realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รถไฟทางคู่

09 Aug 2014 132.9K

รถไฟทางคู่

09 Aug 2014 132.9K
 

คสช.อนุมัติแล้ว รถไฟทางคู่ 8 เส้นทาง 8.6 แสนล้าน

บิ๊กตู่เคาะแล้วรถไฟทางคู่ราง 1.435 เมตร วิ่ง 160 ก.ม./ช.ม. เชื่อมจีน นำร่อง 2 สาย จากด่านเชียงของ-หนองคาย ทะลุท่าเรือแหลมฉบัง ลงทุนกว่า 7.4 แสนล้าน คาดตอกเข็มปี 59 สร้างเสร็จปี 64 นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ชุดใหญ่ มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. เป็นประธาน ได้เห็นชอบให้กระทรวงคมนาคมศึกษาพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ระบบรางขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร หรือสแตนดาร์ดเกจ ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า วิ่งด้วยความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จำนวน 2 เส้นทาง เพื่อเชื่อมเศรษฐกิจการค้ากับประเทศจีน ระยะทางรวม 1,392 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวม 741,460 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มดำเนินการในปี 2558-2564 แยกเป็นสายหนองคาย-โคราช-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุด ระยะทาง 737 กิโลเมตร วงเงิน 392,570 ล้านบาท และสายเชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี ระยะทาง 655 กิโลเมตร วงเงิน 348,890 ล้านบาท
ทั้งนั้นใน 2 เส้นทางนี้ จะนำผลการศึกษาเดิมของรถไฟความเร็วสูงที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาไปแล้วและอยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอมาต่อยอด แต่เปลี่ยนจากใช้ระบบรถไฟความเร็วสูงแบบหัวจรวดมาเป็นรถไฟทางคู่ที่ใช้รถไฟฟ้ามาวิ่ง เพื่อประหยัดงบลงทุน แต่จะออกแบบให้สามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงที่วิ่งด้วยความเร็วเกิน 200 กิโลเมตรได้ในอนาคต "สนข.จะเริ่มศึกษาเพิ่มเติมในปี 2558 ก่อสร้างได้ปี 2559 แล้วเสร็จปี 2564 จะเชื่อมการค้าจากจีนใต้ ผ่านลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์" ที่มาข้อมูล ประชาชาติธุรกิจ 30 ก.ค. 57

เส้นทางรถไฟฟ้าทางคู่ ปัจจุบันและอนาคต (ที่อนุมัติแล้ว)

รถไฟทางคู่ใหม่ 8 สาย
  • - สีดำ : เส้นทางรถไฟเดิมของประเทศไทย ทั้งที่เป็น ทางเดี่ยว ทางคู่ และทางสาม
  • - สีแดง : เส้นทางรถไฟทางคู่ใหม่ 6 เส้น ที่เป็นระบบ Meter Gauge รางกว้าง 1 ม. รองรับความเร็วประมาณ 90 กม./ชม. (เดิมเป็นทางเดี่ยว อนุมัติให้สร้างเพิ่มอีกรางเป็นทางคู่ ) แล้วเสร็จ 2563
  • - สีน้ำเงิน : เส้นทางรถไฟทางคู่ใหม่ 2 เส้น ที่เป็นระบบ Standard Gauge รางกว้าง 1.435 ม. รองรับความเร็วประมาณ 160-250 กม./ชม. โดยรถไฟที่จะนำมาใช้งานจะมีความเร็วประมาณ 160 กม./ชม.ในขั้นแรก ซึ่งต่อไปสามารถเปลี่ยนรถไฟเป็นความเร็วสูงได้ (บางเส้นทางเดิมเป็นทางเดี่ยว บางเส้นทางเป็นทางใหม่ โดยอนุมัติให้สร้างทางคู่ใหม่เพิ่ม) แล้วเสร็จ 2564
ที่มาข้อมูล สนข. / รฟท. & Prachachat Online 30 ก.ค. 57

 

รถไฟทางคู่และทางสามในปัจจุบัน

ทางรถไฟทางสามในปัจจุบันได้แก่ - รังสิต-ชุมทางบ้านภาชี - หัวหมาก-ชุมทางฉะเชิงเทรา ทางรถไฟทางคู่ในปัจจุบันได้แก่ - บางซื่อ-รังสิต - ชุมทางบ้านภาชี-ลพบุรี - ชุมทางบ้านภาชี-ชุมทางแก่งคอย - ตลิ่งชัน-นครปฐม - ชุมทางฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง (เพิ่งเปิดให้บริการปี 2555) ทางรถไฟทางคู่ที่ผ่านอีไอเอแล้ว รอประมูลปี 2557 - ชุมทางฉะเชิงเทรา-ชุมทางแก่งคอย
 

ข้อมูลเบื้องต้น
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพของการขนส่งทางรถไฟในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขนส่งสินค้าบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ที่ขนส่งผ่านท่าเรือแหลมฉบังและสถานี ICD ที่ลาดกระบัง การรถไฟฯ ได้เสนอขออนุมัติดำเนินโครงการก่อสร้างทางคู่ตอนฉะเชิงเทรา -ศรีราชา- แหลมฉบัง ระยะทาง 78 กม. และได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 ให้ดำเนินโครงการดังกล่าวได้ ต่อมาได้รับอนุมัติให้ปรับปรุงวงเงินลงทุนโครงการเป็นวงเงิน 5,850 ล้านบาท เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 และได้รับการบรรจุไว้ในแผนแม่บทการพัฒนาระบบโลจีสติกส์ของประเทศไทย พ.ศ.2550 - 2554
ลักษณะและที่ตั้งโครงการ
ก่อสร้างทางรถไฟใหม่คู่ขนานไปกับทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกในปัจจุบัน จากฉะเชิงเทราไปศรีราชาและสุดปลายทางที่สถานีแหลมฉบัง ผ่านสถานีฉะเชิงเทรา ดอนสีนนท์ พานทอง ชลบุรี บางพระ ศรีราชา และแหลมฉบัง ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และชลบุรี
ขอบเขตของงาน
ก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่มอีก 1 ทาง คู่ขนานไปกับทางรถไฟปัจจุบันจากสถานีชุมทางฉะเชิงเทรา (กม.60+993) ไปตามเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกสู่สถานีศรีราชา (กม.130+605) และสิ้นสุดปลายทางที่สถานีแหลมฉบัง (กม.140+420) โดยมีการก่อสร้างแผ่นพื้น คสล. วางบนเสาเข็มเพื่อรองรับคันทางดินถมในช่วงที่เป็นดินเหนียวอ่อน (soft clay) จากฉะเชิงเทรา ถึงสถานีพานทอง ประมาณ 33 กิโลเมตร
  • รื้อย้ายระบบอาณัติสัญญาณของทางรถไฟเดิมและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณบังคับสัมพันธ์ด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Based Interlocking :CBI) ทดแทนจำนวน 7 สถานี
  • ติดตั้งอุปกรณ์ระบบส่งข้อมูล ความเร็วสูง (SDH) เพื่อเชื่อมต่อระบบโทรคมนาคม
  • ปรับปรุงเครื่องกั้นถนนเสมอระดับ จำนวน 59 แห่ง พร้อมระบบควบคุม
  • ติดตั้งอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณ CBI เพื่อเชื่อมต่อกับระบบควบคุมการเดินรถจากศูนย์กลาง (CTC) ให้สามารถควมคุมสั่งการและแสดงผลสถานีให้พื้นที่โครงการ
  • ก่อสร้างสะพานรถไฟ ประกอบด้วย สะพานคอนกรีตช่วงยาว 3 แห่ง สะพานเหล็กช่วงยาว 1 แห่ง และสะพานช่วงสั้น 20 แห่ง
  • ปรับปรุงโครงสร้างสะพานรถไฟเดิมเพื่อรองรับการขยายถนนของหน่วยงานท้องถิ่น
  • ก่อสร้างอาคารบ้านพัก (หลังเดี่ยว) พร้อมที่ทำการ 3 หลัง บ้านเรือนแถว (6 หน่วย) 3 แห่ง และอาคารที่ทำการบริเวณสถานี 1 แห่ง
  • ก่อสร้างรั้วตลอดแนวสองฝั่งของทางคู่เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขนส่งและโดยสาร
  • รื้อย้ายบ้านเรือนที่รุกล้ำที่ดินของการรถไฟฯ จำนวน 35 หลังไปอยู่ในบริเวณที่จัดเตรียมไว้ให้
ปริมาณงานสำคัญ
  •  งานถมดินคันทาง 730,000 ลูกบาศก์เมตร
  •  งานชั้นรองพื้นทาง 170,000 ลูกบาศก์เมตร
  •  สะพานคอนกรีตและสะพาน Viaduct 4,500 เมตร
  •  สะพานโครงเหล็ก 50 เมตร
  •  เข็มคอนกรีตหล่อสำเร็จรูป I (0.22 x 0.22 ม.) 1,800,000 เมตร
  •  เข็มคอนกรีตหล่อสำเร็จ (0.525 x 0.525 ม.) 87,500 เมตร
  •  เข็มเจาะ ( 0.80 เมตร) 4,000 เมตร สำหรับสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง
  •  ราง BS 80A (UIC 860) 380 เมตริกตัน (ในทางหลีก)
  •  ราง BS 100A (UIC 860) 8,600 เมตริกตัน (ในทางประธาน)
  •  หมอนคอนกรีตชนิดท่อนเดี่ยว 150,000 ท่อนพร้อมเครื่องยึดเหนี่ยวรางแบบเหล็กสปริง รับแรงบิด (Torsion Type)
  •  ประแจ 1 : 12 BS 100A  จำนวน 57 ชุด และ 1 : 12 BS 80A  จำนวน 7 ชุด พร้อม bearer คอนกรีต
  •  หินโรยทาง 180,000 ลูกบาศก์เมตร
  •  แผ่นคอนกรีตสำหรับทางผ่านเสมอระดับ ยาวประมาณ 470 เมตร
  •  รั้วตาข่ายอาบสังกะสี ประมาณ 155,000 เมตร
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
ค่าจ้างที่ปรึกษาจัดการประกวดราคาและควบคุมงานก่อสร้าง 248.118 ล้านบาท ค่าก่อสร้างและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณฯ 3,926.000 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 4,174.118 ล้านบาท  
ระยะเวลาก่อสร้าง
28 เดือน ( 8 พฤษภาคม 2551 – 7 กันยายน 2553)
 

ข้อมูลเบื้องต้น
โครงการก่อสร้างทางคู่เส้นนี้ เป็นส่วนหนึ่งของทางคู่ตอนศรีราชา – ฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – แก่งคอย ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ระยะที่ 2 เพื่อรองรับการขยายตัวของท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 ซึ่งจากผลการออกแบบรายละเอียดและการศึกษาปริมาณความต้องการด้านการขนส่ง เส้นทางดังกล่าวเมื่อปี 2541 และผลการศึกษาทบทวนโครงการเมื่อปี 2544 การรถไฟฯ ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการก่อสร้างทางคู่ ตอนฉะเชิงเทรา – ศรีราชา และต่อขยายเข้าสู่แหลมฉบังเป็นลำดับแรก ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง
ลักษณะและที่ตั้งโครงการ
ก่อสร้างทางรถไฟใหม่จำนวน 1 ทาง คู่ขนานไปกับทางเดิม เริ่มจากสถานีฉะเชิงเทรา ไปตามทางรถไฟสายตะวันออกเดิม (สายอรัญประเทศ) ผ่านสถานีบางน้ำเปรี้ยวถึงสถานีคลองสิบเก้า แยกขนานไปกับทางรถไฟสายคลองสิบเก้า – แก่งคอย ผ่านสถานีองครักษ์ วิหารแดง บุใหญ่ สุดปลายทางที่สถานี แก่งคอย ซึ่งผ่านพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัด ฉะเชิงเทรา พื้นที่อำเภอองครักษ์ และอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก และพื้นที่อำเภอวิหารแดง อำเภอเมือง และอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
ขอบเขตของงาน
- ก่อสร้างทางใหม่อีก 1 ทาง เริ่มจากสถานีฉะเชิงเทรา (กม.61+190) ถึงสถานีแก่งคอย (กม.167+800) รวมระยะทางประมาณ 106 กม. - จัดเตรียมและเวนคืนที่ดินประมาณ 119 ไร่ บริเวณนอกย่านสถานีชุมทางฉะเชิงเทรา ชุมทางบ้านภาชี และชุมทางแก่งคอย เพื่อการก่อสร้างทางคู่เลี่ยงเมือง (Chord Line)
- ก่อสร้างทางคู่เลี่ยงเมือง จำนวน 2 ทาง ในพื้นที่ที่เวนคืนตามข้อที่แล้วบริเวณนอกย่านสถานี เพื่อใช้เป็นทางคู่เลี่ยงเมือง รวม 3 แห่ง ระยะทางประมาณ 7.1 กม. ได้แก่ 1. ที่ชุมทางฉะเชิงเทรา ระหว่าง กม.61+190 ถึง กม.62+600 เชื่อมสายคลองสิบเก้า-แก่งคอยกับสายฉะเชิงเทรา-สัตหีบ ระยะทาง 1.41 กม. 2. ที่ชุมทางบ้านภาชี ระหว่าง กม.92+000 ถึง กม. 93+600 เชื่อมสายเหนือกับสายตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทาง 1.60 กม. 3. ที่ชุมทางแก่งคอย ระหว่าง กม.163+350 ถึง กม.167+400 เชื่อมสายตะวันออกเฉียงเหนือกับสายคลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 4.05 กม. - ก่อสร้างอุโมงค์บริเวณเขาพระพุทธฉาย ขนานไปกับอุโมงค์เดิม กม.147+100 ถึง กม.148+307 ระยะทางประมาณ 1.2 กม. - ก่อสร้างสถานีเพิ่มเติม จำนวน 1 สถานี ได้แก่ สถานีไผ่นาบุญ ที่ กม.162+819 ระหว่างสถานีบุใหญ่และสถานีแก่งคอย เพื่อใช้เป็นสถานีควบคุมระบบอาณัติสัญญาณฯ (Block Post Station) รวมทั้งอาคารประกอบสถานีอื่นๆ ที่มีอยู่เดิมเพื่อความสมบูรณ์ - ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมสำหรับทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า - แก่งคอย และ ทางคู่เลี่ยงเมือง
วงเงินลงทุนโครงการ
จากการศึกษาทบทวนโครงการล่าสุด  มีประมาณการค่าก่อสร้าง ประกอบด้วย 128.82 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง 414.24 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง / ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ 10,805.29 ล้านบาท รวมประมาณราคาค่าก่อสร้าง 11,348.35ล้านบาท
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ความจุของทางจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 เท่าตัว สามารถเดินรถได้ตรงเวลาโดยไม่ต้องรอหลีก ความเร็วเฉลี่ยของขบวนรถ และความปลอดภัยในการเดินรถเพิ่มมากขึ้น รองรับการขนส่งสินค้าระหว่างพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกและท่าเรือแหลมฉบัง กับพื้นที่ บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น น้ำมัน ก๊าซ LPG ปูนซีเมนต์ สินค้าบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ เป็นต้น สนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการ ขนส่ง (Modal Shift) ไปสู่ระบบรางและสนับสนุน การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการด้านการขนส่งสินค้าหัน มาใช้บริการขนส่งระบบรางมากขึ้น เป็นประโยชน์ ต่อการใช้พลังงานและลดต้นทุนการขนส่งของ ประเทศ ช่วยแบ่งเบาปริมาณการจราจรบนถนนสายต่างๆ ที่เชื่อมภาคตะวันออกกับภาคเหนือและภาคตะวันออก- เฉียงเหนือ ลดการใช้น้ำมันสำหรับรถยนต์บรรทุก ลดอุบัติ- เหตุและลดการสูญเสียต่างๆ บนท้องถนน
 

รถไฟทางคู่รวม 8 สาย ที่อนุมัติโดย คสช.

การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมืองจะดําเนินการปรับปรุงระบบอุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางราง และพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ที่มีความพร้อมดําเนินการ 6 สายแรก และเร่งผลักดันให้สามารถดําเนินการก่อสร้างทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน ( Standard Gauge) เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน และสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนตอนใต้) เพื่อให้รถไฟเป็นทางเลือกใหม่ของการเดินทาง และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของประเทศ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง เช่น
  • โครงข่ายรถไฟครอบคลุมขึ้นอีก 6 จังหวัด ทางคู่เพิ่มขึ้นอีก 1,300 กิโลเมตร
  • เพิ่มความเร็วในการเดินรถ (รถสินค้าจาก 29 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็น 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และรถด่วนพิเศษจาก 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็น 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
  • เพิ่มน้ําหนักลงเพลาทําให้สามารถเพิ่มการขนส่งได้ร้อยละ 25 ต่อขบวน
  • สัดส่วนการขนส่งทางรถไฟในประเทศจะเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 1.5 เป็นร้อยละ 5 ในปี 2563
  • ประชาชนเข้าถึงรถไฟได้ง่ายขึ้น การเดินทางและขนส่งด้วยรถไฟตรงเวลา และปลอดภัยมากขึ้น
  • โครงข่ายของไทยสามารถเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและจีนตอนใต้ได้มากยิ่งขึ้น
ที่มาข้อมูล ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 โดย สนข.(29 กค.57)

ลักษณะโครงการ
- เป็นโครงการพัฒนารถไฟทางคู่ใหม่ แนวเส้นทางมีระยะทางโดยประมาณ 185 กิโลเมตร โดยก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่ม 1 ทาง ตำแหน่งด้านขวาทาง (ด้านตะวันออก) และขนานไปกับทางรถไฟเดิม เริ่มต้นที่ บริเวณสถานีชุมทางถนนจิระ ถึงสถานีขอนแก่น - โครงสร้างทางวิ่งรถไฟเป็นทางวิ่งระดับพื้นทั้งหมด ยกเว้นช่วงบริเวณสถานีขอนแก่นจะเป็นทางรถไฟยกระดับ ระยะทางประมาณ 5.4 กิโลเมตร - ย่านเก็บกองและขนถ่ายตู้สินค้า CY ในโครงการจะมีตำแหน่งของ CY 3 แห่ง ได้แก่ สถานีบ้านกระโดน สถานีบัวใหญ่ และสถานีท่าพระ โดยในส่วนของสถานีบ้านกระโดนจะเป็นตำแหน่งที่ถูกกำหนดให้ก่อสร้างใหม่ ซึ่งย้ายจากจุด CY เดิมจากสถานีบ้านเกาะ เพื่อรองรับการขนส่งที่จะเติบโตในอนาคตและหลีกเลี่ยงพื้นที่ชุมชนเมืองของสถานีบ้านเกาะ - ระบบรางเป็นทางกว้าง 1.00 เมตร (Meter Gauge) แบบใช้หินโรยทาง (Ballast) ใช้รางชนิด UIC54 และหมอนคอนกรีตแบบ Mono Block - ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมสำหรับทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ -ขอนแก่น  
งบประมาณ
26,152.70 ล้านบาท
ประโยชน์
  • เพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งทางรถไฟ ลดระยะเวลาการเดินทาง ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในการขนส่งของประเทศ และลดปัญหามลพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
  • ช่วยให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางมากยิ่งขึ้น
  • เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค และท้องถิ่น
  • ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
  • เชื่อมโยงโครงข่ายการบริหารจัดการขนส่งมวลชน สินค้า และบริการ ทั้งในพื้นที่ชนบท เมือง และระหว่างประเทศเข้าด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
FIRR = 5.90 % EIRR = 24.55 %  
สถานะปัจจุบัน
ผ่านการพิจารณา EIA แล้ว

ลักษณะโครงการ
- เป็นโครงการพัฒนารถไฟทางคู่ใหม่ แนวเส้นทางมีระยะทางโดยประมาณ 170 กิโลเมตร โดยก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่ม 1 ทาง ขนานไปกับทางรถไฟเดิม เขตทางกว้าง 60 เมตรเส้นทางวิ่งไปตามแนวเส้นทางรถไฟเดิมตลอดสายทาง เริ่มต้นที่ กม.47+700 บริเวณสถานีนครปฐม แนวเส้นทางมุ่งไปทางทิศตะวันตกถึงชุมทางหนองปลาดุก ระยะทางประมาณ 16.5 กิโลเมตร จากนั้นแนวเส้นทางเลี้ยวซ้ายลงใต้ ผ่านจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี สิ้นสุดที่ กม.217+700 เลยสถานีหัวหินไปประมาณ 4 กิโลเมตร - บริเวณสถานีช่วง กม.211+582.900 ถึง กม.215+872.900 ระยะทาง 4.290 กิโลเมตร เป็นทางวิ่งยกระดับ - ระบบรางเป็นทางกว้าง 1.00 เมตร (Meter Gauge) แบบใช้หินโรยทาง (Ballast) ใช้รางชนิด UIC54 และหมอนคอนกรีตแบบ Mono Block - ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมสำหรับทางคู่ ช่วงนครปฐม-หัวหิน  
งบประมาณ
20,145.59 ล้านบาท  
สถานะปัจจุบัน
อยู่ระหว่างการพิจารณา EIA
ประโยชน์
- เพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งทางรถไฟ ลดระยะเวลาการเดินทาง ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในการขนส่งของประเทศ และลดปัญหามลพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อม - ช่วยให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางมากยิ่งขึ้น - เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค และท้องถิ่น - ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

ลักษณะโครงการ
- ก่อสร้างทางรถไฟความกว้างทาง 1.00 ม.(Meer Gauge) รวมระยะทาง 167 กม. - สร้างเป็นทางคู่ มีสถานี 21 สถานี (รวมสถานีประจวบฯ และ ชุมพร) - สร้างที่หยุดรถเพิ่ม 5 จุด และรื้อย้ายอาคารสถานี 14 สถานี - ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด 6 อำเภอ
 งบประมาณ
17,452.53 ล้านบาท
 ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
FIRR = 3.21 % EIRR = 23.53 %
สถานะปัจจุบัน
อยู่ระหว่างการพิจารณา EIA
ประโยชน์
- ภาคประชาชนในพื้นที่ที่โครงการผ่าน สามารถใช้บริการขนส่งได้สะดวกมากยิ่งขึ้น - ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่โครงการผ่าน สามารถใช้บริการขนส่งสินค้าได้ ซึ่งจะช่วยลด ต้นทุนทางโลจิสติกส์ของประเทศได้อย่างเป็นระบบ และจะสามารถพัฒนาความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศได้ - ส่งดีต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมคุ้มค่ากับต้นทุนของทรัพยากรที่นำมาลงทุน

ลักษณะโครงการ
เป็นโครงการพัฒนารถไฟทางคู่ใหม่ แนวเส้นทางเส้นทางรถไฟทางคู่สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะบา-ชุมทางถนนจิระ มีระยะทางประมาณ 131 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ - ช่วงที่ 1 มาบกะเบา-ปางอโศก ระยะทาง 32 กิโลเมตร เริ่มต้นบริเวณสถานีมาบกะเบา จังหวัดสระบุรี กม.134+250 โดยมีโครงสร้างทางรถไฟยกระดับช่วง กม.147+800 ถึง กม.152+650รวมระยะทาง 4.8 กิโลเมตร
และมีอุโมงค์รถไฟ 2 ช่วง ได้แก่ กม.136+250 ถึง กม.141+800 และ กม.144+850 ถึง กม.145+100 รวมระยะทาง 6 กิโลเมตร - ช่วงที่ 2 จากปางอโศก-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 101 กิโลเมตร เริ่มต้นที่สถานีปางอโศก กม.165+199.639 โดยก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มอีก 1 ทาง ขนานไปกับแนวทางรถไฟเดิม สิ้นสุดที่สถานีชุมทางถนนจิระ จังหวัดนครราชสีมา บริเวณ กม.270+000 และจะมีอุโมงค์บริเวณหลังสถานีคลองขนานจิตร บริเวณ กม.198+400 ถึง กม.199+550
งบประมาณ
29,968.62 ล้านบาท
สถานะปัจจุบัน
อยู่ระหว่างการพิจารณา EIA
ประโยชน์
- เพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งทางรถไฟ ลดระยะเวลาการเดินทาง ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในการขนส่งของประเทศ และลดปัญหามลพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อม - ช่วยให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางมากยิ่งขึ้น - เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค และท้องถิ่น - ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
ลักษณะโครงการ
เป็นโครงการพัฒนารถไฟทางคู่ใหม่ เขตทาง 60 เมตร ระยะทางประมาณ 32 กิโลเมตร และการพัฒนาทางรถไฟใหม่เพิ่ม 1 ทาง ขนานไปกับทางรถไฟเดิม (เขตทางกว้าง 80 เมตร) ระยะทางประมาณ 116 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือช่วงที่ 1 แนวเลี่ยงเมืองลพบุรี ระยะทางประมาณ 32 กิโลเมตร จากสถานีบ้านกลับ จังหวัดสระบุรี เส้นทางรถไฟมุ่งขึ้นทิศเหนือวิ่งไปตามแนวเส้นทางเดิมประมาณ 4 กิโลเมตร จากนั้นแนวเส้นทางเลี้ยวซ้ายไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นทางยกระดับ โดยใช้เขตทางของทางหลวงหมายเลข 311 และข้ามทางแยกทางหลวงหมายเลข 311 จากนั้น แนวเส้นทางเลี้ยวขวาไปตามที่ราบทุ่งนา แล้วมุ่งขึ้นทิศเหนือไปบรรจบทางรถไฟเดิม ก่อนถึงสถานีโคกกระเทียม ช่วงที่ 2 จากสถานีท่าแค-สถานีปากน้ำโพ ระยะทางประมาณ 116 กิโลเมตร เริ่มต้นที่บริเวณสถานีท่าแค เส้นทางมุ่งขึ้นทิศเหนือวิ่งไปตามแนวเส้นทางเดิม สิ้นสุดบริเวณสถานีปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์  
งบประมาณ
24,918.74 ล้านบาท  
สถานะปัจจุบัน
อยู่ระหว่างการพิจารณา EIA
ประโยชน์
  • เพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งทางรถไฟ ลดระยะเวลาการเดินทาง ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในการขนส่งของประเทศ และลดปัญหามลพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
  • ช่วยให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางมากยิ่งขึ้
  • เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค และท้องถิ่น
  • ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
 

ข้อมูลน่าสนใจ

เปรียบเทียบ Meter Gauge VS. Standard Gauge

 

 เปรียบเทียบสัดส่วนการใช้รางรถไฟทั่วโลก

แผนงานอื่นๆของคสช.

พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคมว่า ได้เร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าทุกเส้นทางให้แล้วเสร็จทันตามเป้าหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาการจรจาแออัดให้กับคนกรุงเทพฯโดยจะต้องยึดหลักการทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม คุ้มค่า รวดเร็ว และโปร่งใส เบื้องต้นได้กำชับให้เร่งรัดดำเนินโครงการรถไฟฟ้า 3 เส้นทาง คือ 1. รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต โดยได้สั่งการให้ฝ่ายบริหาร รฟม.เร่งปรับแก้ไขร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) ให้เสร็จ เพื่อให้พร้อมเปิดประกวดราคาหาผู้รับเหมาก่อสร้าง
2. ส่วนสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระ ให้เร่งเจรจาเพื่อเปิดประกวดราคาจัดหาผู้ที่จะเข้ามาเดินรถ 3. สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี จะเร่งประสานให้ คสช. พิจารณาอนุมัติโดยเร็ว "รถไฟฟ้าสายสีเขียวและน้ำเงิน รฟม.ต้องไปหาข้อยุติ และต้องนำเรื่องกลับมาเสนอบอร์ดพิจารณาในการประชุมครั้งหน้าวันที่ 19 สิงหาคม โดยจะต้องเร่งรัดให้ทั้ง 2 สาย เปิดประมูลหาผู้รับเหมาและผู้บริหารการเดินรถให้ได้ภายในเดือนสิงหาคมด้วย ส่วนสายสีชมพูไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของ คสช." พล.อ.ยอดยุทธกล่าว
 ที่มาข้อมูล : Matichon Daily, 31 ก.ค. 57

คลิ๊ก! เพื่ออ่านบทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

 
 

Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon