แผนการดำเนินงานในอนาคต
ปี 2566
  • คาดการณ์ นำเสนอรและขอความเห็นชอบในการดำเนินโครงการฯ จากกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป
ปี 2567
  • คาดการณ์ ทาง รฟม. มีแผนดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน PPP
ปี 2568
  • คาดการณ์ เริ่มก่อสร้างโครงการ
ปี 2571
  • คาดการณ์ เปิดให้บริการประชาชน
 

อัพเดทสถานการณ์ล่าสุด (พ.ค. 2564)

วันที่ 30 มี.ค. 63 มีการอนุมัติให้ รฟม. ดำเนินโครงการ รฟฟ. สายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) ตามขั้นตอนใน พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) โดยให้ รฟม. นำเสนอขอความเห็นชอบในการดำเนินโครงการ รฟฟ. สายสีน้ำตาลฯ จากกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี(ครม.) ต่อไป 
สำหรับการก่อสร้างนั้น มีมติให้ รฟม. ดำเนินการก่อสร้างฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯ ไปพร้อมกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ในความรับผิดชอบของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) โดยมีกรอบวงเงินรวม 1,470 ลบ. ประกอบด้วย ค่างานก่อสร้างฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯ ในส่วนที่ซ้อนทับกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 จำนวน 1,418 ลบ. (รวมค่า Provisional Sum) และค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง 52 ลบ.  
ซึ่งขณะนี้  รฟม. กำลังเร่งรัดนำเสนอเรื่องดังกล่าวไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณานำเรื่องเสนอขออนุมัติจาก ครม.โดยเร็ว เพื่อพิจารณานำเรื่องเสนอขออนุมัติจาก ครม.โดยเร็ว เพื่อให้สอดคล้องไปกับการดำเนินงานโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และลดภาระค่าก่อสร้าง ย่นระยะเวลาการก่อสร้าง และลดปัญหาการจราจรระหว่างการก่อสร้าง ทั้งยังช่วยลดผลกระทบในระหว่างก่อสร้างต่อประชาชนให้เหลือน้อยที่สุดอีกด้วย
รายละเอียด รฟฟ. สายสีน้ำตาล 
รฟฟ. สายสีน้ำตาล เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) มีโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 20 สถานี ระยะทาง 22.1 กิโลเมตร โดยพื้นที่โครงการฯ มีส่วนซ้อนทับกับโครงสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2 บนแนวถนนประเสริฐมนูกิจ เป็นระยะทาง 7.2 กิโลเมตร (จำนวน 6 สถานี) ซึ่งรูปแบบเบื้องต้นของฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯ จะก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งเป็นคานคอนกรีตที่วางบนคานขวาง และ Bearing Shoe และออกแบบให้มีเสาตอม่อสายสีน้ำตาลแทรกระหว่างเสาทางด่วนที่ก่อสร้างไว้แล้ว มีระยะระหว่างช่วงตอม่อโดยทั่วไปประมาณ 25 – 30 เมตร  
การเชื่อมต่อ รฟฟ. สายสีน้ำตาล มีจุดเชื่อมรถไฟฟ้า 7 สาย ได้แก่ สีม่วง ชมพู แดง เขียว เทา ส้ม และเหลือง ซึ่งสถานีลำสาลีจะเป็นชุมทางรถไฟฟ้า 3 สาย ทั้งสีส้ม มีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ สีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง และสีน้ำตาลเกษตร แคราย 
งบประมาณ สายสีน้ำตาลลงทุน 48,386 ลบ. มีค่าเวนคืน 7,257 ลบ. งานโยธา 20,564 ลบ. ระบบ 19,013 ลบ. ปีนี้ต้องจ้างที่ปรึกษาศึกษา PPP น่าจะเป็น net cost 30 ปี เหมือนสีชมพู เหลือง คาดขออนุมัติคณะรัฐมนตรีประมูลปี 2565”  
การเวนคืน ทั้งโครงการต้องเวนคืน 7,228.72 ลบ. ค่าเวนคืนที่ดิน 79 ไร่ 6,115.29 ล้านบาท นอกนั้นเป็นอาคาร 268 หลัง วงเงิน 1,113.42 ล้านบาท

 ที่มา : สนข.

อัพเดทสถานการณ์ล่าสุด (ม.ค. 2561)

กระทรวงคมนาคมเตรียมแนวทางการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ต่อที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ภายในเดือน มี.ค. 2561 นี้ ภายหลังได้ประชุมคณะกรรมการร่วมกันหลายภาคส่วนรวมทั้งสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) โดยที่ประชุมเห็นชอบแนวทางเลือกที่ 4 พัฒนาด้วยระบบรถไฟฟ้า และระบบทางด่วนบนแนวสายทางเดียวกัน ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับเวทีเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชน เพื่อแก้ปัญหาการจราจรตามแนวถนนเกษตร-นวมินทร์ และเชื่อมต่อการเดินทาง ระหว่างทิศตะวันตกและทิศตะวันออกของกรุงเทพฯ สำหรับรูปแบบการก่อสร้างมี 2 แนวทาง ได้แก่ 1. การก่อสร้างอุโมงค์ให้รถยนต์วิ่งลอดใต้ดินแล้วรถไฟฟ้าและทางด่วนก่อสร้างบนดิน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและทำได้ยาก 2. ก่อสร้างรถไฟฟ้าและทางด่วนอ้อมหลังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อไปเชื่อมกับโครงการทางเชื่อมโครงข่ายทางยกระดับอุตราภิมุขและทางพิเศษ ศรีรัช-วงแหวนรอบนอก โดยก่อสร้างจากแนวถนนเกษตร-นวมินทร์เลี้ยวผ่านมาตามถนนพหลโยธินแล้วเลี้ยวบริเวณแยกบางบัว เพื่อไปทะลุฝั่งถนนวิภาวดีรังสิต
ในที่ประชุมเห็นควรว่าให้เลือกการก่อสร้างรูปแบบที่ 2 เพราะมีความเป็นไปได้และไม่มีการต่อต้านจากชาวบ้านในพื้นที่ รวมถึงง่ายต่อการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพราะเป็นพื้นที่ของรัฐบาล แต่อาจทำให้ระยะทางการก่อสร้างเพิ่มจากเดิม 2-3 กิโลเมตร (กม.) เป็น 6-7 กม. โดยหลังนี้จะส่งรายละเอียดโครงการให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ไปออกแบบรายละเอียดก่อสร้างตามแนวทางที่ 2 สำหรับรูปแบบการลงทุนนั้นหลังจาก คจร.เห็นชอบแผนศึกษาแล้วจะส่งต่อให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ไปดำเนินการศึกษาความคุ้มค่าของโครงการ เพื่อเปิดให้เอกชนร่วมทุนพีพีพี 100% คาดว่าจะเสนอเข้ากระทรวงคมนาคมและจัดทำการศึกษาแนวทางเปิดร่วมทุนโครงการราว 9 เดือนก่อนส่งต่อให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการร่างเอกสารประกวดราคาและประมูลรวมถึงลงนามสัญญาภายใน 6 เดือน หรือช่วงปลายปี 2562 โดยใช้เวลาก่อสร้างราว 3 ปี ก่อนเปิดให้บริการในปี 2565 (ที่มา : posttoday)
 
 
 
  • ปี 2560 : ได้มีการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 เพื่อนำเสนอผลการศึกษาความเหมาะสม ผลกระทบสิ่งแวดล้อม การออกแบบเบื้องต้นโครงการ แนวเส้นทาง รูปแบบและองค์ประกอบของโครงการรวมทั้งมาตรการในการจัดการกับผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 
  • ปี 2561 :จากการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 ได้ข้อสรุปให้มีการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล และโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 ไปพร้อม ๆ กัน โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินงาน และทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ N2 ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนนงาน 
  • ปี 2562 : คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มีมติเห็นชอบในผลการศึกษาความเหมาะสมในการดำเนินโครงการว่า รฟม. เตรียมยื่นรายงานการศึกษาเพื่อขออนุมัติการดำเนินโครงการกับคณะรัฐมนตรี โดยหากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ก็จะส่งแผนการศึกษากลับไปให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม 
  • ปี 2563 : คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มีมติเห็นชอบให้รฟม.ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาออกแบบฐานรากตอม่อโครงการ รฟฟ. ขณะนี้รฟม.อยู่ระหว่างการออกแบบฐานรากตอม่อเพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลบริเวณตอน N2 (ช่วงแยกเกษตร-นวมินทร์ ) และได้อยู่ระหว่างดำเนินการเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) อีกด้วย
  • ปี 2564 : มีมติให้ รฟม. ดำเนินการก่อสร้างฐานรากโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯ ไปพร้อมกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ในความรับผิดชอบของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)
โครงสร้างทางวิ่งยกระดับ อยู่ในแนวเขต ถ. รามคำแหง โดยเป็นสะพานรูปกล่องรองรับขบวนรถไฟ 2 ขบวน โครงสร้างมีความหนาประมาณ 2 ม. และความยาวช่วงสะพานอยู่ที่ 35 ม. ตั้งอยู่บนเสาตอม่อเดี่ยว
โครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน เริ่มช่วงถ.รามคำแหง ตั้งแต่แยกลำสาลีถึงบริเวณคลองบ้านม้า เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดินที่แบ่งเส้นทางออกเป็น 3 ตอนย่อยๆ ดังนี้ 1. ช่วงอุโมงค์ลึก 2. ช่องอุโมงค์ตื้น 3. ช่วงขุดเปิดหน้าดินแล้วถมกลับ
สถานีรถไฟฟ้า ประกอบด้วย 3 ชั้นคือ 1. ระดับดินอยู่บนทางเท้า (ทางเข้า-ออก) 2. ระดับชั้นจำหน่ายตั๋วอยู่กลางถนน 3.ระดับชั้นชานชาลาอยู่บนชั้นจำหน่ายตั๋ว โดยสถานีมีรางสำหรับกลับขบวนรถไฟที่อยู่ด้านข้างของสถานี ซึ่งสามารถรองรับได้ถึง 4 ขบวน (2 ขบวนสำหรับผู้โดยสาย และ อีก 2 ขบวนสำหรับ กลับขบวน)
 
Perspective แสดงรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่มีโครงสร้างทางวิ่ง 2 แบบ ได้แก่ โครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน ในช่วงถ.รามคำแหง ตั้งแต่แยกลำสาลีถึงบริเวณคลองบ้านม้า และ โครงสร้างทางวิ่งยกระดับ ที่เหมือนกับรถไฟฟ้าทั่วไป และมีส่วนซ้อนทับกับโครงสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2 บนแนวถนนประเสริฐมนูกิจ เป็นระยะทาง 7.2 กิโลเมตร (จำนวน 6 สถานี)
 
ล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2560 รับทราบมติที่ประชุม คจร. ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2560 ดังนี้ 1.) มอบ สนข. ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลโดยพิจารณาโครงข่ายการขนส่งและจราจรในภาพรวมและการเชื่อมต่อต่างๆตลอดจนทางเลือกในการเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก (ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 และความเป็นไปได้ในการเชื่อมต่อโครงข่ายทางยกระดับอุตราภิมุขกับทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตกด้วย) 
2.) มอบ กทพ. ดำเนินการโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยายกับทางหลวงพิเศษ ระหว่างเมืองหมายเลข 9 (ถนนกาญจนาภิเษก) ตามแนวทางที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อนุมัติให้ความเห็นชอบในหลักการ โดยให้ดำเนินการให้สอดคล้องกับผลการศึกษาของ สนข. ตามข้อ (1) และให้ กทพ. พิจารณาแนวทางเชื่อมต่อกับโครงข่ายทางยกระดับอุตราภิมุขและทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครที่สนข.อยู่ระหว่างการศึกษาฯ เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายระบบทางพิเศษระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพมหานครให้ครอบคลุมอย่างมีประสิทธิภาพและลดปัญหาการจราจรบริเวณแยกเกษตร
ในการนี้ สนข. ได้จ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการโครงการศึกษารูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสมเพื่อใช้ประโยชน์เสาตอม่อ โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือบนแนวกึ่งกลางถนนประเสริฐมนูกิจ (ถนนเกษตร-นวมินทร์)
โดยเริ่มโครงการ ตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย. 2560 ระยะเวลาปฏิบัติงาน 14 เดือนซึ่ง สนข.จะได้นำเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมภายในเดือนก.ย. 2560 นี้

 ที่มา : สนข.

สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือได้ที่บทความโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ประเดิม N2
 
 
 
การศึกษาและเสนอแนะการดำเนินโครงการเพื่อใช้ประโยชน์เสาตอม่อที่ก่อสร้างไว้แล้วบนแนวกึ่งกลางถนนประเสริฐมนูกิจ (ถนนเกษตร-นวมินทร์)  โดยศึกษาความเหมาะสมทางวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อเปรียบเทียบทางเลือกที่เหมาะสมกับการดำเนินโครงการกรณีต่างๆ โดยการพัฒนาแบ่งออกเป็นทางเลือก 4 รูปแบบ ได้แก่ 1. ระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าอย่างเดียว  2. ระบบทางพิเศษอย่างเดียว 3. ระบบทางด่วน โครงข่ายทดแทน ตอน N1 ตอน N2 และ E-W Corridor  4. ระบบขนส่งทั้งระบบขนส่งมวลชนและระบบทางด่วน 
เป็นการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าอย่างเดียว  มีสถานีเบื้องต้น 20 แห่งโดยจุดเริ่มต้นแนวเส้นทางบริเวณแยกแครายไปตามแนวถนนงามวงศ์วานผ่านแยกเกษตรศาสตร์ไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ถนนนวมินทร์ และไปสิ้นสุดบริเวณถนนรามคำแหงระยะทางประมาณ 21.5 ม. ทั้งนี้ในช่วงถนนประเสริฐมนูกิจจะใช้โครงสร้างเสาตอม่อเดิมที่ก่อสร้างไว้แล้ว โดยมีเขตทางประมาณ 40 ม. และมีระดับความสูงประมาณ 18-21 ม.
เป็นการพัฒนาด้วยระบบทางพิเศษอย่างเดียว โดยมีจุดเริ่มต้นบริเวณสี่แยกเกษตรศาสตร์ไปตามเกาะกลางของถนนประเสริฐมนูกิจจนถึงถนนนวมินทร์แล้วแนวเส้นทางจะซ้อนทับกับทางหลวงหมายเลข 351 ไปบรรจบกับถนนวงแหวนรอบนอกตะวันออกรวมระยะทางประมาณ 11.9 กม. ทั้งนี้ในช่วงถนนประเสริฐมนูกิจ จะใช้โครงสร้างเสาตอม่อเดิมที่ก่อสร้างไว้แล้วโดยมีเขตทางประมาณ 40 ม.
เป็นการพัฒนาด้วยระบบทางด่วน โครงข่ายทดแทน ตอน N1 ตอน N2 และ E-W Corridor  กรณีเลือกรูปแบบที่ 3 จะมี 3 แนวเส้นทางเพื่อทดแทน N1 ได้แก่
  • 3.1 ผ่านถนนงามวงศ์วาน ช่วง ม.เกษตรศาสตร์ เชื่อมโทลล์เวย์/ศรีรัช
  • 3.2 แนวตัดตรงระหว่างแยกเกษตรและแยกรัชวิภา
  • 3.3 แนวคลองบางบัว-บางเขน เชื่อมโทลล์เวย์/ศรีรัช 
เป็นการพัฒนาด้วยระบบขนส่งทั้งระบบขนส่งมวลชนและระบบทางด่วน  กรณีเลือกรูปแบบที่ 4 จะมี 5 แนวทางเลือกย่อยเพื่อพิจารณา ได้แก่
  • 4.1 ระบบทางด่วนอยู่ระดับบนสุด
  • 4.2 ระบบรถไฟฟ้าอยู่ระดับบนสุด
  • 4.3 ระบบรถไฟฟ้าและระบบทางด่วนอยู่ระดับเดียวกัน
  • 4.4 ระบบรถไฟฟ้าอยู่ด้านข้าง ข้างขาออกฝั่งเดียว
  • 4.5 ระบบรถไฟฟ้าอยู่ด้านข้างทั้ง 2 ข้าง

คลิ๊ก! เพื่ออ่านบทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

อ่านบทความรถไฟฟ้าอื่นๆเพิ่มเติม คลิก!

รถไฟฟ้าสายสีทอง
รถไฟฟ้าสายสีม่วง
รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้
รถไฟฟ้าสายสีแดง
รถไฟฟ้า-บางนา-สุวรรณภูมิ
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
รถไฟฟ้าสายสีส้ม
รถไฟฟ้าสายสีเทา
หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
รถไฟฟ้าสายสีชมพู
รถไฟฟ้า-โคราช
รถไฟฟ้า-ภูเก็ต
รถไฟฟ้า-เชียงใหม่    
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (220)
 (317)
 (380)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (40)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon