realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (386)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (386)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

เปิดอาณาจักรธุรกิจเครือ BTS Group Holding

23 Jan 2017 14.8K

เปิดอาณาจักรธุรกิจเครือ BTS Group Holding

23 Jan 2017 14.8K
 

เปิดอาณาจักรธุรกิจเครือ BTS Group Holding

บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เป็นกลุ่มของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจสื่อโฆษณา ธุรกิจให้บริการ และธุรกิจระบบขนส่งมวลชน โดยประกอบธุรกิจระบบขนส่งมวลชนเป็นหลัก หลังจากที่บริษัทได้เข้าถือหุ้นสามัญร้อยละ 94.60 ของบีทีเอสซี เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 โดยบีทีเอสซีเป็นบริษัทที่ได้รับสัมปทานดำเนินการระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสจากกทม. โดยมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการดำเนินงาน  บีทีเอส ก่อตั้งบริษัทใหม่ในนาม ยูนิคอร์น เอ็นเตอร์ไพรส์ เพื่อยึดพื้นที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แบบขายขาดและยังมี บมจ. ยูซิตี้ เป็นหัวหอกสำคัญในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เชิงการเช่าและบริหาร กลยุทธ์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทฯ คือ การร่วมมือกับพันธมิตร บีทีเอสได้ประกาศร่วมมือเป็นพันธมิตรกับแสนสิริ ซึ่งบีทีเอสและแสนสิริได้ทำการลงนามพันธะสัญญาข้อตกลง สัดส่วน 50:50 ของการถือหุ้น 
และในปีนี้ คุณคีรีประกาศเปิดที่ดินย่านพหลโยธิน สร้างถนนตัดเพื่อสาธารณะประโยชน์ตัดไปเส้นวิภาวดี แก้ปัญหาจราจรในช่วงที่สร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย เป็นการตัดถนนเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับที่ดิน ซึ่งได้มาจากการชนะการประมูลของ บมจ. เบย์วอเตอร์ ซึ่งบีทีเอสร่วมทุนกับ บมจ. จีแลนด์ พัฒนาเป็นโครงการ Mixed Use ขนาด 48 ไร่ ย่านพหลโยธิน BTS Group เป็นบริษัทที่ให้บริการระบบโดยสารขนาดใหญ่ในประเทศไทย บริการระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังดำเนินธุรกิจสื่อโฆษณานอกที่อยู่อาศัยรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย รวมถึงดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามแนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนอีกด้วย ปัจจุบัน BTS Group เป็นหนึ่งในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 50 อันดับแรก ในเชิงของมูลค่าตลาด       กลุ่มบริษัท บีทีเอส ประกอบธุรกิจขนส่งมวลชนเป็นธุรกิจหลัก โดยบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTSC) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย บีทีเอสซี ประกอบธุรกิจบริหารรถไฟฟ้าภายใต้สัมปทนาจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) รวมไปถึงยังได้รับเลือกให้เดินรถและซ่อมบำรุงในส่วนต่อขยายสายสีเขียวในปัจจุบันและรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT

BTS - Bangkok Mass Transit System

รถไฟฟ้าระบบราง บีทีเอสซีเป็นบริษัทฯที่ได้รับสัมปทานจากกรุงเทพมหานครในการให้บริการรถไฟฟ้า ซึ่งประกอบไปด้วยระบบรถไฟฟ้าบนทางวิ่งยกระดับ ระยะทาง 5 กิโลเมตร และสถานีรถไฟฟ้าทั้งหมด 23 สถานี ทั้งสายสีลม (สีเขียวเข้ม) และสายสุขุมวิท (สีเขียวอ่อน) ซึ่งรถไฟฟ้าทั้งสองสายนี้ได้ให้บริการเดินรถในย่านธุรกิจ และแหล่งท่องเที่ยวใจกลางกรุงเทพมหานคร 

BRT - Bus Rapid Transit

รถโดยสารด่วนพิเศษ - บีทีเอสซี ได้รับเลือกให้ดำเนินการและบำรุงรักษารถโดยสารด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) ซึ่งประกอบไปด้วยสถานีรถประจำทางบีอาร์ที 12 สถานี โดยรถประจำทางจะวิ่งในช่องทางพิเศษเป็นระยะทาง 15 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีจุดเชื่อมต่อโดยตรง (โดยสะพานลอย) ระหว่างสถานีบีอาร์ทีสาทรและสถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี

เส้นทางที่บีทีเอสเปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน

ในเดือนเมษายน 2556 บีทีเอสซี ขายรายได้ค่าโดยสารสุทธิในอนาคตที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานจากรถไฟฟ้าสายหลักที่เหลืออยู่ของสัมปทานที่ทำกับกทม. ให้แก่ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท (BTSGIF) อย่างไรก็ตาม บริษัทฯยังคงเป็นผู้รับสัมปทาน เป็นผู้ให้บริการเดินระบบรถไฟฟ้าแต่เพียงผู้เดียว และยังเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนรายใหญ่ที่สุด โดยบริษัทฯ ลงทุนในหน่วยลงทุน 1 ใน 3 ของจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมดใน BTSGIF กรุงธนบุรี วงเวียนใหญ่ โพธินิมิตร ตลาดพลู วุฒากาศ บางหว้า

รถไฟฟ้าในอนาคตที่ BTS ได้สัมปทานเดินรถและก่อสร้าง

รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือและสายสีเขียวใต้

สายสีเขียวใต้ - แนวเส้นทางโครงการระบบขนส่งกรุงเทพมหานคร ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ มีโครงสร้างรถไฟฟ้าแบบยกระดับตลอดเส้นทาง ระยะทาง 13 กิโลเมตร เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Rail Transit System) แนวเส้นทางเริ่มต้นต่อเนื่องจากแนวเส้นทางของโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (BTS) ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ตอนที่ 1 ช่วงอ่อนนุช - แบริ่ง บริเวณซอยสุขุมวิท 107 (แบริ่ง) ไปตามแนวเกาะกลางของถนนสุขุมวิท ผ่านคลองสำโรง ผ่านแยกเทพารักษ์ แยกปู่เจ้าสมิงพราย เมื่อถึงบริเวณจุดตัดกับโครงการถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้แนวจะเบี่ยงจากเกาะกลางไปทางทิศตะวันตกของถนนสุขุมวิท เพื่อข้ามทางต่างระดับสุขุมวิท จากนั้นจึงเบี่ยงกลับมาอยู่ในแนวเกาะกลางถนนสุขุมวิท ผ่านแยกศาลากลาง แยกการไฟฟ้า แยกแพรกษา แยกสายลวด จนถึงจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณหน้าสถานีไฟฟ้าย่อยบางปิ้ง โดยแนวเส้นทางจะเบี่ยงออกทางด้านทิศตะวันตก และลดระดับเพื่อเข้าศูนย์ซ่อมบำรุง  
สายสีเขียวเหนือโครงการมีระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร ลักษณะเป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับตลอดเส้นทาง มีสถานียกระดับจำนวน 16 สถานี แนวเส้นทางเริ่มต้น ต่อเนื่องจากแนวเส้นทางของโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (BTS) ที่สถานีหมอชิต ข้ามทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์บริเวณห้าแยก ลาดพร้าว ผ่านแยกรัชโยธิน แยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปจนถึงบริเวณแยกหลักสี่และเบี่ยงออกด้านขวาเลียบไปตามขอบอุโมงค์ลอกแยกหลักสี่ และเบี่ยงเข้าสู่เกาะกลางดังเดิม ไปจนถึงบริเวณสะพานใหม่หน้าตลาดยิ่งเจริญ โดยเมื่อถึงประมาณกิโลเมตรที่ 25 ของถนนพหลโยธิน แนวเส้นทาง จะเบี่ยงไปทางด้านทิศตะวันออก (ด้านเหนือของพื้นที่ประตูกรุงเทพฯ) ข้ามคลางสอง ผ่านบริเวณด้านข้างของสถานีตำรวจภูธรคูคต เข้าสู่บริเวณเกาะ กลางของถนนลำลูกกา และสิ้นสุดที่บริเวณคลองสอง (บริเวณสถานีคูคต) ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารจอดรถ มีสถานียกระดับ 16 สถานี

รถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีชมพู-เหลือง

รถไฟฟ้าสายสีชมพู - ระบบขนส่งมวลชนสายสีชมพูฯ เป็นระบบขนส่งมวลชนสายรองประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail) มีลักษณะเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างเขตมีนบุรีและจังหวัดนนทบุรี โดยแนวเส้นทางเริ่มต้นบนถนนรัตนาธิเบศร์บริเวณระหว่าง ศูนย์ราชการนนทบุรีและแยกแคราย ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่ – บางซื่อ) บริเวณสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี จากนั้นจะวิ่งเลี้ยวซ้ายบริเวณแยกแครายเข้าถนนติวานนท์ วิ่งตามถนนติวานนท์จนถึงแยกปากเกร็ด เลี้ยวขวาเข้าถนนแจ้งวัฒนะผ่านเมืองทองธานี ผ่านศูนย์ราชการ ผ่านทางแยกหลักสี่ เชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงที่สถานีหลักสี่ ลอดใต้ทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลเวย์) และผ่านวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยมีสถานีวัดพระศรีมหาธาตุเป็นสถานีเชื่อมต่อ (Interchange Station) เพื่อเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารระหว่างรถไฟฟ้าสาย สีเขียว ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ จากนั้นแนวเส้นทางจะวิ่งตามถนนรามอินทรา ยกระดับข้ามทางพิเศษฉลองรัชบริเวณแยกวัชรพล จนถึงแยกมีนบุรีแล้ววิ่งเข้าเมืองมีนบุรีตามถนนสีหบุรานุกิจ จากนั้นจะข้ามคลองสามวาและเลี้ยวขวาข้ามคลองแสนแสบผ่านพื้นที่ว่างและข้ามเข้าถนนรามคำแหง (สุขาภิบาล 3 ) จนสิ้นสุดบริเวณทางแยกร่มเกล้า ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน – มีนบุรี ที่สถานีมีนบุรี มีความยาวของแนวเส้นทางทั้งสิ้นประมาณ 34.5 กิโลเมตร รถไฟฟ้าสายสีเหลือง - โดยแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงินระยะแรก) ที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปตามแนวถนนลาดพร้าว โดยเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาของกรุงเทพมหานครที่แยกฉลองรัช และยกระดับข้ามทางด่วนฉลองรัชจนถึงทางแยกบางกะปิ จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวขวาไปทางทิศใต้ตามถนนศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่ทางแยกลำสาลี ต่อจากนั้นแนวเส้นทางจะยกระดับข้ามทางแยกต่างระดับพระราม 9 โดยเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) และผ่านแยกพัฒนาการ แยกศรีนุช แยกศรีอุดมสุข แยกศรีเอี่ยม จนถึงแยกศรีเทพา จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวขวาอีกครั้งไปทางทิศตะวันตก ตามแนวถนนเทพารักษ์ ผ่านจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง และสิ้นสุดแนวเส้นทางบริเวณถนนปู่เจ้าสมิงพราย รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 30.4 กิโลเมตร ประกอบด้วยสถานีทั้งหมด 23 แห่ง โรงจอดรถศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง อาคารและลานจอดแล้วจร 1 แห่ง บริเวณพื้นที่ทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เผยว่า ตามที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กำลังดำเนินการคัดเลือกผู้รับสัมปทานการลงทุนออกแบบและก่อสร้างงานโยธาการจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี แลโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรงนั้น คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ. เอกชนร่วมลงทุนฯ พ.ศ.2556 ได้ประเมินเอกสารข้อเสนอซองที่ 1 (ด้านคุณสมบัติและเทคนิค) และเอกสารข้อเสนอซองที่ 2 (ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน) เสร็จเรียบร้อยแล้ว มีผลสรุปว่า กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) เป็นเอกชนผู้ผ่านการประเมินสูงสุด พร้อมมีการเสนอเส้นทางต่อขยายสายสีชมพู 2.8 กม. เข้าเมืองทองธานี สายสีเหลืองขยาย 2.6 กม. เชื่อมสถานีรัชโยธิน สายสีเขียว โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ มีมูลค่าลงทุนรวม 53,519.50 ลบ. และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ มีมูลค่าลงทุนรวม 51,931.15 ลบ. โดยกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ได้ยื่นข้อเสนอเพิ่มเติมจากขอบเขตโครงการเดิม • สายสีชมพู เสนอให้มีการต่อเส้นทางระยะทางประมาณ 2.8 กม.จากสถานีศรีรัชบนถนนแจ้งวัฒนะเข้าไปเมืองทองธานี • สายสีเหลืองได้เสนอให้มีการต่อขยายออกไปอีกประมาณ 2.6 กม.เริ่มจากสถานีรัชดาไปทางทิศเหนือตามถนนรัชดาภิเษกและสิ้นสุดบริเวณแยกรัชโยธินซึ่งเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายหมอชิต-คูคตทีอยู่ระหว่างก่อสร้าง     กลุ่มบริษัท บีทีเอส ประกอบธุรกิจระบบสื่อโฆษณาโดยบริษัทย่อย บริษัท วีจีไอ โกลบอล มีเดีย (VGI) วีจีไอเป็นบริษัททำสื่อโฆษณานอกบ้าน (Out-of-Home Media) ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยวีจีไอได้รับสัมปทาน ในการบริหารจัดการสื่อโฆษณาบนพื้นที่ทั้งหมดของสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส และวีจีไอยังมีรายได้จากสื่อโฆษณาในอาคารสำนักงาน และสื่อโฆษณาตามท้องถนน นอกจากนี้ วีจีไอยังมีธุรกิจสื่อโฆษณากลางแจ้ง โดยเข้าไปถือหุ้นในบริษัททำสื่อโฆษณากลางแจ้งอื่นๆ 1. สื่อโฆษณาบนเครือข่ายรถไฟฟ้า - วีจีไอได้รับสัมปทานการจัดสรรพื้นที่โฆษณาบนเครือข่ายรถไฟฟ้าบีทีเอสสายหลักซึ่งประกอบไปด้วยตัวสถานีรถไฟฟ้าและตัวรถไฟฟ้า สื่อโฆษณาหลักบนเครือข่ายรถไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น LCD ในรถไฟฟ้า สติ๊กเกอร์ที่ติดรอบขบวนรถไฟฟ้า และป้ายโฆษณาทั้งที่เป็นภาพนิ่งและดิจิตัลบนสถานีรถไฟฟ้า นอกจากนี้ วีจีไอ ยังได้รับสัมปทานในการจัดสรรพื้นที่โฆษณาบนรถโดยสารด่วนพิเศษ บีอาร์ที และส่วนต่อขยายของระบบรถไฟฟ้าสายหลัก ทั้งหมด 7 สถานี(สะพานตากสิน, กรุงธนบุรี, วงเวียนใหญ่, โพธินิมิตร, ตลาดพลู, วุฒากาศ, บางหว้า) 2. สื่อโฆษณาในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ - ธุรกิจสื่อโฆษณาของบีทีเอสกรุ๊ปฯ ได้ขยายเข้าไปในส่วนของอาคารสำนักงานชั้นนำในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีเครือข่ายจอโทรทัศน์ติดตั้งอยู่ในลิฟท์และบริเวณโถงของอาคารชั้นนำ กว่า 130 อาคาร  3. สื่อโฆษณาในพื้นที่เชิงพาณิชย์ - วีจีไอได้ก้าวเข้าไปในธุรกิจสื่อโฆษณากลางแจ้ง โดยเข้าไปถือหุ้นในบริษัททำสื่อโฆษณากลางแจ้งอื่น เช่น การเข้าไปถือหุ้นในบริษัทมาสเตอร์ แอด จำกัด (มหาชน) – MACO จำนวน 37.42% และถือหุ้น 20% บริษัทแอร์โร มีเดีย จำกัด - AERO Media     ธุรกิจบริการมีหน้าที่สนับสนุนธุรกิจในส่วนอื่นๆของบีทีเอสกรุ๊ปฯ และยังเป็นแหล่งที่มาของการเติบโตของรายได้ในอนาคต 1. ธุรกิจเงินสดอีเล็คทรอนิกส์ - บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด หรือ แรบบิทการ์ด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบีทีเอสกรุ๊ปฯ (บีเอสเอส) และบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกันพัฒนาระบบตั๋วโดยสารร่วมระหว่างเครือข่ายระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร บีเอสเอสยังใช้พื้นฐานจากสมาร์ทการ์ดและเงินสดอีเล็คทรอนิกส์ เพื่อที่จะขยายเครือข่ายจากระบบขนส่งมวลชนไปยังส่วนของร้านค้า ธุรกิจบริการ และการท่องเที่ยว 2. ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง - บีทีเอสกรุ๊ปฯ ได้ดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้างโดยผ่านการดำเนินงานของบริษัท ฮิบเฮง คอนสตรัคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งให้บริการด้านการก่อสร้างและออกแบบตกแต่งภายในสำหรับบริษัทในเครือของบีทีเอสกรุ๊ปฯ และบริษัทภายนอก ฮิบเฮงเป็นบริษัทที่ บีทีเอสกรุ๊ปฯ ร่วมลงทุนกับบริษัท ฮิบเฮง คอนสตรัคชั่นซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่ม นิวเวิร์ล รวมทั้งยังเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างในประเทศฮ่องกง 3. ธุรกิจบริหารจัดการโรงแรม - บีทีเอสกรุ๊ปฯ มีธุรกิจบริหารจัดการโรงแรมโดยผ่านการดำเนินงานของบริษัท แอ๊บโซลูท โฮเต็ล เซอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน (50%) โดยบริษัท แอ๊บโซลูท โฮเต็ล เซอร์วิส จำกัดได้ดำเนินการบริหารจัดการโรงแรมภายใต้เครือ ยู โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท, อิสติน, อิสติน เรสซิเดนซ์ และ อิสติน อีซี่ และให้บริการด้านคำปรึกษา จากสำนักงานทั้งในประเทศไทย เวียดนาม และอินเดีย 4. ธุรกิจสนามกอล์ฟ - บีทีเอสกรุ๊ปฯ เป็นเจ้าของและบริหารจัดการการดำเนินงานของธนาซิตี้ กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ตคลับ ซึ่งเป็นสนามกอล์ฟ 18 หลุม 6,966 หลา 72 พาร์ โดยสนามกอล์ฟแห่งนี้ได้ถูกออกแบบโดย เกรก นอร์แมน     เดิมที่บริษัทถูกก่อตั้งมาเพื่อพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บีทีเอสกรุ๊ปฯ ได้เริ่มพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 โดยมุ่งเน้นพัฒนาทั้งทางด้านที่พักอาศัย (บ้านและคอนโดมิเนียม) และอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ (โรงแรม, เซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ และอาคารสำนักงาน) และที่ดิน บีทีเอสกรุ๊ปฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่มีอยู่และเส้นทางในอนาคตของกรุงเทพมหานคร การพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ของบีทีเอส
กลยุทธ์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทฯ คือ การร่วมมือกับพันธมิตร บีทีเอสได้ประกาศร่วมมือเป็นพันธมิตรกับแสนสิริ ซึ่งบีทีเอสและแสนสิริได้ทำการลงนามพันธะสัญญาข้อตกลง สัดส่วน 50:50 ของการถือหุ้น บนโครงการพัฒนาการซื้อขายที่อยู่อาศัยที่ตั้งอยู่ภายใน 500 เมตร จากสถานีรถไฟฟ้า ภายใน 5 ปีข้างหน้า บีทีเอสและแสนสิริตั้งเป้ามูลค่าโครงการคอนโดมิเนียมภายใต้กรอบความร่วมมือไว้ที่ 100,000 ลบ.
ในช่วงปีที่ผ่านมา นับได้ว่าบีทีเอสประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เชิงที่อยู่อาศัย โดยบริษัทฯ และแสนสิริได้เปิดตัวคอนโดมิเนียม เดอะไลน์ ซึ่งเป็นโครงการภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างบีทีเอสและ แสนสิริทั้งหมด 3 โครงการ ได้แก่ เดอะไลน์ จตุจักร-หมอชิต,เดอะไลน์ สุขุมวิท 71 และเดอะไลน์ ราชเทวี รวมทั้งสิ้น 1,363 ยูนิต ซึ่งมีมูลค่าโครงการรวมประมาณ 11,000 ล้านบาท โดยมีการเปิดตัวอย่างประสบความสำเร็จจากการปิดการขายได้หมด100% ภายใน 2 วันแรกของช่วง pre-sale สะท้อนให้เห็นถึงความได้เปรียบของที่ตั้งโครงการซึ่งอยู่ในแนวรถไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี ในปี 2559/60 บีทีเอส และแสนสิริคาดว่าจะเปิดตัวคอนโดมิเนียมอีก 6 โครงการในปี 2559 มูลค่าโครงการรวมประมาณ 23,000 ล้านบาท ภายในปีนี้ บีทีเอสและแสนสิริ ได้เปิดตัวโครงการ The Line ใหม่ The Line Asoke-Ratchada, The Line Ratchathewi และ Sold Out เรียบร้อยแล้ว และไวๆนี้ได้เปิดตัว The Line Sukhumvit 101 และ The Line Pradipat-Pahonyothin ที่กำลังขายอยู่ และนอกจากข้างต้นแล้ว แสนสิริกับบีทีเอสยังมีโครงการอื่นอีก คือ The Base Garden Rama 9 โครงการนี้ไม่ได้อยู่ใกล้ บีทีเอส แต่ไปใกล้กับ Airport Rial Link สถานีรามคำแหง และ โครงการสุด Hi-End ย่านทองหล่อกับแบรนด์คอนโดมิเนียมสุดหรู Yoo ที่ทางแสนสิริได้นำมาเปิดตัวในประเทศไทยภายใต้แบรนด์ Khun by Yoo ได้ Philip Starck  ดีไซน์เนอร์ชื่อดังระดับโลกมาเป็นผู้ออกแบบให้อีกด้วย Khun by Yoo Inspired by Philip Starck   ไม่ได้มีแค่แสนสิริที่ BTS ได้ทำสัญญาร่วมมือ หลังจากนั้น BTS ยังร่วมทุนกับ G Land ผู้พัฒนาโครงการ Rama 9 The New CBD ก่อตั้งบริษัท Bay Water เข้าประมูลที่ดินย่านถนนพหลโยธิน มูลค่ากว่า 7000 ลบ. ขนาด 48 ไร่ ใกล้สถานีรถไฟฟ้าสีเขียวส่วนต่อขยาย สถานี N10 เพื่อเตรียมพัฒนาโครงการ Mega Project อาคารสำนักงานที่อยู่อาศัย และห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ปัจจุบันบริษัทได้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตรงนี้อย่างเป็นทางการ และมีโครงการสร้างถนนเพื่อระบายรถจากถนนพหลโยธินไปยังถนนวิภาวดีรังสิต แก้ปัญหาจราจรระหว่างก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย “ถนนจะสร้างใหญ่เท่ากับถนนพหลโยธิน จะเปิดให้ประชาชนใช้ก่อน ส่วนจะยกให้รัฐหรือเก็บค่าใช้ทางหรือไม่ อยู่ที่นโยบายผู้บริหาร ตอนนี้คุณคีรีคิดคอนเซ็ปต์กว้าง ๆ ไว้แบบนี้ เหมือนเมืองทองธานีที่ตัดถนนและพัฒนาเป็นเมืองขึ้นมา”  
นอกจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แบบซื้อขายแล้ว BTS ยังสนใจลงทุนในรูปแบบของการเช่า โดยมีโครงการ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ผ่านการลงทุนในยูซิตี้ โดยยูซิตี้คาดว่าจะพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในปี 2559/60 โดยโครงการแรกจะมีลักษณะโครงการเป็นอาคารเอนกประสงค์(mixed-use) เนื้อที่โดยประมาณ 120,000 ตารางเมตร ติดกับสถานีรถไฟฟ้าพญาไท
  BTS Group
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (386)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon