realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รถไฟฟ้าสายสีม่วงเงียบเหงา รฟม. เตรียมจัดโปรโมชั่นลดราคา เปิดหวูดรถไฟฟ้าสายสีม่วงไม่เปรี้ยง ผู้โดยสารหลุดเป้าจาก 73,000 คน เหลือแค่ 20,000 คน/วัน เตรียมจัดโปรโมชั่น ตั๋วรายวัน รายเดือน เหมาจ่ายตลอดสาย บัตร 10 ปีขึ้นได้ ไม่อั้น ยอมรับขาดทุน 11 ปี

15 Aug 2016 17.1K

รถไฟฟ้าสายสีม่วงเงียบเหงา รฟม. เตรียมจัดโปรโมชั่นลดราคา เปิดหวูดรถไฟฟ้าสายสีม่วงไม่เปรี้ยง ผู้โดยสารหลุดเป้าจาก 73,000 คน เหลือแค่ 20,000 คน/วัน เตรียมจัดโปรโมชั่น ตั๋วรายวัน รายเดือน เหมาจ่ายตลอดสาย บัตร 10 ปีขึ้นได้ ไม่อั้น ยอมรับขาดทุน 11 ปี

15 Aug 2016 17.1K
 

รถไฟฟ้าสายสีม่วงเงียบเหงา รฟม. เตรียมจัดโปรโมชั่นลดราคา

รถไฟฟ้าสายสีม่วงโหรงเหรงเล็งลดราคาดึงคน       เปิดหวูดรถไฟฟ้าสายสีม่วงไม่เปรี้ยง ผู้โดยสารหลุดเป้าจาก 73,000 คน เหลือแค่ 20,000 คน/วัน เตรียมจัดโปรโมชั่น ตั๋วรายวัน รายเดือน เหมาจ่ายตลอดสาย บัตร 10 ปีขึ้นได้ ไม่อั้น ยอมรับขาดทุน 11 ปี รถไฟฟ้าสีม่วง       นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้การเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน ระยะทาง 23 กม. ที่ยังมีปริมาณผู้โดยสารน้อยอยู่ ล่าสุดมอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งทำรูปแบบทางเลือกในการเดินทางและดูวิธีการให้ประชาชนหันมาใช้บริการมากขึ้น เช่น การทำโปรโมชั่น ผู้โดยสารแค่ 2 หมื่นต่อวัน             ขณะที่แหล่งข่าวจาก รฟม. เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้กำลังหาแนวทางการประชาสัมพันธ์และการตลาดเพื่อกระตุ้นให้คนมาใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-เตาปูน ระยะทาง 23 กม. มากขึ้น หลังจากการเปิดใช้บริการอย่างเป็นทางการปเมื่อวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีผู้โดยสารมาใช้กว่า 2 หมื่นเที่ยวคนต่อวัน ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้เดิม 1.2 แสนเที่ยวคนต่อวัน เนื่องจากพฤติกรรมคนยังไม่เปลี่ยน ยังคงใช้บริการรถตู้ เพราะค่าโดยสารถูกกว่าและไม่ต้องนั่งรถหลายต่อ
      “ กำลังดูรายละเอียดโปรโมชั่น ภายในสิ้น ส.ค.นี้จะมีข้อสรุป เบื้องต้นที่คิดไว้เช่น การออกบัตรรายวัน รายเดือน บัตรโดยสาร 10ปีขึ้นได้ไม่อั้น ขายตั๋วราคาเดียวตลอดทั้งสาย เป็นต้น ต้องมีโปรโมชั่นพื่อดึงคนมาใช้ และจะร่วมกับผู้ประกอบการภาครัฐและเอกชนอยู่นแนวเส้นทาง โดยจะมอบสิทธิลดราคาพิเศษเมื่อใช้บัตรรถไฟฟ้าสายสีม่วง ตอนนี้มีเอกชนเป็นผู้ประกอบการคอนโดมิเนี่ยมให้ความสนใจจะร่วมกับรฟม.ในการใช้บัตรรถไฟฟ้ามอบให้กับลูกค้าที่ซื้อคอนโดฯ และจะประสานกับ ศูนย์การค้าเซนทรัลพลาซา เวสต์เกต จัดงานอีเวนต์ร่วมกัน”
           ขณะเดียวกัน รฟม. ยังว่าจ้างมหาวิทยาลัยนเรศวร ทบทวนผลการศึกษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใหม่ ในเรื่องของประมาณการผู้โดยสารและรายได้ให้เป็นปัจจุบัน ซึ่งวิเคราะห์เฉพาะปีที่ไม่มีการเดินรถช่วง 1 สถานีจากเตาปูน-บางซื่อ จากผลการศึกษาด้านจำนวนผู้โดยสารของปี 2559 อยู่ที่ 73,443 เที่ยวคนต่อวัน ป้อนเข้าระบบสายสีน้ำเงิน 12,783 คนต่อวัน มีรายได้รวม 131.46 ล้านบาท จากค่าโดยสาร 112.13 ล้านบาท เชิงพาณิชย์ 17.10 ล้านบาท และค่าที่จอดรถ 2.23 ล้านบาทและปี 2560 มีผู้โดยสาร 80,180คน/วัน ป้อนเข้าระบบสายสีน้ำเงิน 14,475 คนต่อวัน มีรายได้รวม 875.17 ล้านบาท จากค่าโดยสาร 719.09 ล้านบาท เชิงพาณิชย์ 111.78 ล้านบาท และค่าที่จอดรถ 14.30 ล้านบาท          “ สิ้นปีนี้จะเซ็นจ้างบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM เดินรถช่วง 1 สถานี คาดว่าต้นปีหน้าการเดินรถจะเชื่อมกัน จะทำให้ผู้โดยสารในปี 2561 มีถึง 152,863 เที่ยวคนต่อวัน ป้อนเข้าระบบสายสีน้ำเงิน 28,623 เที่ยวคนต่อวัน มีรายได้ทั้งปีอยู่ที่ 1,079.02 ล้านบาท”          แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า จากผลการศึกษาในภาพรวมระบุว่า การเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงจะขาดทุน เป็นระยะเวลา 11 ปี เนื่องจากผู้โดยสารยังไม่เป้นไปตามเป้าหมาย อีกทั้งยังต้องจ่ายค่าจ้างเดินรถให้ BEM อีกกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี จึงทำให้รายได้ไม่พอต่อรายจ่าย ซึ่งสายสีม่วงเป็นสายแรกที่ รฟม. ใช้วิธีการจ้างเดินรถ ทำให้รัฐรับภาวะเสี่ยงทั้งหมด จะต่างกับรถไฟฟ้าใต้ดินที่ BEM รับสัมปทาน และรับความเสี่ยงจากการดำเนินโครงการเอง          ทั้งนี้ รถไฟฟ้าสายสีม่วงจะเริ่มมีกำไรในปีที่ 12 หรือปี 2570 เป็นต้นไป โดยปี 2570 จะมีผู้โดยสาร 368,295 เที่ยวคนต่อวัน รายได้ 2,375 ล้านบาท และปี 2588 ซึ่งเป็นปีที่ 30 มีผู้โดยสาร 746,532 เที่ยวคนต่อวัน และรายได้จะเพิ่มเป็น 7,178 ล้านบาท     ชี้คนยังนิยมรถตู้           ผู้สื่อข้าว “ประชาชาติธุรกิจ”ได้ลงพื้นที่สำรวจหลังสายสีม่วงเปิดใช้ ซึ่งคนขับรถตู้เส้นทางจากบางบัวทอง-อนุเสาวรีย์ฯและเส้นทางบางบัวทอง-เดอะมอลล์งามวงศ์วาน กล่าวทำนองเดียวกันว่าการมีรถไฟฟ้าสายสีม่วงต้องยอมรับว่าทำให้จำนวนผู้โดยสารลดลงจากเมื่อก่อน ต้องยืนเป็นแถวตั้ง 5 เที่ยวตอนนี้เหลือแค่ 2-3 แถว บางครั้งไม่ครบ 15 ที่นั่ง ขณะที่คนขับรถตู้เส้นทางจากบางบัวทอง-บางแคกล่าวว่า จำนวนผู้โดยสารยังคงเท่าเดิม ไม่ได้เพิ่มหรือน้อยลงหลังมีการเปิดใช้รถไฟฟ้า           ส่วนผู้โดยสารที่ใช้บริการรถตู้สาธารณะกล่าวว่า การใช้บริการรถตู้สาธารณะมีความสะดวกสะบาย สามารถเดินทางถึงที่หมายได้รวดเร็ว หากเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายสีม่วงจะต้องเดินทางหลายต่อ เมื่อคำนวณค่าโดยสารการใช้รถตู้สาธารณะค่าใช้จ่ายยังถูกกว่ารถไฟฟ้ามาก เสียค่าใช้จ่ายประมาณ 20-50 บาทเท่านั้น ข้อมูลข่าว : รถไฟฟ้าสายสีม่วงโหรงเหรงเล็กลดราคาดึงคน (ประชาชาติธุรกิจ 18-21 ส.ค. 59)  

รถไฟฟ้าสีม่วงกระอัก! คนใช้น้อย-เจ๊งวันละ 3 ล้าน แนะเร่งสร้างทางเชื่อมเตาปูน-บางซื่อ

           วันที่ 20 สิงหาคม นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ถึงสถานการณ์รถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยระบุว่าน่าเป็นห่วงเพราะมีการขาดทุนสูง ในหัวข้อ “รถไฟฟ้าสีม่วงกระอัก ขาดทุนวันละ 3 ล้าน!           หลังจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2559 เป็นต้นมา ปรากฏว่ามีผู้โดยสารน้อยมาก คือมีเพียงแค่ประมาณวันละ 20,000 คนเท่านั้น ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก กล่าวคือ ปริมาณผู้โดยสารที่ รฟม.คาดการณ์ไว้จะมีวันละ 73,000 คน ในปีแรกที่เปิดให้บริการ ดังนั้น ปริมาณผู้โดยสารที่มีจริงคิดเป็น 27% ของปริมาณที่คาดการณ์ไว้เท่านั้น
          เมื่อมีผู้โดยสารน้อย รายได้จากค่าโดยสารก็น้อยตามด้วย ปรากฏว่า รฟม.มีรายได้จากค่าโดยสารเพียงวันละประมาณ 600,000 บาทเท่านั้น นั่นคือ ผู้โดยสารจ่ายค่าโดยสารเฉลี่ยคนละ 30 บาท สำหรับการบริหารจัดการรถไฟฟ้าสายสีม่วงนั้น รฟม.ต้องจ้างบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็มเป็นผู้ให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา ซึ่ง รฟม.ต้องเสียค่าบริการเดินรถไฟฟ้าและบำรุงรักษาให้แก่บีอีเอ็มในปีแรกที่เปิดให้บริการ 1,327.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นวันละประมาณ 3.6 ล้านบาท ค่าจ้างดังกล่าวจะเปลี่ยนแปลงทุกปีตามอัตราเงินเฟ้อและค่าไฟฟ้า ในขณะที่ รฟม.เก็บค่าโดยสารได้วันละ 600,000 บาท แต่ต้องเสียค่าจ้างให้บีอีเอ็มวันละ 3,600,000 บาท ดังนั้น รฟม.จึงต้องแบกภาระขาดทุนวันละ 3 ล้านบาท ซึ่งเป็นภาระหนักของ รฟม. การคิดกำไรขาดทุนดังกล่าวข้างต้นนั้น ยังไม่รวมค่าก่อสร้างที่มีมูลค่าประมาณ 6 หมื่นล้านบาท (รวมงานทุกประเภท) ดังนั้น จึงเห็นได้ชัดว่าการประกอบการเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงจะไม่สามารถมีรายได้จ่ายค่าก่อสร้างได้ เนื่องจากมีรายได้น้อยมาก น้อยเสียจนไม่พอจ่ายแม้เพียงแค่ค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา ด้วยเหตุนี้ รฟม.จะต้องหาหนทางทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้นให้ได้ มิฉะนั้นจะต้องแบกภาระการขาดทุนอย่างหนักตลอดไป ผมขอเสนอแนะดังนี้       1. เร่งเปิดให้บริการเชื่อมต่อระหว่างสถานีเตาปูนกับสถานีบางซื่อโดยเร็วที่สุด เพราะจะทำให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบายมากกว่าในปัจจุบันที่ต้องใช้บริการรถเมล์ ซึ่งมีปัญหารถติดและรถเมล์ขาดช่วง ทำให้ต้องรอรถนาน       2. ปรับลดค่าโดยสาร เนื่องจากค่าโดยสารเดินทางเข้าตัวเมืองแพง ผู้โดยสารต้องจ่าย 70 บาทต่อเที่ยว (ในกรณีใช้บัตรเติมเงิน หากไม่ใช้จะต้องจ่าย 84 บาท) ไปกลับวันละ 140 บาท       3. ปรับลดค่าจอดรถที่อาคารจอดแล้วจร จากปัจจุบัน รฟม.คิดค่าจอดรถ 10 บาทต่อ 2 ชั่วโมง หรืออัตรารายเดือนเดือนละ 1,000 บาท หากผู้โดยสารไม่ต้องการจ่ายเป็นรายเดือนจะต้องเสียค่าจอดรถวันละประมาณ 70 บาท เพราะจะต้อง      จอดรถไว้ที่อาคารจอดแล้วจรวันละประมาณ 12-13 ชั่วโมง       4. ร่วมมือกับผู้ประกอบการเดินรถโดยสารในพื้นที่ต่างๆ ตลอดเส้นทางรถไฟฟ้า ขนผู้โดยสารจากบ้านมาส่งที่สถานี และจากสถานีไปส่งที่ทำงาน เช่น       5. ควบคุมให้บีอีเอ็มซึ่งเป็นผู้รับจ้างเดินรถไฟฟ้าดำเนินการเดินรถให้รถเข้า-ออกสถานีตรงเวลา ไม่จอดแช่ ประตูชานชาลาและประตูรถจะต้องเปิดทุกสถานี และจอดรถตรงตามจุดที่กำหนดให้ผู้โดยสารเข้า-ออก  หาก รฟม.เร่งแก้ไขตามข้อเสนอแนะดังกล่าว ผมมั่นใจว่ารถไฟฟ้าสายสีม่วงจะมีผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้นแน่ครับ ข้อมูลข่าว : รถไฟฟ้าสีม่วงกระอัก! คนใช้น้อย-เจ๊งวันละ 3 ล้าน แนะเร่งสร้างทางเชื่อมเตาปูน-บางซื่อ (ประชาชาติธุรกิจ 18-21 ส.ค. 59)  
 
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon