realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (386)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (386)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

พลิกโฉม!!! ทำเลแห่งอนาคต "แยกพระราม 4"

25 April 2022 2.7K

พลิกโฉม!!! ทำเลแห่งอนาคต "แยกพระราม 4"

25 April 2022 2.7K
 

พลิกโฉม!!! ทำเลแห่งอนาคต "แยกพระราม 4" 

ถ.พระราม 4 เป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญมากมาย รายล้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกระดับพรีเมี่ยม โดยเฉพาะตรงบริเวณแยกพระราม 4 ที่มีโครงการพัฒนาอยู่ถึง 3 โครงการ คือ สวนป่าเบญจกิติ, ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และ Smart City Port ซึ่งมีมูลค่าโครงการทั้ง 3 โครงการรวมกว่า 5 แสน ลบ.
นอกจากนั้นยังสามารถเดินทางได้สะดวกเชื่อมต่อสุขุมวิท - อโศก - สาทร - สีลม ใกล้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร รวมถึง MRT สายสีน้ำเงิน ที่เชื่อมต่อกับ BTS สายสีเขียวเข้ม, BTS สายสีเขียวอ่อน ยังมีโครงการพัฒนาในอนาคตอย่าง รฟฟ.สายสีเทา และ Monorail ของโครงการ Smart City Port ด้วย
หากเมื่อทุกโครงการเปิดให้บริการจะทำให้พื้นที่ตรงแยกพระราม 4 นี้ กลายเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจของประเทศ เป็นทำเลอยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ชีวิตทุกมิติ หากอยากรู้รายละเอียดจะเป็นยังไง ? ติดตามได้ในบทความเลยค่ะ

ถ.พระราม 4 ทำเลความเจริญแห่งใหม่

ถ.พระราม 4 เริ่มตั้งแต่ทางแยกหมอมีจากถ.เจริญกรุง ผ่านสถานีหัวลำโพง สามย่าน ไปบรรจบตรงถ.สุขุมวิท ถ.พระราม 4 จึงเป็นถนนที่เป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญต่างๆมากมายอย่างสวนลุมพินี, สวนเบญจกิติ, โครงการ Mixed - use อย่างสามย่านมิตรทาวน์และ The PARQ รวมถึงโครงการยักษ์ใหญ่ระหว่างพัฒนาอย่าง Dusit Central Park และ One Bangkok ก็ตั้งอยู่บนถ.พระราม 4 ด้วยเช่นกัน
โดยเฉพาะตรงบริเวณแยกพระราม 4 เป็นที่ตั้งสถานสำคัญหลายแห่ง ได้แก่ Med Park Hospital, สวนเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จย่า, FYI Center และโครงการพัฒนาอย่างอาคารสำนักงาน ปัญญ์ และอีก 3 โครงการใหญ่ คือ สวนป่าเบญจกิติ, ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และ Smart City Port
นอกจากนั้นเส้นถ.พระราม 4 เชื่อมต่อสุขุมวิท - อโศก - สาทร - สีลม ใกล้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร รวมถึงมีแนวเส้นทางรฟฟ.ตัดผ่านอย่าง MRT สายสีน้ำเงิน ที่เชื่อมต่อกับ BTS สายสีเขียวเข้ม, BTS สายสีเขียวอ่อน มีโครงการพัฒนาอย่าง รฟฟ.สายสีเทาและ Monorail ของโครงการ Smart City Port อีกด้วย ทำให้เส้นถ.พระราม 4 เป็นถนนที่เจริญ มีศักยภาพ เติบโตได้มากยิ่งขึ้น

แยกพระราม 4 ที่ตั้งของ 3 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 5 แสน ลบ.

แยกพระราม 4 เป็นจุดตัดกันระหว่างถ.พระราม 4 - ถ.รัชดาภิเษก ซึ่งบริเวณโดยรอบเป็นที่ตั้งสถานที่สำคัญหลายแห่ง รวมทั้งเป็นที่ตั้งของโครงการใหญ่ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาถึง 3 โครงการ ได้แก่ สวนเบญจกิติ งบ 1,602 ลบ., ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ งบ 15,000 ลบ. และ Smart City Port งบ 4.92 แสน ลบ. โครงการพัฒนาตรงบริเวณแยกพระราม 4 ทั้ง 3 โครงการ มีมูลค่ามากถึง 5 แสน ลบ.
นอกจากนั้น MRT สายสีน้ำเงิน จะเชื่อมต่อกับโครงการพัฒนาสายอนาคตอย่าง รฟฟ.สายสีเทา และ รฟฟ.โมโนเรลในตัวโครงการของ Smart City Port เมื่อหากโครงการทั้งหมดเสร็จพร้อมเปิดให้บริการ จะทำให้พื้นที่บริเวณนี้ มีความสะดวกสบายและความเจริญมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ศูนย์ประชุมใจกลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งอยู่บริเวณถ.รัชดาภิเษก เขตคลองเตย กทม. ติดกับโรงงานยาสูบเดิม เป็นสถานที่จัดแสดงงานและการประชุมมามากมายทั้งในระดับชาติและนานาชาติรวมกว่า 20,000 งาน
ซึ่งได้เปิดบริการมาตั้งแต่ปี 2534 จนเมื่อ 26 เม.ย. 62 ได้ปิดเพื่อปรับปรุงให้ทันสมัยและขยายพื้นที่มากขึ้น งบประมาณ 15,000 ลบ.ในการปรับปรุงพื้นที่ 53 ไร่ พื้นที่โครงการ 280,000 ตร.ม.และพื้นที่จัดงาน 78,500 ตร.ม. ในปัจจุบันนี้การปรับปรุงได้มีความคืบหน้าแล้ว 79% คาดเปิดบริการ 1 ก.ย. 65
อาคารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์สูง 3 ชั้น มีชั้นใต้ดิน 3 ชั้น ซึ่งจะเชื่อมกับ MRT ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีที่จอดรถภายในอาคารได้ถึง 2,700 คัน ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการเดินทางมายังศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์นี้

ปรับปรุงใหม่ พื้นที่ใหญ่ขึ้นถึง 5 เท่า

จากการปรับปรุงศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีพื้นที่รองรับการจัดแสดงงานและการประชุมมากถึง 78,500 ตร.ม. ประกอบไปด้วยฮอลล์สำหรับการจัดนิทรรศการขนาดใหญ่ 2 ฮอลล์ พื้นที่รวมกว่า 45,000 ตร.ม. ห้องสำหรับจัดประชุมสัมมนาขนาดใหญ่ 2 ห้อง พื้นที่ประมาณ 10,000 ตร.ม. และห้องประชุมย่อยที่สามารถรองรับการประชุมได้กว่า 50 ห้อง
ชั้น LG เชื่อมต่อกับ MRT ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชั้นนี้มีพื้นที่ 22,750 ตร.ม. ประกอบด้วย Exhibition Hall 4 ห้อง สูง 7 ม., ร้านค้าปลีก, ร้านอาหาร และศูนย์อาหารครบครัน
ชั้น G ประกอบด้วยโถงทางเข้าขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นวิวสวนเบญจกิติ มี Exhibition Hall แบบไร้เสา สูง 13 .5 ม. ขนาดพื้นที่ 22,335 ตร.ม.
ชั้น 1 ประกอบด้วย ห้อง Ballroom และ Plenary Hall พื้นที่จัดแสดงงานที่มองเห็นวิวอันสวยงามของสวนเบญจกิติ
 

สวนเบญจกิติ สวนสาธารณะแห่งแรกใน กทม.ที่มีสวนป่า

สวนเบญจกิติ ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่โรงงานยาสูบเดิม ข้างศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถ.รัชดาภิเษกช่วงระหว่างถ.พระราม 4 กับ ถ.สุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กทม. พื้นที่โครงการรวม 450 ไร่ แบ่งเป็นสวนน้ำ 130 ไร่ และ สวนป่า 320 ไร่ งบโครงการอยู่ที่ 1,602 ลบ. คาดเปิดใช้บริการได้เดือน เม.ย. 65
  • ปี 2537 โครงการพัฒนาพื้นที่ทดแทนโรงงานยาสูบระยะที่ 1 ที่ให้ย้ายกิจการโรงงานยาสูบออกไปส่วนภูมิภาคและพัฒนาเป็นสวนสาธารณะ สวนสุขภาพเพื่อออกกำลังกาย เป็นปอดของกทม. ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินบริเวณดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 453 ไร่ งบประมาณกว่า 950 ลบ.
  • ปี 2547 ได้เปิดสวนน้ำประมาณ 130 ไร่เป็นส่วนแรก และได้ทำพิธีเปิด "สวนเบญจกิติ" อย่างเป็นทางการ
  • ปี 2559 ปรับปรุงสวนเบญจกิติระยะที่ 1 บนพื้นที่ 61 ไร่ เป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ ลงพันธ์ุไทยหายาก โดยมีการสนับสนุนรื้อถอนจากกองทัพบก ปัจจุบันดำเนินการมาถึงระยะที่ 2 - 3 บนพื้นที่ 259 ไร่ คาดเปิดใช้งาน ระยะที่ 1 ในปี 2564 และระยะที่ 2 ในปี 2565
จากการปรับปรุง ได้ออกแบบพื้นที่ทางธรรมชาติ ประกอบด้วย พื้นที่สีเขียวที่อุดมไปด้วยพรรณไม้นานาพันธุ์ เป็นต้นไม้เดิม 1,733 ต้น และต้นไม้ที่ลงใหม่ 7,155 ต้น พรรณไม้ 250 ชนิด มีบึงน้ำ 4 บึง สามารถรองรับน้ำได้ถึง 128,000 ลบ.ม.

สวนป่าใจกลางกทม. เพื่อชีวิตคนเมือง

พื้นที่โครงการรวม 450 ไร่ แบ่งเป็นสวนน้ำ 130 ไร่ และ สวนป่า 320 ไร่ พื้นที่ของสวนป่าได้ดำเนินการแบ่งเป็น 3 ระยะ แบ่งเป็นระยะที่ 1 จำนวน 61 ไร่ และ ระยะที่ 2 - 3 จำนวน 259 ไร่ ปัจจุบันดำเนินการมาถึงระยะที่ 2-3 บริษัทสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด เป็นผู้ออกแบบ โดยระยะนี้อยู่ในงบประมาณ 652 ลบ.
นอกจากการออกแบบพื้นที่ทางธรรมชาติแล้ว ได้ออกแบบพื้นที่เส้นทาง ประกอบด้วย เส้นทางเดินศึกษาในธรรมชาติ 5.8 กม. เส้นทางเดิน - วิ่ง 2.8 กม. และเส้นทางจักรยาน 3.4 กม. ส่งเสริมการออกกำลังกายของคนเมือง
รวมถึงพื้นที่อาคาร ประกอบด้วย อาคารกีฬาในร่ม ที่ถูกปรับปรุงจากโกดังเก็บใบยาสูบ อาคารพิพิธภัณฑ์ ที่ถูกปรับปรุงจากโรงงานผลิตยาสูบ ที่สามารถรองรับผู้ชมกว่า 3,000 คน อีกทั้งยังมีแปลงนาสาธิตและอัฒจันทร์ ที่รองรับกิจกรรมสันทนาการ การออกกำลังกาย ของผู้ใช้งานได้กว่า 15,000 คน
 

สะพานเขียว เชื่อมต่อสวนลุมพินี - สวนเบญจกิติ

หลังจากเมื่อปี 2558 สำนักการโยธา ได้ดำเนินการก่อสร้างเส้นทางคนเดิน - ทางจักรยานลอยฟ้าเชื่อมระหว่างสวนสาธารณะ “สวนลุมพินี - สวนเบญจกิติ” หรือสะพานเขียว รวมเป็นระยะทาง 1.3 กม.
มีการปรับปรุงอีกครั้ง ในปี 2562 หลังจากได้รับการร้องเรียนในเรื่องของความปลอดภัยจากอาชญากรรม ระหว่างนั้นได้มีการผลักดันในการดำเนินการปรับโฉมสะพานเขียว ให้กลายเป็น Landmark แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ
ล่าสุด ได้มีการของบในการก่อสร้างแล้วกว่า 260 ลบ. คาดว่าจะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ภายในสิ้นปี 2564 นี้ สามารถเปิดใช้งานได้ภายในปี 2565
พัฒนา "สะพานเขียว โฉมใหม่" ให้เป็น The New Iconic of Bangkok โดย Designers ระดับประเทศ ได้มีการพัฒนาแบบเป็นเวลา 2 ปี ร่วมกับชุมชุน รวมถึงภาครัฐ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อสร้าง “สะพานเขียว” ให้เกิดเป็นโครงข่ายการสัญจรจากพื้นที่สีเขียวที่เชื่อมต่อระบบนิเวศ สังคม และเศรษฐกิจได้อย่างกลมกลืนไปกับชุมชนแบบมีประสิทธิภาพ
สะพานเขียวนี้ มีศักยภาพคือเป็นทางเดินเท้า และทางจักรยาน ที่เชื่อมสวนลุมพินี - สวนเบญจกิติ เป็นการเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียวรวม 810 ไร่ เข้าด้วยกัน สามารถใช้เป็นทางลัด รวมถึงย่นระยะเวลาในการเดินทางได้เป็นอย่างดี สำหรับโครงการนี้ใช้งบประมาณกว่า 260 ลบ. ในระยะทาง 1.6 กม. คาดเสร็จเดือน ก.ย. ปี 65
 

พัฒนาเป็น New Iconic of Bangkok

การดำเนินงานของโครงการสะพานเขียวแบ่งออกเป็น 4 งาน ได้แก่ งาน Landmark, งาน Landscape, งานปรับปรุง และ งานไฟฟ้า
การดำเนินงาน คือ ก่อสร้าง Landmark 3 แห่ง ได้แก่ บริเวณสะพานลอยข้ามแยกสารสิน, ทางลอยฟ้าทางพิเศษเฉลิมมหานคร และบริเวณสะพานลอย ถ.รัชดาภิเษก งานบนสะพานจะปรับด้วยการเสริมทางลาดที่ได้มาตรฐานเข้าไป ตามหลักการ Universal design ที่ใช้ได้ทุกคน ทั้งผู้ใช้ Wheel chair และผู้สูงอายุ ตั้งใจให้เป็น connector สวนที่เชื่อมระหว่างสวนลุมพินี - สวนเบญจกิติ
สำหรับสะพานในช่วงที่เป็นเส้นเลียบคลองออกแบบให้เป็น Learning Wetland หรือพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งออกแบบทางเดิน และลานกิจกรรมในลักษณะโป๊ะ ยืดหยุ่นไปกับระดับน้ำ พร้อมปลูกพืชพรรณที่ทำหน้าเพิ่มความเขียวให้พื้นที่ และบำบัดน้ำไปในตัว
งานไฟฟ้าและแสงสว่าง ออกแบบคำนึงถึงความประหยัดพลังงาน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับพื้นที่ใต้สะพานจะถูกปรับให้เป็น New Common Space ที่จะปรับปรุงสภาพคลองที่เน่าเสีย รวมถึงผสานร่วมกับชุมชนในบริเวณ
 

Smart City Port พัฒนาเป็น Landmark ใหม่ของกทม.

เรือโทกมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ได้บอกว่ารัฐบาลมีนโยบายให้การท่าเรือฯนำที่ดินท่าเรือกรุงเทพ เนื้อที่ 2,353 ไร่ เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนพัฒนาเชิงพาณิชย์เพิ่มรายได้ให้กับองค์กรในระยะยาว
30 ปีแรกจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP เป็นรายโซน คาดว่ามูลค่าการลงทุนจะอยู่ที่ 1 แสน ลบ.ซึ่งที่ดินย่านคลองเตยที่เป็นสีน้ำเงินจะเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่สีแดงพาณิชยกรรม เพื่อให้สะดวกต่อการลงทุนมากยิ่งขึ้น โครงการที่จะเริ่มเปิดประมูลในปีนี้ เริ่มจากที่ดินทั้งหมด 17 ไร่ มูลค่าโรงการ 5,400 ลบ.
แนวทางพัฒนาที่ดินท่าเรือกรุงเทพ บริเวณท่าเรือกรุงเทพและพื้นที่นอกเขตรั้วศุลกากร มีรูปแบบการพัฒนาเป็น Smart Commercial เน้นการพัฒนาเมืองธุรกิจขนาดใหญ่ เพื่อเป็น Landmark ของประเทศ ศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวใหม่เชื่อมโยงการท่องเที่ยวทางน้ำ และ Cruise Terminal โดยมีแนวคิดออกแบบเป็นอาคารแบบ Mixed - use ที่มี Shopping Mall พื้นที่จอดรถและโรงแรม รวมถึงมีรฟฟ.โมโนเรล เชื่อมการเดินทางภายใน - นอกพื้นที่ คงรักษาการท่าเรือเอาไว้ด้วยรูปแบบของ Smart Port ในพื้นที่ด้านตะวันออกของโครงการ
นอกจากนี้ ยังมี Smart Community ที่จะยกระดับการอยู่อาศัยของชุมชนเดิมในพื้นที่ให้มีรูปแบบที่ทันสมัย ตอบสนองการใช้พื้นที่ของโครงการให้ได้ประโยชน์สูงสุด
 
มูลค่าโครงการรวม 4.92 แสน ลบ. แบ่งเป็น ระยะ 1 - 5 ปีแรก 9.7 หมื่น ลบ. และระยะ 5 - 20 ปี 3.95 แสน ลบ.
การลงทุนในช่วง 5 ปีแรก ประกอบด้วย
  1. พื้นที่เชิงพาณิชย์แบบ Mixed-use และการพัฒนา Creative town วงเงิน 1.9 หมื่น ลบ.
  2. Smart community วงเงิน 1.8 หมื่น ลบ.
  3. อาคารสำนักงานการท่าเรือ วงเงิน 1.4 หมื่น ลบ.
  4. Skywalk และทางจักรยาน วงเงิน 5,000 ลบ. เพื่อเป็นพื้นที่ปลอดยานพาหนะส่วนบุคคล แก้ปัญหาจราจร
  5. ร้านค้าปลีก วงเงิน 4,000 ลบ.
  6. Monorail วงเงิน 3,000 ลบ.
  7. Medical Hub วงเงิน 1,500 ลบ.
การลงทุนในระยะ 5 - 20 ปี ประกอบด้วย
  1. พื้นที่เชิงพาณิชย์แบบ Mixed-use และการพัฒนา Creative town Phase 2 วงเงิน 1.21 แสน ลบ.
  2. พื้นที่โรงแรมและศูนย์ประชุมนานาชาติ วงเงิน 8.3 หมื่น ลบ.
  3. พื้นที่เชิงพาณิชย์เพื่อการอยู่อาศัย (Residential Area) วงเงิน 7.3 หมื่น ลบ.
  4. พื้นที่เขตธุรกิจและย่านการค้า (Business District) วงเงิน 7.3 หมื่น ลบ.
  5. Sports Complex วงเงิน 1 หมื่น ลบ.
  6. ร้านค้าปลอดภาษี Duty Free
 

ผลักดันเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว

Smart City Port แบ่งการพัฒนาที่ดินเป็น 5 โซน ได้แก่ 
  • Zone A : พัฒนาพื้นที่ด้านการค้า (Commercial Zone)
  • Zone B : พัฒนาธุรกิจหลัก การให้บริการท่าเรือกรุงเทพฯ (Core Business Zone)
  • Zone C : พื้นที่พัฒนาเมืองท่าเรือกรุงเทพฯ (Bangkok Modern City)
  • Zone G : พื้นที่ Sports Complex Retail และ Gallery
  • Zone X : Future Development พัฒนาเป็น Truck Village และ E - Commerce Warehouse and Logistic Business
นอกจากนั้นยังมีโครงการรฟฟ.รางเบา Monorail เชื่อมต่อกับ MRT คลองเตย เพื่อการสัญจรภายในโครงการ
หากโครงการเปิดให้บริการ จะเป็น Landmark ใหม่ของกทม. รวมทั้งเป็นการขยายศักยภาพของเศรษฐกิจ เพราะมีศักยภาพสูงทั้งทางบกและทางน้ำ มีพื้นที่ติดทั้งถ.พระราม 4 และ แม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งผลักดันให้เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่สำคัญ
 

Life พระราม 4 – อโศก

คอนโดใหม่ จาก AP เต็มอิ่มด้วยวิวสวนเบญจกิติ และบางกระเจ้า

พร้อม Rooftop facility ต่อเนื่อง 4 ชั้น ใจกลางพระราม 4 

   
ชื่อโครงการ: Life พระราม 4 - อโศก
เจ้าของโครงการ: AP Thailand
ที่ตั้ง: ติดถ.พระราม 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กทม.
จำนวนยูนิต: 1,237 ยูนิต + 2 ร้านค้า
พื้นที่โครงการ: 5-2-7.5 ไร่
ลักษณะโครงการ: 2 อาคาร ประกอบด้วยอาคารที่อยู่อาศัยสูง 39 ชั้น และ อาคารจอดรถสูง 7 ชั้น
ที่จอดรถ: 40% ไม่รวมซ้อนคัน
ราคาเริ่มต้น: 3.86 ลบ.
รูปแบบห้อง
  • - Simplex : 1 - 2 ห้องนอน ขนาด 26.50 - 75.00 ตร.ม.
  • - Vertiplex : 1 - 3 ห้องนอน ขนาด 28.50 - 70.00 ตร.ม.
สิ่งอำนวยความสะดวก
  • Lobby
  • Sylvan Park
  • Whispering Lounge
  • The Parlour
  • Playfulness Bar
  • The Reception
  • Chill Out Lab
  • Green Tunnel
  • Swimming Pool & Jacuzzi 6 ฟังก์ชัน ยาว 50 เมตร
  • Sundown Terrace
  • The Muscle Factory
  • The Common
  • The Circular Lounge
  • Sky Studio
  • Rooftop Garden

สิ่งอำนวยความสะดวกระดับพรีเมี่ยม

ทำเลโครงการ Life พระราม 4 - อโศก อยู่ติดถนนพระราม 4 ใกล้แยกพระราม 4 เป็นบริเวณที่ตั้งสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น แหล่งไลฟ์สไตล์อย่าง The PARQ, รพ.เมดพาร์ค, อาคารสำนักงาน FYI Center และ ThaiBev Quarter Building
รวมทั้งโครงการพัฒนาทั้งสวนป่าเบญจกิติ อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงในระยะที่ 2 - 3, ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่ได้มีการปรับปรุงใหม่ ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง และ Smart City Port โครงการ Mixed-use ขนาดใหญ่ เพื่อเป็น Landmark ของประเทศ ศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวใหม่ ถือว่าตัวโครงการรายล้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกระดับพรีเมี่ยมเลยทีเดียว
การเดินทาง ถือว่าเป็นทำเลที่เดินทางง่าย สะดวกสบาย เชื่อมต่อสุขุมวิท - อโศก - สาทร - สีลม ใกล้ MRT ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์เพียง 450 ม. ซึ่ง MRT นี้จะต่อกับ BTS สายสีเขียวเข้มและสายสีเขียวอ่อน นอกจากนั้นในอนาคตมีรฟฟ.สายสีเทาและรฟฟ.รางเบาของโครงการ Smart City Port ด้วย
หากเดินทางด้วยเส้นถ. พระราม 4 สามารถเดินทางได้ถึงโซน CBD ใจกลางเมืองได้เลย เดินทางถึงสีลมได้ภายใน 10 นาที หรือเดินทางไปสุขุมวิทก็ง่าย ใช้เส้นทาง ซ.สุขุมวิท 24 และ 26 ไปถึงเลยเช่นกัน

ภาพ Perspective บรรยากาศโครงการ

 

Life พระราม 4 - อโศก

คอนโดใหม่ล่าสุดจาก AP แยกพระราม 4

เริ่ม 3.86 ลบ.

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม

CLICK

   
Content Creator
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (386)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon