realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รถไฟฟ้ารางเบาเชียงใหม่

28 Mar 2018 28.0K

รถไฟฟ้ารางเบาเชียงใหม่

28 Mar 2018 28.0K
 

 รถไฟฟ้ารางเบาเชียงใหม่

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่

โครงการเพื่อบรรเทาปัญกาการจราจรหนาแน่นในจ.เชียงใหม่ เนื่องจากการเดินทางโดยใช้รถยนต์เป็นหลักของทั้งคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ โครงการนี้จะเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทาง รวมถึงอำนวยความสะดวกให้เกิดความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเป็นการพัฒนาศักยภาพระบบขนส่งมวลชนให้มีโครงข่ายที่สมบูรณ์
จากตอนแรกโครงการรถไฟฟ้ารางเบา จ.เชียงใหม่นั้น มีโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะ 2 โครงข่ายทางเลือก นั่นคือ โครงข่าย A เป็นระบบรฟฟ.ใต้ดินและบนดินมีทางวิ่งเฉพาะ และโครงข่าย B เป็นระบบรฟฟ.บนดินระดับผิวถนน สามารถใช้ช่องจราจรร่วมกับรถอื่นๆได้
เมื่อ 21 ก.พ. 61 ได้ผลสรุปว่ารูปแบบ A มีความเหมาะสมที่สุดเพราะใช้ทางวิ่งบนดินและใต้ดินร่วมกัน ช่วยลดผลกระทบในเรื่องการวิ่งร่วมกันกับรถบนถนนและไม่รบกวนทัศนียภาพของตัวเมืองเชียงใหม่ชั้นใน รวมทั้งมี 3 เส้นทางหลักที่สร้างพร้อมกัน ทำให้เกิดความคุ้มทุนในการก่อสร้างที่มากกว่า
แต่มีรายงานแจ้งว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ทำหนังสือภายในส่งถึงที่ปรึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชน(แทรม) จ.เชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงรพ.นครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี เพื่อพิจารณาปรับรูปแบบจากเดิมเป็นรฟฟ.รางเบาแทรม เปลี่ยนเป็นระบบรถโดยสารอัจฉริยะ (Automated Rapid Transit) หรือ เออาร์ที (ART) ตามนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว. คมนาคม เพื่อให้สอดคล้องกับรฟฟ.รางเบาภูเก็ตที่ได้ปรับเป็นระบบ ART แล้วเช่นกัน
ในเบื้องต้นจะประชุมหารือร่วมกันในมิ.ย.นี้ เพื่อลดต้นทุนการก่อสร้าง เช่นเดียวกับรฟฟ.รางเบาภูเก็ต เมื่อปรับเป็น ART สามารถลดวงเงินการก่อสร้างได้เกือบ 2 หมื่นล้านบาท หากท้ายที่สุดแล้วได้มีการปรับรูปแบบรฟฟ.รางเบาเชียงใหม่ไปเป็นระบบ ART คาดว่าต้องศึกษาใหม่ทั้งหมด เพราะผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม กฎหมาย รวมถึงรายละเอียดต่างๆ ของแทรม และ ART ที่มีความแตกต่างกัน
ซึ่งในขณะนี้โครงการนี้ มีความล่าช้าจากเดิมอยู่แล้ว หากเปลี่ยนรูปแบบแล้วศึกษาใหม่ จะทำให้เกิดความล่าช้ามากขึ้นไปอีก จากแผนการเดิมเสนอครม. พิจารณาได้ประมาณกลางปี 64 เปิดประกวดราคาประมาณปลายปี 64 เริ่มก่อสร้างประมาณกลางปี 65

เส้นทางรฟฟ.รางเบา เชียงใหม่

โครงการรฟฟ.เชียงใหม่นี้ มี รฟม. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก โดยจุดมุ่งหมายของโครงการนี้คือการเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ในการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยวในจ. เชียงใหม่, สร้างทางเลือกในการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน, ลดต้นทุนในการเดินทางจากเดิมที่ใช้ทางรถยนต์เป็นหลัก และลดมลพิษจากการใช้เชื้อเพลิง และลดเวลาในการเดินทาง
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาโครงการรฟฟ.รางเบา เชียงใหม่  กำหนดให้มีจำนวนถึง 3 เส้นทางด้วยกัน ได้แก่
  1. เส้นทางที่ 1 สายสีแดง ช่วงรพ.นครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี รวม 16 สถานี ระยะทาง 15.8 กม.
  2. เส้นทางที่ 2 สายสีน้ำเงิน ช่วงสวนสัตว์เชียงใหม่ - แยกศรีบัวเงินพัฒนา รวม 13 สถานี ระยะทาง 11 กม.
  3. เส้นทางที่ 3 สายสีเขียว ช่วง แยกรวมโชคมีชัย - ท่าอากาศยานเชียงใหม่ รวม 10 สถานี ระยะทาง 12 กม.
รวมทั้งหมด 39 สถานี ระยะทาง 38.8 กม. กระจายโครงข่ายการเดินทางทั่วจ.เชียงใหม่
โดยเร่งดำเนินการ เส้นทางที่ 1 สายสีแดง ช่วงรพ.นครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี ก่อน
 

เส้นทางที่ 1 สายสีแดง

เส้นทางที่ 1 สายสีแดง ช่วงรพ.นครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี รวม 16 สถานี ระยะทาง 15.8 กม. งบประมาณ 28,726 ลบ. ซึ่งเส้นทางนี้เชื่อมต่อไปยังท่ากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมทั้งผ่านสถานที่สำคัญหลายแห่ง จึงเป็นเหตุผลที่เร่งดำเนินการเส้นทางนี้ก่อน
เริ่มต้นทางวิ่งบนดิน-โรงพยาบาลนครพิงค์ - ศูนย์ราชการเชียงใหม่ - สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี - ศูนย์ประชุมนานาชาติ - สถานีตำรวจช้างเผือก - เริ่มใช้ทางวิ่งใต้ดินที่แยกข่วงสิงห์ - มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ - สถานีขนส่งช้างเผือก - รพ.เชียงใหม่ราม - รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ - (พบจุดตัดสายสีน้ำเงิน) - ร.ร.วัฒโนทัยพายัพ - สนามบินนานาชาติเชียงใหม่ (พ้นเขตสนามบิน ใช้ทางวิ่งบนดิน) - กรมการขนส่งทางบก - ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีหางดง
รูปแบบทางวิ่ง เป็น 2 แบบ
  1. ทางวิ่งระดับดิน 9 สถานี ระยะทาง 9.3 กม.จะทำในช่วงนอกเมืองถนนมีขนาดใหญ่ มี 2 ช่วงคือจากต้นทางสถานี โรงพยาบาลนครพิงค์ - สถานีโพธาราม และช่วงสถานีสนามบินเชียงใหม่ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี
  2. ทางวิ่งใต้ดิน 7 สถานี ระยะทาง 6.5 กม. ตั้งแต่สถานีข่วงสิงห์ - สถานีแยกสนามบินเชียงใหม่
สิ่งอำนวยความสะดวกโครงการ
อาคารจอดแล้วจร 2 อาคาร คือ
  1. สถานีนครพิงค์ จอดรถยนต์ได้ 1,600 คัน และจอดมอเตอร์ไซค์ได้ 800 คัน
  2. สถานีแม่เหียะสมานสามัคคี จอดรถยนต์ได้ 1,200 คัน และจอดมอเตอร์ไซค์ได้ 2800 คัน
อาคารซ่อมบำรุง (Depot) ก่อสร้างบริเวณใกล้แยกหนองฮ่อ (พื้นทื่ลัดดาแลนด์เดิม)

เส้นทางที่ 2 สายสีน้ำเงิน

เส้นทางที่ 2 สายสีน้ำเงิน ช่วงสวนสัตว์เชียงใหม่ - แยกศรีบัวเงินพัฒนา รวม 13 สถานี ระยะทาง 11 กม.
เริ่มต้นจากทางวิ่งใต้ดิน - สวนสัตว์เชียงใหม่ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - แยกตลาดต้นพยอม - รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ (พบจุดตัดสายสีแดง) - วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร - ประตูท่าแพ - ย่านเชียงใหม่ไนท์บาซาร์ (พบจุดตัดสายสีเขียว) - ตลาดสันป่าข่อย - สถานีรถไฟเชียงใหม่ - เริ่มใช้ทางวิ่งบนดินที่แยกหนองประทีป - ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีดอนจั่น - ห้างสรรพสินค้าพรอมเมนาดา
โดยยังไม่มีรายละเอียดของช่วงนี้เพิ่มเติม เนื่องจากต้องการเร่งการดำเนินการไปเส้นทางที่ 1 สายสีแดงก่อน

เส้นทางที่ 3 สายสีเขียว

เส้นทางที่ 3 สายสีเขียว ช่วง แยกรวมโชคมีชัย - ท่าอากาศยานเชียงใหม่ รวม 10 สถานี ระยะทาง 12 กม.
เริ่มต้นจากทางวิ่งบนดิน - แยกรวมโชค-เริ่มใช้ทางวิ่งใต้ดินที่แยกแม่โจ้ (รพ.เทพปัญญา) - ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล - สถานีขนส่งอาเขต - รพ.แมคคอร์มิคเชียงใหม่ - ร.ร.ดาราวิทยาลัย - ร.ร.ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย - ตลาดวโรรส (กาดหลวง) - เทศบาลนครเชียงใหม่-ย่านเชียงใหม่ไนท์บาซาร์ - ร.ร.เรยีนาเชลีวิทยาลัย - ร.ร.พระหฤทัย - ร.ร.มงฟอร์ตวิทยาลัย - เชียงใหม่แลนด์ - ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่า เชียงใหม่แอร์พอร์ท - มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น - สนามบินนานาชาติเชียงใหม่(พบจุดตัดสายสีแดง)
โดยยังไม่มีรายละเอียดของช่วงนี้เพิ่มเติม เนื่องจากต้องการเร่งการดำเนินการไปเส้นทางที่ 1 สายสีแดงก่อน

เปรียบเทียบความแตกต่าง Tram และ ART

รถไฟฟ้าแบบTram และ ART ถือว่าเป็นรถไฟฟ้ารางเบาเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างในรายละเอียดอื่นอีก ได้แก่
  • Tram เป็นรฟฟ.แบบรถราง ล้อเหล็ก ที่จะวิ่งบนราง เดินรถร่วมกับถนน สามารถทำเป็นแบบยกระดับหรือใต้ดินได้ ซึ่งมีงบการก่อสร้างที่สูง เนื่องจากต้องมีการก่อสร้างรางให้ตัวรถด้วย
  • ART (Automated Rapid Transit) เป็นรถแบบผสมระหว่างรถเมล์ ล้อยาง และ รถรางล้อเหล็ก ดังนั้น ART จึงเป็นรฟฟ.แบบรถราง ล้อยาง ที่เดินรถร่วมถนน สามารถทำเป็นแบบยกระดับหรือใต้ดินได้เช่นกัน โดยรูปแบบนี้จะไม่มีการก่อสร้างรางรฟฟ. สามารถวิ่งได้อัตโนมัติตาม Virtual Track ซึ่งถูกทาสีอยู่บนพื้นถนน คล้ายกับสัญลักษณ์จราจร ดังนั้นจึงทำให้งบการก่อสร้างของรูปแบบนี้มีราคาไม่สูงนั่นเอง

จุดเด่น/ด้อย ทางวิ่งบนดินกับใต้ดิน

ข้อดีและข้อเสียสำหรับทางวิ่งบนดิน
ระบบรถแบบ LRT ทางวิ่งบนดินนั้น ต้องการพื้นที่บนถนน จำนวน 2 ช่องจราจรเพื่อให้รถไฟสองขบวนวิ่งสวนกันได้ จึงอาจต้องยกเลิกการจอดรถข้างถนนในบางเส้นทางเพราะพื้นที่ถนนจะลดลงและสิ่งที่ต้องรณรงค์เพิ่มเติมคือ ต้องให้คนเชียงใหม่ เคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ระบบนี้จะยังคงใช้สัญญานไฟจราจรเหมือนรถที่สัญจรบนถนนปกติจึงทำความเร็วได้ 15-20 กม ต่อ ชม. สำหรับจุดเด่นของการเลือกใช้ทางวิ่งบนดินคือใช้งบประมาณในการก่อสร้างไม่สูง ระยะเวลาในการก่อสร้างไม่นานนัก
ข้อดีและข้อเสียสำหรับทางวิ่งใต้ดิน
สำหรับการใช้ทางวิ่งใต้ดินจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างสูงและระยะเวลาในการก่อสร้างนานเพราะต้องขุดลงไปใต้ดินลึกกว่า 10 เมตรและไม่ให้กระทบกับโบราณสถานที่มีอยู่ทั่วไปในเขตเมืองเชียงใหม่ ทางวิ่งใต้ดินมีเขตทางวิ่งเฉพาะจึงทำให้ทำความเร็วได้ 30-35 กม ต่อชั่วโมง เพียงพอต่อการแก้ปัญหาการจราจรในจังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน และรองรับการพัฒนาในอนาคตได้ถึง 40 ปี

ผลสรุปกับการพัฒนาโครงข่ายทางเลือกแบบ A

จากข้อสรุปที่พบว่ารูปแบบ A มีความเหมาะสมที่สุด เพราะใช้ทางวิ่งบนดินและใต้ดินร่วมกัน ช่วยลดผลกระทบในเรื่องการวิ่งร่วมกันกับรถบนถนนและไม่รบกวนทัศนียภาพของตัวเมืองเชียงใหม่ชั้นใน รวมทั้งมี 3 เส้นทางหลักที่สร้างพร้อมกัน ทำให้เกิดความคุ้มทุนในการก่อสร้างที่มากกว่า ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างในปี 2563 มีอัตราค่าโดยสารอยู่ระหว่าง 15-25 บาท

อ่านบทความรถไฟฟ้าอื่นๆเพิ่มเติม คลิก!

รถไฟฟ้าสายสีทอง
รถไฟฟ้าสายสีม่วง
รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้
รถไฟฟ้าสายสีแดง
รถไฟฟ้า-บางนา-สุวรรณภูมิ
รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
รถไฟฟ้าสายสีส้ม
รถไฟฟ้าสายสีเทา
หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
รถไฟฟ้าสายสีชมพู
รถไฟฟ้า-โคราช
รถไฟฟ้า-ภูเก็ต    
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon