เปิดอาณาจักรธุรกิจเครือ BTS Group Holding
บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เป็นกลุ่มของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจสื่อโฆษณา ธุรกิจให้บริการ และธุรกิจระบบขนส่งมวลชน โดยประกอบธุรกิจระบบขนส่งมวลชนเป็นหลัก หลังจากที่บริษัทได้เข้าถือหุ้นสามัญร้อยละ 94.60 ของบีทีเอสซี เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 โดยบีทีเอสซีเป็นบริษัทที่ได้รับสัมปทานดำเนินการระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสจากกทม. โดยมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการดำเนินงาน
บีทีเอส ก่อตั้งบริษัทใหม่ในนาม ยูนิคอร์น เอ็นเตอร์ไพรส์ เพื่อยึดพื้นที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แบบขายขาดและยังมี บมจ. ยูซิตี้ เป็นหัวหอกสำคัญในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เชิงการเช่าและบริหาร กลยุทธ์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทฯ คือ การร่วมมือกับพันธมิตร บีทีเอสได้ประกาศร่วมมือเป็นพันธมิตรกับแสนสิริ ซึ่งบีทีเอสและแสนสิริได้ทำการลงนามพันธะสัญญาข้อตกลง สัดส่วน 50:50 ของการถือหุ้น
และในปีนี้ คุณคีรีประกาศเปิดที่ดินย่านพหลโยธิน สร้างถนนตัดเพื่อสาธารณะประโยชน์ตัดไปเส้นวิภาวดี แก้ปัญหาจราจรในช่วงที่สร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย เป็นการตัดถนนเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับที่ดิน ซึ่งได้มาจากการชนะการประมูลของ บมจ. เบย์วอเตอร์ ซึ่งบีทีเอสร่วมทุนกับ บมจ. จีแลนด์ พัฒนาเป็นโครงการ Mixed Use ขนาด 48 ไร่ ย่านพหลโยธิน
BTS Group เป็นบริษัทที่ให้บริการระบบโดยสารขนาดใหญ่ในประเทศไทย บริการระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังดำเนินธุรกิจสื่อโฆษณานอกที่อยู่อาศัยรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย รวมถึงดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามแนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนอีกด้วย ปัจจุบัน BTS Group เป็นหนึ่งในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 50 อันดับแรก ในเชิงของมูลค่าตลาด
กลุ่มบริษัท บีทีเอส ประกอบธุรกิจขนส่งมวลชนเป็นธุรกิจหลัก โดยบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTSC) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย บีทีเอสซี ประกอบธุรกิจบริหารรถไฟฟ้าภายใต้สัมปทนาจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) รวมไปถึงยังได้รับเลือกให้เดินรถและซ่อมบำรุงในส่วนต่อขยายสายสีเขียวในปัจจุบันและรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT
BTS - Bangkok Mass Transit System
รถไฟฟ้าระบบราง บีทีเอสซีเป็นบริษัทฯที่ได้รับสัมปทานจากกรุงเทพมหานครในการให้บริการรถไฟฟ้า ซึ่งประกอบไปด้วยระบบรถไฟฟ้าบนทางวิ่งยกระดับ ระยะทาง 5 กิโลเมตร และสถานีรถไฟฟ้าทั้งหมด 23 สถานี ทั้งสายสีลม (สีเขียวเข้ม) และสายสุขุมวิท (สีเขียวอ่อน) ซึ่งรถไฟฟ้าทั้งสองสายนี้ได้ให้บริการเดินรถในย่านธุรกิจ และแหล่งท่องเที่ยวใจกลางกรุงเทพมหานคร
BRT - Bus Rapid Transit
รถโดยสารด่วนพิเศษ - บีทีเอสซี ได้รับเลือกให้ดำเนินการและบำรุงรักษารถโดยสารด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) ซึ่งประกอบไปด้วยสถานีรถประจำทางบีอาร์ที 12 สถานี โดยรถประจำทางจะวิ่งในช่องทางพิเศษเป็นระยะทาง 15 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีจุดเชื่อมต่อโดยตรง (โดยสะพานลอย) ระหว่างสถานีบีอาร์ทีสาทรและสถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี
เส้นทางที่บีทีเอสเปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน
ในเดือนเมษายน 2556 บีทีเอสซี ขายรายได้ค่าโดยสารสุทธิในอนาคตที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานจากรถไฟฟ้าสายหลักที่เหลืออยู่ของสัมปทานที่ทำกับกทม. ให้แก่ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท (BTSGIF) อย่างไรก็ตาม บริษัทฯยังคงเป็นผู้รับสัมปทาน เป็นผู้ให้บริการเดินระบบรถไฟฟ้าแต่เพียงผู้เดียว และยังเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนรายใหญ่ที่สุด โดยบริษัทฯ ลงทุนในหน่วยลงทุน 1 ใน 3 ของจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมดใน BTSGIF กรุงธนบุรี วงเวียนใหญ่ โพธินิมิตร ตลาดพลู วุฒากาศ บางหว้า
รถไฟฟ้าในอนาคตที่ BTS ได้สัมปทานเดินรถและก่อสร้าง
รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือและสายสีเขียวใต้
สายสีเขียวใต้ -
แนวเส้นทางโครงการระบบขนส่งกรุงเทพมหานคร ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ มีโครงสร้างรถไฟฟ้าแบบยกระดับตลอดเส้นทาง ระยะทาง 13 กิโลเมตร เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Rail Transit System) แนวเส้นทางเริ่มต้นต่อเนื่องจากแนวเส้นทางของโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (BTS) ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ตอนที่ 1 ช่วงอ่อนนุช - แบริ่ง บริเวณซอยสุขุมวิท 107 (แบริ่ง) ไปตามแนวเกาะกลางของถนนสุขุมวิท ผ่านคลองสำโรง ผ่านแยกเทพารักษ์ แยกปู่เจ้าสมิงพราย เมื่อถึงบริเวณจุดตัดกับโครงการถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้แนวจะเบี่ยงจากเกาะกลางไปทางทิศตะวันตกของถนนสุขุมวิท เพื่อข้ามทางต่างระดับสุขุมวิท จากนั้นจึงเบี่ยงกลับมาอยู่ในแนวเกาะกลางถนนสุขุมวิท ผ่านแยกศาลากลาง แยกการไฟฟ้า แยกแพรกษา แยกสายลวด จนถึงจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณหน้าสถานีไฟฟ้าย่อยบางปิ้ง โดยแนวเส้นทางจะเบี่ยงออกทางด้านทิศตะวันตก และลดระดับเพื่อเข้าศูนย์ซ่อมบำรุง
สายสีเขียวเหนือ - โครงการมีระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร ลักษณะเป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับตลอดเส้นทาง มีสถานียกระดับจำนวน 16 สถานี แนวเส้นทางเริ่มต้น ต่อเนื่องจากแนวเส้นทางของโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (BTS) ที่สถานีหมอชิต ข้ามทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์บริเวณห้าแยก ลาดพร้าว ผ่านแยกรัชโยธิน แยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปจนถึงบริเวณแยกหลักสี่และเบี่ยงออกด้านขวาเลียบไปตามขอบอุโมงค์ลอกแยกหลักสี่ และเบี่ยงเข้าสู่เกาะกลางดังเดิม ไปจนถึงบริเวณสะพานใหม่หน้าตลาดยิ่งเจริญ โดยเมื่อถึงประมาณกิโลเมตรที่ 25 ของถนนพหลโยธิน แนวเส้นทาง จะเบี่ยงไปทางด้านทิศตะวันออก (ด้านเหนือของพื้นที่ประตูกรุงเทพฯ) ข้ามคลางสอง ผ่านบริเวณด้านข้างของสถานีตำรวจภูธรคูคต เข้าสู่บริเวณเกาะ กลางของถนนลำลูกกา และสิ้นสุดที่บริเวณคลองสอง (บริเวณสถานีคูคต) ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารจอดรถ มีสถานียกระดับ 16 สถานี
รถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีชมพู-เหลือง
รถไฟฟ้าสายสีชมพู - ระบบขนส่งมวลชนสายสีชมพูฯ เป็นระบบขนส่งมวลชนสายรองประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail) มีลักษณะเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างเขตมีนบุรีและจังหวัดนนทบุรี โดยแนวเส้นทางเริ่มต้นบนถนนรัตนาธิเบศร์บริเวณระหว่าง ศูนย์ราชการนนทบุรีและแยกแคราย ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่ – บางซื่อ) บริเวณสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี จากนั้นจะวิ่งเลี้ยวซ้ายบริเวณแยกแครายเข้าถนนติวานนท์ วิ่งตามถนนติวานนท์จนถึงแยกปากเกร็ด เลี้ยวขวาเข้าถนนแจ้งวัฒนะผ่านเมืองทองธานี ผ่านศูนย์ราชการ ผ่านทางแยกหลักสี่ เชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงที่สถานีหลักสี่ ลอดใต้ทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลเวย์) และผ่านวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยมีสถานีวัดพระศรีมหาธาตุเป็นสถานีเชื่อมต่อ (Interchange Station) เพื่อเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารระหว่างรถไฟฟ้าสาย สีเขียว ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ จากนั้นแนวเส้นทางจะวิ่งตามถนนรามอินทรา ยกระดับข้ามทางพิเศษฉลองรัชบริเวณแยกวัชรพล จนถึงแยกมีนบุรีแล้ววิ่งเข้าเมืองมีนบุรีตามถนนสีหบุรานุกิจ จากนั้นจะข้ามคลองสามวาและเลี้ยวขวาข้ามคลองแสนแสบผ่านพื้นที่ว่างและข้ามเข้าถนนรามคำแหง (สุขาภิบาล 3 ) จนสิ้นสุดบริเวณทางแยกร่มเกล้า ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน – มีนบุรี ที่สถานีมีนบุรี มีความยาวของแนวเส้นทางทั้งสิ้นประมาณ 34.5 กิโลเมตร
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง - โดยแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงินระยะแรก) ที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปตามแนวถนนลาดพร้าว โดยเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาของกรุงเทพมหานครที่แยกฉลองรัช และยกระดับข้ามทางด่วนฉลองรัชจนถึงทางแยกบางกะปิ จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวขวาไปทางทิศใต้ตามถนนศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่ทางแยกลำสาลี ต่อจากนั้นแนวเส้นทางจะยกระดับข้ามทางแยกต่างระดับพระราม 9 โดยเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) และผ่านแยกพัฒนาการ แยกศรีนุช แยกศรีอุดมสุข แยกศรีเอี่ยม จนถึงแยกศรีเทพา จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวขวาอีกครั้งไปทางทิศตะวันตก ตามแนวถนนเทพารักษ์ ผ่านจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง และสิ้นสุดแนวเส้นทางบริเวณถนนปู่เจ้าสมิงพราย รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 30.4 กิโลเมตร ประกอบด้วยสถานีทั้งหมด 23 แห่ง โรงจอดรถศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง อาคารและลานจอดแล้วจร 1 แห่ง บริเวณพื้นที่ทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม
รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เผยว่า ตามที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กำลังดำเนินการคัดเลือกผู้รับสัมปทานการลงทุนออกแบบและก่อสร้างงานโยธาการจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรงนั้น คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ. เอกชนร่วมลงทุนฯ พ.ศ.2556 ได้ประเมินเอกสารข้อเสนอซองที่ 1 (ด้านคุณสมบัติและเทคนิค) และเอกสารข้อเสนอซองที่ 2 (ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน) เสร็จเรียบร้อยแล้ว มีผลสรุปว่า กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) เป็นเอกชนผู้ผ่านการประเมินสูงสุด พร้อมมีการเสนอเส้นทางต่อขยายสายสีชมพู 2.8 กม. เข้าเมืองทองธานี สายสีเหลืองขยาย 2.6 กม. เชื่อมสถานีรัชโยธิน สายสีเขียว
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ มีมูลค่าลงทุนรวม 53,519.50 ลบ. และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ มีมูลค่าลงทุนรวม 51,931.15 ลบ. โดยกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ได้ยื่นข้อเสนอเพิ่มเติมจากขอบเขตโครงการเดิม
• สายสีชมพู เสนอให้มีการต่อเส้นทางระยะทางประมาณ 2.8 กม.จากสถานีศรีรัชบนถนนแจ้งวัฒนะเข้าไปเมืองทองธานี
• สายสีเหลืองได้เสนอให้มีการต่อขยายออกไปอีกประมาณ 2.6 กม.เริ่มจากสถานีรัชดาไปทางทิศเหนือตามถนนรัชดาภิเษกและสิ้นสุดบริเวณแยกรัชโยธินซึ่งเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายหมอชิต-คูคตทีอยู่ระหว่างก่อสร้าง
กลุ่มบริษัท บีทีเอส ประกอบธุรกิจระบบสื่อโฆษณาโดยบริษัทย่อย บริษัท วีจีไอ โกลบอล มีเดีย (VGI) วีจีไอเป็นบริษัททำสื่อโฆษณานอกบ้าน (Out-of-Home Media) ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยวีจีไอได้รับสัมปทาน ในการบริหารจัดการสื่อโฆษณาบนพื้นที่ทั้งหมดของสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส และวีจีไอยังมีรายได้จากสื่อโฆษณาในอาคารสำนักงาน และสื่อโฆษณาตามท้องถนน นอกจากนี้ วีจีไอยังมีธุรกิจสื่อโฆษณากลางแจ้ง โดยเข้าไปถือหุ้นในบริษัททำสื่อโฆษณากลางแจ้งอื่นๆ
1. สื่อโฆษณาบนเครือข่ายรถไฟฟ้า - วีจีไอได้รับสัมปทานการจัดสรรพื้นที่โฆษณาบนเครือข่ายรถไฟฟ้าบีทีเอสสายหลักซึ่งประกอบไปด้วยตัวสถานีรถไฟฟ้าและตัวรถไฟฟ้า สื่อโฆษณาหลักบนเครือข่ายรถไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น LCD ในรถไฟฟ้า สติ๊กเกอร์ที่ติดรอบขบวนรถไฟฟ้า และป้ายโฆษณาทั้งที่เป็นภาพนิ่งและดิจิตัลบนสถานีรถไฟฟ้า นอกจากนี้ วีจีไอ ยังได้รับสัมปทานในการจัดสรรพื้นที่โฆษณาบนรถโดยสารด่วนพิเศษ บีอาร์ที และส่วนต่อขยายของระบบรถไฟฟ้าสายหลัก ทั้งหมด 7 สถานี(สะพานตากสิน, กรุงธนบุรี, วงเวียนใหญ่, โพธินิมิตร, ตลาดพลู, วุฒากาศ, บางหว้า)
2. สื่อโฆษณาในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ - ธุรกิจสื่อโฆษณาของบีทีเอสกรุ๊ปฯ ได้ขยายเข้าไปในส่วนของอาคารสำนักงานชั้นนำในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีเครือข่ายจอโทรทัศน์ติดตั้งอยู่ในลิฟท์และบริเวณโถงของอาคารชั้นนำ กว่า 130 อาคาร
3. สื่อโฆษณาในพื้นที่เชิงพาณิชย์ - วีจีไอได้ก้าวเข้าไปในธุรกิจสื่อโฆษณากลางแจ้ง โดยเข้าไปถือหุ้นในบริษัททำสื่อโฆษณากลางแจ้งอื่น เช่น การเข้าไปถือหุ้นในบริษัทมาสเตอร์ แอด จำกัด (มหาชน) – MACO จำนวน 37.42% และถือหุ้น 20% บริษัทแอร์โร มีเดีย จำกัด - AERO Media
ธุรกิจบริการมีหน้าที่สนับสนุนธุรกิจในส่วนอื่นๆของบีทีเอสกรุ๊ปฯ และยังเป็นแหล่งที่มาของการเติบโตของรายได้ในอนาคต
1. ธุรกิจเงินสดอีเล็คทรอนิกส์ - บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด หรือ แรบบิทการ์ด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบีทีเอสกรุ๊ปฯ (บีเอสเอส) และบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกันพัฒนาระบบตั๋วโดยสารร่วมระหว่างเครือข่ายระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร บีเอสเอสยังใช้พื้นฐานจากสมาร์ทการ์ดและเงินสดอีเล็คทรอนิกส์ เพื่อที่จะขยายเครือข่ายจากระบบขนส่งมวลชนไปยังส่วนของร้านค้า ธุรกิจบริการ และการท่องเที่ยว
2. ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง - บีทีเอสกรุ๊ปฯ ได้ดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้างโดยผ่านการดำเนินงานของบริษัท ฮิบเฮง คอนสตรัคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งให้บริการด้านการก่อสร้างและออกแบบตกแต่งภายในสำหรับบริษัทในเครือของบีทีเอสกรุ๊ปฯ และบริษัทภายนอก ฮิบเฮงเป็นบริษัทที่ บีทีเอสกรุ๊ปฯ ร่วมลงทุนกับบริษัท ฮิบเฮง คอนสตรัคชั่นซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่ม นิวเวิร์ล รวมทั้งยังเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างในประเทศฮ่องกง
3. ธุรกิจบริหารจัดการโรงแรม - บีทีเอสกรุ๊ปฯ มีธุรกิจบริหารจัดการโรงแรมโดยผ่านการดำเนินงานของบริษัท แอ๊บโซลูท โฮเต็ล เซอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน (50%) โดยบริษัท แอ๊บโซลูท โฮเต็ล เซอร์วิส จำกัดได้ดำเนินการบริหารจัดการโรงแรมภายใต้เครือ ยู โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท, อิสติน, อิสติน เรสซิเดนซ์ และ อิสติน อีซี่ และให้บริการด้านคำปรึกษา จากสำนักงานทั้งในประเทศไทย เวียดนาม และอินเดีย
4. ธุรกิจสนามกอล์ฟ - บีทีเอสกรุ๊ปฯ เป็นเจ้าของและบริหารจัดการการดำเนินงานของธนาซิตี้ กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ตคลับ ซึ่งเป็นสนามกอล์ฟ 18 หลุม 6,966 หลา 72 พาร์ โดยสนามกอล์ฟแห่งนี้ได้ถูกออกแบบโดย เกรก นอร์แมน
เดิมที่บริษัทถูกก่อตั้งมาเพื่อพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บีทีเอสกรุ๊ปฯ ได้เริ่มพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 โดยมุ่งเน้นพัฒนาทั้งทางด้านที่พักอาศัย (บ้านและคอนโดมิเนียม) และอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ (โรงแรม, เซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ และอาคารสำนักงาน) และที่ดิน บีทีเอสกรุ๊ปฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่มีอยู่และเส้นทางในอนาคตของกรุงเทพมหานคร การพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ของบีทีเอส
กลยุทธ์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทฯ คือ การร่วมมือกับพันธมิตร บีทีเอสได้ประกาศร่วมมือเป็นพันธมิตรกับแสนสิริ ซึ่งบีทีเอสและแสนสิริได้ทำการลงนามพันธะสัญญาข้อตกลง สัดส่วน 50:50 ของการถือหุ้น บนโครงการพัฒนาการซื้อขายที่อยู่อาศัยที่ตั้งอยู่ภายใน 500 เมตร จากสถานีรถไฟฟ้า ภายใน 5 ปีข้างหน้า บีทีเอสและแสนสิริตั้งเป้ามูลค่าโครงการคอนโดมิเนียมภายใต้กรอบความร่วมมือไว้ที่ 100,000 ลบ.
ในช่วงปีที่ผ่านมา นับได้ว่าบีทีเอสประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เชิงที่อยู่อาศัย โดยบริษัทฯ และแสนสิริได้เปิดตัวคอนโดมิเนียม เดอะไลน์ ซึ่งเป็นโครงการภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างบีทีเอสและ แสนสิริทั้งหมด 3 โครงการ ได้แก่ เดอะไลน์ จตุจักร-หมอชิต,เดอะไลน์ สุขุมวิท 71 และเดอะไลน์ ราชเทวี รวมทั้งสิ้น 1,363 ยูนิต ซึ่งมีมูลค่าโครงการรวมประมาณ 11,000 ล้านบาท โดยมีการเปิดตัวอย่างประสบความสำเร็จจากการปิดการขายได้หมด100% ภายใน 2 วันแรกของช่วง pre-sale สะท้อนให้เห็นถึงความได้เปรียบของที่ตั้งโครงการซึ่งอยู่ในแนวรถไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี ในปี 2559/60 บีทีเอส และแสนสิริคาดว่าจะเปิดตัวคอนโดมิเนียมอีก 6 โครงการในปี 2559 มูลค่าโครงการรวมประมาณ 23,000
ล้านบาท ภายในปีนี้ บีทีเอสและแสนสิริ ได้เปิดตัวโครงการ The Line ใหม่ The Line Asoke-Ratchada, The Line Ratchathewi และ Sold Out เรียบร้อยแล้ว และไวๆนี้ได้เปิดตัว The Line Sukhumvit 101 และ The Line Pradipat-Pahonyothin ที่กำลังขายอยู่ และนอกจากข้างต้นแล้ว แสนสิริกับบีทีเอสยังมีโครงการอื่นอีก คือ The Base Garden Rama 9 โครงการนี้ไม่ได้อยู่ใกล้ บีทีเอส แต่ไปใกล้กับ Airport Rial Link สถานีรามคำแหง และ โครงการสุด Hi-End ย่านทองหล่อกับแบรนด์คอนโดมิเนียมสุดหรู Yoo ที่ทางแสนสิริได้นำมาเปิดตัวในประเทศไทยภายใต้แบรนด์ Khun by Yoo ได้ Philip Starck ดีไซน์เนอร์ชื่อดังระดับโลกมาเป็นผู้ออกแบบให้อีกด้วย
Khun by Yoo Inspired by Philip Starck
ไม่ได้มีแค่แสนสิริที่ BTS ได้ทำสัญญาร่วมมือ หลังจากนั้น BTS ยังร่วมทุนกับ G Land ผู้พัฒนาโครงการ Rama 9 The New CBD ก่อตั้งบริษัท Bay Water เข้าประมูลที่ดินย่านถนนพหลโยธิน มูลค่ากว่า 7000 ลบ. ขนาด 48 ไร่ ใกล้สถานีรถไฟฟ้าสีเขียวส่วนต่อขยาย สถานี N10 เพื่อเตรียมพัฒนาโครงการ Mega Project อาคารสำนักงานที่อยู่อาศัย และห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ปัจจุบันบริษัทได้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตรงนี้อย่างเป็นทางการ และมีโครงการสร้างถนนเพื่อระบายรถจากถนนพหลโยธินไปยังถนนวิภาวดีรังสิต แก้ปัญหาจราจรระหว่างก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย
“ถนนจะสร้างใหญ่เท่ากับถนนพหลโยธิน จะเปิดให้ประชาชนใช้ก่อน ส่วนจะยกให้รัฐหรือเก็บค่าใช้ทางหรือไม่ อยู่ที่นโยบายผู้บริหาร ตอนนี้คุณคีรีคิดคอนเซ็ปต์กว้าง ๆ ไว้แบบนี้ เหมือนเมืองทองธานีที่ตัดถนนและพัฒนาเป็นเมืองขึ้นมา”
นอกจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แบบซื้อขายแล้ว BTS ยังสนใจลงทุนในรูปแบบของการเช่า โดยมีโครงการ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ผ่านการลงทุนในยูซิตี้ โดยยูซิตี้คาดว่าจะพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในปี 2559/60 โดยโครงการแรกจะมีลักษณะโครงการเป็นอาคารเอนกประสงค์(mixed-use) เนื้อที่โดยประมาณ 120,000 ตารางเมตร ติดกับสถานีรถไฟฟ้าพญาไท
BTS Group