realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (386)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (386)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

ปากบารา

24 Mar 2017 14.3K

ปากบารา

24 Mar 2017 14.3K
 

ปากบารา ท่าเรือน้ำลึก ขับเคลื่อนอนาคตประเทศไทย

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีท่าเรือขนาดใหญ่ ที่เป็นที่รู้จักในระดับสากลอยู่หลายแห่ง แต่ในภาคใต้มีเพียงท่าเรือน้ำลึกสงขลาในฝั่งอ่าวไทยเท่านั้นที่เป็นท่าเรือหลัก ส่วนในฝั่งอันดามันไม่มีท่าเรือน้ำลึกที่มีศักยภาพเพียงพอ ต้องอาศัยท่าเรือของประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ต้องเสียเงินให้ต่างประเทศเป็นจำนวนมาก หากประเทศไทยสร้างท่าเรือน้ำลึกในฝั่งอันดามันเพิ่มขึ้น และสามารถเชื่อมโยงกับท่าเรือน้ำลึกสงขลาทางฝั่งอ่าวไทยได้โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้ จะก่อให้เกิดประโยชน์และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ประเทศได้อย่างมหาศาล

ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - รัฐควรฟัง! เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล แจ้ง 3 เหตุผลเบื้องต้นที่เวทีรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 (ค.1) โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล “ควรยกเลิก”

Photos : Facebook - Somboon Khamhang
       ตามที่จะมีการจัดทำเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 ของโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ที่ใกล้จะถึงนี้ (คาดว่าจะจัดในเดือนมีนาคม 2560) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่อยู่ในแผนงานโครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ที่กรมเจ้าท่า ได้ว่าจ้างให้บริษัทเอทีที คอนซัลแตนท์ จำกัด ด้วยงบประมาณเกือบ 120 ลบ. และได้ว่าจ้างให้บริษัทแห่งหนึ่งใน จ.สตูล เป็นผู้รับช่วงงานอีกทอดหนึ่ง         ทั้งที่เรื่องนี้ เครือข่ายติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล ได้มีการทำจดหมายสอบถาม และเสนอไปยังนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2559 ว่า ไม่เห็นด้วยต่อขั้นตอนการดำเนินการดังกล่าว ด้วยเห็นว่ายังขัดต่อหลักความจริง และรวมถึงรูปแบบกระบวนการที่ไม่ได้สนใจการศึกษาผลกระทบภาพรวมในเชิงยุทธศาสตร์ ที่รัฐบาลชุดปัจจุบันได้อนุมัติให้มีการศึกษาไปก่อนหน้านี้
  1. กระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงในทุกระดับขั้นตอน และยังมีเจตนาที่ไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงที่เป็นผลกระทบด้านลบ 
  2. รัฐบาลต้องทำการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ในภาพรวมของโครงการอย่างน้อย 3 โครงการร่วมกัน คือ 1.โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา 2.โครงการท่าเรือน้ำลึกสงขลา 2 และ 3.โครงการรถไฟรางคู่เชื่อม  ทั้งหมดนี้คือโครงการแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล ที่ต้องการเชื่อมโครงข่ายการคมนาคมระหว่างทะเลอันดามัน และอ่าวไทย 
  3. รัฐบาลควรจะต้องศึกษาความคุ้มค่าของการลงทุนอย่างละเอียดรอบคอบ โดยนักวิชาการที่มีความรู้ความชำนาญที่แท้จริง ด้วยโครงการดังกล่าวเป็นชุดโครงการขนาดใหญ่ที่จะส่งผลกระทบในวงกว้าง และจะต้องแลกต่อฐานทรัพยากร แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ตลอดถึงสังคมวัฒนธรรมของ จ.สตูล โดยรวม ที่หากสูญเสียไปแล้วซึ่งไม่อาจเรียกกลับคืนมาได้
เหตุผลเบื้องต้นดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลอื่นๆ ยังให้มีความเห็นว่า กิจกรรมการรับเวทีรับฟังความคิดเห็นต้องยุติไว้ก่อน ซึ่งที่ผ่านมา ต้องสูญเสียงบประมาณไปกับงานศึกษาครั้งแล้วครั้งเล่า นับร่วมพันล้านบาท รัฐบาลเองก็ไม่เคยมีข้อสรุปที่ชัดเจนต่อนโยบายดังกล่าวนี้ มีแต่เพียงความแปลกแยกแตกต่างในสังคมคนสตูล ที่เกิดขึ้นอย่างไม่รู้จบรู้สิ้น และยิ่งจะหนักขึ้นทุกวันท่ามกลางผลประโยชน์ Info : ผู้จัดการออนไลน์ 02/2/2560
Photo : marinerthai.net 06/2/2560
1. เปิดประตูการค้าฝั่งตะวันตก ประเทศไทยมีการค้ากับประเทศทางฝั่งตะวันตกประมาณ 30% ของปริมาณการค้าทั้งหมด แต่ทางฝั่งตะวันตกกับขาดท่าเรือน้ำลึกหลัก ที่มีศักยภาพเพียงพอ ทำให้ต้องส่งสินค้า ออกจากท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือกรุงเทพ แล้วอ้อมแหลมมะลายูไปด้านตะวันตก แม้ว่าจะมีท่าเรือภูเก็ตและท่าเรือระนอง ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกแล้ว แต่ก็เป็นเพียงท่าเรือ Feeder ให้กับท่าเรือของมาเลเซียและสิงคโปร์เท่านั้น
2. ลดการพึ่งพาท่าเรือต่างประเทศ ในปี 2547 สินค้าในภาคใต้ส่งออกโดยใช้ท่าเรือไทย (ท่าเรือสงขลา ภูเก็ต ระนอง) เพียง 25% ที่เหลือ 75% ส่งออกตามด่านชายแดนเข้าไปในมาเลเซีย ซึ่งในจำนวนนี้ 30% เป็นสินค้าที่บริโภคภายในมาเลเซีย ส่วนที่เหลืออีก 45% ส่งออกไปประเทศที่ 3 โดยผ่านท่าเรือของประเทศมาเลเซีย จะเห็นได้ว่าสินค้าจากไทยส่งไปประเทศที่ 3 โดยใช้ท่าเรือในประเทศมาเลเซียเกือบ 2 เท่าของสินค้าที่ผ่านท่าเรือไทย ทำให้เราต้องสูญเสียเงินมากมายให้กับต่างประเทศ และยังช่วยประหยัดระยะเวลาในการขนส่งสินค้าไปต่างประเทศ Info : กรมเจ้าท่า 06/2/2560
3. การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและความมั่นคงในภาคใต้ หากไม่นับเรื่องการท่องเที่ยวพบว่าปัจจุบันพื้นที่ภาคใต้ได้รับการพัฒนาไม่มากเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับศักยภาพที่มี ประชากรส่วนใหญ่จึงมีรายได้ต่ำกว่ามาเลเซียซึ่งมีชายแดนติดกัน ชาวใต้จำนวนมากจึงต้องข้ามไปทำงานในประเทศมาเลเซีย แต่หากมีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกขึ้นจากเป็นการจุดประกายให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ในภาคใต้ นักลงทุนจะมองเห็นโอกาสและเริ่มเข้ามาลงทุนพัฒนาช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้ประชาชนในท้องถิ่น
4. เป็นทางเลือกในการขนส่งสินค้าโดยไม่ต้องผ่านช่องแคบมะละกา ซึ่งปัจจุบันมีการจราจรทางเรือที่คับคั่งที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และในอนาคตอาจจะคับคั่งจนเดินเรือได้ไม่สะดวก หากมีเส้นทางเดินเรือที่เป็นทางเลือกในการขนส่งสินค้าโดยไม่ต้องผ่านช่องแคบมะละกา ก็จะช่วยประหยัดเวลา และช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าของประเทศโดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างได้
โครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้ เป็นการเปิดเส้นทางการค้าไหมเชื่อมโลกตะวันออกจากฝั่งอ่าวไทยและโลกตะวันตกจากทะเลอันดามัน เพื่อช่วยร่นเวลาลดระยะทางประหยัดต้นทุน และเพิ่มความมั่นคงปลอดภัย เพราะไม่ต้องเสียเวลาอ้อมผ่านไปทางช่องแคบมะละกา นอกจากจะเป็นทางเลือกใหม่ให้ต่างประเทศหันมาใช้บริการแล้วยังช่วยลดค่าใช้จ่ายของประเทศจากการพึ่งพาทางเลือกประเทศเพื่อนบ้านได้ปีละมหาศาล
รัฐบาลมีนโยบายจะสร้างท่าเรือน้ำลึกขึ้นในฝั่งทะเลอันดามัน และมอบหมายให้กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งที่ผ่านมากรมเจ้าท่าได้ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียดรอบคอบ พบว่ามีสีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมได้แก่
  1. คลองบุโบย อำเภอละงู จังหวัดสตูล
  2. เกาะเขาใหญ่ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
  3. แหลมสะเตะ กิ่งอำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง
  4. เขาเมง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
แต่เมื่อเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียแล้วพบว่า พื้นที่บริเวณชายหาดปากบารา ตำบลปากน้ำอำเภอละงู จังหวัดสตูล มีความเหมาะสมที่สุดที่จะก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกฝั่งทะเลอันดามัน
ตำแหน่งที่ตั้งเหมาะสม ยังอยู่ส่วนบนของช่องแคบมะละกาโดยอยู่ระหว่างส่วนหนึ่งของเกาะสุมาตราและคาบสมุทรมลายู ห่างจากชายแดนประเทศมาเลเซียประมาณ 40 กม.ใกล้กับเส้นทางเดินเรือหลักของโลก เรือแม่ ส่วนใหญ่สามารถเทียบท่าได้ มีระดับน้ำลึกที่อยู่ไม่ห่างจากชายฝั่งมาก มีร่องน้ำลึกเพียงพอที่จะเข้าถึงท่าเรือได้โดยสะดวก มีเกาะเขาใหญ่และเกาะลินเต๊ะ อยู่ทางด้านฝั่งตะวันตกของท่าเรือ ช่วยกำบังคลื่นลม มีถนนและสิ่งอำนวยความสะดวกรวมทั้งระบบสาธารณูปโภคพร้อมรองรับโครงการ มีโครงข่ายคมนาคมทางบกเชื่อมต่อกับท่าเรือน้ำลึกสงขลา และกำลังจะก่อสร้างใหม่แห่งที่ 2 ซึ่งเป็นประตูสู่อ่าวไทย ได้ด้วยระยะทางที่สั้นเพียง 130 กม. ตามโครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้ และมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขยายฐานในอนาคต
Photo :กรมเจ้าท่า 06/2/2560

โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา

  • ที่ตั้ง : บริเวณชายหาดปากบารา อุทยาแห่งชาติเภตรา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
  • ขนาด : 2,000 ไร่ ท่าเรือมีขนาด 292 ไร่ กว้าง 430 ม. ยาว 1086 ม. ห่างจากชายหาด 4.5 กม.
  • วงเงินลงทุน : 29,000 ลบ.
  • สถานะการก่อสร้าง : ยังไม่เริ่มก่อสร้าง อยู่ในระหว่างยื่นผลกระทบสิ่งแวดล้อม
  • การลงทุน : กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม
  • ปีที่สร้างเสร็จ : N/A
  • ปีที่เปิดให้บริการ : N/A
Info : กรมเจ้าท่า (02/02/2560)
กรมเจ้าท่ามุ่งมั่นพัฒนาท่าเรือน้ำลึกปากบาราให้เป็นท่าเรือมาตรฐานสากล ประโยชน์สูงสุดแต่ประหยัดมากที่สุดและมีผลกระทบน้อยที่สุด แนวทางการออกแบบก่อสร้าง คำนึงถึงความเหมาะสมสอดคล้องทั้งในด้าน วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม เทคนิคการก่อสร้าง การบริหารจัดการ การขนถ่ายสินค้า การจราจรในเขตท่าเรือ ภูมิสถาปัตย์ของคนท้องถิ่น งบประมาณค่าก่อสร้างค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการตลอดจนการบำรุงรักษา 
โครงสร้างและองค์ประกอบท่าเทียบเรือค่อนข้างเรียบง่าย และครอบคลุมทุกประโยชน์ใช้สอย บำรุงรักษาง่าย ใช้งบประมาณในการก่อสร้างน้อย ใช้เวลาก่อสร้างไม่นาน มีรูปแบบที่สวยงามกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมไม่ทำลายทัศนียภาพของพื้นที่ข้างเคียง ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดไม่ขัดต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนในพื้นที่ทั้งนี้ในระหว่างการก่อสร้างต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการสัญจรทั้งทางน้ำและทางบกตลอดจนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยาทางน้ำน้อยที่สุด
Picture from Video : กรมเจ้าท่า 06/2/2560

กลุ่มอาคารและท่าเทียบ

Photo :กรมเจ้าท่า 06/2/2560
  1.  ท่าเทียบเรือสินค้าคอนเทนเนอร์ จำนวน 3 ท่า ความยาวท่า 750 ม. พร้อมติดตั้งเครนยาวตลอดหน้าท่า สำหรับเทียบคอนเทอเนอร์ขนาด 70,000 ตัน ได้พร้อมกัน 2 ลำหรือเทียบเรือขนาดกลางได้ 3 ลำ
  2. ท่าเทียบเรือบริการ ความยาวหน้าท่า 250 ม.
  3. ลานกองตู้คอนเทอเนอร์ ขนาดยาว 700 ม. กว้าง 280 ม.
  4. อาคารต่างๆ เช่น อาคารปฏิบัติการหน้าท่า อาคารด่านชั่งน้ำหนัก อาคารซ่อมบำรุง อาคารบำบัด อาคารกรมเจ้าท่า อาคารอำนวยการ อาคารนำร่อง และพื้นที่เก็บสินค้า
Photo :กรมเจ้าท่า 06/2/2560

ระยะที่ 1 รองรับตู้สินค้า 825,000 TEU*/ปี

ท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา ระยะที่ 1 เป็นท่าเทียบเรือตู้คอนเทนเนอร์เท่านั้น ประกอบด้วย
  1. ตัวท่าเรือ ถมเป็นเกาะ ขนาดกว้าง 430 ม. ยาว 1086 ม.เนื้อที่ประมาณ 292 ไร่ อยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 4 กม.โดยมีสะพานคอนกรีตเชื่อมจากชายฝั่งสู่ตัวท่าเรือ
  2. สะพานทางเข้าอออกท่าเรือ เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด 4 ช่องจราจร เข้า 2 ช่องออก 2 ช่อง ความยาว 4,500 ม. เชื่อมจากชายฝั่งสู่ตัวท่าเรือ
  3. ร่องน้ำเดินเรือ มีความลึก -16.2 ม. จากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยขุดร่องน้ำกว้าง 180 ม. และแอ่งกลับเรือขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 600 ม.
  4. เขื่อนกันคลื่น สร้างด้วยหินมีความยาว 1,700 ม. เพื่อป้องกันคลื่นที่มาจากทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ของท่าเรือเป็นหลัก เนื่องจากด้านตะวันตกมีเกาะเป็นแนวกำบังอยู่แล้ว
  5. พื้นที่ถมเป็นท่าเรือ มีอาคารก่อสร้างและอำนวยความสะดวก
  6. ระบบสาธารณูปโภค ระบบสุขาภิบาล ระบบประปา ระบบระบายน้ำ ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบเก็บขยะมูลฝอยและระบบดับเพลิง ระบบไฟฟ้า แสงสว่าง โทรศัพท์
  7. ระบบรักษาความปลอดภัย สัญญาณแจ้งเตือนไฟไหม้ ระบบป้องกันฟ้าผ่า ระบบโทรทัศน์วงจรปิด ระบบเตือนภัยสึนามิ
  8. ทางรถไฟเข้าท่าเรือ

ระยะที่ 2 รองรับตู้สินค้า 1,375,000 TEU*/ปี

ก่อสร้างหน้าท่าเรือ โดยการถมทะเลให้มีความยาวหน้าท่า อีก 500ม. รวมเป็น 1250 ม. ลานกองตู้คอนเทนเนอร์ มีความยาวเพิ่มอีก 500 ม.

ระยะที่ 3 รองรับตู้สินค้า 2,475,000 TEU*/ปี

ก่อสร้างหน้าท่าเรือ โดยการถมทะเลให้มีความยาวหน้าท่าเพิ่มจากระยะที่ 2 อีก 1000 ม. ลานกองตู้คอนเทนเนอร์ มีความยาวรวม 2,250 ม. *TEU ย่อมาจาก Twenty-Equivalent Unit คือ หน่วยนับสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ความยาว 20 ฟุต โดยตู้คอนเทนเนอร์ 20 ฟุต เท่ากับ 1 ทีอียู ตู้คอนเทอนเนอร์ 40 ฟุต เท่ากับ 2 ทีอียู
Video :กรมเจ้าท่า 06/2/2560  
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (386)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon