realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

BTS สะพานตากสิน จะไม่มีปัญหาคอขวดอีกต่อไป !!!

04 Oct 2019 23.1K

BTS สะพานตากสิน จะไม่มีปัญหาคอขวดอีกต่อไป !!!

04 Oct 2019 23.1K
 

BTS สะพานตากสิน จะไม่มีปัญหาคอขวดอีกต่อไป !!!

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา หนึ่งในรถไฟฟ้าสายหลักของคนกรุงอย่าง BTS ได้มีการขยายเส้นทางมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงทาง BTS เองก็ได้ซื้อรถไฟฟ้าขบวนใหม่มาหลายขบวน เพื่อให้มีความถี่การเดินรถที่เหมาะสม สามารถรองรับผู้โดยสารได้อย่างเพียงพอ
แต่ปัญหาหนึ่งของ BTS สายสีลมที่ไม่ว่าจะเพิ่มขบวนรถเท่าไหร่ ก็ยังไม่สามารถเพิ่มความถี่การเดินรถให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับสายสุขุมวิทได้นั่นคือ ปัญหาคอขวด บริเวณสถานีสะพานตากสิน ซึ่งเป็นลักษณะทางเดี่ยว ทำให้ในปัจจุบันรถไฟฟ้าสามารถวิ่งผ่านได้ทีละขบวน หรือไม่สามารถวิ่งสวนกันได้นั่นเอง
ซึ่งปัญหานี้ได้มีการวางแผนกันระหว่างภาครัฐและทางบีทีเอสมาตั้งแต่ปี 60 และเกือบทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีมติเห็นชอบแล้ว เหลือเพียงแต่รอผลการพิจารณารายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) จากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) ที่คาดว่าจะเสร็จในปลายปี 62 นี้ แล้วสามารถดำเนินงานก่อสร้างได้เลย ส่วนแผนการปรับปรุงจะเป็นอย่างไร แล้วจะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ
 

BTS สะพานตากสิน เชื่อมต่อ รถ - ราง - เรือ

สถานีสะพานตากสิน เริ่มเปิดใช้บริการมาตั้งแต่ปี 2542 ซึ่งตามแผนตอนแรกเป็นเพียงสถานีชั่วคราวเท่านั้น และมีแผนว่าจะทุบตัวสถานีที่อยู่บนรางด้านหนึ่งทิ้ง แต่ด้วยทำเลที่ตั้งของสถานีที่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา และสามารถเชื่อมต่อท่าเรือสาทรที่เป็นจุดจอดเรือด่วนเจ้าพระยา และเรือท่องเที่ยว เพื่อต่อเรือไปยังสถานที่สำคัญหลายแห่งริมน้ำได้
ทำให้ในแต่ละวันมีทั้งคนไทยและชาวต่างชาติเดินทางมาเป็นจำนวนมาก ประกอบกับในปีต่อๆ มา บีทีเอสได้ขยายเส้นทางเดินรถข้ามไปยังฝั่งธนฯ ทำให้จำนวนผู้โดยสารเยอะขึ้น จึงทำให้เริ่มมีการหาแนวทางแก้ปัญหาของสถานีนี้ จากเดิมที่จะทุบทิ้งแล้วสร้าง Sky walk เชื่อมมาจากสถานีสุรศักดิ์ ก็กลายเป็นรักษาสถานีไว้และขยายชานชาลาออกด้านข้าง ให้รถไฟฟ้าสามารถสวนกันได้แทน
 

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากสถานีในปัจจุบัน

อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นว่า ชานชาลาตั้งทับอยู่บนรางรถไฟฟ้าด้านหนึ่ง ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมามากมายในปัจจุบัน โดยสาเหตุหลัก คือ ทำให้การเดินรถไฟเป็นลักษณะทางวิ่งเดี่ยว ไม่สามารถสวนกันได้ และต้องเสียเวลาในการจอดสับรางเวลาจะเดินรถผ่าน ส่งผลต่อความถี่รถไฟฟ้าที่ไม่สามารถเพิ่มได้เต็มประสิทธิภาพ รวมถึงยังมีปัญหาเรื่องชานชาลา ทั้งฝั่งเข้าเมืองและออกเมือง ต้องใช้ชานชาลาเดียวกันในการขึ้นรถไฟ ทำให้หลายคนอาจเกิดความสับสน
 

สิ่งที่จะได้จากการปรับปรุงสถานี

จากปัญหาที่เกิดขึ้น จึงทำให้ต้องมีการปรับปรุงสถานีสะพานตากสิน เพื่อเพิ่มรางรถไฟและชานชาลา โดยเมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะช่วยคลี่คลายปัญหาเรื่องคอขวด ที่เริ่มสะสมมายาวนาน ตั้งแต่มีการขยายเส้นทางเดินรถสายสีลม ส่งผลให้ความถี่การเดินรถสูงสุดในช่วงเวลาเร่งด่วนของทั้งสายสีลมใช้เวลาน้อยลง จากปัจจุบันที่สูงสุด 3.45 นาที / ขบวน ในอนาคตคาดว่าจะสามารถเพิ่มความถี่ได้สูงสุดเท่ากับสายสุขุมวิทที่มีความถี่ 2.30 นาที / ขบวน
 

งบก่อสร้างกว่าพันล้าน ปรับปรุงนาน 40 เดือน

หนึ่งในสาเหตุหลักที่โครงการนี้มีระยะเวลาในการวางแผนนานมาจากที่ตั้งของตัวสถานี ที่ถูกขนาบด้วยสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สะพานตากสินทั้ง 2 ฝั่ง ทำให้การขยายตัวสถานีมีความยุ่งยาก เพราะจะต้องทำการทุบสะพานฝั่งที่ติดสถานีออกบางส่วน และจะต้องผ่านการเห็นชอบจากกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ที่ดูแลสะพานส่วนนี้ก่อน จึงจะสามารถดำเนินการได้ ซึ่งล่าสุด 19 ก.ย. 62 ทาง ทช. ได้อนุญาตแล้ว จึงเหลือเพียงรอผล EIA ซึ่งคาดว่าจะสามารถอนุมัติได้ช่วงปลายปี จึงจะสามารถเริ่มก่อสร้างได้
โครงการนี้ คาดว่าจะใช้งบก่อสร้างทั้งหมดรวม 1,400 ลบ. ในระยะเวลา 40 เดือน (3 ปี 4 เดือน) โดยแบ่งเป็นปรับปรุงสะพาน 30 เดือน และปรับปรุงสถานี 10 เดือน
 

งานปรับปรุงสะพานตากสิน

ก่อนที่จะปรับปรุงตัวสถานี จะต้องมีการปรับปรุงสะพานตากสินเพื่อให้มีพื้นที่ว่างมากพอที่จะขยายสถานีได้ โดยเพื่อไม่ให้กระทบกับผู้ที่ใช้สะพานในการสัญจร ทางผู้รับผิดชอบได้วางแผนให้มีการขยายพื้นที่สะพานทั้งฝั่งสะพานตากสินขาออก และสะพานตากสินขาเข้าไปข้างละ 2.30 ม. เป็นระยะทาง 300 ม. พร้อมเสาตอม่อรับเพื่อรับน้ำหนักฝั่งละ 8 ต้นก่อน แล้วค่อยทำการทุบสะพานฝั่งที่ติดกับตัวสถานี กว้างฝั่งละ 1.80 ม. ยาว 300 ม. ออก เพื่อให้ช่องจราจรยังคง 3 ช่องตลอดเวลาที่ก่อสร้าง
 

งานปรับปรุงสถานีรถไฟฟ้า

สำหรับการปรับปรุงสถานีสะพานตากสิน เนื่องจากแต่เดิมทางบีทีเอสได้ก่อสร้างทางคู่เพื่อรองรับการเดินรถไฟฟ้า 2 ทางอยู่แล้ว เพียงแต่มีการสร้างชานชาลาไว้ทับตัวโครงสร้างที่จะรองรับรางรถไฟไว้ฝั่งหนึ่ง ทำให้ต้องมีการรื้อเอาชานชาลาเดิมออกก่อน แล้ววางรางเพิ่มในส่วนที่ขาดหายไปให้เป็นทางคู่ รถไฟจึงจะวิ่งสวนทางกันได้ หลังจากนั้นค่อยทำการสร้างชานชาลาใหม่ทั้ง 2 ฝั่ง และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น หลังคาคลุม บันไดขึ้น - ลง ลิฟต์โดยสาร เป็นต้น
 

ผลกระทบ และการแก้ไขปัญหา

แน่นอนว่า เมื่อโครงการเริ่มดำเนินการ จะทำให้บริเวณที่ทำการปรับปรุงเกิดความไม่สะดวก โดยเฉพาะสถานีสะพานตากสิน ที่อาจจะต้องปิดให้บริการชั่วคราวและให้รถไฟฟ้าวิ่งผ่านเท่านั้น อย่างไรก็ตามจนถึงปัจจุบัน (ต.ค. 62) ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน แต่ถ้าหากไม่ปิดคาดว่าจะต้องใช้เวลามากกว่า 40 เดือน จากที่คาดการณ์ไว้ หรือถ้าปิดสถานีก็จะทำให้กระทบต่อผู้ใช้บริการสถานีสะพานตากสินประมาณ 40,000 คน / วัน ซึ่งทางภาครัฐและเอกชนประกอบด้วย 4 หน่วยงาน คือ กทม. ทช. บช.น. และบีทีเอส ก็ได้มีการวางแผนเพื่อรับมือในอนาคต โดยจะมีบริการรถตู้ Shuttle Bus วิ่งให้บริการระหว่างสถานีสุรศักดิ์ และสถานีกรุงธนบุรี ไปยังสถานีสะพานตากสิน เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนตลอดทั้งวัน และมีการเพิ่มความถี่การเดินรถในชั่วโมงเร่งด่วนในตอนเช้าและตอนเย็น
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon