realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

ถอดบทเรียน รถราง ระบบขนส่งมวลชนในอดีต

04 Jan 2019 17.6K

ถอดบทเรียน รถราง ระบบขนส่งมวลชนในอดีต

04 Jan 2019 17.6K
 

ถอดบทเรียน รถราง ระบบขนส่งมวลชนในอดีต

หากกล่าวถึงระบบการสัญจรในอดีต ประเทศไทยก็ถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความโดดเด่นในเรื่องนี้อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องระบบการสัญจรแบบราง อย่างที่หลายคนทราบกันแล้วว่า ประเทศไทยเราเคยมีการให้บริการรถรางในอดีต โดยถือเป็นประเทศแรกในทวีปเอเซียที่ใช้ระบบรถราง และถือเป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้กำลังไฟฟ้าในการเดินรถอีกด้วย โดยในวันนี้ทาง REALIST ได้รวบรวมข้อมูลของระบบรถราง (Tramway) ในอดีตว่าเคยรุ่งเรืองและเป็นที่นิยมอย่างไรบ้าง เกริ่นโดยคร่าวคือมีการให้บริการยาวนานถึง 80 ปี เปิดให้บริการตั้งแต่ พ.ศ.2431 จนถึง พ.ศ.2511 ด้วยเหตุที่ว่ารถรางกลายเป็นสิ่งกีดขวางของการจราจรไป อีกทั้งการพัฒนาของยานพาหนะที่เริ่มมีตัวเลือกในการสัญจรมากขึ้น ระบบรถรางจึงถูกยกเลิกไปในที่สุด โดยระบบรถรางได้เปิดให้บริการทั้งสิ้น 11 สาย ตั้งแต่รอบตัวเมืองชั้นในจนถึงกระจายสู่ตัวเมืองชั้นนอก ซึ่งแต่ละสายมีรายละเอียดอย่างไร ตัวรถหน้าตาเป็นแบบไหน และถอดบทเรียนจากระบบขนส่งมวลชนในอดีต ว่าเราจะปรับใช้กับในปัจจุบันได้อย่างไรบ้าง ไปรับชมกันครับ

* โดยในบทความนี้มีเนื้อหาในลักษณะการรวบรวมข้อมูลจากหลากหลายแหล่งที่มาและนำมาสังเคราะห์ออกมาในลักษณะของการอธิบายและวิเคราะห์เนื้อหาให้สามารถเข้าใจได้ง่าย สะดวกต่อการเข้าถึงแก่บุคคลทั่วไปครับ *

ก่อนรถไฟฟ้า กรุงเทพฯ เคยมีรถรางมาก่อน

2431 : มีการทำพิธีเปิดการใช้รถรางเป็นครั้งแรกโดยใช้ม้าลากไปตามราง เริ่มเส้นทางถ.เจริญกรุง "สายบางคอแหลม" มีม้าอะไหล่สำหรับผลัดเปลี่ยนเป็นระยะ 2432 : โอนกิจการให้แก่ บริษัท รถรางกรุงเทพฯ จำกัด ของชาวอังกฤษ ปรับปรุงกิจการรถรางให้สะดวกขึ้นอีกเล็กน้อยแต่ยังใช้ม้าลากอยู่ 2435 : โอนกิจการรถรางไปให้ บริษัทของชาติเดนมาร์ก และปรับปรุงรถราง เปลี่ยนเป็นใช้กระแสไฟฟ้าแทนการใช้ม้าลาก โดยตกลงเช่ากระแสไฟฟ้าจากบริษัท อิเลคทริค ซิตี้ คอมปะนี ลิมิเต็ด 2437 : เปิดเดินขบวนรถรางเคลื่อนที่ด้วยกระแสไฟฟ้าเป็นครั้งแรก นำโดยกลุ่มบริษัทของชาติเดนมาร์ก  2443 : โอนกิจการเข้าไปรวมเป็นบริษัทเดียวกับ บริษัท อิเลคทริค ซิตี้ คอมปะนี ลิมิเต็ด บริษัทที่ให้เช่ากระแสไฟฟ้า และเปิดรถราง "สายสามเสน" เพิ่มขึ้น
2448 : มีผู้ตั้งบริษัทขึ้นอีกรายคือ บริษัท รถรางไทย โดยได้รับพระบรมราชานุญาตให้เดินรถรางในกทม. เปิดเส้นทางใหม่คือ "สายดุสิต" รวมถึงสายอื่นๆ 2451 : บริษัทรถรางไทยโอนกิจการไปรวมกับบริษัทฝรั่ง เปลี่ยนนามใหม่เป็น บริษัท ไฟฟ้าสยาม จำกัด เกิดสายรถรางวิ่งบนท้องถนนถึง 11 สาย 2470 : บริษัทได้เปลี่ยนอีกครั้งเป็น บริษัท ไฟฟ้าไทย คอปอเรชั่น จำกัด 2493 : สัมปทานการเดินรถก็ได้สิ้นสุดลง รัฐบาลก็เข้ามาดำเนินกิจการต่อในนามของ บริษัท การไฟฟ้ากรุงเทพฯ จำกัด ในสังกัดของกรมโยธาเทศบาลและกระทรวงมหาดไทย 2503 : เริ่มมีนโยบายยกเลิกกิจการรถราง เริ่มจากการหยุดให้บริการทีละสาย 2511 : กรมโยธาเทศบาลและกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งยกเลิกการเดินรถรางทุกสายอย่างถาวร เป็นอันสิ้นสุดกิจการรถรางในประเทศไทย

ทำความรู้จักรถรางในอดีต

ลักษณะของรถราง

รถรางในสมัยนั้นมีการแบ่งชั้นบริการเป็นรถรางชั้น 1 และชั้น 2 มีฉากลูกกรงไม้แบ่งครึ่งกลางคัน โดยรถรางชั้น 2 จะไม่มีเบาะรอง มีเพียงม้านั่งแข็งๆ แต่หากอยากนั่งสบายมีเบาะนุ่มๆ ก็ต้องเลือกนั่งรถรางชั้น 1 โดยต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว หน้าตาของรถรางนั้นก็คล้ายกับโบกี้รถไฟ แต่มีความยาวน้อยกว่า โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ แบบเปิดโล่ง และ แบบมีกระจกปิด
แบบเปิดโล่ง ตัวถังทำด้วยไม้ กั้นเป็นซี่ตามยาว มีผ้าใบใช้กันฝนและฝุ่น เมื่อไม่ใช้งานก็สามารถม้วนผ้าเป็นเก็บไว้ตามแนบชายคาได้
แบบตัวถังทึบ โดยตัวตู้จะมีหน้าต่างปิดกันฝน ตัวถังทำด้วยเหล็ก มีหลังคาโค้ง ถือว่าทันสมัยมากในสมัยนั้น
รถรางรูปแบบอื่นๆ
.
โรงจอดรถราง
โรงซ่อมรถราง
โดยสีของรถรางส่วนใหญ่ มีลักษณะ 2 สีคู่กัน แตกต่างกันไปตามเส้นทางและตามบริษัทเจ้าของเส้นทาง มีจำนวนตู้รถรางทั้งหมดรวม 54 โบกี้ มีที่นั่งขนานตามทางยาวกับตัวตู้ 26 ที่นั่ง มีที่ว่างตรงกลางให้ผู้โดยสารยืนได้ 34 คน ช่วง สามารถจุคนได้ทั้งสิ้นรวม 60 คน
แต่ละคันมีกำลังขับ 40 แรงม้า ตัวถังรถรางส่วนมากผลิตในไทย มีท่ารถรางอยู่ 4 แห่งคือ ที่สะพานดำ สะพานเหลือง บางกระบือและบางคอแหลม โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ถนนท่าช้าง และ มีโรงจอดรถรางข้างในเป็นโรงซ่อมในตัว อยู่บริเวณหลังโรงประปา สี่แยกแม้นศรี
 

ป้ายหยุดรถ

ป้ายจุดจอดและป้ายจุดรอหลีกขบวน
ป้ายจุดจอดรถราง
ป้ายจุดจอดที่เหลือในปัจจุบัน
ป้ายหยุดรถมีลักษณะคล้ายธง มี 2 สี คือ ธงสามเหลี่ยมสีแดงมีดาวตรงกลางคือจุดจอด ขึ้นลงและรับผู้โดยสาร ่วนธงสามเหลี่ยม สีเขียวมีดาวตรงกลางคือป้ายแสดงจุดให้รถรางรอหลีกขบวนกัน ทำหน้าที่คล้ายกันกับป้ายหยุดรถประจำทางของรถเมล์ครับ ปัจจุบันมีเหลืออยู่ที่เดียวคือแถวถนนเยาวราช ช่วงเวิ้งนครเขษม หลงเหลือให้เราเห็นเป็นอนุสรณ์ว่าเคยมีรถรางในกรุงเทพ  

เปิดผังเส้นทางของสายรถรางทั้งหมด !!!

ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 กิจการรถรางไฟฟ้าขยายตัวสูงสุดและ มีสายรถรางวิ่งบนท้องถนนในกรุงเทพมหานครถึง 11 สาย ระยะทั้งสิ้น 48.7 กม. ได้แก่
1. สายบางคอแหลม 2. สายสามเสน 3. สายบางซื่อ 
4. สายอัษฎางค์  5. สายราชวงศ์ 6. สายหัวลำโพง
7. สายดุสิต  8. สายกำแพงเมือง  9. สายสุโขทัย
10. สายสีลม 11. สายปทุมวัน

ความเป็นมาของรถรางแต่ละสาย ที่น่าจดจำ

สายบางคอแหลม

ระยะทาง : 9.2 กม. เส้นทาง : ศาลหลักเมือง-ถนนตก ตั้งต้นจากศาลหลักเมืองวิ่งตามเส้นทางถนนเจริญกรุง แล้วไปสิ้นสุดที่บริษัท อู่เรือกรุงเทพ จำกัด (The Bangkok Dock Co., Ltd) หรือบริเวณถนนตกในปัจจุบัน
ภาพบริเวณไปรษณีย์กลาง ถ่ายเมื่อพ.ศ. 2503
ภาพบริเวณไปรษณีย์กลาง ปัจจุบัน

สายสามเสน

ระยะทาง : 11.3 กม. เส้นทาง : ท่าเขียวไข่กา-ศาลาแดง ต้นสายเริ่มตั้งแต่บางกระบือ ตรงท่าเรือเกียกกาย ถึงแยกวิทยุ ย่านบางลำพู ตรงจุดตัดถนนสามเสนกับถนนวิสุทธิกษัตริย์ในปัจจุบัน วิ่งตรงไปตามถนนสามเสน ข้ามสะพานนรรัตน์สถานมาตัดกับสายดุสิตหรือสายกำแพงเมืองตรงแยกบางลำพู จากนั้นวิ่งตรงตามถนนจักรพงษ์ ผ่านวัดชนะสงคราม ไปข้ามคลองคูเมืองเดิมที่สะพานเสี้ยว ก่อนจะเข้าสู่ถนนราชินีต่อไป
ถ.เยาวราช - สี่แยกเฉลิมบุรี
สี่แยกเฉลิมบุรี ในปัจจุบัน

สายบางซื่อ

ระยะทาง : 4 กม. เส้นทาง : สถานีรถไฟบางซื่อ-ท่าเขียวไข่กา เริ่มต้นเส้นทางที่สถานีรถไฟบางซื่อ ถนนเทอดดำริห์ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนปูนซีเมนต์ไทย ถนนเตชะวณิช ผ่านตลาดบางซื่อ วัดธรรมาภิรตาราม เลี้ยวขวาเข้าถนนทหาร ผ่าน กรมการทหารสื่อสาร แยกเกียกกาย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสามเสน ผ่าน โรงเรียนโยธินบูรณะ โรงเรียนราชินีบน เลี้ยวขวาเข้าซอยสามเสน 23 ชื่อเก่าคือซอยรถราง ซึ่งเป็นซอยทางเข้าของอู่รถรางบางกระบือ ซึ่งในปัจจุบันพื้นที่ อู่รถรางบางกระบือทั้งหมดได้เป็นของโรงเรียนราชินีบน มีการสร้างอาคารเรียนเต็มพื้นที่ ทำให้ซอยสามเสน 23ไม่สามารถทะลุออกไปถนนเขียวไข่กาได้เหมือนอดีต
ไม่ทราบข้อมูลทางด้านสถานที่ แต่อิงจากแนวท่อส่งปูนที่อยู่ด้านบนและในข้อมูลของรูปบอกเพียงแต่ว่าเป็นรถรางสายบางซื่อ

สายอัษฎางค์

ระยะทาง : 0.5 กม. เส้นทาง : ซ.พระพิทักษ์-ท่าเรืออัษฎางค์
ภาพบริเวณแยกตัดกับถ.อัษฎางค์
ปัจจุบันเป็นร้านหนึ่งอิเลคโทรนิค

สายราชวงศ์

ระยะทาง : 0.5 กม. เส้นทาง : แยกเสือป่า-ท่าเรือราชวงศ์
ภาพบริเวณถ.เจริญกรุง แยกหน้าเป็นแยกราชวงศ์
ภาพบริเวณห้างราชวงศ์ ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2476

สายหัวลำโพง

ระยะทาง : 4.4 กม. เส้นทาง : แยกบางลำพู-หัวลำโพง ต้นสายเริ่มตั้งแต่บริเวณแยกบางลำพู ถึงสถานีรถไฟกรุงเทพ หรือหัวลำโพง เส้นทางที่ผ่านพื้นที่ย่านบางลำพูเริ่มตั้งแต่สถานีต้นทางบางลำพู ไปทางถนนบวรนิเวศน์ แล้วเลี้ยวเข้าถนนตะนาว ออกจากพื้นที่ย่านบางลำพูที่แยกคอกวัว
ภาพบริเวณข้างคลองผดุงกรุงเกษม
ภาพบริเวณข้างคลองผดุงกรุงเกษม ในปัจจุบัน

สายดุสิต

ระยะทาง : 11.5 กม. เส้นทาง : วัดเทวราชกุญชร-วัดเลียบ-ถนนพระอาทิตย์ ระยะแรกของการเดินรถรางสายดุสิต วิ่งเพียงระยะทางสั้น ๆ ตั้งแต่สถานีต้นทางบริเวณแยกสี่เสาเทเวศร์ วิ่งตรงตามถนนพิษณุโลก เข้าถนนนครสวรรค์ ถนนจักรพรรดิพงษ์ และสิ้นสุดที่ถนนจักรวรรดิ บริเวณวัดเลียบ แต่ภายหลังรถรางสายดุสิตได้วิ่งรวมกับสายรอบเมือง คือ จากสถานีวัดเลียบ เดินรถเลียบกำแพงพระนครต่อ จนวนรอบกลับมาที่สถานีปลายทางวัดเลียบอีกครั้ง
ภาพบริเวณป้อมมหากาฬ เชิงสะพานผ่านฟ้า
ภาพบริเวณป้อมมหากาฬ เชิงสะพานผ่านฟ้า ในปัจจุบัน

สายกำแพงเมือง

ระยะทาง : 7.0 กม. เส้นทาง : วัดเลียบ-วัดเลียบ จากสถานีวัดเลียบ เดินรถเลียบกำแพงพระนคร ผ่านพื้นที่ย่านบางลำพู เข้าถนนพระอาทิตย์ โค้งตรงป้อมพระสุเมรุ เข้าสู่ถนนพระสุเมรุ แล้วตัดกับรถรางสายสามเสนและสายหัวลำโพงบริเวณแยกบางลำพู ก่อนจะวิ่งต่อตามถนนพระสุเมรุไปออกที่บริเวณแยกผ่านฟ้าลีลาศจนวนรอบกลับมาที่สถานีปลายทางวัดเลียบอีกครั้ง
ภาพบริเวณถ.มหาราช ข้างวัดโพธิ์
ภาพบริเวณถ.มหาราช ข้างวัดโพธิ์ ในปัจจุบัน

สายสุโขทัย

ระยะทาง : 0.6 กม. เส้นทาง : วังสุโขทัย-บางกระบือ
 

สายสีลม

ระยะทาง : 4.5 กม. เส้นทาง : บางรัก-ประตูน้ำ เริ่มจากแยกบางรักต้นถนนสีลม (ถนนเจริญกรุง-ถนนสีลม) ผ่านอัสสัมชัญบางรัก เข้าสีลม ผ่านโรงพยาบาลเลิดสิน วัดแขก โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน เข้าราชดำริ ผ่านสวนลุมพินี ราชดำริ โรงพยาบาลตำรวจ หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ สุดทางที่ท่าเรือประตูน้ำ
ภาพบริเวณแยกศาลาแดง
ภาพบริเวณแยกศาลาแดง ในปัจจุบัน

สายปทุมวัน

ระยะทาง : 4.5 กม. เส้นทาง : ยศเส-ประตูน้ำ เริ่มตั้งแต่สะพานกษัตริย์ศึก แยกยศเส ไปตามถนนพระรามที่ 1 ผ่านโลตัสพระราม 1 มาบุญครอง สยาม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนราชดำริ ผ่านหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ สิ้นสุดทางที่ท่าเรือประตูน้ำ
ภาพบริเวณถ.พระราม 1 ข้างสนามศุภชลาศัย
ภาพบริเวณถ.พระราม 1 ข้างสนามศุภชลาศัย ในปัจจุบัน

อวสานการเดินรถราง สู่รูปแบบการคมนาคมแบบใหม่ ?

ในที่สุดรถรางก็ต้องถูกยกเลิกไป โดยมีคำสั่งให้ยกเลิกการเดินรถทั้งหมดทุกสายในปี พ.ศ. 2511 อันเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. การเพิ่มขึ้นของรถยนต์ส่วนตัว ด้วยยุคสมัยและความเจริญที่เกิดขึ้น ผู้คนเริ่มซื้อพาหนะเป็นของตัวเองมากขึ้น การจราจรหนาแน่นขึ้น รถรางก็ต้องวิ่งตัดผ่านถนนต่างๆ กลายเป็นสิ่งกีดขวางของถนน ทำให้ถนนยิ่งเกิดความล่าช้า  
2. ยานพาหนะอื่นมีบทบาทมากขึ้ หลังจากที่บ้านเมืองมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องในตลอดช่วงการให้บริการของรถราง เช่น รถประจำทางหรือรถเมล์เอกชน รถแท็กซี่ รถจักรยานยนต์ ซึ่งมีความเร็วและสะดวกสบายมากกว่ารถราง  
3. รถรางไม่ตอบสนองต่อผู้ใช้งานอีกต่อไป ระบบรถรางมีอัตราการวิ่งที่ช้าเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อีกทั้งต้องใช้เวลารอในขณะที่รถรางทำการหลีกขบวนกัน คนก็เร่งรีบมากขึ้น รถรางจึงไม่ใช่ทางเลือกสำหรับคนที่มีเวลาน้อย หรือใช้ในเวลาเร่งด่วน

ถอดแนวคิดการพัฒนาเมืองจาก ระบบรถรางในอดีต

รถรางมีผลขนาดไหนกับการวางผังเมืองในอดีต ?

ตั้งแต่ในสมัยอยุธยา นิยมวางเมืองอยู่ที่ศูนย์กลาง ใกล้แหล่งน้ำเพื่อความอุดมสมบูรณ์และการป้องกันทางทหาร นิยมให้ที่ตั้งของชาวต่างชาติอยู่ด้านล่างของเมือง เพื่อที่จะสามารถควบคุมอาณาเขตได้ชัดเจน ตลอดมาจนถึงในยุคของรัตนโกสินทร์ที่มีแนวคิดที่คล้ายกัน คือมีพระบรมมหาราชวังอยู่ใจกลาง มีเจ้าพระยาเป็นแหล่งน้ำสำคัญ ทำแนวรั้วกำแพงพร้อมป้อมปราการต่างๆ ควบคู่ไปกับการขุดคลองชั้นในอย่างคลองหลอดและคลองบางลำพู
เกิดเป็นเกาะรัตนโกสินทร์ขึ้น ลงมาทางฝั่งทิศใต้ก็จะให้เป็นที่อยู่ของชาวต่างชาติไป ดังจะเห็นได้จากการตั้งรกราก, พื้นที่ค้าขาย, สถานฑูต และ ศาสนสถาน เช่น พาหุรัด (ชาวอินเดีย), เยาวราช(ชาวจีน), บางรัก(ชาวฝรั่งตะวันตก)  เป็นต้น ส่วนในทางทิศเหนือก็จะให้เป็นที่สำหรับทางใช้การทหารเป็นส่วนใหญ่ อย่างบริเวณ กองพลาธิการ(เกียกกาย) ที่สมัยเกิดสงครามโลกจะใช้เป็นที่เก็บเสบียงอาหารนั่นเอง
เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้น เกาะรัตนโกสินทร์ก็เปรียบเสมือนพื้นที่ไข่แดง เนื่องจากเศรษฐกิจในสมัยนั้นขับเคลื่อนด้วยหน่วยงานราชการ อย่างพื้นที่ 3 แพร่งคูคลองเดิม (แพร่งภูธร แพร่งนรา แพร่งสรรพศาสตร์) ที่ล้วนเป็นย่านอาคารสำนักงานและย่านการค้าที่สำคัญอย่างมากในอดีต รวมไปถึงย่านบางลำพู นางเลิ้ง ที่เป็นตลาดการค้าแหล่งใหญ่อยู่เช่นกัน ถ้าเปรียบเทียบกับพื้นที่ในปัจจุบันก็คงจะคล้ายกับย่านสยามนั่นเอง สิ่งเหล่านี้ทำให้เราสามารถเรียกเกาะรัตนโกสินทร์ว่าเป็นพื้นที่ CBD ในสมัยก่อนก็ย่อมได้

แนวคิดการเกิดระบบขนส่งมวลชนและปัจจัยการเลือกเส้นทาง

คำว่า ระบบขนส่งมวลชน ในอดีตคงยังไม่มีการใช้มากนัก จะมีเพียงระบบคมนาคมทางบกและทางน้ำที่เป็นที่นิยมใช้กันในอดีต จนเมื่อเกิดระบบรถรางขึ้นในปีพ.ศ. 2431 ที่จะเน้นการสัญจรและการของผู้คนมากกว่าการขนส่งอุปกรณ์และสินค้า จึงกล่าวได้ว่า ระบบรถราง เป็นระบบขนส่งมวลชนสายหลักของเมืองไทย โดยจากข้อมูลที่ได้กล่าวไปข้างต้นทั้งหมดเราจึงได้ลองวิเคราะห์ประเด็นในการเลือกเส้นทางของสายต่างๆ มาดังนี้
เส้นทางรถรางเกิดขึ้นจากการตัดถนน จะเห็นได้ว่า สายแรกของรถรางที่เปิดให้บริการคือ สายบางคอแหลม ที่จะวิ่งตามเส้นทางถนนเจริญกรุง ทั้งนี้ก็เป็นเพราะถนนเจริญกรุงเป็นถนนคอนกรีตและเปิดการใช้งานเป็นสายแรกของประเทศไทย, สายหัวลำโพง ทีวิ่งตามเส้นถนนบำรุงเมือง ถนนเก่าแก่อีกสาย, สายสามเสน วิ่งตามถนนสามเสนเป็นหลัก, สายดุสิต ที่วิ่งตามเส้นถนนพิษณุโลก เป็นต้น
พระราชวังมีผลต่อการกำหนดเส้นทางรถราง ในสมัยก่อนเมืองจะขยายตามการสร้างพระราชวังและวังต่างๆ ซึ่งส่วนมากจะกระจายไปตามหัวเมืองและชานเมือง การสร้างเส้นทางรถรางจึงอิงสถานที่ดังกล่าวเป็นหลักด้วย เช่น พระบรมหาราชวัง (สายบางคอแหลม, สายกำแพงเมือง, สายดุสิต), พระราชวังดุสิต (สายสามเสน), พระราชวังศุโขทัย (สายสุโขทัย), พระราชวังปทุมวัน (สายปทุมวัน), วังวินด์เซอร์ (สายสีลม) และอื่นๆ อีกมากมาย เป็นต้น
การคมนาคมทางน้ำสู่ขนส่งมวลชนทางบก รถรางสายต่างๆ มีความสัมพันธ์กับการคมนาคมทางน้ำอย่างเห็นได้ชัด เช่น สายสามเสน (วิ่งเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาและสุดสายที่ท่าเรือเขียวไข่กา), สายอัษฎางค์(สุดสายที่ท่าเรืออัษฎางค์หรือปากคลองตลาด), สายราชวงศ์(สุดสายที่ท่าราชวงศ์), สายสีลมและสายปทุมวัน(สุดสายที่ท่าเรือประตูน้ำ) ทั้งนี้ก็เพราะในอดีตจะสัญจรโดยเรือเป็นหลัก ต่อมาเมื่อพัฒนาจึงเชื่อมต่อให้เกิดเป็นระบบโครงข่ายของการสัญจรนั่นเอง
ในส่วนของพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่มีเส้นทางรถรางไปถึงอันเป็นเพราะยังเป็นพื้นที่ทุ่งนาทั้งหมด ไม่มีสิ่งปลูกสร้างหรือการพัฒนาใดๆ เกิดขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของพื้นที่ฝั่งธนบุรี ที่ในอดีตเป็นจังหวัดธนบุรีอยู่ และทำการรวมกับพระนครในภายหลัง อีกทั้งยังต้องข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมีขนาดกว้างใหญ่กว่าปัจจุบันมาก ทำให้พื้นที่ดังกล่าวไม่ได้อยู่ในสังเขปของการพัฒนาในขณะนั้น  

การขยายตัวตามแม่น้ำสู่การขยายตัวกระจายสู่ทุกทิศทาง

เมื่อเปรียบเทียบแนวคิดระบบขนส่งมวลชนหลักในปัจจุบัน (ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน) ก็จะเห็นถึงความแตกต่างอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน เนื่องจากการเติบโดของเมืองในปัจจุบันเน้นการกระจายออกทุกทิศทางไม่ได้เน้นเฉพาะด้านหรือเฉพาะเส้นทางแบบในอดีตอีกต่อไป ทั้งนี้อาจเป็นเพราะด้วยขนาดเมืองที่ใหญ่ขึ้น การพัฒนาเมืองและระบบขนส่งจึงขยายเป็นอีกขั้นหนึ่ง ประกอบกับเทคโนโลยีและความเจริญต่างๆ ทำให้การพัฒนาต่างจากในอดีตเป็นอย่างมาก ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาแหล่งน้ำหรือเส้นทางถนนอีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันตั้งแต่ในอดีต-ปัจจุบันนั่นคือแนวคิดในการเชื่อมต่อระบบการสัญจรต่างๆ ให้เกิดเป็นโครงข่ายเดียวกัน ที่อาจเปลี่ยนระบบหรือวิธีการไปจากเดิม ซึ่งก็ล้วนเป็นไปตามปัจจัยเงื่อนไขดังกล่าวนั่นเอง

การกลับมาของ รถราง ที่จะแก้ปัญหาในกทม. ?

จากข่าวการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ “โครงการรถไฟฟ้ารางเบา” ที่กทม. จะนำเข้ามาใช้ในเมืองในอนาคต ที่มีแผนนำร่องตามพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญใจกลางเมือง งบประมาณรวมกว่าแสนล้านบาท ที่จะมีลักษณะคล้ายกับระบบ Tram หรือระบบรถรางแบบเดียวกันกับในต่างประเทศ (อ่านบทความ เปิดแผนโครงการใหม่ “รถไฟฟ้ารางเบา” นำร่องราชประสงค์-จุฬาฯ คลิ๊ก!) ทำให้เกิดประเด็นที่ว่า ในอดีตประเทศไทยของเราก็มีระบบรถรางอยู่แล้ว จากที่ได้ทำการยกเลิกไป แล้วการจะนำกลับมาใช้ใหม่นี้จะเป็นเรื่องที่สมควรหรือไม่

รถรางกับบทบาทที่เปลี่ยนไป

จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า การให้บริการรถรางในอดีตและปัจจุบันมีบทบาทที่ต่างกัน กล่าวคือ ระบบรถรางในอดีต ทำหน้าที่เป็นระบบขนส่งมวลชนหลัก ในขณะที่ปัจจุบันมีขนส่งมวลชนหลักอยู่แล้วนั่นคือโครงข่ายรถไฟฟ้า BTS และ MRT ทั้งหมด การกลับมาของรถรางในครั้งนี้จึงมีบทบาทเป็นระบบขนส่งมวลชนรอง ที่เข้ามาช่วยส่งเสริมระบบขนส่งมวลชนในเมืองเพียงเท่านั้น 

บทเรียนจากประวัติศาสตร์

จากเนื้อข่าวที่ระบุว่า การกลับมาครั้งนี้ก็จะติดตั้งบนถนนเช่นเดียวกันกับในอดีต ซึ่งปัญหาการกีดขวางจราจรของรถรางเป็นปัญหาหลักในการยกเลิกการใช้งาน จึงเป็นที่น่าติดตามอยู่ว่า ทางกทม.จะมีการวิธีการจัดการและเรียนรู้การแก้ปัญหาจากในอดีตได้มากน้อยเพียงใด เพราะปัจจุบันที่ BTS และ MRT ดำเนินได้อย่างสะดวกนั้น เป็นเพราะอยู่ระนาบบนดินและใต้ดิน ไม่ได้รบกวนกับระนาบถนน ซึ่งเราคงจะต้องติดตามกันต่อไปครับว่าการพัฒนาในครั้งนี้จะเกิดขึ้นในทิศทางไหนต่อไป
อย่างไรก็ตามแบบการก่อสร้างยังไม่ระบุออกมาแน่ชัดและตัวโครงการก็ยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาและพิจารณา การนำเสนอในครั้งนี้ก็เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ทางโครงการได้เปิดเผยสู่สาธารณะประกอบกับการวิเคราะห์จากข้อมูลหลายๆ แหล่งเพียงเท่านั้น ทางเราเพียงแค่นำเสนอข้อมูลจากข่าวในปัจจุบัน เพื่อให้เป็นอีกแหล่งข้อมูลให้กับทุกคนได้พิจารณากันต่อไปครับ  

อ้างอิงข้อมูล

[wc_toggle title="อ้างอิงรูปภาพและเนื้อหารถรางในอดีต" layout="box"] หนังสือ ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. (2551). ชื่อบ้านนามเมืองในกรุงเทพฯค้นเมื่อ 15 ธ.ค. 2561 เอกสารออนไลน์ • 2bangkok. (2545). Tram Route Maps. ค้นเมื่อ 10 ธ.ค. 2561 จาก http://2bangkok.com/2bangkok-Tram-map.shtml • นายชิกุวะ. (2551). เส้นทางรถรางในกรุงเทพสมัยก่อน คุณรู้มั๊ยมันผ่านตรงไหนบ้าง?. ค้นเมื่อ 10 ธ.ค. 2561 จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/chikuwa/2008/04/26/entry-1 • LODI. (2551). รถราง....แห่งความหลัง part 1. ค้นเมื่อ 10 ธ.ค. 2561 จาก http://topicstock.pantip.com/isolate/topicstock/2008/07/M6827200/M6827200.html • MGR Online. (2552). ย้อนอดีต"รถราง"พาหนะสุดคลาสสิก. ค้นเมื่อ 11 ธ.ค. 2561 จาก https://mgronline.com/travel/detail/9520000088326 • mykeawja. (2552). รถราง ...รถราง ...รถราง ...รถราง ...รถราง ...รถราง. ค้นเมื่อ 11 ธ.ค. 2561 จาก http://www.cokethai.com/forum/viewtopic.php?p=94442 • รัตนโกสินทร์ (Rattanakosin). (2555). ภาพถ่ายถนนมังกรจากมุมสูง. ค้นเมื่อ 10 ธ.ค. 2561 จาก https://www.facebook.com/tourrattanakosin/ • ย้อนอดีต...วันวาน. (2555). รถราง...ที่เคยมีในสยามประเทศ. ค้นเมื่อ 11 ธ.ค. 2561 จาก https://www.facebook.com/ย้อนอดีตวันวาน/ • Chinatownyaowarach. (2557). ประวัติถนนเยาวราช Chinatown เมืองไทย. ค้นเมื่อ 10 ธ.ค. 2561 จาก http://www.chinatownyaowarach.com/articles/42017685/ • สจล. / KMITL. (2557). ความเป็นมาของรถราง นางเลิ้ง. ค้นเมื่อ 11 ธ.ค. 2561 จาก http://www.it4x.com/nlk/tram.html • มดตัวน้อยตัวนิด-Postjyng. (2558). รถราง...ในอดีตของสยามประเทศ. ค้นเมื่อ 10 ธ.ค. 2561 จาก https://board.postjung.com/919888 • Changton Natee. (2558). ภาพถ่ายถนนเจริญกรุง. ค้นเมื่อ 10 ธ.ค. 2561 จาก https://www.facebook.com/77PPP • ไทยโพสต์. (2561). รถรางเสน่ห์แห่งรัตนโกสินทร์. ค้นเมื่อ 11 ธ.ค. 2561 จาก https://www.thaipost.net/main/detail/14421 • ลลิตา อัศวสกุลฤชา. (2561). ประวัติศาสตร์การขนส่งมวลชนทางบก: สาย “รถราง” ย่านบางลำพู. ค้นเมื่อ 11 ธ.ค. 2561 จาก http://banglamphumuseum.treasury.go.th/news_view.php?nid=103 • วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2561). รายชื่อพระราชวังและวังในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 10 ธ.ค. 2561 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อพระราชวังและวังในประเทศไทย • วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2561). กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 10 ธ.ค. 2561 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/กรุงเทพมหานคร • ทีมนั่งรถไฟ กับนายแฮมมึน. (2561). แผนที่การเดินรถรางในอดีตกรุงเทพ . ค้นเมื่อ 11 ธ.ค. 2561 จาก https://www.facebook.com/pg/Thaitrainstory/posts/   ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ครับ [/wc_toggle]  

คลิ๊ก! เพื่ออ่านบทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon