realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

5 DEVELOPMENTS EKKAMAI

07 Oct 2016 3.7K

5 DEVELOPMENTS EKKAMAI

07 Oct 2016 3.7K
 

5 NEW DEVELOPMENTS @EKKAMAI

เอกมัย เป็นย่านที่รวบรวม Lifestyle ความบันเทิงต่างๆหลายรูปแบบ แถมยังอยู่ใจกลางเมืองมีการเดินทางสะดวกทั้ง BTS และรถยนต์ ไปย่าน CBD ได้ง่ายทั้งพระราม 9 หรือสาทร ณ เอกมัยเองก็มีออฟฟิศ designer/สถาปนิกอยู่ค่อนข้างเยอะ รวมถึงในอนาคตจะเป็นทำเลที่ใกล้กับโมโนเรลสายสีเทาที่วิ่งเข้าซอยทองหล่ออีกด้วย ตอนนี้อยู่ในช่วงกำลังศึกษา EIA และเตรียมยื่นขออนุมัติจากครม. (ข้อมูล ณ ตค.2559) ปัจจุบันเอกมัยมีพื้นที่ว่างให้สำหรับการพัฒนาโครงการใหม่ๆอยู่ไม่มากนัก ทั้งที่ติดกับถนนใหญ่และในซอยเล็กๆที่อยู่ถัดเข้าไป มีประมาณ 10 แปลงที่เป็นแปลงที่ดินรอการพัฒนา โดยแปลงที่ติดกับถนนใหญ่มีราคาเริ่มต้น 0.7 - 1.8 ลบ. / ตร.ว. ส่วนแปลงที่ดินในซอยเริ่มต้น 0.3 - 0.6 ลบ. / ตร.ว. เพราะการที่ที่ดินติดถนนใหญ่และ sizeกับความลึกต่างกัน มีผลต่อความสูงอาคาร (จะอธิบายแบบละเอียดด้านล่างครับ) มี 5 แปลงที่ดิน ที่จะเกิดเป็นโครงการใหม่ในย่าน ซึ่งมีทั้งโครงการคอนโดมิเนี่ยม, คลีนิก และโรงแรม
 

การออกแบบอาคารบนที่ดินแปลงหนึ่งว่าจะให้มีความสูงเท่าไหร่เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะความสูงของอาคารมีผลต่อระบบต่างๆในอาคาร เช่น ระบบความปลอดภัย ระบบอัคคีภัย และถ้าหากอาคารที่มีความสูงมากๆ จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่โดยรอบหรือบริเวณเฉพาะ เช่น ริมถนน, ริมน้ำสาธารณะ, ศาสนสถาน ดังนั้นในการออกแบบและก่อสร้างอาคารแต่ละครั้งจึงต้องอาศัยข้อกฎหมายในการควบคุม

วันนี้ทาง REALIST จึงมาอธิบายข้อพิจารณาเบื้องต้น ของการควบคุมความสูงอาคารหรือการจำกัดความสูง เผื่อว่าที่ดินข้างๆบ้านเราว่าง หรือละแวกบ้านมีที่ดินเปล่า เราสามารถคาดเดาได้ว่าจะมีการพัฒนาพื้นที่ดินเหล่านี้ไปเป็นอะไรกัน มีความสูงแค่ไหน จะบังลมบังแดดบ้านของเราหรือไม่ ไปชมกันนะครับ

ในที่นี้จะขออธิบายเป็นกรณีที่อาคารอยู่ใกล้กับถนนสาธารณะ ถือเป็นการควบคุมเบื้องต้นก่อนที่จะไปจำกัดความสูงของอาคาร โดยระยะถอยร่นนี้ขึ้นอยู่กับความกว้างของถนน ประเภทอาคาร และความสูงของอาคาร

ขึ้นแรกเราต้องดูความกว้างของถนนสาธารณะ ที่อยู่ติดกับอาคารของเราก่อน เช่น คอนโดมิเนียม หรือตึกแถว แบ่งเป็น 4 กรณี คือ

  • กรณีที่ 1 (<= 6 ม.) ถนนกว้าง น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 ม. ระยะถอยร่น มากกว่าหรือเท่ากับ 3 ม. จากกึ่งกลางเขตทางสาธารณะ
  • กรณีที่ 2 (>= 6 ม.แต่ < 10 ม.) ถนนกว้างมากกว่าหรือเท่ากับ 6 ม. แต่น้อยกว่า 10 ม. ระยะถอยร่น มากกว่าหรือเท่ากับ 6 ม. จากกึ่งกลางเขตทางสาธารณะ
  • กรณีที่ 3 (>= 10 ม. แต่ < 20 ม.) ถนนกว้าง มากกว่าหรือเท่ากับ 10 ม. แต่ไม่เกิน 20 ม. ระยะถอยร่น เป็น 10% ของเขตทางสาธารณะ
  • กรณีที่ 4 (>= 20 ม.)  ถนนกว้าง มากกว่าหรือเท่ากับ 20 ม. ระยะถอยร่น 2 ม. จากแนวเขตที่ดิน
เมื่อเราได้ระยะถอยร่นแล้ว จึงมาจำกัความสูงอาคารกัน โดยคำที่เข้าใจง่ายๆคือ "ความสูงอาคาร ณ จุดใดจุดหนึ่ง เป็น 2 เท่าถึงฝั่งตรงข้ามของถนน" หรือ "ความสูง 2:1" ซึ่งมีที่มาจากการนำระยะจากแนวอาคารถึงเขตที่ดินฝั่งตรงข้ามคูณสอง แล้วดูว่าตรงจุดนั้นอาคารมีความสูงไม่เกินระยะที่กำหนดหรือไม่ ถ้าไม่เกินก็หมายความว่าจุดอื่นๆของอาคารที่ห่างจากถนนสาธารณะ ก็จะมีความสูงไม่เกินระยะที่กำหนดด้วยเช่นกัน
นอกจากนั้นยังมีพื้นที่ที่กฎหมายกำหนดเป็น บริเวณห้ามก่อสร้างฯ เช่น ริมถนนสายหลัก, ริมทางหลวง, ริมทางรถไฟ, ริมแม่น้ำ ชายทะเล หรือโดยรอบบริเวณพื้นที่สำคัญ เช่น วัด, โบราณสถาน มักมีข้อกำหนดที่ควบคุมความสูงอยู่ด้วย โดยทั่วไปมี 2 รูปแบบ คือ รูปแบบ 1 กำหนดตัวเลขควบคุมจำกัดความสูง เช่น ห้ามสร้างอาคารที่มีความสูงเกิน 12 ม. รอบศาสนถาน รูปแบบ 2 กำหนดประเภทอาคารที่ห้ามก่อสร้าง โดยความสูงอาคารจะถูกจำกัดตามบทนิยามของแต่ละประเภทอาคารนั้นๆตามข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในผังเมืองรวมอีกที เช่น ห้ามก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ ห้ามก่อสร้างอาคารสูง จากข้อพิจารณเบื้องต้นที่กล่าวมานั้น ลองมาดูตัวอย่างง่ายๆกันก่อนนะครับ
  1. สมมุติว่าความกว้างถนน 20 ม. ดังนั้นระยะถอยร่นจะห่าง 2 ม.จากแนวเขตที่ดิน
  2. ซึ่งในกรณีตัวอย่างกำหนดให้เป็นอาคารประเภทอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ซึ่งมีขนาดมากกว่า 10,000 ตร.ม. ต้องมีระยะถอยร่น 6 ม.
•••เผื่อในยามฉุกเฉินเรื่องอัคคีภัย •••(โดยระยะถอยร่นนี้สามารถรวมกับระยะถอยร่น  2 ม. ด้านหน้าได้ )
  • 3. ต่อไปมาดูความกว้างถนน •••รวม ซึ่งเป็นการรวมเขตทาง •••บวกกับระยะถอยร่น ซึ่งระยะ •••ถอยร่นนี้จะใช้ •••6 ม. = 26 ม. •••หรือ 6+2 = 28 ม.
  • 4. นำความกว้างถนนรวมที่ได้ •••มาคูณสอง จะได้เป็นความ •••สูงอาคารสูง 56 ม. หรือ •••ประมาณ 18 ชั้น
•••แต่จริงๆแล้วความสูงนี้อาจ •••จะสูงได้มากขึ้นอีกโดยไม่ •••เกินแนวเส้นระยะถอยร่น •••ของอาคาร (เส้นประสีชมพู)
อาคารขนาดใหญ่ คือ อาคารขนาด >= 2,000 ตร.ม. หรือ <= 15 ม.และพื้นที่ชั้นเดียว/ทุกชั้นมีขนาด>= 1,000 ตร.ม.แต่ไม่ถึง 2,000 ตร.ม. อาคารสูง คือ อาคารขนาด >= 23 ม. การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า สำหรับอาคารจั่วหรือปั้นหยาให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของ ชั้นสูงสุด อาคารขนาดใหญ่พิเศษ คือ อาคารขนาด >= 10,000 ตร.ม. ขึ้นไป  
  เอกมัย เป็นย่านที่รวบรวม HIPSTER Lifestyle ความบันเทิงรูปแบบต่างๆ ร้านอาหารมากมาย ในอนาคตจะเป็นทำเลที่ใกล้กับรถไฟโมโนเรลสายสีเทาที่จะวิ่งเข้าซอยทองหล่อ ซึ่งตอนนี้อยู่ในช่วงกำลังศึกษา EIA และเตรียมยื่นขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปัจจุบันเอกมัยมีพื้นที่ว่างให้สำหรับการพัฒนาโครงการใหม่ๆอยู่ไม่มาก ซึ่งจากการสำรวจตอนนี้ (ตค. 2559) มีประมาณกว่า 10 แปลง ที่เป็นแปลงที่ดินรอการพัฒนา พบว่าที่ดินขนาดใหญ่จะอยู่ติดกับถนนเอกมัย หรือถนนใหญ่อื่น ๆ และมีในซอยย่อยบ้างเล็กน้อย แต่ส่วนใหญ่แปลงที่ดินในซอยย่อยจะเป็นที่ดินขนาดเล็กไม่เกิน 2 ไร่ โดยแปลงที่ติดกับถนนใหญ่มีราคาเริ่มต้น 0.7 ลบ. - 1.8 ลบ. / ตร.ว. ส่วนแปลงที่ดินในซอยเริ่มต้น 0.3 ลบ.-0.6 ลบ. / ตร.ว. แต่อย่างไรก็ตามพื้นที่ดินภายในซอยที่อยู่ลึกเลยถนนขึ้นไปยังคงต้องพัฒนาเป็นโครงการขนาดเล็ก ซึ่งในปัจจุบันก็มีพัฒนาเป็นบ้านหรูๆหลายโครงการ เช่น Villazzo10, Park Lane 22, Sakaya 146, Arna, ฯลฯ  เนื่องจากเป็นถนนซอยย่อยที่มีความกว้างถนนไม่เกิน 10 ม. บวกกับเป็นพื้นที่ว่างขนาดเล็ก ต้องมีระยะถอยร่นตามประเภทอาคารอีก หากมีการพัฒนาอาจจะสร้างได้  7-8 ชั้น เช่น คอนโด, อพาร์ทเมนท์ รวมถึงเป็นโครงการประเภทบ้านพักอาศัยประเภทบ้านเดี่ยว, ทาวน์โฮม เพราะต้องเป็นอาคารที่สูงไม่เกิน 23 ม. ถ้าสร้าง 7 ชั้นจะมี Floor to ceiling ที่สูงหน่อย แต่ถ้าสร้าง 8 ชั้นก็จะลดหลั่นลงมา โดยมากจะมี Floor to ceiling ไม่เกิน 2.40-2.45 ม.
แปลงที่ดินที่ติดถนนใหญ่จึงมีความได้เปรียบกว่า เมื่อรวมระยะถอยร่นจากถนนแล้วทำให้สามารถขึ้นอาคารสูงได้มาก รวมถึงการมีแปลงที่ดินขนาดใหญ่ก็สามารถเพิ่มระยะถอยร่นด้านหน้าที่ติดจากถนนเข้ามาอีก เพื่อเพิ่มความสูงของอาคารได้อีก ซึ่งในตอนนี้พื้นที่ดินเอกมัยมีที่ดินที่พร้อมพัฒนาแล้วนั้นมี 5 แปลงที่ดิน เกิดเป็น 5 โครงการใหม่ในย่าน ซึ่งมีทั้งคอนโด, คลีนิค และโรงแรม ที่ดินพร้อมพัฒนา  = อยู่ระหว่างการก่อสร้าง, ผ่าน EIA และมีการพัฒนาที่แน่นอน ที่ดินรอการพัฒนา = เจ้าของปล่อยขายอยู่ สำรวจข้อมูลล่าสุด  ตค. 59  

รถไฟฟ้าสายสีเทาเป็นโมโนเรล (รถไฟรางเดี่ยว ขนาดเบา) ลอยฟ้า ที่วิ่งผ่านตั้งแต่ช่วงวัชรพลผ่านเส้นประดิษฐ์มนูธรรม เข้าเพชรบุรี เลี้ยวเข้าทองหล่อมาต่อกับ BTS สถานีทองหล่อ ซึ่งจะใกล้กับซอยเอกมัยมาก (ส่วนนี้เป็นช่วงที่ 1) ส่วนอีกช่วงหนึ่งจากพระโขนง (น่าจะไม่เชื่อมกับ BTS พระโขนง) ผ่านเส้นพระราม 4 เข้านราธิวาสฯ (เป็นช่วงที่ 2) แล้วเข้าสู่พระราม 3 แทนที่เส้น BRT เดิม (ส่วนนี้เป็นช่วงที่ 3) โดยสายสีเทานี้ กทม.จะเป็นผู้ดูแล

รถไฟฟ้าสายสีเทาจะช่วยเชื่อมต่อการเดินทางเข้า-ออกระหว่างใจกลางเมือง กับพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือของกทม. และพื้นที่อยู่อาศัยบริเวณสาธุประดิษฐ์และริมน้ำเจ้าพระยาบริเวณพระราม 3 โดยแบ่งเป็น 3 ช่วงด้วยกัน

เนื่องจากมีการวางแผนโครงการมานานแล้ว โดยริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2553 เป็นแผนแม่บทระบบขนส่งทางรางในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล พ.ศ.2553-2572 ซึ่งโครงการนี้ดำเนินการภายใต้หลักการและเหตุผลของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2553

ตามแผนดำเนินการเดิมในปี 2557 อยู่ในขั้นตอนการศึกษาออกแบบ ศึกษาผลกระทบ EIA และเตรียมยื่นขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) จากนั้นจึงจะประกวดราคาหาผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการช่วงที่ 1 วัชรพล-ทองหล่อ โดยวางแผนก่อสร้างในปี 2559 ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2562

ซึ่งปัจจุบันช่วงที่ 1 ยังคงอยู่ในขั้นตอนการศึกษาออกแบบ คาดว่าในอนาคตโครงการจะมีความล่าช้าไป ทาง REALIST จึงลองขยับระยะเวลาการดำเนินการจากเดิม มาเป็นปัจจุบัน ส่งผลให้ปีเปิดให้บริการอาจไกลไปถึงปี 2564 จากเดิมคือปี 2562 ส่วนการก่อสร้างในช่วงที่ 2 และ3 กทม.จะศึกษาความเหมาะสมในการก่อสร้างต่อไป ภายหลังได้เปิดให้บริการในช่วงที่ 1 ไปก่อน

อ่านรายละเอียดรถไฟฟ้าสายสีเทาเพิ่มเติม คลิกที่นี่!

 

PARK LANE EKKAMAI

BIG C EKKAMAI

MAJOR EKKAMAI

GATEWAY EKKAMAI

TEA HOUSE GREEN TEA

MY POT HOTPOT

KINGKONG BUFFET

OGAWA JAPANESE

 

 

RHYTHM EKKAMAI

เป็นคอนโดตัวใหม่จากเอพี บนพื้นที่ 1-3-44 ไร่ ซึ่ง Sold Out ไปแล้ว ซึ่งราคาจะสูงถึง 183,000 บาท/ตร.ม  เป็นเพราะอยู่บริเวณต้นซอย บนทำเลที่ใกล้ BTS มากกว่า และติดกับ Park Lane

NEW CONDO

โครงการนี้อยู่ตรงเอกมัยซอย 18 ด้านหลังร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้อวัฒนาพานิช มีพื้นที่ประมาณ 3-3-73 ไร่ ยังคงต้องรออัพเดทข้อมูลกันอีกซักครู่ เนื่องจากมีข่าวแว่วมาว่าจะเป็นโครงการคอนโด Low-rise ตอนนี้พื้นที่มีการรื้อถอนอาคารเดิมออกไปแล้ว เป็นการล้อมรั้วไว้ก่อน

GRAND ESTA CLINIC

เป็นโครงการสถาบันความงาม อยู่เยื้องๆกับเวิ้งโบราณ บนพื้นที่ประมาณ 0-2-50 ไร่ เดิมเป็นสถาบันความงาม Grand Esta ในรูปแบบของบ้าน แต่กำลังปรับปรุงใหม่เป็นอาคาร ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง คืบหน้าไปประมาณ 30%

THONGLOR 10 HOTEL

เป็นโครงการโรมแรมขนาดห้องพัก 158 ห้อง จากจุฬาสินี แอสเซท บนพื้นที่ 1-1-57 ไร่ บนซอยทองหล่อ 10 หรือซอยเอกมัย 5 (บริเวณอาคาร TOA และลานจอดรถเดิม) ตอนนี้รอการรื้อถอนอาคารเดิมออก

C EKKAMAI

  • โครงการ : ซี เอกมัย
  • เจ้าของ   : เดอะ ช้อยส์พร็อพเพอร์ตี้
  • ที่ตั้ง : 888 ถนน เอกมัย(สุขุมวิท 63)
  • พื้นที่ : 3-3-0 ไร่
  • ลักษณะ : คอนโด สูง 44 ชั้น •••••••••••••ร้านค้า สูง 2 ชั้น
  • ยูนิต  : รวม 736 ยูนิต •••••••••••••ห้องพัก 729 ยูนิต •••••••••••••ร้านค้า 7 ยูนิต
  • ขนาดยูนิต 1 ห้องนอน  : 27 - 52 ตร.ม. 2 ห้องนอน : 51 – 65 ตร.ม. เพนท์เฮ้ำส์ : 82 – 126 ตร.ม.
  • ก่อสร้าง      : Q1  ปี 2560
  • เสร็จสิ้น      : Q3 ปี 2562
  • ราคาขาย    : เริ่มต้น 3 ลบ.
••••••••••(125,000 บ./ตร.ม.)
  • Pre-Sales 15 – 16 ต.ค. 59

PAROMAMIC VIEW

โครงการใหม่ล่าสุดบนทำเลเอกมัย คือ โครงการ C EKKAMAI ตั้งอยู่บนทำเลศักยภาพถ.เอกมัย ค่อนไปทางถ.เพชรบุรี ใจกลางกรุงเทพมหานคร มองว่าโครงการนี้มีราคาที่สมเหตุสมผลอยู่ในราคา 125,000 บ./ตร.ม. เมื่อเทียบกับโครงการอื่นในทำเลเดียวกันบนถนนเอกมัยต้นๆซอย และใกล้รถไฟฟ้ามากกว่า มีราคาสูงประมาณ 170,000 -  180,000 บ./ตร.ม.

โดยทำเลเอกมัยเป็นเส้นทางเชื่อมต่อสถานที่สาคัญและรายล้อมด้วยระบบคมนาคมสาธารณะต่างๆ เช่น ทางด่วน, BTS, MRT และ ARL ซึ่งทำให้สามารถเดินทางไปยังจุดหมายที่ต้องการเดินทางได้อย่างสะดวก ทั้ง CBD สาธร , พระราม 9, สนามบิน รวมถึงเดินทางออกนอกเมือง

นอกจากนั้นยังเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างถนนสุขุมวิทชั้นกลางกับชั้นใน โดยมีซอยสุขุมวิท 36 และซอยสุขุมวิท 38 ที่มีเส้นทางลัดสามารถเชื่อมไปยังถนนสุขุมวิทในซอยย่อยต่างๆ ได้อีกหลายซอย

ที่โครงการ C EKKAMAI ได้ผสมระหว่างความสวยงามกับประโยชน์ใช้สอยเพื่อให้ function ที่ออกมาสามารถตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์และให้ความสวยงานไปพร้อมๆกัน โครงการมีทั้งหมด 44 ชั้น และ จะเป็นตึกที่สูงที่สุดบนถนนเอกมัย (สูง 150 ม.) ทำให้สามารถเห็นวิวเมืองได้ชัด แบบที่ไม่ถูกบดบังด้วยตึกสูงข้างเคียงแบบคอนโดโครงการอื่นๆ

Designer ออกแบบตัวอาคารโดยคำนึงถึงการใช้งานของลูกบ้านและสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย โดยการออกแบบตึกรูปตัว C จะทำให้มีห้องที่หันไปทางทิศตะวันตกมีน้อยที่สุด และทุกห้องนอนถูกดีไซน์ออกมาเพื่อไม่ให้มีหัวเตียงไหนหันทางทิศตะวันตก นอกจากนี้ตึกรูปตัว C ทำให้ทุกห้องนอนมีระเบียงที่ยาวขึ้นและสามารถรับวิวได้เต็มมากขึ้น

ทุกชั้นถูกออกแบบให้มีช่องหน้าต่าง รวมถึงออกแบบให้มี Single Corridor ทั้ง 2 ปีกของอาคาร ทำให้แสงแดดส่องเข้ามาในตัวอาคารได้ เพื่อเพิ่มการ Flow ของสายลมและแสงแดด ช่วยให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกโปร่งสบาย ไม่อึดอัด

รวมถึงออกแบบให้มีพื้นที่กิจกรรม (Facilities) มากกว่า 1,500 ตร.ม. บริเวณ ทั้ง 4 ชั้นของโครงการ อาทิเช่น สระว่ายน้ำ, ฟิสเนส, ห้องสมุด, ลานโยคะ, ลานวิ่ง, sky lounge และ sky garden

ที่ดิน เอกมัย
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon