realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (386)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (386)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

ความคืบหน้ารถไฟทางคู่ 2560

25 May 2017 41.0K

ความคืบหน้ารถไฟทางคู่ 2560

25 May 2017 41.0K
 

ความคืบหน้ารถไฟทางคู่ 2560

ชุมทางจิระ - ขอนแก่น คืบหน้า 21 % เตรียมประกวดฯ 5 ช่วง หลังล้ม TOR เร่งเสนอ 2 ช่วง เหนือ อีสาน 

 
 
โครงการรถไฟทางคู่ เป็นเมกะโปรเจคที่รัฐบาลชุดนี้พยายามผลักดันให้สำเร็จอย่างจริงจัง เพื่อพัฒนาระบบคมนาคมภายในประเทศ ควบคู่ไปกับโครงการรถไฟความเร็วสูง โดยมีแผนจะเชื่อมต่อระบบคมนาคมขนส่งทางรางกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน และประเทศมหาอำนาจอย่างจีน เพื่อให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในภูมิภาคนี้ พร้อมกับการลงทุนเพื่อรองรับการคมนาคมทางน้ำ และทางอากาศ โดยรถไฟทางคู่จะถูกใช้เป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้การคมนาคมต่างๆเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์ หลังจากที่ Realist ได้นำเสนอข่าว บิ๊กตู่เคาะแล้วรถไฟทางคู่ราง 1.435 เมตร วิ่ง 160 ก.ม./ช.ม. เชื่อมจีน นำร่อง 2 สาย จากด่านเชียงของ-หนองคาย ทะลุท่าเรือแหลมฉบัง ลงทุนกว่า 7.4 แสนล้าน คาดตอกเข็มปี 2559 สร้างเสร็จปี 2564 ไปเมื่อปีที่แล้ว (สนใจอ่านต่อ คลิก) ครั้งนี้เรามาดูความคืบหน้าของรถไฟทางคู่กันครับ

ทำไมต้อง "ทางคู่" ?

รถไฟไทยปัจจุบันเป็นรถไฟทางเดี่ยว โดยมีเพียงบางช่วง (เส้นสีดำในภาพ) ที่เป็นทางคู่และทางสาม จึงทำให้เวลารถไฟสวนกัน ต้องมีคันหนึ่งจอดบริเวณที่มีจุดพัก เพื่อรอให้อีกคันผ่านไปก่อน จึงจะสามารถสวนไปได้ ซึ่งขั้นตอนนี้ทำให้เสียเวลา และเป็นสาเหตุที่ทำให้รถไฟไทยไม่สามารถคุมเวลาได้ จึงไม่สามารถต่อสู้กับการคมนาคมอื่นๆได้ ทั้งที่การขนส่งระบบรางเป็นการขนส่งที่ประหยัดมาก เมื่อเทียบกับการขนส่งด้วยรถขนส่ง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนมาใช้ระบบทางคู่แทน เพื่อให้รถไฟสามารถวิ่งสวนกันคนละรางได้ ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและสามารถควบคุมเวลาเดินรถได้ ดังภาพประกอบด้านล่าง

รถไฟทางเดี่ยว

รถไฟทางคู่

เส้นทางรถไฟปัจจุบัน

แผนปฎิบัติการลงทุนด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน ปี 2559 และ 2560

รถไฟทางคู่ 15 ช่วง วงเงิน 523,885.71 ลบ. ถูกบรรจุอยู่ในแผนปฎิบัติการฯ ปี พ.ศ 2559 และ 2560 ของกระทรวงคมนาคม โดยมีสัดส่วนการลงทุนถึงร้อยละ 22.82 จากโครงการทั้งหมด 56 โครงการ วงเงินลงทุน 2,295,727.42 ลบ. ได้แก่

สายเหนือ

1. ลพบุรี - ปากน้ำโพ 2. ปากน้ำโพ - เด่นชัย 3. เด่นชัย - เชียงใหม่ 4. เด่นชัย - เชียงของ

สายอีสาน

5. มาบกระเบา - ชุมทางจิระ 6. ชุมทางจิระ - ขอนแก่น 7. ขอนแก่น - หนองคาย 8. บ้านไผ่ - นครพนม 9. ชุมทางจิระ - อุบลราชธานี

สายใต้

10. นครปฐม - หัวหิน 11. หัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์ 12. ประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร 13. ชุมพร - สุราษฎร์ธานี 14. สุราษฎร์ธานี - สงขลา 15. หาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์

ความก้าวหน้าแผนปฏิบัติการฯ ปี 2559

โครงการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติดำเนินโครงการแล้ว

1. ชุมทางจิระ - ขอนแก่น (มติ ครม. 7 พ.ค. 2558) 2. ประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร (มติ ครม. 26 เม.ย. 2559) 3. มาบกระเบา - ชุมทางจิระ (มติ ครม. 26 เม.ย. 2559) 4. นครปฐม - หัวหิน (มติ ครม. 1 พ.ย. 2559) 5. ลพบุรี - ปากน้ำโพ (มติ ครม. 1 พ.ย. 2559)

 

แผนปฏิบัติการฯ ปี 2560

แผนปฏิบัติการฯ ปี  2560 บรรจุโครงการรถไฟทางคู่ 10 เส้นทาง วงเงิน 408,616.28 ลบ. โดยมีสัดส่วนการลงทุนถึงร้อยละ 45.62 จากจำนวน 36 โครงการ วงเงินลงทุน 895,757.55 ลบ. ได้แก่เส้นทาง

1. หัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์ 2. ชุมพร - สุราษฎร์ธานี 3. สุราษฎร์ธานี - สงขลา 4. หาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ 5. ปากน้้าโพ - เด่นชัย 6. เด่นชัย - เชียงใหม่ 7. เด่นชัย - เชียงของ 8. ขอนแก่น - หนองคาย 9. ชุมทางจิระ - อุบลราชธานี 10. บ้านไผ่ - นครพนม


เริ่มก่อสร้าง

1. หัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์

ขั้นตอนประกวดราคา

1. ปากน้้าโพ - เด่นชัย 2. ชุมทางจิระ - อุบลราชธานี 3. ขอนแก่น - หนองคาย 4. ชุมพร - สุราษฎร์ธานี 5. สุราษฎร์ธานี - สงขลา 6. หาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ 7. เด่นชัย - เชียงใหม่

ขั้นตอนเสนอ ครม./คกก. PPP

1. เด่นชัย - เชียงของ 2. บ้านไผ่ - นครพนม

หมายเหตุ  Public Private Partnership : PPP คือ ความร่วมมือภาครัฐ - ภาคเอกชน เป็นรูปแบบการดำเนินงานที่ภาครัฐให้เอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพคุ้มค่ากับต้นทุนมากกว่าภาครัฐดำเนินการเอง

Update สถานการณ์รถไฟทางคู่ (ข้อมูล พ.ค. 2560)

     

ชุมทางจิระ - ขอนแก่น คืบหน้าไปกว่า 21%

โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางจิระ - ขอนแก่น ระยะทางประมาณ 187 กม. คืบหน้าไปแล้วกว่า 21% หลังจากเริ่มก่อสร้างอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2559 โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ลงนามสัญญาว่าจ้างกิจการร่วมค้าซีเคซีเอช (บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และบริษัท ช.ทวีก่อสร้าง จำกัด) ดำเนินงานก่อสร้าง มีสถานีรับ - ส่งผู้โดยสารจำนวน 19 สถานี สถานีย่านเก็บกองและขนถ่ายสินค้าตู้สินค้า (CY) รวม 3 แห่ง ได้แก่ สถานีบ้านกระโดน สถานีบัวใหญ่ และสถานีท่าพระ ระยะเวลาในการก่อสร้าง 36 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในปี 2562 โดยช่วง 50 กม.แรกจากสถานีบ้านเกาะไปยังสถานีเมืองคงจะสามารถเปิดใช้งานได้ก่อนภายในเดือนตุลาคม 2560 นี้ ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (3 May 2017)

ที่มา : ทรานสปอร์ต เจอร์นัล 

ล้ม TOR 5 เส้น

จากแผนปฏิบัติการเร่งด่วนปี 60 ทำให้กระทรวงคมนาคมจำเป็นต้องแยกสัญญาก่อสร้าง โครงการรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง เป็น 13 สัญญา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาขนาดกลางและต่างชาติร่วมเสนอราคา

1. ลพบุรี - ปากน้ำโพ ระยะทาง 116 กม. ราคากลาง 23,900 ลบ. 2. มาบกะเบา - ชุมทางจิระ  ระยะทาง 132 กม. ราคากลาง 29,447.31 ลบ. 3. นครปฐม - หัวหิน ระยะทาง 169 กม. ราคากลาง 19,270 ลบ. 4. หัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 84 กม. ราคากลาง 9,990 ลบ. 5. ประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร ระยะทาง 167 กม. ราคากลาง 16,500 ลบ.

สาเหตุที่ล้ม TOR เดิม

1. สัดส่วนงานสูงเกินไป จนกีดกันไม่ให้ผู้รับเหมารายเล็กเข้าร่วมประมูล จึงลดจาก 15% เหลือ 10% ของมูลค่าโครงการ 2. มูลค่าสัญญาสูงเกินไป จนทำให้ผู้รับเหมารายเล็กไม่สามารถเข้าร่วมประมูลได้ จึงลดมูลค่าสัญญาเหลือ 5,000 - 10,000 ล้านบาทต่อสัญญา 3. ไม่ให้เจ้าของเทคโนโลยีระบบอาณัติสัญญาณร่วมมือกับผู้รับเหมารายย่อย ส่งผลให้รายย่อยไม่สามารถหาเทคโนโลยีฯ เข้าร่วมประมูลตามเงื่อนไขได้ จึงแยกสัญญาติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณออกจากสัญญางานโยธาและระบบราง ซึ่งจะทำให้เวลาเพิ่มขึ้น 9 เดือน เพราะไม่สามารถเข้าไปติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณระหว่างก่อสร้างโยธาได้ 4. กำหนดให้รวมเครื่องจักรเฉพาะที่ใช้ในการก่อสร้างไว้ในสัญญา ซึ่งเป็นการไม่โปร่งใส เพราะเท่ากับเป็นการใช้การประมูลเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ ดังนั้นจึงตัดเงื่อนไขนี้ออกไป

สำหรับสัญญาก่อสร้างรถไฟทางคู่ วงเงินจะอยู่ในช่วง 5,000 ลบ. ถึง 1 หมื่นล้านบาท รวมทั้งสิ้น 13 สัญญา แบ่งเป็น

1. งานก่อสร้างรางและงานโยธามี 9 สัญญา 2. งานก่อสร้างอุโมงค์อีก 1 สัญญา 3. งานการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณออกมาจากงานก่อสร้างทาง เป็นอีก 3 สัญญา


หมายเหตุ  TOR (Team of Reference) หมายถึง ข้อกำหนดซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ที่ผู้ว่าจ้างต้องการให้ผู้รับจ้างทำ
ที่มา : อปท.นิวส์ ( 21 March 2017)  

ดันประกวดราคา ประจวบฯ - หัวหิน หวังเป็นต้นแบบ TOR

รฟท. เตรียมเปิดประกวดราคาก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงหัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์ กำหนดราคากลางที่ 7,305,260,000 บาท พร้อมให้เสนอราคา 27 ก.ค.นี้ การก่อสร้างทางวิ่งรถไฟเป็นการก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่ม 1 ทางขนานไปกับทางรถไฟเดิม ระยะทางรวมประมาณ 84 กิโลเมตร มีสถานีรถไฟระดับพื้น 12 สถานี และป้ายหยุดรถ 2 แห่ง กำหนดก่อสร้างย่านเก็บกองและขนถ่ายตู้สินค้า (CY) 2 แห่ง ได้แก่ สถานีสามร้อยยอด และสถานีทุ่งมะเม่า ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 17 May 2017  

เตรียมเปิดประกวดราคาโครงการรถไฟทางคู่ 4 เส้นทาง 

คณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง หรือ ซูเปอร์บอร์ดจัดซื้อจัดจ้าง เห็นชอบ TOR โครงการรถไฟทางคู่ใหม่ และ รฟท.ได้ดำเนินการตามแผนแล้วเสร็จ เตรียมเปิดประกวดราคาอีก 4 เส้นทาง ได้แก่

1. ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางจิระ ระยะทาง 132 กม. 2. ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 116 กม. 3. ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 169 กม. 4. ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม.

โดยขณะนี้ทยอยประกาศ TOR และรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน คาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้ในช่วงเดือน มิ.ย. - ก.ค. 60 และได้ตัวผู้รับจ้างภายในเดือน ส.ค.นี้ ทั้งนี้หลังจากได้ตัวผู้รับจ้างและลงนามในสัญญามั่นใจว่าจะสามารถเริ่มก่อสร้างได้ในเดือน ต.ค.ตามแผนงานต่อไป  ที่มา : คมชัดลึก (14 May 2017)  

7 ช่วงตามแผนปฎิบัติการฯ ปี 2560 เตรียมประกวดราคา

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม รายงานผลการดำเนินการตามแผนปฎิบัติการฯ ปี 2560 โดยโครงการกลุ่มที่ 3 ซึ่งเป็นโครงการที่เริ่มประกวดราคาได้ มีจำนวนทั้งหมด 15 โครงการ มีโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 7 ช่วง ได้แก่ ช่วงปากน้ำโพ - เด่นชัย ชุมทางถนนจิระ - อุบลราชธานี ขอนแก่น - หนองคาย และชุมพร - สุราษฎร์ธานี จะดำเนินการประกวดราคาในช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม 2560 ส่วนช่วงสุราษฎร์ธานี - หาดใหญ่ - สงขลา หาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ และเด่นชัย - เชียงใหม่ จะดำเนินการประกวดราคาในเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2560 ที่มา : รัฐบาลไทย (4 May 2017)  

เร่งเสนอ ครม. 2 ช่วง เหนือ อีสาน

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
กระทรวงคมนาคมจะเดินหน้าเร่งผลักดันโครงการรถไฟรางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงของ เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณา ประมาณเดือน มิ.ย. นี้ และจะเดินหน้าจัดทำเอกสารประกวดราคาหรือ TOR คาดว่าจะแล้วเสร็จต้นปีหน้า โดยมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ 13.31% และมีอัตราการตอบแทนทางการเงิน 1.02% วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด คือ จ.แพร่ ลำปาง พะเยา เชียงราย รวม 26 สถานี โดยทั้ง 2 สายทางนี้คาดว่าจะสามารถเสนอรายงาน EIA ให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณาภายในเดือน มิ.ย.นี้ ส่วนช่วงชุมทางบ้านไผ่ - นครพนม จะเสนอแผนการก่อสร้างดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการให้ทันภายในช่วงกลางปีนี้ โดยผลการศึกษาพบว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ 12.04% และมีอัตราการตอบแทนทางการเงิน 1.49% ระยะทาง 347 กม. วงเงิน 66,000 ล้านบาท ซึ่งเส้นทางครอบคลุม 5 จังหวัด คือ จ.ขอนแก่น (จุดเริ่มต้นเส้นทางที่ อ.บ้านไผ่) มหาสารคาม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร และนครพนม รวมจำนวน 14 สถานี กระบวนการเสนอดังกล่าวจะจัดทำควบคู่กับการเวนคืนที่ดินและการศึกษารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) คาดว่าจะแล้วเสร็จในกลางปี 2561 และจะเริ่มก่อสร้างในปลายปี 2561 ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 48 เดือนหรือ 2 ปี น่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดในปี 2565 รวมระยะเวลากว่า 7 ปี ที่มา : ผู้จัดการ ออนไลน์ (23 March 2017), บ้านเมือง (2 May 2016), ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ (13 March 2016)  
คงต้องติดตามกันไปอีกยาวสำหรับอนาคตของโครงการรถไฟทางคู่ทั้ง 15 ช่วง ว่าจะสร้างเสร็จเมื่อไร แต่ Realist เชื่อมั่นว่าถ้าโครงการเหล่านี้สร้างเสร็จเมื่อไร จะต้องเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศไทยอย่างแน่นอน และทาง Realist จะคอยติดตามข่าวคราวของโครงการนี้มานำเสนอกันต่อไปครับ
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (386)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon