realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

ทางยกระดับศรีนครินทร์-สุวรรณภูมิ

25 Dec 2017 9.4K

ทางยกระดับศรีนครินทร์-สุวรรณภูมิ

25 Dec 2017 9.4K
 
สาเหตุการจราจรติดขัดสะสมเกิดจาก บริบทโดยรอบที่ประกอบด้วยสถานที่สำคัญระดับเมือง ทั้งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีขนส่งสินค้า โดยการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ทำให้ปริมาณการเดินทางและการส่งสินค้าทางอากาศที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพิ่มมากขึ้น
รวมถึงความต้องการสัญจรระหว่างพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ ซึ่งเชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ปริมาณการจราจรจึงเพิ่มมากขึ้น เป็น 150,000 คัน/วัน ส่งผลให้ความต้องการสัญจรเพิ่มขึ้น แต่ประสิทธิภาพของการจราจรและขนส่งลดลง
    ความต้องการหลักในการเดินทาง แบ่งเป็น 2 แบบ แบ่งออกเป็น 

1. การเดินทางไป-กลับ พื้นที่ภาคตะวันออก

เช่น ชลบุรี แหลมฉบัง พัทยา ทั้งเพื่อการขนส่งสินค้าและเพื่อการสัญจรไปต่างจังหวัดส่วนตัว จากเดิมที่ต้องเผชิญกับการจราจรติดขัด ติดทางเข้า-ออกต่างๆ การมีทางยกระดับศรีนครินทร์-สุวรรณภูมิจะทำให้สามารถสัญจรข้ามผ่านแยกต่างๆได้เลย ไม่ต้องเผชิญรถติดขัด โดยเฉพาะบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

2. การเดินทางไป-กลับ สนามบินสุวรรณภูมิ

การเดินทางไปสุวรรณภูมิโดยตรง มักเป็นการเดินทางไปในช่วงเวลาใกล้เคียงกันครั้งละมากๆ มักก่อให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดขึ้นได้ ดังนั้นการมีทางยกระดับทำให้ลดระยะเวลาในการเดินทาง การสัญจรสะดวกรวดเร็ว
   

1. แบ่งเบาความคับคั่งของการจราจรบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (มอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-ชลบุรี) ในช่วงเข้าออกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รวมทั้งบรรเทาผลกระทบต่อปัญหาการจราจรในโครงข่ายทางหลวงใกล้เคียง 2. รองรับปริมาณการจราจรและขนส่ง เข้าออกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต และสอดรับกับแผนพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
3. เพิ่มศักยภาพการเดินทาง การขนส่ง และการท่องเที่ยว โดยผู้ใช้ทางสามารถเชื่อมต่อการเดินทางสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น 4. เพิ่มเส้นทางเลือกในการเดินทางมากขึ้น ทั้งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและการเดินทางสู่พื้นที่ภาคตะวันออก โดยเฉพาะในช่วงเร่งด่วนและช่วงวันหยุดเทศกาล
   

เส้นทาง : ศรีนครินทร์ - สุวรรณภูมิ - ลาดกระบัง ระยะทาง : ประมาณ 18.5 กม. วงเงินค่าก่อสร้างเบื้องต้น  :  35,000 ลบ.  สถานะ : สรุปผลศึกษาโครงการขึ้นที่ 3 แล้ว / คาดว่าเดือน ก.ย. 2560 จะลงนามสัญญาจ้างได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : กรมทางหลวง ปีที่สร้างเสร็จ : ประมาณปี 2565   

ทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ เริ่มต้นที่ กม.0 +000 ถึงกม.ที่18 +553 ระยะทางรวม 18.5 กม. อยู่ในพื้นที่การปกครองของกทม. 5 เขต คือ บางกะปิ สวนหลวง ประเวศ สะพานสูง และลาดกระบัง
เริ่มจาก เชื่อมต่อกับปลายทางพิเศษศรีรัช เป็นทางยกระดับ แบบแยกโครงสร้าง 4 ช่องจราจร ทิศทางละ 2 ช่องจราจร และจากทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ ขยายช่องจราจรเป็น 6 ช่องจราจร ทิศทางละ 3 ช่องจราจร

 

รูปแบบการพัฒนาโครงการ ประกอบด้วย ทางยกระดับขนาด 3 ช่องจราจร แยกทิศทางไป-กลับ ทิศทางละ 3 ช่องจราจร ความกว้างช่องจราจรช่องละ 3.60 ม.

ความกว้างทางยกระดับเท่ากับ 15.80 ม. ความสูงประมาณ 18 ม. ตั้งอยู่ภายในเขตทางของทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 โดยมีตอม่อและโครงสร้างส่วนใหญ่วางอยู่บริเวณร่องน้ำชิดริมรั้ว 

ติดกับทางคู่ขนานด้านซ้ายทางและขวาทางของทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และโครงสร้างทางยกระดับเป็น คานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่องหล่อสำเร็จรูป (Precast Concrete Box Girder) โดยรูปแบบทางยกระดับพยายามให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจและวิศวกรรม เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด  แต่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด  

 

ทางขึ้น-ลงทางยกระดับของโครงการได้กำหนดทางขึ้น-ลง ไว้จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย

 

- ทางขึ้น-ลง ศรีนครินทร์

จะรับ-ส่งการจราจรที่มาจากทางพิเศษศรีรัช ถนนศรีนครินทร์และโครงข่ายถนนใกล้เคียง เชื่อมต่อไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและเขตลาดกระบัง รวมทั้งการเดินทางไปยังพื้นที่ภาคตะวันออก

ทางเชื่อมบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 

จะรับ-ส่งการจราจร ที่มาจากทางพิเศษศรีรัช ถนนศรีนครินทร์และโครงข่ายถนนใกล้เคียง เชื่อมต่อไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รองรับการเดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สู่พื้นที่เมืองชั้นในของกรุงเทพมหานคร โดยได้พิจารณาให้มีด่านยกระดับในบริเวณนี้ คือ "ด่านเก็บค่าผ่านทางบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ"

ทางขึ้น-ลง ลาดกระบัง 

จะรับ-ส่งการจราจรที่มาจากทางพิเศษศรีรัช ถนนศรีนครินทร์และโครงข่ายถนนใกล้เคียง ไปยังพื้นที่ภาคตะวันออก รวมทั้งรองรับการเดินทางจากพื้นที่ภาคตะวันออกสู่พื้นที่เมืองชั้นในของกรุงเทพมหานคร  โดยได้พิจารณาให้มีด่านยกระดับในบริเวณนี้ คือ "ด่านเก็บค่าผ่านทางบริเวณลาดกระบัง"

โดยที่บริเวณจุดเริ่มต้นทางยกระดับของโครงการจะเข้าเชื่อมกับทางพิเศษศรีรัชโดยตรง  ส่วนบริเวณ ทางเชื่อมเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จะมีทางยกระดับขนาด 2 ช่องจราจร แยกออกจากทางยกระดับหลักเข้าเชื่อมกับทางยกระดับสุวรรณภูมิเดิม
จุดสิ้นสุดของทางยกระดับโครงการ จะมีการลดระดับลงสู่พื้นราบบริเวณเลยสะพานข้ามคลองลำปลาทิว เขตลาดกระบัง มีระยะห่างจากทางเชื่อมบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิประมาณ 4.5 กม.

ด่านเก็บค่าผ่านทาง ประกอบด้วย

ด่านเก็บค่าผ่านทาง บริเวณอากาศยานสุวรรณภูมิ

1. ด่านเก็บค่าผ่านทางสุวรรณภูมิ เป็นด่านยกระดับ จำนวนช่องเก็บค่าผ่านทาง 10 ช่อง (5 ช่อง/ทิศทาง)  สามารถรองรับการจราจรได้ 65,000 คัน/วัน โดยจะใช้พื้นที่ทางยกระดับเดิมที่ได้จัดเตรียมพื้นที่ด่านยกระดับไว้แล้ว

ด่านเก็บค่าผ่านทาง บริเวณลาดกระบัง

2. ด่านเก็บค่าผ่านทางลาดกระบัง ตั้งอยู่บนทางยกระดับหลักก่อนถึงจุดสิ้นสุดโครงการ รูปแบบเป็นด่านยกระดับ คร่อมบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7  จำนวนช่องเก็บค่าผ่านทาง 22 ช่อง (11 ช่อง/ทิศทาง) สามารถรองรับปริมาณการจราจรได้ 165,000 คัน/วัน

 

นอกจะมีการสร้างทางยกระดับศรีนครินทร์-สุวรรณภูมิแล้ว จะมีการพัฒนาปรับปรุงทางคู่ขนานพร้อมทางเท้าตลอดโครงการ ให้มีความสะดวกและปลอดภัยต่อการใช้งานมากขึ้น
โดยทางคู่ขนานจะมีเส้นทางขนาด ไม่น้อยกว่า 2 ช่องจราจร หรือ กว้างไม่น้อยกว่า 12 ม. พร้อมด้วยทางเท้า ไม่น้อยกว่า 3.5 ม. เพื่อให้เหมาะสมกับกับการใช้งาน

ที่มา : กรมทางหลวง
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon