realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

ศักยภาพที่ดินโยธะกา 4,000 ไร่

22 Nov 2018 3.1K

ศักยภาพที่ดินโยธะกา 4,000 ไร่

22 Nov 2018 3.1K
 

ศักยภาพที่ดินโยธะกา 4,000 ไร่

ในช่วงปลายปี 2561 นี้ มีข่าวการพัฒนาโครงการโดยภาครัฐและได้เกิดปัญหาข้อพิพาทขึ้น ซึ่งหนึ่งในนั้นคือปัญหาการเวนคืนที่ดิน พื้นที่ 4,000 ไร่ บริเวณ ต.โยธะกา โดยมีประเด็นที่น่าสนใจและอาจมีผลกระทบต่อทั้งระดับจุลภาคไปจนถึงมหภาคได้ หากใครยังไม่ทราบถึงเรื่องราวดังกล่าว วันนี้ทาง Realist ได้นำประเด็นนี้มาบอกกล่าวเพื่อให้ทราบถึงเรื่องราวในอดีตและสถานการณ์ในปัจจุบันกันครับ ว่าเกิดอะไรขึ้นและพื้นที่นี้มีความน่าสนใจอย่างไร ทำไมถึงเป็นประเด็นข้อพิพาทได้ เริ่มตั้งแต่กลุ่มชาวบ้านผู้ดำเนินวิถีชีวิตกันมาอย่างต่อเนื่อง มาวันหนึ่งในปี 57 ได้รับหนังสือจาก สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ฉะเชิงเทรา ให้ส่งมอบที่ดินคืนให้แก่ทหารเรือ ด้วยเหตุผลว่ากองทัพเรือมีแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินในราชการทหาร ซึ่งในปัจจุบันยังคงไม่มีการยืนยันในการใช้พื้นที่ดังกล่าว ทำให้เป็นประเด็นข้อพิพาทระหว่างชาวบ้านและหน่วยงานผู้เป็นเจ้าของพื้นที่ดินอยู่ ทั้งในเรื่องของการใช้งานพื้นที่ในอนาคต การรองรับการย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน อีกทั้งในมิติของการถือครองที่ดิน ที่ชาวบ้านกล่าวว่าบรรพบุรุษตนได้ตั้งรกรากมาอย่างยาวนานมากกว่า 100 ปี จะให้ย้ายออกไปที่อื่นคงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก 
 

ทำความรู้จักพื้นที่ข้อพิพาท

ตำแหน่งที่ตั้งของพื้นที่

พื้นที่ที่เป็นข้อพิพาทนี้บางแหล่งข่าวก็เรียกพื้นที่บางน้ำเปรี้ยว บางแห่งก็เรียกพื้นที่โยธะกา โดยสามารถอธิบายได้คือ พื้นที่นี้อยู่ใน ต.โยธะกา อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา นั่นเองโดยมีทิศเหนือติดกับจังหวัดนครนายก ทิศตะวันออกติดกับแม่น้ำบางปะกงและจังหวัดปราจีนบุรี
 โดยมีทิศเหนือติดกับจังหวัดนครนายก ทิศตะวันออกติดกับแม่น้ำบางปะกงและจังหวัดปราจีนบุรี โดยพื้นที่ข้อพิพาทนี้ประกอบไปด้วย 4 แปลง ได้แก่ 1. แปลงหมายเลขทะเบียนที่ ฉช.611 : พื้นที่จำนวน 80 ไร่ 2. แปลงหมายเลขทะเบียนที่ ฉช.612 : พื้นที่จำนวน 1,908 ไร่ 3. แปลงหมายเลขทะเบียนที่ ฉช.613 : พื้นที่จำนวน 1,000 ไร่ 4. แปลงหมายเลขทะเบียนที่ ฉช.612 : พื้นที่จำนวน 1,328 ไร่ มีพื้นที่โดยรวมทั้งสิ้นประมาณ 4,000 กว่าไร่ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ 2 หมู่ 10 หมู่ 11 และ หมู่ 12 จำนวน 166 ครัวเรือน
 

Timeline การถือครองที่ดิน

ในส่วนของมิติของการถือครองที่ดินในบริเวณนี้ ที่บางแหล่งข่าวก็กล่าวว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่หลวงของกรมธนารักษ์ที่ใช้ในราชการทหารเรือ บางแหล่งก็กล่าวว่าเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านตั้งรกรากกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ก่อนจะเกิดการใช้งานจากทางกองทัพเสียอีก ทางเราจึงได้รวบรวมข้อมูลประวัติศาสตร์การถือครองพื้นที่บริเวณนี้อ้างอิงจากหลายแหล่งข่าว โดยเราได้ทำการสรุปและเรียงลำดับเหตุการณ์
• พ.ศ.2444 เกิดการสร้างระบบเจ้าที่ดิน ในสมัยรัชกาลที่ 5 อันเป็นผลจากโครงการขุดคลองรังสิต ที่ดินได้กลายเป็นอสังหาริมทรัพย์ราคาสูง ทำให้ชนทุกชั้นหันมาสนใจจับจองที่ดินเป็นการเปลี่ยนที่ดินในฐานะปัจจัยการผลิตไปเป็นทรัพย์สิน [1] • พ.ศ.2446-2447 รัชกาลที่ 5 ให้สัมปทานขุดคลองแก่บริษัทขุดคลองแลคูนาสยามเข้ามาขุดคลอง ทำให้ดินจืดคลายความเปรี้ยวลง ราษฎรจากที่อื่นพากันอพยพมาเพื่อทำนามากขึ้น [2] บริษัทจึงให้ชาวบ้านจ่ายค่าเช่าแทนค่าขุดคลอง แต่ไม่มีใครมาเช่าที่ดินทำนา เนื่องจากมีช้างป่าอยู่ชุกชุม • พ.ศ. 2448 อ.บางน้ำเปรี้ยว ได้ก่อตั้งขึ้น มีหลวงพิศาลเกษตรสมบูรณ์ (เกตุ เกษสมบูรณ์) เป็นนายอำเภอคนแรก โดยทั่วไปสภาพพื้นที่เป็นป่าโปร่ง มีประชาชนอยู่แบบกระจัดกระจาย ประกอบอาชีพปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ [3] • พ.ศ. 2458 ชาวบ้านหลายกลุ่มเริ่มเข้ามาบุกเบิกหักล้างถางพง ก่นสร้าง และจับจองพื้นที่ ในช่วงเวลาที่บริษัทขุดคลองแลคูนาสยามหมดอายุการถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน  • พ.ศ. 2468 มีการออกโฉนดให้กับเจ้าจอมมารดาแพ (แปลงที่ 611, 612 และ 614) และ พระองค์เจ้าสุวพักตร์วิไลยพรรณ (แปลงที่ 613) และในปีนี้เองนายกองนาก็ได้เข้ามาทำการเก็บค่าเช่าที่กับชาวบ้าน ด้วยความไม่รู้กฎหมาย ชาวบ้านก็ยอมจ่ายค่าเช่าและมีสถานะเป็นผู้เช่าที่ดินในพื้นที่นับแต่นั้นมา [4] • พ.ศ. 2483 เจ้าจอมมารดาแพ ได้ส่งต่อพื้นที่นี้ให้แก่ นางพิจารณ์พลกิจ (ผาด ดุละลัมภะ) ข้าหลวงต้นห้องคนสนิทดูแลพื้นที่ต่อ [5]
 • พ.ศ. 2489 นางพิจารณ์พลกิจ ได้ทำการขายที่ดินนี้ให้แก่นายชัยยุทธ กรรณสูต เป็นผู้ถือครองคนต่อมา • พ.ศ. 2491 นายชัยยุทธ กรรณสูต ได้ทำการขายที่ดินผืนนี้ให้แก่ทางทหารเรือ [6] • พ.ศ. 2518 มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ราชพัสดุ ให้หน่วยงานรัฐส่งมอบที่ดินให้กับกระทรวงการคลัง (กรมธนารักษ์) โดยได้มอบอำนาจให้กองทัพเรือเป็นผู้ดำเนินการจัดให้เช่าและเรียกเก็บค่าเช่าให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังกำหนด 
 • พ.ศ. 2545 มีการประกาศบังคับใช้กฎกระทรวงเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ โดยมีเงื่อนไขให้ต่ออายุสัญญาเช่าครั้งละ 1 ปี และต้องได้รับความยินยอมจากกองทัพเรือก่อน และผู้เช่าจะต้องยินยอมให้กองทัพใช้ประโยชน์เมื่อมีความจำเป็น [7] • ปัจจุบัน 2561  ที่ผืนนี้จึงที่เป็นที่ราชพัสดุที่อยู่ในความครอบครองของกองทัพเรือที่ดูแลโดยกรมธนารักษ์ โดยมีการใช้พื้นที่ทางราชการทหารในบางส่วน ส่วนที่เหลือกองทัพเรือได้นําไปจัดให้ราษฎรเช่าเพื่ออยู่อาศัยและประกอบกิจกรรมเกษตร
จึงกล่าวได้ว่า พื้นที่นี้มีการถือครองมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 และมีการบุกเบิกและจับจองใช้พื้นที่โดยบรรพบุรุษของชาวบ้านจริง แต่ในทางด้านกฎหมายกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากมีการถือครองโฉนดที่ดินและถูกเปลี่ยนถ่ายเรื่อยมา การที่ชาวบ้านเริ่มบุกเบิกจับจองที่ดินตั้งแต่ 2458 และไม่มีความสามารถในการซื้อที่ดินเป็นผืนได้ในสมัยนั้น จึงทำให้ไม่นับเป็นการถือครองที่ดินโดยถูกต้องตามกฎหมาย

 

ลำดับเหตุกาณ์ข้อพิพาท ที่ดิน โยธะกา ระหว่างปี 2557 - 2561

Timeline ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

• 31 กรกฎาคม พ.ศ.2557 ชาวบ้านต.โยธะกา ได้รับหนังสือจากสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ฉะเชิงเทรา ว่าด้วยการยกเลิกสัญญาเช่าและการเก็บค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดินราชพัสดุ และให้ทำการส่งมอบที่ดินคืนทหารเรือภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 57 ด้วยเหตุผลว่า กองทัพเรือมีแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในราชการทหาร แต่ชาวบ้านยังคงใช้ที่ดินทำนาต่อไป ไม่มีใครส่งมอบที่ดินหรือย้ายออกไป  • 19 กันยายน 2560 มีหนังสือจากกองทัพเรืออีกครั้ง ขอให้ส่งมอบคืนที่ดินให้แก่กองทัพเรือ ภายใน 7 วัน โดยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ออกไปจากที่ดิน พร้อมกับให้ทำหนังสือส่งมอบที่ดิน หากยังเพิกเฉย ทางราชการมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย • 11 ตุลาคม 2560 ชาวบ้านเริ่มทำหนังสือร้องเรียนไปยังหลายหน่วยงาน เรื่องขอความอนุเคราะห์ผ่อนผันส่งมอบที่ดินคืนออกไปก่อน จนกว่าจะมีการช่วยเหลือหรือเยียวยาเรื่องที่อยู่อาศัยและเรื่องการทำมาหากิน เริ่มจาก ทำหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี และ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในวันเดียวกัน • 6 ตุลาคม 2560 ทำหนังสือถึง หัวหน้าคณะทำงานแก้ไขปัญหาการดำเนินการภายหลังยกเลิกสัญญาเช่าฯ และรองหัวหน้า คณะฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา • 28 พฤศจิกายน 2560 ทำหนังสือถึง สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดิน • 30 พฤศจิกายน 2560 ทำหนังสือถึง ผู้บัญชาการทหารเรือ เรื่อง ขอให้ชี้แจงข้อมูลการยกเลิกสัญญาเช่าและส่งมอบคืนที่ดินจากราษฏร โดยในหนังสือได้ขอให้ชี้แจง ดังนี้ 1) จำนวนเนื้อที่ดินที่กองทัพเรือต้องการใช้ประโยชน์ 2) แผนที่ของแปลงที่กองทัพเรือต้องการใช้ประโยชน์ 3) วัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินของกองทัพเรือ 4) เหตุผลความจำเป็นของกองทัพเรือในการใช้ประโยชน์ที่ดิน • 22 มกราคม 2561 มีหนังสือตอบกลับจากเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารเรือ ความว่า กองทัพเรือมีแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณดังกล่าวแล้วจึงยืนยันการยกเลิกสัญญา และไม่มีคำชี้แจงถึงความจำเป็นของทหารเรือในการใช้ที่ดิน ตามที่ชาวบ้านร้องขอโดยใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร
• 4 มีนาคม 2561 มีการลงข่าวคำให้สัมภาษณ์ว่า กรมธนารักษ์ได้จัดหาที่ราชพัสดุสนับสนุนโครงการ EEC โดยในพื้นที่ส่วนของฉะเชิงเทรานั้น เป็นพื้นที่ของกองทัพเรือที่ส่งคืนให้กรมธนารักษ์ อยู่ใน อ.บางน้ำเปรี้ยว มีพื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่เศษ บริเวณศูนย์เกษตรกรรมทหารเรือ ซึ่งได้ส่งมอบให้อีอีซีไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนจะนำไปพัฒนาเป็นอะไรขึ้นกับ EEC จะกำหนด [8] • 20 มีนาคม 2561 ชาวบ้านได้ทำหนังสือถึง อธิบดีกรมธนารักษ์ ขอให้ชี้แจงข้อมูลการส่งมอบที่ดินให้ตามนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตามข่าว • 23 มีนาคม 2561 มีหนังสือจากสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินตอบกลับแก่ชาวบ้าน ชี้แจงถึงความจำเป็นในการใช้งานพื้นที่และกองทัพเรือมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้พื้นที่ดังกล่าวในการการตั้งสถานีวิทยุหาทิศ (DF) จริง ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงวินิจฉัยให้ยุติการพิจารณาเรื่องร้องเรียนดังกล่าว • 26 สิงหาคม 2561 ได้มีการนัดหมายตัวแทนชาวบ้านและก่อตั้งกลุ่ม "โยธะการักษ์ถิ่น" ขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเจรจากับหน่วยงานต่างๆ และเตรียมเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมต่อไป [9]
• 16 กันยายน 2561 มีการรายงานข่าวจากสำนักข่าว ฐานเศรษฐกิจ เนื้อความว่า บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ทำการเซ็นสัญญาเช่าที่ดินที่ราชพัสดุกรมธนารักษ์ ใน อ.บางน้ำเปรี้ยว จำนวน 4,000 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ทหารเรือใช้ บริเวณ ต.โยธะกา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว [10] • 20 กันยายน 2561 กรมธนารักษ์ได้ทำหนังสือชี้แจงว่าข่าวการให้เอกชนรายใหญ่เช่าพื้นที่ 4,000 ไร่ เพื่อทำเมืองใหม่นั้นไม่เป็นความจริง เป็นเพียงพื้นที่ที่เป็น 1 ใน 7 ที่พิจารณาเข้าร่วมสนับสนุนโครงการระเบียงเศรฐษกิจภาคตะวันออกเพียงเท่านั้น ซึ่งพื้นที่นี้จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่นั้น จะต้องได้รับความยินยอมจากกองทัพเรือก่อนแล้วจึงสามารถทำเรื่องพิจารณาต่อไปได้ [7] • 4 ตุลาคม 2561 ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 11 พร้อมด้วยหน่วยงานระดับจังหวัดหลายหน่วยงานได้ลงพื้นที่มาเจรจาพูดคุยต่อชาวบ้าน และรับปากว่าจะเป็นคนกลางผู้ประสานงานให้ทางกองทัพเรือลงพื้นที่มาพบปะพูดคุยชี้แจงต่อประชาชน อีกทั้งรองเลขาธิการ สำนักงาน EEC กล่าวว่าไม่มีแผนที่จะนำเอาพื้นที่ ต.โยธะกา ไปพัฒนาแต่อย่างใด [11] • ล่าสุด 24 ตุลาคม 2561 กองทัพเรือร่วมลงชี้แจงให้กับประชาชนต.โยธะกา โดยกล่าวว่า กองทัพเรือยังไม่เคยอนุญาตและไม่มีแนวความคิดที่จะอนุญาตให้เอกชนรายใดมาใช้พื้นที่ ยืนยันว่าไม่ใช่เอาไปทำเรื่องของธุรกิจหรือการหารายได้ แต่เป็นเรื่องของความมั่นคงประเทศ และในกรณีนี้จะพิจารณาตกลงกันว่าจะให้กลุ่มชาวบ้านไปอยู่จุดไหนแทนได้หรือไม่ตามนโยบายเยียวยาของประชาชน รวมถึงจะนำข้อมูลส่วนนี้ไปหารือกับคณะกรรมการที่ดินของกองทัพเรือ และนำเรียนผู้บัญชาการทหารเรือกับหน่วยงานที่ทำโครงการและใช้ประโยชน์ที่ดินอีกครั้งว่าสามารถปรับเปลี่ยนได้หรือไม่ต่อไป [12]

ศักยภาพกับการพัฒนาในอนาคตบริเวณโดยรอบ ต.โยธะกา 

จากลำดับเหตุการณ์ที่เล่าไปในช่วงต้นของบทความ เรามาดูกันต่อว่า ทำไมทางกองทัพเรือถึงขอคืนที่ดิน ซึ่งสิ่งที่จะเล่าต่อไปเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลศักยภาพบางส่วนที่อาจมีผลให้เกิดแผนที่จะพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว เพราะพื้นที่ดินใน ต.โยธะกานี้เป็นทรัพย์สินของหลวง ที่อยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา และเป็นพื้นที่จังหวัดที่มีข่าวการพัฒนาในโครงการ EEC รวมถึงกลุ่ม CP ที่มีแผนจะพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทราให้เป็น Smart City เป็นแห่งแรก เพื่อเป็นการทดลองโครงการเชื่อมต่อกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) อีกด้วย ซึ่งจากข่าวการพัฒนาทั้งหมดนี้ ยังไม่ได้มีข้อสรุปใดๆ ออกมาเป็นแบบแผนที่ชัดเจนต่อพื้นที่ดินบริเวณ ข้อพิพาท ต.โยธะกา แต่ถึงอย่างไร ที่ดินแห่งนี้ต้องยอมรับว่าเป็นทำเลที่มีศักยภาพที่เพียบพร้อมแห่งหนึ่งที่สามารถจะพัฒนาต่อยอดต่อไปได้ โดยขอนำเสนอข้อมูลการพัฒนาบางส่วนที่เกี่ยวข้องมาให้ทราบกันครับ ว่ามีความน่าสนใจอย่างไรกันครับ

1. โครงการพัฒนาในจังหวัดฉะเชิงเทรา และ พื้นที่ ต.โยธะกา

info : ฐานกราฟิก

1.1 โครงการต่อเติมถนน 3200-3001

การสัญจรบริเวณต.โยธะกามีโครงข่ายถนนเส้นหลัก ที่ปัจจุบันมีโครงการขยายถนน จาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร ก่อสร้างเป็นถนนลาดยางแอสฟัลคอนกรีต ทั้งนี้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเป็นสายทางที่สนับสนุนโครงการ (EEC) ที่จะวิ่งยาวไปจนถึงทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 เพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกรวดเร็วในการสัญจรและการขนส่งมากขึ้น [13]

1.2 โครงการรถไฟฟ้าทางคู่

การสัญจรหลักอย่างรถไฟ ที่ปัจจุบันเป็นรางเดี่ยวและมีปริมาณเที่ยวการขนส่งสินค้าเพิ่มมากขึ้น ทำให้เสียเวลาต่อการสับเปลี่ยนรางทั้งทางขนส่งและทางสัญจรปกติ ทำให้เกิดโครงการรถไฟทางคู่ที่กำลังก่อสร้างช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย โดยทำการก่อสร้างอีกรางขนานไปกับรางเดิม เพื่อให้เกิดประโยชน์ด้านโลจิสติกส์ ช่วยรองรับการขนส่งสินค้าระหว่างพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกได้ดีมากขึ้น [14]
ซึ่งการพัฒนาทางสัญจรทั้ง 2 โครงการ พัฒนาผ่านพื้นที่ต.โยธะกา ที่สามารถเชื่อมต่อเข้าโครงการเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาคในอนาคตได้อย่างสะดวกมากขึ้น นั่นคือ โครงการรถไฟรางคู่จะสามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่เชื่อมต่อไปถึงสนามบินดอนเมืองและสนามบินอู่ตะเภาได้ ส่วนในเส้นทางถนนก็จะสามารถเชื่อมต่อเข้ากับทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ที่สามารถวิ่งเข้าสู่กทม.หรือเชื่อมต่อไปยังจ.ชลบุรี-จ.ระยองได้อีก นับเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อให้แก่พื้นที่อื่นและพื้นที่บริเวณแห่งนี้ได้อีกด้วย จึงถือได้ว่าพื้นที่ต.โยธะกาแห่งนี้ก็มีศักยภาพในแง่ของการเชื่อมต่อกับเข้ากับโครงการขนาดใหญ่ในอนาคตได้ดีเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

1.3 โครงการเมืองใหม่ Smart City ในจังหวัดฉะเชิงเทรา

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า CP กับแผนการลงทุนครั้งใหญ่สร้างเมืองใหม่ แปดริ้ว จ.ฉะเชิงเทรา ใช้งบประมาณหลายแสนล้านบาท บนพื้นที่ 10,000 ไร่ ด้วยคอนเซปต์ “Smart City” โดยเหตุผลที่เลือกจ.ฉะเชิงเทรา เป็นแห่งแรก เพื่อเป็นการทดลองโครงการเชื่อมต่อกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพราะอยู่ไม่ห่างจาก กทม. มากนัก โดยจะมีการวางผังเมือง และระบบสาธารณูปโภคอย่างครบถ้วน รวมถึงบริการอื่นๆ ของเมืองให้รวมอยู่ในจุดเดียว อาทิ โรงพยาบาล โรงเรียน มหาวิทยาลัย ศูนย์การค้า ไว้ใจกลางเมือง อีกทั้ง รถไฟฟ้าในระบบรางเชื่อมต่อเข้ามายังสถานีมักกะสัน โดยให้การเดินทางเข้าออกเมืองภายใน 20 นาที จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองจะต้องไม่ต่ำกว่า 300,000 คน เพื่อให้ธุรกิจ – บริการคุ้มทุน อีกทั้งเมืองยิ่งใหญ่ยิ่งดีถึงจะคุ้มค่าในการลงทุนสาธารณูปโภค และขณะนี้อยู่ระหว่างให้สถาปนิกและที่ปรึกษาจาก สหรัฐฯ – อังกฤษ ออกแบบและวางแผนอยู่ [15]
 

2. โครงการสนับสนุนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

จากแนวทางการพัฒนาในจังหวัดฉะเชิงเทรา มาสู่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ พิเศษภาคตะวันออก เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ "ไทยแลนด์ 4.0" เพื่อให้ไปถึงจุดมุ่งหมายนั้น นอกเหนือจากจังหวัดฉะเชิงเทรา ก็มี ชลบุรีและระยอง ซึ่ง EEC มีการกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายในการส่งเสริมการลงทุนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เพื่อเพิ่มศักยภาพรองรับการลงทุน และการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจและการอำนวยความสะดวกต่างๆ ในพื้นที่ รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการจัดระบบการสะสมเทคโนโลยี เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของประเทศไทย ในปัจจุบันโครงการได้พัฒนา ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคมขนส่ง เชื่อมโยงการเดินทางทั้งทางอากาศ ทางบก ทางราง ทางน้ำ แบบไร้รอยต่อ (Seamless Operation) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันจากการลดเวลาการเดินและประหยัดค่าขนส่ง โดยมุ่งเน้นพัฒนา 3 จังหวัดทางฝั่งตะวันออก ได้แก่ 1.จังหวัดฉะเชิงเทรา 2.จังหวัดชลบุรี 3.จังหวัดระยอง โดยเน้นกลุ่มโครงการที่สำคัญ 2 กลุ่ม คือ - การเชื่อมโยง EEC กับภูมิภาคทางอากาศ  - การเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าของไทยกับภูมิภาค
- การเชื่อมโยง EEC กับภูมิภาคทางอากาศ ผ่านโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก มุ่งเน้นการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอากาศยานและโลจิสติกส์ทางอากาศ และเชื่อมโยงการเดินของผู้โดยสารสนามบินหลัก (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) โดยรถไฟความเร็วสูง เพื่อให้การเดินทางระหว่างกทม. กับ EEC ไม่เกิน 1 ชม.
- การเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าของไทยกับภูมิภาค โดยพัฒนารถไฟทางคู่เชื่อมโยงจีน ลาว ไทย กัมพูชา และระบบขนส่งสินค้าแบบไร้รอยต่อ, ระบบขนส่งแบบอัตโนมัติ ผ่านศูนย์กระจายสินค้าใหม่ที่ฉะเชิงเทรา ไปยังท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังระยะ3 และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะ 3 รวมถึงส่งเสริมให้เป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกโดยการพัฒนาท่าเรือสำราญ (Cruise Port) ที่ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ

 

โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

เป็นโครงการที่เชื่อม 3 สนามบิน ได้แก่ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา ระยะทางรวม 220 กม. 9 สถานี ถือเป็นโครงการที่ช่วยในการเปิดพื้นที่เพื่อพัฒนา 3 จังหวัดในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง โดยให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP Net Cost ระยะเวลา 50 ปี รวมมูลค่าโครงการ 224,544.36 ลบ. (มี.ค. 61) คาดว่าเปิดให้บริการ 2566 โดยการเชื่อมโยง 3 สนามบินด้วยรถไฟความเร็วสูงนี้ เป็นการยกระดับสนามบินอู่ตะเภามาเป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่ 3 ให้ทำงานควบคู่กับสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ โดยคาดว่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาพรวมไปในทางที่ดีขึ้น อ่านข้อมูล รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน เพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิ๊ก

อ้างอิงข้อมูล :

วิทยานิพนธ์ [1] : วีรวัฒน์ อริยะวิริยานันท์.  (2552).  วิวัฒนาการของการปฏิรูปที่ดินในประเทศไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีการออกกฎหมายปฏิรูปที่ดิน (พ.ศ. 2475-พ.ศ. 2518). ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (เศรษฐศาสตร์การเมือง).  กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บทสัมภาษณ์ [4] : นายประกอบ สิงหนาท, (2560).  สัมภาษณ์. 26 พฤศจิกายน 2560 เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์ [6] : สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ฉะเชิงเทรา.  (2561).  ที่ดินราชพัสดุ (ในราชการทหารเรือ) [Power Point].  จ.ฉะเชิงเทรา: สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ฉะเชิงเทรา. [7] : กรมธนารักษ์ กองบริหารที่ราชพัสดุภูมิภาค.  (2561).  ชี้แจงประเด็นกรมธนารักษ์ให้เครือเจริญโภคภัณฑ์เช่าที่ราชพัสดุบริเวณ อ.บางน้้าเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา เนื้อที่ 4,000 ไร่ เพื่อจัดตั้งเมืองใหม่ตามนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก [PDF].  กรุงเทพฯ: กรมธนารักษ์ . เอกสารออนไลน์ [2] : อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา.  (2557).  ประวัติความเป็นมาอำเภอบางน้ำเปรี้ยว. จาก http://www.amphoe.com/menu.php?mid=1&am=79&pv=7 [3] : พรพนา ก๊วยเจริญ.  (2561).  บทความ ประวัติศาสตร์ที่ดินชาวนาตำบลโยธะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา. ค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2561 จาก http://landwatchthai.org/1108 [5] : ไม่ระบุ.  (2519).  อนุสรณ์คุณผาด. โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม. ค้นเมื่อ มิถุนายน 2560 จาก https://archive.org/details/unset0000unse_j2u7 [8] : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์.  (2561).  เปิดทำเลเมืองใหม่ “แปดริ้ว” “ซีพี” รู้แกวดึงทุนจีนดักหน้า. ค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2561 จาก https://www.prachachat.net/property/news-125219 [9] : ประชาไท.//(2561).//ชาวบ้านตั้งกลุ่ม 'โยธะการักษ์ถิ่น' ยันที่บรรพบุรุษ-ไม่ย้ายออก หลังกองทัพเรือขอคืนพื้นที่ 4 พันไร่. ค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2561 จาก https://prachatai.com/journal/2018/08/78445 [10] : ฐานเศรษฐกิจ.  (2561).  'ซีพี' ยึดที่รัฐ 4 พันไร่! ฮือต้านธนารักษ์ประเคนที่ดินบางน้ำเปรี้ยวขึ้นเมืองใหม่. ค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2561 จาก http://www.thansettakij.com/content/318181 [11] : สนทะนาพร อินจันทร์.  (2561).  อีอีซี ลงพื้นที่แจงชาวบ้านโยธะกา ยันไม่มีโครงการในพื้นที่. ค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2561 จาก https://www.77kaoded.com/content/177870 [12] : Nation TV.//(2561).  กองทัพเรือยอมถอย พร้อมเยียวยาชาวโยธะกาที่เดือดร้อนค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2561 จาก http://www.nationtv.tv/main/content/378665313/ [13] : สยามรัฐออนไลน์.  (2561).  วิศวกรใหญ่ฯ ทช.ติดตามโครงการ 'ก่อสร้างถนนสาย นย.3001 แยกทล.305- บ้านบางน้ำเปรี้ยว'ค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2561 จาก https://siamrath.co.th/n/18529 [14] : การรถไฟแห่งประเทศไทย.  (2561).  โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2561 จาก http://www.railway.co.th/resultproject/project_doubletrack.asp?result=135609 [15] : Smart SME.  (2561).  CP เตรียมแผนลงทุน แสนล้าน สร้างเมืองใหม่ แปดริ้ว ให้เป็น SMART CITYค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2561 จาก https://www.smartsme.co.th/content/96182
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon