realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
 

 

“ BTS ปะทะ BEM” ศึกชิงโมโนเรลสายสีชมพู, เหลือง

ด้วยเม็ดเงินลงทุนร่วม 1 แสนล้านบาทที่เอกชนต้องควักลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) กับสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) จึงไม่เหนือความคาดหมายจะมีเพียงกลุ่มบีเอสอาร์กับ “บีอีเอ็ม-บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ” ในเครือ บมจ.ช.การช่างที่ชิงดำ “แนวโน้มกลุ่ม BTS จะเป็นผู้ชนะทั้ง 2 สายเพราะเป็นระบบจะมาเชื่อมกับ BTS ต่อขยายสายเหนือและใต้ อีกทั้งดูจากการเสนอรายละเอียดเพิ่มเติมแล้ว แสดงว่าทำการบ้านมาอย่างดีและเอาจริง กล้าได้กล้าเสีย เหมือนกับเมื่อครั้งลงทุน 100% รถไฟฟ้าBTS ขณะที่กลุ่ม ช.การช่าง ด้วยสไตล์แล้ว จะไม่ค่อยเข้าไปลงทุนหากโครงการนั้นมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะก่อสร้างหรือรับสัมปทานโครงการ ขณะที่การต่อเชื่อมเส้นทางจะไม่ได้ประโยชน์เท่ากับกลุ่ม BTS ” แหล่งข่าวจากวงการรับเหมาก่อสร้างกล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” “คีรี” รีเทิร์นในรอบ 20 ปี หากครั้งนี้ “BTS” ทำสำเร็จเท่ากับ “คีรี กาญจนพาสน์” รีเทิร์นลงทุนรถไฟฟ้าเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 20 ปี หลังเข็ดขยาดกับครั้งแรกแบกหนี้หลายหมื่นล้านบาทที่ใช้ทุ่มบุกเบิกรถไฟลอยฟ้าสายแรกของประเทศไทย ในแผนปฎิบัติการเที่ยวล่าสุด “คีรี” ปรับสูตรการลงทุนใหม่ จะไม่รับความเสี่ยงเองทั้งหมด เพราะรู้เต็มอกรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายกว่าจะคุ้มทุนต้องใช้เวลาเกิน 10 ปีไปแล้ว จึงดึงพันธมิตรร่วมลงขันเพื่อกระจายความเสี่ยง แยกเป็น BTS 75% บมจ.ซิโน-ไทยฯรับเหมาใต้ปีก “ตระกูลชาญวีรกูล” 15% ที่เหลือ 10% เป็นของ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งที่แตกไลน์จากธุรกิจพลังงานมาชิมลางธุรกิจรถไฟฟ้า ซึ่งทั้ง 3 บริษัทจะใช้เงินลงทุนรถไฟฟ้า 2 สายประมาณ 1 แสนล้านบาท มาจากการลงขันกัน 2.8 หมื่นล้านบาทจัดตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ ส่วนที่เหลือ 7.2 หมื่นล้านบาทจะมาจากเงินกู้ ควงบีแลนด์ดึงสีชมพูเข้าเมืองทอง สเต็ปต่อไป “คีรี” จะผนึกกำลังกับพี่ชาย “เสี่ยช้าง-อนันต์ กาญจนพาสน์” เจ้าของแลนด์ลอร์ดและศูนย์แสดงสินค้าเมืองทองธานี ร่วมด้วยช่วยกันดึงรถไฟฟ้าสายสีชมพูเข้าไปจอดป้ายในอิมแพ็คอารีน่า ขณะที่สายสีเหลืองจะขยายเส้นทางจากแยกรัชดา-ลาดพร้าวไปบรรจบกับสถานีรัชโยธินเชื่อมกับสายสีเขียวต่อขยาย เป็นออปชั่นเสริมปิดผนึกเป็นซองที่3ที่”คีรี”ให้”รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย”รับไว้พิจารณานอกเหนือจากทีโออาร์ และมีทีท่าว่าจะได้รับการตอบรับ เพราะแนวคิดนี้อยู่ในใจ รฟม.อยู่แล้ว เมื่อเอกชนเสนอจึงพร้อมที่จะสนอง เพราะรัฐไม่ต้องควักเงินสักแดงเดียวแค่เปิดไฟเขียวเท่านั้น หาก “BTS” คว้าสายสีชมพู-สีเหลืองไปครอง จะเป็นรถไฟฟ้าสายรองป้อนคนเข้ามาเติม BTS ต่อขยายที่สถานีอนุสาวรีย์หลักสี่ของ “หมอชิต-คูคต” และสถานีสำโรงของช่วง “แบริ่ง-สมุทรปราการ” ซึ่ง BTS รับจ้างเดินรถให้ “กทม.-กรุงเทพมหานคร” “เราลงทุนรถไฟฟ้ามา 20 ปี ดูจากทีโออาร์ไม่ง่าย ถ้าบริหารจัดการดีจะมีกำไรในอนาคต ซึ่งทั้ง 3 บริษัทมีศักยภาพแข็งแกร่งที่สุด ดึงราชบุรีโฮลดิ้งกับซิโน-ไทยฯเข้ามาร่วม เพื่อเป็นทัพเสริมให้เราแข็งแรงยิ่งขึ้น เพื่อให้มีต้นทุนที่ต่ำ ซึ่งเราคงจะให้รัฐช่วยอุดหนุนบ้าง ต้น ธ.ค.จะสรุปผลชนะ เพราะรัฐก็เร่งให้จบโดยเร็ว ทั้งนี้มีความกังวลการส่งมอบพื้นที่ เพราะเรากู้เงินมาลงทุน ดอกเบี้ยเดินทุกวัน ขอให้ รฟม.ส่งมอบพื้นที่ในเวลา” นายคีรีกล่าวและว่า ยึดสีเหลืองเชื่อมสีเขียวรัชโยธิน ได้ร่วมกับ บมจ.บางกอกแลนด์ (บีแลนด์) ขยายสายสีชมพูเข้าไปเมืองทองธานี เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนอยู่อาศัยและมาเที่ยวงานที่อิมแพ็ค ปัจจุบันเมืองทองธานีกลายเป็นเมืองอยู่อาศัย และศูนย์กลางการแสดงสินค้าและการประชุมของประเทศไทยไปแล้ว เป็นข้อเสนอที่จะลงทุนเพิ่มหากชนะประมูล ถ้าไม่ชนะก็ไม่ทำเพราะไม่คุ้ม ส่วนสายสีเหลืองขยายอีก 2.6 กม. สร้างเพิ่ม 2 สถานีเชื่อมกับ BTS ที่รัชโยธินไม่ใช่ว่า รฟม.คิดไม่รอบคอบ แต่ให้ตอบโจทย์การเดินทางของประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่ง รฟม.ก็ให้ความสนใจ เพราะช่วยแก้ไขจราจร “ต้องเปิดซองที่ 1 และ 2 ให้รู้ผู้ชนะก่อน ถึงจะพิจารณาซองที่ 3 ซึ่งเงินที่จะลงทุนเพิ่มกว่า 6 พันล้านบาท ไม่รวมกับเงินลงทุน 2 สายทางจำนวน 80,000-100,000 ล้านบาท และต้องให้ รฟม.อนุมัติถึงจะดำเนินการได้ หากเราชนะขอให้รัฐพิจารณาซองที่ 3 โดยเร็ว เป็นข้อเสนอที่เราอยากให้โครงข่ายสมบูรณ์ที่สุด” ผนึกแสนสิริตุนที่ 2 หมื่นล้าน ขณะเดียวกัน “คีรี” ยังร่วมกับ “แสนสิริ” ตุนที่ดินมูลค่า 2 หมื่นล้านบาทไว้ในมือรอพัฒนาคอนโดมิเนียมแนวรถไฟฟ้า เป็นการต่อยอดธุรกิจในระยะยาว นอกเหนือจากค่าโดยสารและพื้นที่สถานีที่จะได้รับสัมปทาน 30 ปีจาก รฟม. เป็นความพร้อมเต็มอัตราศึกที่ “BTS” จัดเต็มทั้งเงินตราและพันธมิตร เพื่อพิชิตรถไฟฟ้าที่รอคอยมานาน “ปลิว” สู้ไม่ถอย ด้านความเคลื่อนไหวของ “บีอีเอ็ม” ทาง “ปลิว ตรีวิศวเวทย์” บอสใหญ่ ถึงสไตล์จะพูดน้อย แต่ย้ำเสียงดังฟังชัด “ทางกลุ่มพร้อมทุกด้าน ทั้งการเงินจะใช้เงินทุน 30% และเงินกู้ 70%” ส่วนก่อสร้างทาง ช.การช่างเคยสร้างรถไฟฟ้ามาทั้งใต้ดินและบนดิน ขณะที่ บีอีเอ็ม มีประสบการณ์เดินรถไฟฟ้าและบริหารพื้นที่สถานีของรถไฟฟ้าใต้ดินและรับจ้างเดินรถสายสีม่วง (เตาปูน-บางใหญ่) โดยบริษัทยื่นข้อเสนอ 2 ซองคือ ด้านเทคนิค กับราคาและผลตอบแทนที่จะให้รัฐ จะไม่มีข้อเสนอเพิ่มเติมเหมือนBTS และมั่นใจว่าจะมีโอกาสได้งานทั้ง 2 สายทาง ออกตัวบลั๊ฟกันขนาดนี้ อีกไม่กี่วัน คงได้รู้กันใครจะกำชัยชนะ แต่ไม่ว่าใครจะถึงเส้นชัย จะกลายเป็นผู้ผูกขาด “ระบบโมโนเรล” ในประเทศไทยโดยอัตโนมัติ! Info : ประชาชาติธุรกิจ

ตารางแสดงธุรกิจของทั้งสองฝั่งทั้ง BTS และ BEM

   

“คีรี” เฉือน 10 ไร่เยื้องแดนเนรมิต ทุ่ม200ล้าน แก้รถติดรัชโยธิน

 

"คีรี กาญจนพาสน์" เจ้าพ่อ BTS เฉือน 10 ไร่เยื้องแดนเนรมิต ทุ่ม 200 ล้านตัดถนน 8 เลน เชื่อมพหลโยธินทะลุวิภาวดีฯ แก้รถติดแยกรัชโยธิน เปิดใช้ฟรี ปีหน้าขึ้นโครงการอสังหาฯ 2 หมื่นล้าน ดึง "จีแลนด์-แสนสิริ" ร่วมทุน ผุดห้าง คอนโดฯหรู รับรถไฟฟ้าสีเขียว "หมอชิต-คูคต" ลุยต่อคอมเพล็กซ์หมื่นล้านอีก 2 ทำเล "พญาไท-จตุจักร"

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ  BTS Group Holding  หรือBTS เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังได้ร่วมทุนกับ บมจ.แกรนด์ คาแนล แลนด์ (จีแลนด์) สัดส่วน 50 : 50 จัดตั้งบริษัท เบย์วอเตอร์ จำกัด ประมูลซื้อที่ดินจากกรมบังคับคดี 48 ไร่ ที่เคยเป็นที่ตั้งโครงการบางกอกโดม ตรงข้ามแดนเนรมิตเดิม ด้วยวงเงิน 7,350 ล้านบาท เมื่อปี 2557 ซ้าย ภาพโครงการ Bangkok Dome ที่เคยออกแบบไว้ ขวา ภาพด้านหน้าของที่ดินบริเวณถนนพหลโยธิน   เฉือนที่ 10 ไร่ทำทางลัด ล่าสุด ได้เริ่มพัฒนาระบบสาธารณูปโภคในโครงการแล้ว พร้อมนำที่ดิน 10 ไร่ ช่วงระหว่างกลางก่อสร้างเป็นถนนขนาด 30 เมตร ประมาณ 7-8 ช่องจราจร เชื่อมการเดินทางจากถนนพหลโยธินซอย 19/1 ทะลุถนนวิภาวดีรังสิต ระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 200 ล้านบาท ส่วนนี้จะเปิดให้ประชาชนใช้โดยไม่เก็บค่าผ่านทาง เพื่อเป็นเส้นทางลัด เลี่ยงรถติดบริเวณแยกรัชโยธิน ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะปิดการจราจร เพื่อรื้อสะพานสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อขยาย (หมอชิต-คูคต) วันที่ 22 พ.ย.นี้เป็นต้นไป "เรากำลังเร่งสร้างถนนให้เสร็จก่อน ให้คนได้ใช้ก่อนปีใหม่ ช่วยรัฐแก้ปัญหารถติด ส่วนการพัฒนาอสังหาฯจะเริ่มได้หลังจากนี้ มีแผนจะทำโครงการมิกซ์ยูส ทั้งห้างสรรพสินค้า ออฟฟิศและคอนโดมิเนียมเกรดเอ มูลค่าลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาท" นายคีรีกล่าว ผนึกแสนสิริ-จีแลนด์ นายกวิน กาญจนพาสน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BTS GROUP HOLDING กล่าวเพิ่มว่า เมื่อตัดที่ดิน 10 ไร่สร้างถนนในโครงการไปแล้ว ที่ดินทำเลนี้จะเหลืออีก 38 ไร่ เพื่อเตรียมพัฒนาโครงการใหม่ ร่วมทุนกับกลุ่มจีแลนด์ และอาจมีผู้ประกอบการรายอื่นสนใจเข้าร่วมด้วย อาทิ บมจ.แสนสิริ ที่ร่วมทุนกับBTS พัฒนาคอนโดฯ "เดอะไลน์" ตามแนวรถไฟฟ้าไปแล้ว ก็สนใจจะร่วมพัฒนาที่แปลงนี้ด้วย เนื่องจากเป็นทำเลศักยภาพติดถนนพหลโยธิน และห่างจากสถานีพหลโยธิน 24 ของรถไฟฟ้าสายสีเขียวเพียง 200 เมตร "ที่มีขนาดใหญ่มาก ต้องทำแบบมิกซ์ยูสแน่นอน เราเปิดกว้างหากใครสนใจจะร่วมพัฒนา ไม่ว่าผู้ประกอบการด้านโรงแรม ออฟฟิศ หรือที่อยู่อาศัย ซึ่งแสนสิริก็สนใจ ตอนนี้ก็ร่วมกันลงทุนไปแล้ว 16 โครงการจาก 25 โครงการ มูลค่า 100,000 ล้านบาท" เนรมิต 38 ไร่สู่มิกซ์ยูส ด้านแหล่งข่าวใน บมจ.BTS GROUP HOLDING กล่าวว่า การที่บริษัทยอมเฉือนที่ 10 ไร่สร้างถนนขนาดใหญ่เป็นทางลัดการเดินทางนั้น เพราะต้องการเพิ่มมูลค่าที่ดิน หลังจากภาครัฐไม่มีแผนลงทุนในย่านนี้ ซึ่งในอนาคตทางกลุ่มบริษัทมีแผนจะพัฒนาโครงการดังกล่าวในรูปแบบมิกซ์ยูส เป็นชุมชนเล็ก ๆ ที่มีทุกอย่างครบ ทั้งแหล่งช็อปปิ้ง แหล่งงาน ร้านอาหาร ที่อยู่อาศัย มีถนนให้สัญจร และทางเชื่อมรถไฟฟ้า "ถนนจะสร้างใหญ่เท่ากับถนนพหลโยธิน จะเปิดให้ประชาชนใช้ก่อน ส่วนจะยกให้รัฐหรือเก็บค่าใช้ทางหรือไม่ อยู่ที่นโยบายผู้บริหาร ตอนนี้คุณคีรีคิดคอนเซ็ปต์กว้าง ๆ ไว้แบบนี้ เหมือนเมืองทองธานีที่ตัดถนนและพัฒนาเป็นเมืองขึ้นมา" ได้ฤกษ์ลุย 2 ทำเลทอง นอกจากนี้ นายกวินเปิดเผยอีกว่า ในเร็ว ๆ นี้จะลงทุนพัฒนา 2 โครงการ มูลค่ารวม 10,000 ล้านบาท แปลงแรกเป็นที่ดินพญาไทติดรถไฟฟ้าBTS GROUP HOLDING พื้นที่ 6 ไร่เศษ จะร่วมกับ บมจ.ยู ซิตี้ (บมจ.แนเชอรัลพาร์คเดิม) พัฒนาเป็นมิกซ์ยูสคอมเพล็กซ์ สูง 50 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 100,000 ตารางเมตร มีร้านค้า สำนักงานเกรดเอ โรงแรม อาคารจอดรถ มูลค่า 6,000 ล้านบาท อีก 3 เดือนจะเริ่มตอกเสาเข็ม ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี กำหนดเสร็จปลายปี 2563 แปลงที่ 2 เป็นที่ดินจตุจักร-หมอชิต ยังเหลือ 11 ไร่เศษ จากการพัฒนาคอนโดฯเดอะไลน์ บริษัทจะลงทุนเองทำเป็นอาคารประเภทมิกซ์ยูสคอมเพล็กซ์ สูง 40-50 ชั้น เท่ากับตึกทหารไทย จำนวน 2 อาคาร พื้นที่ใช้สอยรวม 100,000 ตร.ม. ที่นี่จะมีทุกอย่าง ระหว่างนี้รอการอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างปลายปี 2560 ใช้เวลา 42-48 เดือน ตามแผนจะแล้วเสร็จปลายปี 2564 Info : ประชาชาติธุรกิจ  
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon