realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

ทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ

26 Dec 2023 13.3K

ทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ

26 Dec 2023 13.3K
 

อัพเดต 2566 !! โครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ

N1, N2 และ EW Corridor

ล่าสุดในปี 2566 นี้ มีอัพเดตความคืบหน้าโครงการพัฒนาทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือจากกทพ.แล้ว!! หลังจากที่ทุกคนคงเคยเห็นต่อม่อบริเวณถนนเกษตร-นวมินทร์ที่ถูกปล่อยทิ้งมานานหลายสิบปี โดยทางกทพ.ได้ศึกษาความเหมาะสมและพิจารณาในหลายๆ ด้านรวมถึงเปิดประชุมรับฟังความเห็นประชาชน เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด แผนโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือล่าสุด จึงพัฒนาแนวเส้นทางให้เหลือเฉพาะช่วงส่วนทดแทน N1, N2 และ EW Corridor ซึ่งเมื่อโครงการก่อสร้างเสร็จแล้วคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณจราจรอยู่ที่ 7 หมื่นคันต่อวัน โดยทั้งเส้นทางมีความจุถึง 1.4 แสนคันต่อวัน
ทางกทพ.มีแผนการดำเนินงานทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 แนวเส้นทางช่วง N2-EW Corridor และระยะที่ 2 แนวเส้นทางช่วงส่วนทดแทนตอน N1 โดยแนวเส้นทางส่วนทดแทน N1 จะถูกเปลี่ยนไปเป็นแนวอุโมงค์ใต้ดินทั้งหมดเริ่มที่ถนนงามวงศ์วาน เชื่อมกับแนวเส้นทาง N2 - EW Corridor โดยเป็นทางยกระดับ 4 ช่องทาง จนไปสิ้นสุดเส้นทางที่วงแวนรอบนอกกรุงเทพตะวันออก มีงบประมาณการก่อสร้างทั้งโครงการ 52,960 ล้านบาท คาดว่าทั้งเส้นทางจะก่อสร้างเสร็จและเปิดให้ใช้ปี 2575 แต่เส้นทาง N2 ที่มีความพร้อมในการก่อสร้างก่อนคาดว่าจะก่อสร้างเสร็จและเปิดให้ใช้ปี 2571
 

อุโมงค์ N1 เชื่อมทางยกระดับ N2

แนวเส้นทางส่วนทดแทน N1 จุดเริ่มต้นโครงการเป็นอุโมงค์ใต้ดินทั้งหมด มีจุดเริ่มต้นบริเวณทางพิเศษศรีรัชตัดกับถนนงามวงศ์วาน แนวสายทางจะไปตามแนวถนนงามวงศ์วานผ่านแยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตร เข้าถนนประเสริฐมนูกิจจนเชื่อมต่อกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และเชื่อมต่อ E-W Corridor ระยะทาง 6.7 กม.
ส่วนแนวเส้นทาง N2 จะเชื่อมกับส่วนทดแทน N1 ที่เป็นอุโมงค์บรเวณใกล้กับคลองบางบัวเชื่อมกับเส้นทาง N2-EW Corridor ซึ่งเป็นทางยกระดับ 4 ช่องทาง  โดยแนวเส้นทางจะไปตามแนวถนนเกษตรนวมินทร์ ผ่านลาดปลาเค้า แยกเสนานิคม แยกสุคนธสวัสดิ ทางพิเศษฉลองรัช ผ่านแยกนวมินทร์และไปสิ้นสุดที่วงแวนรอบนอกกรุงเทพตะวันออก ซึ่งมีระยะทางรวม 11.3 กม. โดยความสูงของทางยกระดับอยู่ที่ประมาณ 18.50 ม
 

ทางด่วน ตอน N1 

เปิดไทมน์ไลน์ !! ทางด่วน N1 กว่าจะมาเป็นอุโมงค์ทางด่วนแห่งแรกของไทย

ได้ข้อสรุปเสียที !! หลังจากเจรจาร่วมกับ ม.เกษตรฯ มาเนิ่นนาน เพราะก่อนหน้านี้ ทางด่วน N1 มี ม.เกษตร ไม่เห็นด้วยกับรูปแบบของทางด่วน N1 เพราะได้รับผลกระทบหลายด้าน
ล่าสุดในปี 2566 นี้ มีอัพเดตการพัฒนาทางด่วน N1 จาก กทพ.(การทางพิเศษแห่งประเทศไทย) ได้ศึกษาความเหมาะสมให้พัฒนาเป็นไปในรูปแบบของ “อุโมงค์ใต้ดิน” นับเป็นอุโมงค์ทางด่วนสายแรกของไทยอีกด้วย หากลองย้อนดูไทม์ไลน์ของ N1 ว่ากว่าจะมาเป็นอุโมงค์ใต้ดิน ได้ผ่านการแก้แบบมาหลายรอบ เปลี่ยนรูปแบบมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
โดยมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2555 ที่ทาง กทพ. ได้เปิดแนวเส้นทาง N1 แบบทางด่วนยกระดับ ซึ่งมีส่วนเสาตอม่อ และแนวเส้นทาง กินพื้นที่ของ ม.เกษตร ตลอดแนวกว่า 10 ไร่ ทำให้ ม.เกษตร ต้องคัดค้าน เพราะได้รับผลกระทบทั้งด้านทัศนียภาพ, มลพิษ, มลภาวะทางเสียง และอุบัติเหตุต่างๆ
ข้ามมาในปี 2561 กทพ. ได้เสนอทางด่วนแบบคร่อมรถไฟฟ้า ด้าน ม.เกษตร ยังคงไม่เห็นด้วย เพราะ กังวลว่าส่งผลเสียในเรื่องของมลพิษทางอากาศและเสียง
ต่อมาในปี 2563 ทาง กทพ. มีแนวทางแก้ปัญหามลพิษทางอากาศและเสียงด้วยการสร้างหลังคาโดมครอบทางด่วน โดยภายในจะมีการติดตั้งเครื่องปล่อยละอองน้ำเพื่อดักจับฝุ่น ทาง ม.เกษตรฯ ยังคงไม่เห็นด้วย เพราะยังส่งผลในเรื่องของทัศนียภาพ ทำให้ กทพ. ต้องกลับไปทบทวนรูปแบบของ N1 อีกครั้ง จนในปี 2565 กทพ. มีมติปรับแบบ N1 เป็นอุโมงค์ใต้ดิน เพราะรูปแบบที่เหมาะสม สามารถลดผลกระทบต่อ ม.เกษตร ได้
ล่าสุดปี 2566 กทพ. ได้ข้อสรุปทั้งแนวเส้นทาง N1 และรูปแบบการก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดิน ส่วนปี 2567 เตรียมได้ข้อสรุปจากการประเมินผล และความเห็นจากประชาชน เพื่อพร้อมต่อการยื่นขออนุมัติ EIA ต่อ ครม. ในช่วงปี 2568
ในปี 2569 ตามแผนงานจะเปิดประมูลโครงการ เพื่อหาเอกชนมาร่วมลงทุน และเริ่มก่อสร้างได้ในปีถัดไปเลย คาดว่าจะมีระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 5 ปี เปิดใช้บริการในปี 2575
 

รูปแบบอุโมงค์ 2 ชั้นแรกในอาเซียน ขนาดใหญ่พิเศษ 16.3 ม.

ตัวอุโมงค์มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 ม. ใหญ่กว่าอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน ภายในอุโมงค์จะเป็นทาง 2 ชั้น เป็นถนน 2 ช่องจราจร ซ้อนกันอยู่ โดยเส้นทางจากด่วนศรีรัชมุ่งหน้า ถ.นวมินทร์จะอยู่ชั้นบน ส่วนเส้นทางจาก ถ.นวมินทร์ไปทางด่วนศรีรัชจะอยู่ชั้นล่าง มีทางเข้าออกแค่ตรงหัว และท้ายอุโมงค์ จะไม่มีทางเข้าออกระหว่างทาง ซึ่งส่วนที่จุดเชื่อมกับทางพิเศษศรีรัช กับทางด่วน N2 ปัจจุบันกำลังอยู่ศึกษารูปแบบกันอยู่ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในการประชุมครั้งถัดไป
มีระดับความลึกที่สุดอยู่ที่ประมาณ 44 ม.จากผิวดิน เทียบเท่าตึก 15 ชั้น และมีจุดระบายอากาศ และจุดอพยพ 4 จุด
 

ลึกเทียบเท่าตึก 15 ชั้น!! ไม่มีทางออกระหว่างทาง

ตัวอุโมงค์มีทางเข้าออกแค่ตรงหัว และท้ายอุโมงค์ จะไม่มีทางเข้าออกระหว่างทาง ซึ่งส่วนที่จุดเชื่อมกับทางพิเศษศรีรัช กับทางด่วน N2 ปัจจุบันกำลังอยู่ศึกษารูปแบบกันอยู่ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในการประชุมครั้งถัดไป มีระดับความลึกที่สุดอยู่ที่ประมาณ 44 ม.จากผิวดิน เทียบเท่าตึก 15 ชั้น และมีจุดระบายอากาศ และจุดอพยพ 4 จุด
 

ทางด่วน ตอน N2-EW Corridor 

 

เปิดไทม์ไลน์ทางด่วน N2 เตรียมเปิดใช้ปี 2571 !!

หลังจากปี 2555 กทพ. ได้เปิดแนวเส้นทาง N1 แบบทางด่วนยกระดับ ซึ่งมีส่วนเสาตอม่อและแนวเส้นทางกินพื้นที่ของม.เกษตร ทำให้ม.เกษตรต้องคัดค้านเพราะได้รับผลกระทบทั้งด้านทัศนียภาพ, มลพิษ, มลภาวะทางเสียง และอุบัติเหตุต่างๆ
ล่าสุดในปี 2566 นี้ มีอัพเดตการพัฒนาทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือจากกทพ.แล้ว โดยได้ศึกษาความเหมาะสมและพิจารณาในหลายๆด้านรวมถึงเปิดประชุมรับฟังความเห็นประชาชน เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด โดยแผนโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือล่าสุด ได้พัฒนาให้แนวเส้นทางเหลือเฉพาะช่วงส่วนทดแทน N1, N2 และ E-W Corridor โดยส่วนทดแทน N1 จะพัฒนาให้เป็นในรูปแบบของ “อุโมงค์ใต้ดิน” ซึ่งนับเป็นอุโมงค์ทางด่วนสายแรกของไทย
ในปี 2567 จะสรุปผลการศึกษา เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) กทพ. ก่อนนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการและขออนุมัติ EIA รวมถึงเปิดประมูลโครงการเพื่อหาเอกชนมาร่วมลงทุน 
ในปี 2568 เริ่มก่อสร้าง โดยคาดว่าจะมีระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี และจะเปิดใช้บริการในปี 2571
 

รูปแบบทางด่วนช่วง N2 ทางยกระดับ 4 ช่อง

ตัวทางยกระดับมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 21 ม. เป็นถนน 4 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3.5 ม. โดยแนวเส้นทาง N2 จะออกแบบร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล แต่ใช้สายโครงสร้างแยกส่วนกัน  โดยความสูงของทางยกระดับอยู่ที่ประมาณ 18.50 ม.
 

ROUTE ทางด่วน N2 และ EW Corridor

จากการศึกษาความเหมาะสมและพิจารณาในหลายๆด้าน เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด แผนโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือล่าสุดจึงพัฒนาแนวเส้นทางให้เหลือเฉพาะช่วงส่วนทดแทน N1, N2 และ E-W Corridor เพื่อลดผลกระทบให้มากที่สุด
แนวเส้นทางส่วนทดแทน N1 จะทำเป็นอุโมงค์ทั้งหมดเชื่อมกับแนวเส้นทาง N2 และ EW Corridor ซึ่งแนวเส้นทาง N2-EW Corridor จะมีการปรับปรุงถนนประเสริฐมนูกิจโดยเพิ่มช่องจราจรรวมถึงปรับปรุงทางแยก เส้นทางจะทำเป็นทางยกระดับด่วนพิเศษขนาด 4 ช่องจราจรของถนน ก่อสร้างสะพานข้ามทางแยก 5 แห่ง คือ 1.ทางแยกวังหิน (ถนนลาดปลาเค้า) 2.ทางแยกถนนเสนานิคม 3.ทางแยกถนนสุคนธสวัสดิ์ 4.ทางแยกทางหลวงหมายเลข 350 และ 5.ทางแยกถนนนวมินทร์ ระยะทางรวมประมาณ 11.3 กม.
 

ทางยกระดับสูงถึง 18.5 ม. ระยะยาวกว่า 11.3 กม.

แนวเส้นทาง N2-EW Corridor จะเชื่อมกับส่วนทดแทน N1 ที่เป็นอุโมงค์บรเวณใกล้กับคลองบางบัว เส้นทาง N2-EW Corridor เป็นทางยกระดับ โดยแนวเส้นทางจะไปตามแนวถนนเกษตรนวมินทร์ ผ่านลาดปลาเค้า แยกเสนานิคม แยกสุคนธสวัสดิ ทางพิเศษฉลองรัช ผ่านแยกนวมินทร์และไปสิ้นสุดที่วงแวนรอบนอกกรุงเทพตะวันออก ซึ่งมีระยะทางรวม 11.3 กม. โดยความสูงของทางยกระดับอยู่ที่ประมาณ 18.50 ม.
 

โครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ประเดิม N2

ภาพรวมโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ    

ภาพรวมแนวเส้นทางโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือในตอนแรกนั้นจะก่อสร้างเป็นทางยกระดับขนาด 4 ช่องจราจร ระยะทางรวมประมาณ 42.9 กม. แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 4 ตอน โดยมีรายละเอียดเส้นทาง ดังนี้
  • N1 เริ่มต้นแนวสายทางจากถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก บริเวณ กม.38+500 (ใกล้แยกต่างระดับบางใหญ่ ไปสิ้นสุดที่บริเวณสี่แยกเกษตรศาสตร์ ถนนพหลโยธิน ระยะทางประมาณ 19.2 กม.  
  • N2 เริ่มต้นจากสี่แยกเกษตรศาสตร์ แนวสายทางซ้อนทับบนเกาะกลางถนนประเสริฐมนูกิจ (ถนนเกษตร-นวมินทร์) ของกรมทางหลวง ถึงถนนนวมินทร์ระยะทางประมาณ 9.2 กม. ตัดกับทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์
  • N3 เริ่มต้นจากถนนนวมินทร์ ตัดผ่านถนนเสรีไทย และถนนรามคําแหง สิ้นสุดโครงการที่ ถนนกรุงเทพ–ชลบุรีสายใหม่ บริเวณถนนศรีนครินทร์  ซึ่งเป็นจุดบรรจบระหว่างทางพิเศษศรีรัช ส่วน D กับถนนกรุงเทพ-ชลบุรีสายใหม่ (Motorway) ระยะทางประมาณ 12.5 กม. 
  • E-W Corridor เป็นโครงข่ายระยะทางสั้นๆ มีจุดต้นทางที่ทางแยกซึ่งเป็นจุดบรรจบของ ถนนประเสริฐมนูกิจกับถนนนวมินทร์ วางตัวในแนวตะวันตก-ตะวันออก ซ้อนทับกับทางหลวงหมายเลข 351 ไปบรรจบกับถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก ระยะทางประมาณ 2.7 กม. 
  แต่หลังจากพิจารณาในหลายๆด้านและเพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด แผนโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือล่าสุดจึงให้เหลือเฉพาะช่วง N2 และ E-W Corridor   

โครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N1 N2 N3 และ E-W Corridor ด้านตะวันออก

เกือบทุกคนคงเคยเห็นตอม่อทางด่วนร่วม 281 ต้นบนถนนเกษตร-นวมินทร์ที่ถูกปล่อยทิ้งมายาวนานหลายสิบปี ตอนนี้กำลังจะสร้างประโยชน์แก่คนกรุงเทพฯตอนเหนือแล้ว โดยตอม่อที่เห็นเกิดจากการวางแผนล่วงหน้าเพื่อแก้ปัญหาการจราจรและเสริมโครงข่ายถนน โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)ผสานกับกรมทางหลวง ต้องการเสริมความสมบูรณ์ของโครงข่ายถนนระหว่างทางด่วนขั้นที่1 (ทางด่วนเฉลิมมหานคร )และทางด่วนขั้นที่2 ทางด่วนศรีรัช รวมถึงบรรเทาปัญหาจราจรช่วงแยกเกษตรฯ
จึงเกิดเป็น ครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N1 N2 N3 และ E-W Corridor ด้านตะวันออก แต่ด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจในช่วงนั้นทำให้โครงการถูกปล่อยทิ้งไว้  ต่อมาโครงการนี้ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งแต่ก็ยังถูกคัดค้านจากหลายฝ่าย เช่น ช่วง N1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยื่นหนังสือคัดค้านเพราะเห็นว่าโครงการดังกล่าวส่งผลกระทบด้านมลภาวะทางเสียง ฝุ่นควัน การสั่นสะเทือน
รวมถึงอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุในอนาคตเพราะตัดผ่านสถานศึกษา ในส่วนของช่วง N3 ถูกคัดค้านเช่นกันเพราะเส้นทางตัดผ่านชุมชนซึ่งมีบ้านเรือนหนาแน่น  โดยช่วงก่อนหน้านี้ได้มีแผนศึกษาเพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลเพื่อทดแทนทางด่วน แต่แผนล่าสุด โครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ปรับให้เหลือเฉพาะช่วง N2 และ E-W Corridor เพื่อลดผลกระทบให้มากที่สุด และปรับปรุงถนนประเสริฐมนูกิจโดยเพิ่มช่องจราจรรวมถึงปรับปรุงทางแยก โดยการก่อสร้างทางยกระดับด่วนพิเศษขนาด 4 ช่องจราจรของถนน ก่อสร้างสะพานข้ามทางแยก 5 แห่ง คือ 1.ทางแยกวังหิน (ถนนลาดปลาเค้า) 2.ทางแยกถนนเสนานิคม 3.ทางแยกถนนสุคนธสวัสดิ์ 4.ทางแยกทางหลวงหมายเลข 350 และ 5.ทางแยกถนนนวมินทร์

แยกเกษตร-วงแหวนรอบนอก

แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2560 (Action Plan) เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

โครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ เป็น 1 ใน 38 กลุ่มโครงการที่มีความพร้อมดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
ในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน พ.ศ.2560 (Action Plan)
เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ได้คำนึงถึงความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564)(ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)
เพื่อให้การดำเนินโครงการทั้งหมดเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ในแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2560 (Action Plan) หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการได้กำหนดแผนกำรดำเนินงานโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ไว้ดังนี้
N2 และ E-W Corridor เริ่มจากสี่แยกเกษตรศาสตร์ แนวสายทางซ้อนทับบนเกาะกลางถนนประเสริฐมนูกิจ (ถนนเกษตร-นวมินทร์) ถึงถนนนวมินทร์
  • ระยะทาง : N2 ระยะทางประมาณ 9.2 กิโลเมตร และ E-W Corridor ระยะทางประมาณ 2.7 กม.
  • วงเงินลงทุน : 14,382 ลบ.
  • สถานะการก่อสร้าง : อยู่ระหว่างเสนอ ครม./คกก. PPP 
  • ระยะเวลาการก่อสร้าง : ประมาณ 2 ปี
  • เจ้าของโครงการ : (กทพ.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

วัตถุประสงค์ของโครงการ

การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วส่งผลให้กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางความเจริญทุกด้านต้องเผชิญกับปัญหาการจราจรติดขัดมาโดยตลอด ซึ่งทำความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
หน่วยงานราชการต่างๆจึงพยายามร่วมกันแก้ไขปัญหาการจราจร รวมถึงการจราจรบน ถ.เกษตร-นวมินทร์ เกิดเป็นโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ  โดยขยายโครงข่ายทางพิเศษให้สามารถรองรับการเดินทางระหว่างพื้นที่ชั้นนอกและชั้นในกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงได้ใช้ทรัพย์สินที่ลงทุนแล้ว(ตอม่อบนถนนเกษตร-นวมินทร์)ให้เกิดประโยชน์ แก้ไขปัญหาการจราจรในแนวทางหลวงหมายเลข 351 (ถนนประเสริฐมนูกิจ) เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ผู้ใช้บริการ และขยายทางขึ้นลงของทางพิเศษฉลองรัช

ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ

โครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ จะสามารถช่วยแบ่งเบาปัญหาจราจรติดขัดบนถนนประเสริฐมนูกิจ และถนนประดิษฐ์มนูธรรมบริเวณทางแยกต่างระดับฉลองรัช และลดการคับคั่งของจราจรบริเวณแยกสัญญาณไฟจราจรบนถนนประเสริฐมนูกิจ และเพิ่มการกระจายปริมาณการจราจรไปทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ได้ 
นอกจากนี้ โครงการทางด่วนขั้นที่ 3 ยังเป็นการเชื่อมต่อระดับเมืองในแนวตะวันออก-ตะวันตก อีกทั้งยังตัดผ่านทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์และถนนวงแหวนรอบนอก  ซึ่งเป็นเส้นทางในแนวเหนือใต้ จึงเกิดเป็นการเชื่อมต่อเหนือ ใต้และตะวันออก ตะวันตกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มทางเลือกใหม่แก่ประชาชนในการสัญจร
โดยเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2559 มีการประชุมร่วมกับทล.ที่อนุญาตให้กทพ.ดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าวให้เชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ได้โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย
และในวันที่ 4 ตุลาคม 2559 ฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ แจ้งว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า ค.ส.ช. ได้อนุมัติในหลักการให้กทพ.ดำเนินโครงการได้
โดยโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ เป็น 1 ใน 38 กลุ่มโครงการที่มีความพร้อมดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 และจัดอยู่ 1 ใน 8 โครงการที่เสนอ ครม./คกก. PPP พิจารณา
โดยคาดหวังว่าจะบรรเทาปัญหาจราจรติดขัดบนถนนประเสริฐมนูกิจและถนนประดิษฐ์มนูธรรมบริเวณทางแยกต่างระดับฉลองรัช และลดการคับคั่งของจราจรบริเวณแยกสัญญาณไฟจราจรบนถนนประเสริฐมนูกิจและเพิ่มการกระจายปริมาณการจราจรไปทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ได้   
         
ที่มา : คมชัดลึก ทีวี / กระทรวงคมนาคม / หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon