realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รถไฟฟ้า MRT กับวิถีชีวิตคนกรุงเทพฯ

21 Aug 2018 14.2K

รถไฟฟ้า MRT กับวิถีชีวิตคนกรุงเทพฯ

21 Aug 2018 14.2K
 

รถไฟฟ้า MRT กับวิถีชีวิตคนกรุงเทพฯ

กรุงเทพฯ มหานครรถติด อันดับ 11 ของโลก

หากพูดถึงการเดินทางในกรุงเทพฯ แล้ว ทุกคนที่ใช้รถใช้ถนนนั้นต่างรู้ดีว่ากรุงเทพฯ มีการจราจรที่ติดขัดขนาดไหน ทั้งในช่วงธรรมดาหรือเวลาเร่งด่วนก็ตาม ซึ่งจากการสำรวจของ บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลการจราจร INRIX เผยรายงานการประเมินสภาพจราจรทั่วโลก ประจำปี 2017 หรือ Global Traffic Scorecard Report  ว่า คนกรุงเทพฯ นั้นเสียเวลาไปกับการจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วนถึงปีละ 64 ชม. เลยทีเดียว ซึ่งปัญหารถติดนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน อาทิ จำนวนผู้ใช้รถใช้ถนนมากขึ้น หรือ ไม่มีทางเลือกในการเดินทาง เป็นต้น แน่นอนว่ารัฐบาลไทยนั้นไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น ในปี 2543 ได้มีการจัดตั้ง “การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” เรียกโดยย่อว่า “รฟม.” เพื่อมาดูแลและจัดการเกี่ยวกับเรื่องรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ที่เป็นระบบรถขนส่งมวลชนแบบเร็ว (Mass Rapid Transit System) เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ นั่นเอง

รู้จักกับรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน

ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นคร่าวๆ เกี่ยวกับรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินคร่าวๆ กันก่อน รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินนั้น เป็นสายที่เชื่อมต่อพื้นที่กรุงเทพฯ ด้านใน สถานีที่ปัจจุบันเปิดให้บริการนั้นจะเริ่มต้นที่ สถานีเตาปูนผ่านย่านธุรกิจและ CBD ของกรุงเทพฯ อย่าง จตุจักร, ห้วยขวาง,พระราม 9, อโศก, ศาลาแดง และสามย่าน  และสิ้นสุดสถานีหัวลำโพง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า BTS ได้ที่สถานีจตุจักร, สุขุมวิท และศาลาแดง เชื่อมต่อกับ Airport Link ที่สถานีเพชรบุรี เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายสีม่วงที่สถานีเตาปูน ปัจจุบันมีระยะทางรวมราว 21.2 กิโลเมตร มีทั้งสิ้น 19 สถานี   สามารถคลิ๊กด้านล่างนี้ เพื่ออ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

14 ปีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ตลอดมาเป็นอย่างไรบ้าง

ในปี 2547 รถไฟฟ้าใต้ดินแห่งแรกของประเทศไทยก็ได้มีการเปิดให้บริการ หรือในชื่ออย่างเป็นทางการคือ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยใช้สีประจำสายคือ สีน้ำเงิน รวมแล้วนั้น คนกรุงเทพฯ อยู่กับ รถไฟฟ้า MRT สายนี้มีแล้วกว่า 14 ปี การเข้ามาของ รถไฟฟ้า MRT นั้นส่งผลต่อวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ อย่างเห็นได้ชัด สังเกตุได้จากสถิติการใช้รถไฟฟ้า MRT ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเดือนแรกที่เปิดใช้งาน จํานวน 217,000 คน/เที่ยว/วัน เพิ่มขึ้นเป็น 269,335 คน/เที่ยว/วัน ในรายงานงบประมาณประจำปี 2559 ของ รฟม. สรุปได้ว่าเพิ่มขึ้นในอัตรา 5.23 % ต่อปี
จากการคาดการณ์ ปริมาณผู้โดยสารตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางฯ ภายในปี พ.ศ. 2572 คาดการณ์ว่า ผู้โดยสารรถไฟฟ้าทุกสายที่จะเปิดให้บริการ ในปี 2562 จะอยู่ที่ 4,384,000 คน/เที่ยว/วัน และจะเพิ่มเป็น 7,680,000 คน/เที่ยว/วัน ในปี 2572 ทั้งนี้สัดส่วนของปริมาณผู้โดยสารจากการเปลี่ยนถ่ายระบบ (Transfer) โดยรวมในปี 2557 จะมีค่าประมาณที่ร้อยละ 14.89 เพิ่มเป็นร้อยละ 26.98 (2562) และ 34.86 (2572) ของปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้าทั้งหมด ช่วงบางซื่อ - ท่าพระและช่วงหัวลำโพง - บางแค เป็นเส้นทางที่มีสัดส่วนการเปลี่ยน ถ่ายระบบมากที่สุด ประมาณร้อยละ 31 - 40 ของปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้าทั้งหมด
หากเปรียบเทียบกันระหว่างการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ ในเขตกรุงเทพฯ อันดับ 1 นั้นจะเป็นของรถไฟฟ้า BTS ที่เป็นเส้นตัดผ่านใจกลางเมือง รองลงมาจะเป็น รถโดยสาร ขสมก. ที่ในปัจจุบันมีอัตราการใช้งานลดลงค่อนข้างมาก และอันที่สามจะเป็นของ รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT นั่นเอง แต่หากลองเปรียบเทียบกับรูปแบบการเดินทางแล้วนั้น ตามสถิติสรุปได้ว่า การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวและรถไฟฟ้ามีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การเดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะนั้นมีจำนวนลดลง 

จำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542-2559

การเดินทางในกรุงเทพฯ ทางบกนั้นหลักๆ จะแบ่งได้เป็น รถยนต์ส่วนบุคคลและรถมอเตอร์ไซน์ส่วนบุคคล, รถไฟฟ้า, รถร่วม ขสมก. ซึ่งในปัจจุบัน ทุกคนคงตระหนักได้ถึงความรถติดของกรุงเทพฯ แต่ทั้งนี้ ปริมาณของรถยนต์และจักรยานยนต์ส่วนตัวกลับเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะมีการแก้ไขปัญหาการจราจรนี้ด้วยระบบขนส่งแบบ Rapid Mass Transit อย่างรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ที่เปิดตัวในปี 2542 และรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน ที่เปิดตัวในปี 2547
มีผลทำให้คนเปลี่ยนตัวเลือกมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเส้นทางที่ไม่ครอบคลุมพื้นที่ในกรุงเทพฯ มากพอ จึงทำให้คนยังนิยม ซื้อและใช้รถส่วนตัวกันอยู่ ในขณะที่ปริมาณการใช้บริการรถร่วม ขสมก. ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการที่มีรถไฟฟ้านั้น มีความสะดวกสบายมากกว่าและประหยัดเวลากว่านั่นเองทำให้ตอบโจทย์การใช้งานของคนกรุงเทพฯ ที่ส่วนใหญ่เร่งรีบและต้องการหลีกหนีปัญหาลดติดนั่นเอง

ข้อดีของรถไฟฟ้า MRT เมื่อครบ Loop

รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินนั้นจะอยู่ในช่วงดำเนินการก่อสร้างสถานีส่วนต่อขยายจาก ช่วง หัวลำโพง - บางซื่อ คือ ช่วงหัวลำโพง - บางแค (เปิดให้บริการ กุมภาพันธ์ 2562) และ ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ (เปิดให้บริการ ตุลาคม 2562) ซึ่งเมื่อทั้งสองช่วงจะมาบรรจบกันที่สถานีท่าพระ จะทำให้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินกลายเป็น Loop นั่นเอง
ส่งผลให้การเดินทางด้วยรถไฟฟ้านั้นมีความสะดวกอย่างมาก ทำให้สามารถเลือกที่จะเดินทางในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในได้อย่างง่ายดาย เชื่อมต่อกับย่านสำคัญมากมายทั้งฝั่งธนบุรีและฝั่งพระนคร ส่งผลให้ในอนาคตนั้น คนกรุงเทพฯ จะหันมาเลือกใช้บริการรถไฟฟ้าแทนการใช้รถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น เพื่อลดการจราจรบนท้องถนนที่หนาแน่นและมลพิษที่เกิดจากไอเสียรถยนต์

วิถีชีวิตของย่านสะท้อนสู่สถานีรถไฟฟ้า MRT

Baker Street station, London Tube (Image.wikimedia)
รถไฟฟ้าใต้ดินที่เป็นมากกว่าการเดินทาง รถไฟฟ้าใต้ดินนั้นเข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนกรุงเทพฯ ได้ไม่นาน ถ้าเทียบกับรถไฟฟ้าใต้ดินของกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่เปิดให้บริการมาแล้วกว่า 150 ปี ที่หลายคนรู้จักกันในนาม "ทิวป์ (Tube)" เป็นรถไฟฟ้าใต้ดินที่เชื่อมต่อและผลักดันให้ลอนดอนเป็นเมืองหลวงด้านเศรฐกิจและอุตสาหกรรม คนลอนดอนให้รถไฟฟ้ากว่าวันละ 4.8 ล้านคน ตั้งแต่ยุคหัวรถจักรไอน้ำจนเปลี่ยนผ่านมาถึงรถไฟฟ้า เวลากว่า 150 ปีนั้นได้ได้หลอมรวมวิถีชีวิต การคมนาคม วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และเทคโนโลยีต่างๆ เข้าด้วยกัน ดั่งเช่นสถานีชื่อดังอย่าง สถานี Baker Street
ที่ถึงแม้รถไฟฟ้าเปลี่ยนผ่านไปกี่รุ่นต่อกี่รุ่น ก็ยังคงเอกลักษณ์และสถาปัตยกรรมเช่นเดิมไว้ เพื่อแสดงถึงช่วงเวลาที่เป็นจุดเริ่มต้นสถานีรถไฟฟ้าแห่งนี้ ในช่วง ปลายยุควิคตอเรีย ที่เน้นสถาปัตยกรรมที่เป็นเหล็ก, แก้ว และ กระจก เพื่อให้ตัวสถานีสว่าง, โปร่ง, ไม่อึดอัด และสามารถระบายไอน้ำได้สะดวก ทำให้รถไฟฟ้าไม่ได้เป็นเพียงระบบส่งมวลชน แต่เป็นสิ่งที่สะท้อนวัฒนธรรมและวิถีชีวิตในเมืองๆ นั้นด้วยเช่นกัน  นอกเหนือจากนี้ยังมีสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ที่มีการตกแต่งและออกแบบอย่างสวยงาม อย่าง สถานี Komsomolskaya ที่รัสเซีย หรือ สถานี Toledo ที่อิตาลี เป็นต้น
Komsomolskaya (Circle Line) metro station, Moscow, Russia Image : Wikipedia
Toledo Metro Station, Naples, Italy Image : WikiArquitectura

แอบส่องสถานีรถไฟฟ้า MRT ส่วนต่อขยายก่อนเปิดใช้งาน

โดยสถานีที่รถไฟฟ้า MRT ส่วนต่อขยาย ที่ได้มีการตกแต่งภายในโดยมีการผสมผสานวัฒธรรมและบริบทโดยรอบลงไปด้วย ที่เราจะพาไปดูนั้นมีดังนี้ 1.สถานีวัดมังกร 2.สถานีสามยอด 3.สถานีสนามไชย 4.สถานีอิสรภาพ และ 5.สถานีท่าพระ Interchange
1.สถานีวัดมังกร ตั้งอยู่บริเวณ ถ.เจริญกรุง ตัดกับ ถ.พลับพลาไชย และ ถ.แปลงนามที่แยกแปลงนาม ด้านในมีการตกแต่งแบบจีนด้วยสีแดง สะท้อนถึงชุมชนชาวจีนในย่านเยาวราช ได้เป็นอย่างดี
การประดับตกแต่งลายมังกรแบบจีน
เสาสีแดงสะท้อนความเป็นไชน่าทาวน์
SPHERICAL PANORAMIC PHOTOGRAPHY (สถานีวัดมังกร) สามารถคลิกที่ภาพ แล้วหมุนดูรอบด้านได้แบบ 360 องศา และ Double Click ที่ภาพอีกครั้งเพื่อรับชมแบบ Full Screen (สำหรับมือถือ Double Click ที่ Realist Logo)  
2. สถานีสามยอด  ตั้งอยู่อยู่บริเวณ ถ.เจริญกรุง ตัดกับ ถ.มหาไชย ที่แยกสามยอดจนถึง ถ.เจริญกรุง ตัดกับ ถ.อุณากรรณ และ ถ.บูรพา ภายในสถานีได้รับการตกแต่งสถาปัตยกรรมแบบย้อนยุค ในสมัย ร.6 เพื่อให้กลมกลืนกับอาคารโดยรอบ
 
3. สถานีสนามไชย ตั้งอยู่บริเวณ ถ.สนามไชยตัดกลับ ถ.พระพิพิธ จนมาถึง ถ.สนามไชย ซึ่งอยู่ในเขตกรุงเก่า ด้วยการตกแต่งภายในแบบสถาปัตยกรรมแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่ออกแบบโดย ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) ประจำปี พ.ศ.2537 รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ปรมาจารย์ผู้ชำนาญเรื่องสถาปัตยกรรมไทย ได้รับการพูดถึงว่าเป็นสถานีรถไฟฟ้าที่สวยที่สุดของประเทศไทย
ลายไทยบนฝ้าเพดาน
ประดับตกแต่งด้วยลวดลายไทยและสีแดงหมาก
SPHERICAL PANORAMIC PHOTOGRAPHY (สถานีสนามไชย) สามารถคลิกที่ภาพ แล้วหมุนดูรอบด้านได้แบบ 360 องศา และ Double Click ที่ภาพอีกครั้งเพื่อรับชมแบบ Full Screen (สำหรับมือถือ Double Click ที่ Realist Logo)  
4. สถานีอิสรภาพ ตั้งอยู่บริเวณ ซ.อิสรภาพ 23 จนถึง ซ.อิสรภาพ 34 ภายในสถานีได้รับการตกแต่งสถาปัตยกรรมให้มี เอกลักษณ์เป็นรูปหงส์ ซึ่งเป็นสัตว์สิริมงคลและศักดิ์สิทธิ์เป็นตัวแทนเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่ คือ วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร
SPHERICAL PANORAMIC PHOTOGRAPHY (สถานีอิสรภาพ) สามารถคลิกที่ภาพ แล้วหมุนดูรอบด้านได้แบบ 360 องศา และ Double Click ที่ภาพอีกครั้งเพื่อรับชมแบบ Full Screen (สำหรับมือถือ Double Click ที่ Realist Logo)  

สถานี ท่าพระ Interchange จุดตัดสายสีน้ำเงิน

 
แยกท่าพระ เป็นอีกหนึ่งแยกสำคัญฝั่งธนฯ เป็นจุดตัดของถนนเส้นสำคัญหลายเส้น ทั้ง ถ.เพชรเกษม, รัชดาภิเษก และจรัญสนิทวงศ์ เชื่อมไปยังถ.ราชพฤกษ์ พร้อมทั้งมีอุโมงค์ลอดแยกและสะพานข้ามแยกที่ช่วยระบายการจราจรให้มีความคล่องตัว 
เนื่องจากมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินพาดผ่านกลางสี่แยก ซึ่งเป็นจุดปักหมุดของสถานีท่าพระ โครงสร้างยกระดับทอดไปตามแนวถนนทั้ง 3 สาย ทำหน้าที่เป็นสถานีร่วมของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ กับ ช่วงหัวลำโพง-บางแค ส่งผลให้บริเวณจุด Interchange แห่งนี้มีผู้คนหลังไหลเข้ามาจำนวนมากเพื่อเปลี่ยนผ่านการเดินทางในโซนกรุงเทพฯ ชั้นใน คลิ๊กเพื่อ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกกับ สี่แยกท่าพระ

High Rise Condominium บริเวณสถานี ท่าพระ

บริเวณแยกท่าพระนั้นในระยะ 500 ม. ในปัจจุบัน High Rise Condominium ที่เกิดขึ้นมาใหม่ทั้งหมด 3 โครงการ ด้วยกันและอีกหนึ่งโครงการเก่าที่สร้างเสร็จตั้งแต่ปี 2553 อย่าง City Home สี่แยกท่าพระ ที่จะอยู่ใกล้สถานีท่าพระที่สุด ถัดมาจะเป็น IDEO และ The Privacy ที่อยู่ห่างประมาณ 100 ม. และสุดท้ายจะเป็น The Parkland ที่ 400 ม.
IDEO ท่าพระ Interchange
  • ผู้พัฒนา : Ananda
  • ที่ตั้ง : ถ.เพชรเกษม ซ.เพชรเกษม 9
  • อาคาร : 1 อาคาร 22 ชั้น
  • พื้นที่ : 4-2-16.7 ไร่
  • ยูนิต : 844 ยูนิต
  • ราคาเริ่มต้น : 2.69 ลบ.
  • ห่างจาก MRT : 100 ม.
The Privacy ท่าพระ Interchange
  • ผู้พัฒนา : Pruksa
  • ที่ตั้ง : ถ.จรัญสนิทวงศ์  ซ.จรัญสนิทวงศ์ 1
  • อาคาร : 1 อาคาร 21 ชั้น
  • พื้นที่ : 3-1-97.7 ไร่
  • ยูนิต : 795 ยูนิต
  • ราคาเริ่มต้น : 2.39 ลบ.
  • ห่างจาก MRT : 100 ม.
The Parkland เพชรเกษม-ท่าพระ
  • ผู้พัฒนา : Narai Property
  • ที่ตั้ง : ถ.เพชรเกษม ซ.เพชรเกษม 5
  • อาคาร : 1 อาคาร 21 ชั้น
  • พื้นที่ : 4-3-0.5 ไร่
  • ยูนิต : 814 ยูนิต
  • ราคาเริ่มต้น : 2.21 ลบ.
  • ห่างจาก MRT : 400 ม.

คอนโดฯ ใหม่พร้อมเข้าอยู่ แยกท่าพระ IDEO Thaphra Interchange 

Ideo Thaphra Interchange ที่สร้างเสร็จพร้อมเข้าอยู่ ที่มีความสูง 22 ชั้น จากอนันดา อยู่ในทำเลที่กำลังจะเป็นจุดที่คุกคักที่สุดจุดหนึ่งในกรุงเทพ ด้วยสถานี MRT ท่าพระ ที่เป็นสถานี Interchange ขนาดใหญ่ที่เป็นจุดตัดของ MRT สายสีน้ำเงิน ส่งผลให้ในเรื่องการเดินทาง ที่เดิมที่แยกท่าพระ นั้นก็เป็นจุดตัดของถนนเส้นสำคัญอย่าง ถ.จรัญสนิทวงศ์ ถ.เพชรเกษม และ ถ.รัชดาภิเษก ทำให้ที่นี่เป็น Node สำคัญในการเดินทางด้วยรถยนต์ของกรุงเทพฯ ฝั่งธนฯ อยู่แล้ว ได้มีการพัฒนาเป็น Node ของ Mass Transit ของกรุงเทพฯ ด้วยนั่นเอง
ในด้านรายละเอียดของ Ideo Thaphra Interchange นั้น มี Highlight อยู่ที่ Facility ของโครงการ อย่างสระว่ายน้ำ หรือที่ทางโครงการเรียกว่า White Cloud Pool ที่มีการออกแบบให้สะท้อนกับท้องฟ้าในยามกลางวันและกลางคืน และพื้นที่ที่เป็น Sunken ลงไปอย่าง Scenic Bridge ให้เรารู้สึกเมื่อเข้าไปนั่งใช้งานกันแล้ว สามารถชมทัศนียภาพแบบ Panorama ของแยกท่าพระ
ทางเข้าโครงการ
Multi Purpose & Co-Wroking Space ชั้น 21
Fitness Room  ชั้น 21
White Cloud Pool ชั้นดาดฟ้า
 Scenic Bridge ชั้นดาดฟ้า
Roof Garden ชั้นดาดฟ้า
 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและลงทะเบียนได้ที่

เว็ปไซต์ IDEO Thaphra Interchange

Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon