realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รถไฟฟ้าภูเก็ต

26 Mar 2021 5.1K

รถไฟฟ้าภูเก็ต

26 Mar 2021 5.1K
 

รถไฟฟ้าภูเก็ต

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ตเป็นโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนระบบการคมนาคมขนส่งของประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ รวมถึงอำนวยความสะดวกให้เกิดความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ภูเก็ตเป็นเมืองต้นแบบ หรือเป็นเมืองอัจฉริยะ Smart City โดยโครงการนี้จะบรรเทาปัญหาจราจร ลดมลภาวะเป็นพิษ ส่งเสริมการท่องเที่ยวและภาพลักษณ์ รวมถึงช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนในจังหวัดภูเก็ตอีกด้วย

ความเป็นมาของโครงการ

20 ต.ค. 55 คณะรัฐมนตรี(ครม.) มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายตัวของการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคใต้
10 ก.ย. 56 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อทำการศึกษาและออกแบบโครงการรถไฟเพื่อการท่องเที่ยวจากสุราษฎร์ธานี –พังงา -ภูเก็ต (รวมทั้งโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต)
10 ก.พ. 59 กระทรวงคมนาคมให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ตในรูปแบบ PPP ต่อเนื่องจาก สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
13 ก.ค. 61 รฟม. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อทำรายงานการวิเคราะห์โครงการตาม พ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง
พระราชกฤษฎีกากำหนดจังหวัดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยดำเนินกิจการรถไฟฟ้า พ.ศ. 2562 เพื่อให้ รฟม. ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในจังหวัดพังงาและภูเก็ต ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 62 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (วันที่ 7 เม.ย. 62) เป็นต้นไป
ที่มา : MOT, MRTA, ประชาชาติ  

จุดมุ่งหมายของโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต

เพื่อพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับประชาชนในจังหวัดภูเก็ตและนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจราจรได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีต่อประชาชน นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและภาพลักษณ์ของจังหวัดภูเก็ต

การดำเนินโครงการ

สนข. ดำเนินการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนหลักในจังหวัดภูเก็ตโดยผลการศึกษาได้เสนอแนะแนวเส้นทางที่ควรดำเนินการ จำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่
เส้นทางที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง และ ช่วงท่านุ่น - เมืองใหม่
เส้นทางที่ 2 ช่วงเมืองภูเก็ต – ป่าตอง
เส้นทางที่ 3 ช่วงห้าแยกฉลอง – ราไวย์
แต่เริ่มดำเนินการเส้นทางที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง และ ช่วงท่านุ่น – เมืองใหม่ก่อน โดยแบ่งการดำเนินการโครงการเป็น 2 ระยะ
ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง รวม 41.7 กม. 21 สถานี
ระยะที่ 2 ช่วงท่านุ่น-เมืองใหม่ รวม 16.8 กม. 3 สถานี
โดยเร่งดำเนินการระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลองก่อน  

ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง

เส้นทางช่วงนี้เป็นเส้นทางจากในตัวเมืองภูเก็ตไปจนถึงนอกตัวเมืองภูเก็ตนอกจากนั้นยังเชื่อมต่อกับท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตอีกด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกต่อนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่ในการเดินทางในจังหวัดมากขึ้น โดยจะเร่งการก่อสร้างให้เร็วที่สุด คาดว่าจะเปิดใช้บริการได้ในปี 2569
ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง รวม 41.7 กม. 21 สถานี
- ทางวิ่งระดับพื้นดิน (At Grade) 19 สถานี
- ทางวิ่งลอดใต้ดิน (Underground) 1 สถานี คือ สถานีถลาง ซึ่งสถานีนี้จะเป็นศูนย์ควบคุมการเดินรถ และซ่อมบำรุงด้วย
- ทางวิ่งยกระดับ (Elevated) 1 สถานี คือ สถานีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
 
เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 64 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้นำเสนอการศึกษาเบื้องต้นของเทคโนโลยีรถไฟฟ้าสำหรับโครงการ ซึ่งประกอบด้วย 3 รูปแบบ คือ รถไฟฟ้ารางเบาแบบล้อเหล็ก รถไฟฟ้ารางเบาแบบล้อยาง และระบบ ART (Autonomous Rapid Transit) ให้คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.)
เนื่องจากเมื่อได้เปรียบเทียบงบประมาณระหว่างการใช้รถไฟฟ้ารางเบากับระบบ ART สรุปว่าการใช้ระบบ ART นั้นใช้งบประมาณเพียง 17,723 ลบ. ซึ่งราคาถูกกว่าครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับการใช้รถไฟฟ้ารางเบาที่ใช้งบประมาณ 35,201 ลบ.
เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 64 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ติดตามความคืบหน้าโครงการ โดยมีคำสั่งเพิ่มเติม คือ
1. หาข้อสรุปรูปแบบรถไฟฟ้าว่าจะใช้ระบบใด ระหว่างรถไฟฟ้ารางเบาแบบล้อเหล็ก, รถไฟฟ้ารางเบาแบบล้อยาง (แบบสายสีทอง) และระบบ ART (Autonomous Rapid Transit) ที่ใช้งบประมาณถูกกว่าครึ่งหนึ่ง
2. ให้ สนข. ร่วมกับ กทพ. และ รฟม. ทบทวนภาพรวมการประมาณการปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้าภูเก็ต ทางพิเศษและระบบขนส่งมวลชนของจังหวัดภูเก็ต เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า โครงการทั้ง 2 ระยะจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการตามที่คาดการณ์ไว้
3. ให้ รฟม. กำหนดราคาค่าโดยสารใหม่ให้เหมาะสม โดยที่ราคาไม่สูงจนเกินไปและสามารถจูงใจให้เอกชนมาร่วมลงทุนได้
4. ให้ รฟม. พิจารณาใช้เทคนิคการก่อสร้างที่ใช้ระยะเวลาน้อยที่สุด เพื่อลดผลกระทบด้านการจราจร เนื่องจากตามแนวเส้นทางของโครงการจะผ่านบริเวณที่มีปัญหาการจราจรหนาแน่นอยู่แล้ว โดยจะเร่งการดำเนินการระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง ให้พร้อมเปิดบริการได้ในปี 69นี้
ในพ.ค. 64 รฟม.ได้สรุปรูปแบบโครงการระบบขนส่งมวลชนจากรถไฟฟ้ารางเบา(แทรม) เป็นระบบ Automated Rapid Transit (ART) หรือรถบัสอัจฉริยะไร้คนขับ ซึ่งใช้ล้อยางแต่เดินรถด้วยระบบไฟฟ้า ทําให้งบประมาณโครงการลดลงประมาณ 15,289 ลบ. จากเดิม 35,201 ลบและลดระยะเวลาการก่อสร้างจากเดิม 9 เดือน โดยตอนแรกจะใช้เวลาก่อสร้าง 3ปี โดยหวังให้เป็นรฟฟ.สายแรกของต่างจังหวัด
เทคนิคการก่อสร้างสำหรับโครงการนี้จะใช้เทคนิคที่ใช้เวลาน้อยที่สุด เพื่อลดผลกระทบต่างๆ เช่น การใช้คอนกรีตหล่อสําเร็จ และการใช้ Launching Gantry เป็นต้น
จากการที่ต้นทุนการก่อสร้างมีราคาที่ถูกลง ทำให้รฟม.สามารถกําหนดอัตราค่าโดยสารที่ถูกลงได้ ในเบื้องต้นจะแบ่งเป็นการเดินทางในเมืองภูเก็ต นอกเมืองภูเก็ต และการเดินทางระหว่างเขตเมือง เนื่องจากโครงการนี้จะเป็นโครงการแรกในไทยที่ใช้ระบบ ART  นายศักดิ์สยามจึงให้ รฟม. ค้นคว้าโครงสร้างอัตราค่าโดยสารของโครงการ ART จากต่างประเทศประกอบการพิจารณาด้วย
นอกจากนี้นายศักดิ์สยามให้รฟม. พิจารณาลดต้นทุนการก่อสร้างและระยะเวลาการก่อสร้างเพิ่มเติม โดยพิจารณาการนําเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีต้นทุนต่ำมาปรับใช้ เพื่อให้สามารถกําหนดอัตราค่าโดยสารได้ต่ำที่สุด
แผนการดำเนินโครงการระยะที่ 1 คือ
ปี 64 เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบในรูปแบบการร่วมลงทุนโครงการฯ
ปี 65 ประกาศเชิญชวน / คัดเลือกเอกชนผู้ร่วมลงทุนโครงการฯ/ เสนอกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ/ ลงนามในสัญญา
ปี 66 – 69 ออกแบบรายละเอียดและก่อสร้างโครงการ
ปี 69 เปิดให้บริการโครงการ  
แนวเส้นทางโครงการ ระยะที่ 1 เริ่มจากสถานีสนามบินภูเก็ตโดยแนวเส้นทางช่วงนี้เป็นโครงสร้างแบบยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 4031 จากนั้นลดระดับลงสู่ระดับดินที่ทางหลวงหมายเลข 4026 มุ่งหน้าเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 402 เพื่อเข้าสู่เมืองภูเก็ต โดยแนวเส้นทางช่วงผ่านอ.ถลางจะลดระดับเป็นทางลอดใต้ดิน มีระยะทางประมาณ 3 กม. จากนั้นแนวเส้นทางจะกลับขึ้นสู่ระดับดิน ผ่านอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี – ท้าวศรีสุนทร(อนุสาวรีย์วีรสตรี) สถานีขนส่ง เข้าสู่เขตเทศบาลเมืองภูเก็ต ผ่าน ถ.ภูเก็ต และข้ามสะพานเทพศรีสินธุ์ (สะพานข้ามคลองเกาะผี) เพื่อเข้าสู่ถนนเจ้าฟ้าตะวันออก (ทางหลวงหมายเลข 4021) และไปสิ้นสุดที่บริเวณห้าแยกฉลอง ระยะทางรวมประมาณ 41.7 กม.
แนวเส้นทางโครงการ ระยะที่ 1 ผ่าน
- ชุมชนขนาดใหญ่ ได้แก่ เทพกระษัตรีศรีสุนทร เทศบาลนครภูเก็ต
- จุดเชื่อมต่อการเดินทางกับรูปแบบการขนส่งอื่นๆได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต, สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ตแห่งที่ 2 และท่าเทียบเรือฉลอง
- สถานศึกษา ได้แก่ โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย จำนวนมากกว่า 20 แห่ง โดยมีจำนวนนักเรียน/นักศึกษา รวมประมาณ20,000 คน
- โรงพยาบาล/ศูนย์สุขภาพชุมชน จำนวน 4 แห่ง
ที่มา : MOT, MRTA, ประชาชาติ

รูปแบบสถานี

ที่มา : MRTA

รูปแบบการวิ่งของรถไฟฟ้า

ที่มา : MRTA

ศูนย์เชื่อมต่อการเดินทาง

ที่มา : MRTA

ระยะที่ 2 ช่วงท่านุ่น-เมืองใหม่

เส้นทางช่วงท่านุ่น - เมืองใหม่นี้มีทั้งหมด 3 สถานี รวมระยะทาง 16.8 กม. ซึ่งเส้นทางนี้จะต่อจากสถานีเมืองใหม่ของระยะที่ 1 ไปจนถึงสถานีท่านุ่น จ.พังงา เป็นเส้นทางนอกเมืองภูเก็ต โดยยังไม่มีรายละเอียดของช่วงนี้ เนื่องจากต้องการเร่งการดำเนินการไปที่ระยะที่ 1 ให้เสร็จทันปี 2569 ก่อน
  รายชื่อสถานี ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง
1. สถานีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
2. สถานีเมืองใหม่
3. สถานีโรงเรียนเมืองถลาง
4. สถานีถลาง
5. สถานีอนุเสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร
6. สถานีเกาะแก้ว
7. สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 จังหวัดภูเก็ต
8. สถานีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
9. สถานีทุ่งคา
10. สถานีเมืองเก่า
11. สถานีหอนาฬิกา
12. สถานีบางเหนียว
13. สถานีห้องสมุดประชาชน
14. สถานีสะพานหิน
15. สถานีศักดิเดชน์
16. สถานีดาวรุ่ง
17. สถานีวิชิต
18. สถานีเจ้าฟ้าตะวันออก
19. สถานีป่าหล่าย
20. สถานีโคกโตนด
21. สถานีฉลอง
รายชื่อสถานี ระยะที่ 2 ช่วงท่านุ่น - เมืองใหม่

อ่านบทความรถไฟฟ้าอื่นๆเพิ่มเติม คลิก!

รถไฟฟ้าสายสีทอง
รถไฟฟ้าสายสีม่วง
รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้
รถไฟฟ้าสายสีแดง
รถไฟฟ้า-บางนา-สุวรรณภูมิ
รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
รถไฟฟ้าสายสีส้ม
รถไฟฟ้าสายสีเทา
หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
รถไฟฟ้าสายสีชมพู
รถไฟฟ้า-โคราช
รถไฟฟ้า-เชียงใหม่    
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon