realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

บัตรเเมงมุม

10 Aug 2017 7.3K

บัตรเเมงมุม

10 Aug 2017 7.3K
 

บัตรเเมงมุม เริ่มใช้ ตุลาคม 2560 นี้

 
สนข.ดำเนินงานพัฒนาระบบตั๋วร่วม ในชื่อ “บัตรแมงมุม” เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อการเดินทางทุกรูปแบบทั้ง ทางด่วน รถเมล์ เรือโดยสาร รถไฟ, รถไฟฟ้า BTS, Airport rail link,  MRT ให้กับประชาชนด้วยบัตรเพียงใบเดียวเเละยังสามารถใช้จ่ายนอกภาคการขนส่ง เช่น ร้านสะดวกซื้ออีกด้วยครับ สัดส่วนผู้ถือหุ้นประกอบด้วยภาคเอกชน 60% ได้แก่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส เเละ ภาครัฐ 40% ได้เเก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)  การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และธนาคารกรุงไทย  นอกจากนี้ ระบบตั๋วร่วมยังได้ออกแบบให้รองรับกับระบบการจ่ายเงินสวัสดิการสังคมและช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ภายใต้โครงการระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ(National e-Payment) ของรัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง
 

ประเภทเเละรูปแบบการใช้งานบัตรเเมงมุม

  บัตรเเมงมุมเเบ่งประเภทผู้ถือบัตรออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้เเก่ 1. บุคคลทั่วไป  สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป สามารถซื้อบัตรได้ตามจุดจำหน่ายของผู้ให้บริการหรือสถานที่จำหน่ายตัวเเทนผู้ให้บริการ 2.ลงทะเบียน สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการร่วมใช้สิทธิของบัตรโดยต้องลงทะเบียนเพื่อใส่ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือบัตรเข้าไปในระบบเพื่อใช้เป็นข้อมูลระบุตัวตนเจ้าของบัตร ซึ่งผู้ถือบัตรจะได้รับสิทธิต่างๆตาที่กำหนด เช่น  สามารถเเจ้งระงับการใช้บัตรหรือขอคืนมูลค่าเงินคงเหลือในบัตรได้กรณีบัตรหาย 3.ส่วนบุคคล ออกเเบบสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานหรือองค์กรเฉพาะเพราะจะมีการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลในระบบเเละในบัตร รวมทั้งจะมีการพิมพ์ลายหรือรูปที่ต้องการลงบนตัวบัตร ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์เป็นเเบบต่างๆได้ เช่นบัตรพนักงาน ประเภทลงทะเบียนเเละส่วนบุคคลจำเป็นที่ผู้ถือบัตรต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อจัดเก็บในศูนย์บริหารจัดการรายได้กลางสำหรับการใช้ระบุตัวตนในการใช้บริการเพื่อรับสิทธิพิเศษหรือบริการที่กำหนดไว้สำหรับบัตรเเต่ละประเภทครับ เเละในเเต่ละประเภทของผู้ถือบัตรสามารถกำหนดประเภทย่อยของบัตรได้สูงสุดถึง 64 ประเภทด้วยกัน เช่น ประเภทนักเรียน ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้มีรายได้น้อย นักท่องเที่ยว เป็นต้น รูปเเบบการใช้งานบัตรเเมงมุม สามารถใช้ได้กว้างขวางถึง 4 รูปแบบ คือ 1. รูปแบบกระเป๋าร่วม ซึ่งมีความยืดหยุ่นในการใช้งานได้หลากหลายทั้งชำระค่าโดยสารในธุรกิจขนส่งเเละชำระค่าสินค้าร้านค้าปลีก โดยสามารถเติมเงินภายในบัตรได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท 2. รูปแบบเที่ยวการเดินทางร่วม ใช้กับระบบขนส่งที่สามารถตัดค่าโดยสารเป็นเที่ยวได้ ซึ่งสามารถเลือกได้ 2 รูปแบบ คือ เเบบจำกัดจำนวนเที่ยวเเละวัน เเละ เเบบไม่จำกัดจำนวนเที่ยวเเต่จำกัดจำนวนวัน 3. รูปแบบเที่ยวการเดินทางเเบบเจาะจงเส้นทาง  เป็นรูปแบบเที่ยวการเดินทางที่กำหนดให้ผู้ใช้งานต้องเข้าเเละออกจากสถานีที่ได้ซื้อไว้เท่านั้น จึงจะได้ราคาส่วนลดในการซื้อ 4. รูปเเบบผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการขาย เป็นรูปแบบที่ผู้ใช้ชำระค่าโดยสารหรือซื้อสินค้าซึ่งจะได้รับเเต้มสะสมเพื่อนำมาเเลกของรางวัลหรือผลิตภัณฑ์  

อัพเดต!! ระยะเวลาเริ่มเปิดให้บริการขนส่งในเเต่ละประเภท (ข้อมูล ณ วันที่  10 เมษายน 2560)

 
รายงานข่าวแจ้งว่า นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ได้ให้ผู้เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินงานเพื่อให้เปิดใช้ระบบตั๋วร่วมได้ตามนโยบายในเดือน มิ.ย.นี้ โดยตามแผนงานนั้นต้องการให้เปิดใช้กับรถไฟฟ้า 4 สายในปัจจุบันก่อนเป็นกลุ่มแรก รวมถึงรถเมล์ และทางด่วน กลุ่มที่ 2 เป็นรถไฟฟ้าสายใหม่ ใช้ได้ทันทีเมื่อเปิดให้บริการ และกลุ่มที่ 3 เป็นระบบนอกภาคขนส่ง เช่น ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ ธนาคารต่างๆ ที่ผู้ถือบัตรจะสามารถเข้าไปชำระเงินหรือเติมเงินได้สะดวก โดยได้มีการหารือกับเครือเซ็นทรัลและซีพีเบื้องต้นแล้ว ซึ่งส่วนนี้หากติดระบบจะสามารถใช้งานได้ทันทีเช่นกัน  
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดการดำเนินการระบบตั๋วร่วมซึ่งมีเป้าหมายต้องการให้เริ่มใช้ได้ในเดือน มิ.ย. 60 นี้ แต่เนื่องจากยังมีการดำเนินการหลายส่วน ซึ่งอาจจะทำให้ไม่สามารถเปิดใช้ได้ตามเป้าหมาย โดยเฉพาะฝ่ายนโยบายที่ต้องการให้เริ่มใช้กับระบบรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบันเป็นลำดับแรก ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (เฉลิมมหานคร MRT) สายสีม่วง สายสีเขียว (BTS)  เเละแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เนื่องจากการเจรจากับผู้ให้บริการภาคเอกชน 2 ราย คือ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ในการลงทุนปรับปรุงระบบเดิม ซึ่งต้องใช้เงินรายละกว่า 100 ล้านบาทนั้นยังไม่เรียบร้อย และแม้เอกชนจะยอมรับหลักการและจะเร่งปรับปรุงทางเทคนิคของระบบจากเดิม 15 เดือนให้เร็วขึ้น เป็น 10-12 เดือน ซึ่งตั๋วร่วมจะเริ่มใช้งานได้อย่างเร็วสุดต้นปี 2561 ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วง และแอร์พอร์ตเรลลิงก์จะเริ่มปรับปรุงระบบได้ก่อนเนื่องจากเป็นของรัฐ โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ได้ของบประมาณหน่วยงานละกว่า 100 ล้านบาท และจัดทำร่าง TOR เปิดประมูลหาผู้ปรับปรุงระบบแล้ว โดยคาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการปรับปรุงระบบประมาณ 7-8 เดือน ซึ่งจะเร็วกว่า BTS และสายสีน้ำเงิน (MRT) ซึ่งคาดว่าน่าจะเสร็จทันในปลายปีนี้ ขณะที่ระบบรถโดยสารประจำทางนั้น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้เปิดประมูลเช่าระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์พร้อมอุปกรณ์ (E-Ticket) วงเงิน 1,786.59 ล้านบาท เพื่อติดตั้งกับรถ 800 คันแล้ว โดยได้เคาะราคาเมื่อวันที่ 5 เม.ย.ที่ผ่านมา ใช้เวลาติดตั้งระบบ 6 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จใน ต.ค. 60 และจะขยายการติดตั้งระบบ E-Ticket อีก 2,600 คันในต้นปี 61 ดังนั้น ตั๋วร่วมน่าจะเริ่มใช้งานได้กับรถเมล์เป็นลำดับแรก ซึ่งระบบตั๋วร่วมยังได้ออกแบบให้รองรับระบบการจ่ายเงินสวัสดิการสังคมและช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ภายใต้โครงการระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment) ของรัฐบาล โดยกระทรวงการคลังได้กำหนดแผนบูรณาการเข้ากับระบบจ่ายเงินสวัสดิการภาครัฐสำหรับพื้นที่ กทม.และปริมณฑล ให้เริ่มใช้ได้ในเดือน ต.ค. 2560

 

ความคืบหน้ารถไฟฟ้า 10 เส้นทาง (ข้อมูล ณ วันที่ 20 เมษายน 2560)

   
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon