realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รถไฟฟ้าสายสีชมพู

22 Nov 2023 15.9K

รถไฟฟ้าสายสีชมพู

22 Nov 2023 15.9K
 

เปิดให้บริการแล้ว !! รถไฟฟ้าสายสีชมพู (ศูนย์ราชการนนทบุรี - มีนบุรี)


อัพเดตตำแหน่งสถานีและทางขึ้นลงรถไฟฟ้าสายสีชมพู

เปิดให้ทดลองใช้งานกันแล้ว กับรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่เป็นรถไฟฟ้า Monorail สายชานเมือง วิ่งจาก ศูนย์ราชการนนทบุรี - มีนบุรี ระยะทาง 37.5 กม.แบ่งเป็น 30 สถานีหลัก และ 2 สถานีเสริม โดยรถไฟฟ้าสายสีชมพูแบ่งออกเป็น 3 ช่วง และสำหรับช่วงการทดลองให้บริการของรถไฟฟ้าสายสีชมพู เบื้องต้นเปิดทดลองให้บริการทุกสถานี ตั้งแต่ 21 พ.ย.-17 ธ.ค. 2566 โดยไม่คิดค่าโดยสาร ก่อนจะเริ่มให้บริการเต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 18 ธ.ค. 2566 เป็นต้นไป
ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีชมพู เป็นรถไฟฟ้าที่วิ่งบริเวณชานเมือง เพื่อให้คนได้เดินทางได้อย่างสะดวก สำหรับคนที่ทำงานอยู่แถวแจ้งวัฒนะและนนทบุรี หรือเป็นสายที่คนใช้สำหรับการไปเชื่อมต่อยังสายอื่นๆ ดังนั้นเรามาเตรียมความพร้อมก่อนที่รถไฟฟ้าสายสีชมพูจะเปิดกันดีกว่า ว่าแต่ละสถานีอยู่ตรงไหนและเชื่อมต่อกับอะไรได้บ้าง

วางแผนการเดินทางให้ดีก่อนใช้ “รถไฟฟ้าสายสีชมพู”นั่งฟรีถึง 17 ธ.ค. เท่านั้น !!

รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย - มีนบุรี) ได้เปิดให้ประชาชนทดลองใช้กันแล้ว โดยช่วงทดลองใช้งานจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 21 พ.ย. - 17 ธ.ค. 66 มีการให้บริการครบทั้ง 30 สถานี โดยไม่มีการเก็บค่าโดยสาร (นั่งฟรี)
ในส่วนของเวลาให้บริการ ในช่วงทดลองใช้นั้น วันที่ 22 พ.ย. - 3 ธ.ค. 66 เปิดให้บริการตั้งแต่ 06.00 - 20.00 น. สำหรับวันที่ 4-17 ธ.ค. 66 อาจมีการขยายเวลาการให้บริการ โดยต้องรอการประชาสัมพันธ์จากผู้ให้บริการอีกครั้ง
และหลังจากนั้น ตั้งแต่วันที่ 18 ธ.ค. 66 จะเป็นการเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ (เปิดใช้งานจริง) โดยมีการขยายเวลาเปิด - ปิดให้เป็น 05.00 - 24.00 น. เพื่อให้สอดคล้องกับรถไฟฟ้าสายอื่นๆ และจะมีการจัดเก็บค่าโดยสารเริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 45 บาท
ส่วนการใช้บัตรโดยสาร สามารถใช้ได้ทั้ง ตั๋วเที่ยวเดียว, Rabbit Card, บัตรเครดิต-เดบิต วีซ่า และมาสเตอร์การ์ด ที่มีสัญลักษณ์ Contactless โดยช่วงทดลองสามารถใช้งานบัตรดังกล่าวได้ทุกแบบ โดยไม่มีการหักเงินจากบัตรนั้นๆ
ทั้งนี้ในช่วงทดลองใช้ และตอนเปิดใช้งานจริง จะมีการปล่อยขบวนรถทุก 10 นาที และในช่วงเวลาเร่งด่วน จะะปล่อยขบวนรถทุกๆ 5 นาที ซึ่งการเดินทางตลอดสาย ใช้เวลาประมาณ 50 นาที
ในระยะแรกแต่ละขบวนจะให้บริการ 4 ตู้ต่อขบวน สามารถส่งผู้โดยสารได้ประมาณ 17,000 คน / ชม./เที่ยว และในอนาคตเมื่อจำนวนผู้โดยสารเพิ่งสูงขึ้นก็สามารถเพิ่มได้สูงสุดถึง 7 ตู้ต่อขบวน รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 28,000 คน / ชม./เที่ยว
การให้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพูในช่วงทดลองให้บริการ ทั้ง 30 สถานี ตั้งแต่ 21 พ.ย.-3 ธ.ค. 2566 จะมีเวลาเปิด-ปิดให้บริการดังนี้
  • วันที่ 21 พ.ย. 2566 : เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 15.00-20.00 น. (ให้บริการทุก 10 นาที)
  • ตั้งแต่วันที่ 22 พ.ย. 2566 - 17 ธ.ค. 2566 : เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00-20.00 น. (ให้บริการทุก 10 นาที)
สำหรับช่วงวันที่ 4-17 ธ.ค. 2566 อาจมีการขยายเวลาการให้บริการ เช่นเดียวกับช่วงทดลองให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง โดยต้องรอการประชาสัมพันธ์จากผู้ให้บริการอีกครั้ง
เบื้องต้นเปิดทดลองให้บริการตั้งแต่ 21 พฤศจิกายน-17 ธ.ค. 2566 โดยไม่คิดค่าโดยสาร ก่อนจะเริ่มให้บริการเต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 18 ธ.ค.2566 เป็นต้นไป
ขณะที่อัตราค่าโดยสารประมาณ 15-45 บาท ซึ่งต้องรอการพิจารณาในที่ประชุม ครม.อีกครั้ง ก่อนวันเปิดให้บริการเต็มรูปแบบ ส่วนการใช้บัตรโดยสาร สามารถใช้ได้ทั้ง Rabbit Card, ซื้อตั๋วเที่ยวเดียว หรือใช้บัตรเครดิต-บัตรเดบิต วีซ่า และมาสเตอร์การ์ด ที่มีสัญลักษณ์ Contactless ก็ได้เช่นกัน โดยช่วงทดลองสามารถใช้งานบัตรโดยสารเที่ยวเดียว หรือบัตรแรบบิท ในการเข้า-ออกระบบรถไฟฟ้าสายสีชมพูได้ และหลังจากเปิดบริการเต็มรูปแบบจะสามารถใช้งานบัตรเครดิต-บัตรเดบิต ได้ด้วยเช่นกัน
Credit : Facebook Fanpage รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู
 

รถไฟฟ้าสายสีชมพูแบ่งเป็น  3 ช่วง

รถไฟฟ้าสายสีชมพู ศูนย์ราชการนนทบุรี - มีนบุรี
  • มี 30 สถานีหลัก
  • 2 สถานีเสริม
  • รูปแบบเป็นรถไฟฟ้า Monorail ลอยฟ้าตลอดสาย
แบ่งออกเป็น 3 ช่วง โดยแบ่งการเปิดใช้งานเป็น
  • ช่วงที่ 1 หลักสี่ - มีนบุรี แบ่งเป็น 17 สถานี เปิดให้ใช้งานแล้ว
  • ช่วงที่ 2 ศูนย์ราชการนนทบุรี - ทีโอที แบ่งเป็น 13 เปิดให้ใช้งานแล้ว
  • ช่วงที่ 3 ส่วนต่อขยายเมืองทองธานี แบ่งเป็น 2 สถานี 68
รูปแบบของสถานีจะเป็นสถานีลอยฟ้า อยู่บริเวณเกาะกลางถนน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่นๆ 5 สาย
  • สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เชื่อม สายสีม่วง
  • สถานีหลักสี่ เชื่อม สายสีแดง
  • สถานีวัดพระศรี เชื่อม สายสีเขียว
  • สถานีวัชรพล เชื่อม สายสีเทา
  • สถานีมีนบุรี เชื่อม สายสีส้ม
 

PK01 - ศูนย์ราชการนนทบุรี

PK01 - สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
ตั้งอยู่บน ถ.รัตนาธิเบศร์ หน้า เอสพลานาด งามวงศ์วาน-แคราย มีสกายวอล์กเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่สามารถวิ่งไปเชื่อม MRT ได้ สะดวกในการเดินทางเข้าเมือง ทางขึ้นลงอยู่ทั้ง 4 ด้านของสถานี เชื่อมต่อไปยังสถานที่ใกล้เคียงอย่าง ห้างเอสพลานาด อุทยานมกุฏรมยสราญ และศูนย์ราชการนนทบุรี
 

PK02 - แคราย

PK02 - แคราย
ตั้งอยู่บน ถ.ติวานนท์ หน้าสถาบันโรคทรวงอก บริเวณ ซ.ติวานนท์ 9 - ซ.ติวานนท์ 13 รูปแบบสถานีจะอยู่บริเวณเกาะกลางถนน ทางขึ้นลงอยู่ทั้ง 4 ด้านของสถานี ฝั่งซอยเลขคี่ ทางขึ้นลงจะอยู่บริเวณหน้า ซ.ติวานนท์ 11 และ ซ.ติวานนท์ 13 ส่วนฝั่งเลขคู่จะอยู่บริเวณ ซ.ติวานนท์ 20 และทางเข้าสถาบันโรคทรวงอก
 

PK03 - สนามบินน้ำ

PK03 - สนามบินน้ำ
ตั้งอยู่บน ถ.ติวานนท์ อยู่ระหว่าง ซ.ติวานนท์ 29 กับ 40 ทางขึ้นลงก็จะอยู่ทั้ง 4 ด้านของสถานี ฝั่งซอยเลขคี่ ทางขึ้นลงจะอยู่บริเวณหน้า ซ.ติวานนท์ 29 และสำนักงานคุมประพฤติ ส่วนฝั่งเลขคู่จะอยู่บริเวณ ซ.ติวานนท์ 38 หรือ ซ.ทามสัมฤทธิ์
 

PK04 - สามัคคี

PK04 - สามัคคี
ตั้งอยู่บน ถ.ติวานนท์ ใกล้กับคลองบางตลาด บริเวณ ซ.ติวานนท์ 45 ทางขึ้นลงอยู่ 4 ด้านของสถานี ฝั่งซอยเลขคี่ ทางขึ้นลงจะอยู่บริเวณหน้า ธนาคากรุงศรี และ ซ.ติวานนท์ 45 ส่วนฝั่งเลขคู่จะอยู่บริเวณ ซ.ทางเข้ามัสยิดดารุ้ลมุตตากีน
 

PK05 - กรมชลประทาน

PK05 - กรมชลประทาน
ตั้งอยู่บน ถ.ติวานนท์ หน้า รร.ชลประทานวิทยา ทางขึ้นอยู่ จะอยู่หน้าทางเข้า รร.ชลประทานวิทยา ซ.ติวานนท์-ปากเกร็ด 4 และ วิทยาลัยชลประทาน
 

PK06 - ปากเกร็ด

PK06 - ปากเกร็ด
สถานีจะแยกเข้ามาอยู่ระหว่าง ถ.ติวานนท์ และ ถ.แจ้งวัฒนะ แยกออกมาจาก ถ.หลัก ทางขึ้นลงจะอยู่ใต้สถานี และสามารถเดินออกไปเชื่อมถนนได้ทั้ง 2 ฝั่ง
 

PK07 - เลี่ยงเมืองปากเกร็ด

PK07 - เลี่ยงเมืองปากเกร็ด
ตั้งอยู่บน ถ.แจ้งวัฒนะ ตรง 4 แยก ถ.แจ้งวัฒนะ ตัดกับ ถ.เลี่ยงเมืองปากเกร็ด ตรงหน้า Big C แจ้งวัฒนะ 2 ทางขึ้นลงจะมี 4 ทาง เชื่อมบริเวณ 4 แยก เชื่อม Homepro BigC และ หน้าไทยการ์เมนต์เอ็กซปอร์ต
 

PK08 - แจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด 28

PK08 - แจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด 28
ตั้งอยู่หน้าเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ บริเวณ แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 19 ทางขึ้นลง 4 ฝั่ง โดยจะมีทางเชื่อมที่สามารถเชื่อมเข้าเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะได้เลย โดยอีก 3 ทางจะเชื่อมไปที่ฝั่ง สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และ 19 สเตชั่น พลาซ่า
 

PK09 - ศรีรัช

PK09 - ศรีรัช
  • (เดิมชื่อสถานี เมืองทองธานี แต่มีการสลับชื่อสถานีกัน) อ้างอิงจาก FB : โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
ตั้งอยู่บริเวณ ถ.แจ้งวัฒนะ บริเวณทางขึ้นทางด่วนศรีรัช โดยตัวสถานีจะตั้งอยู่ริม ถ.แจ้งวัฒนะ ทางขึ้นลงจะอยู่บริเวณใต้สถานี โดยสถานีชั้นล่างจะมีอาคารที่แยกออกมาจากตัวสถานีเป็นอาคารออฟฟิศของ รฟม. และอาจจะมีร้านค้าร้านอาหารมาตั้งด้วย
 

PK10 - เมืองทองธานี

PK10 - เมืองทองธานี
  • (เดิมชื่อสถานี ศรีรัช แต่มีการสลับชื่อสถานีกัน) อ้างอิงจาก FB : โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
สถานีตั้งอยู่บน ถ.แจ้งวัฒนะ หน้าสำนักเครื่องกลและสื่อสาร กรมทางหลวง ทางขึ้นลง 4 ฝั่งของสถานี โดยสถานีนี้จะเป็นสถานีที่มี 3 ชานชาลา แบ่งเป็น 2 ชานชาลา วิ่งในเส้นทางปกติ และ 1 ชานชาลาส่วนต่อขยายที่จะวิ่งเข้าไปในเมืองทองธานี ที่จะแยกขนวบในการวิ่งกับสายปกติ
 

PK11 - แจ้งวัฒนะ 14

PK11 - แจ้งวัฒนะ 14
สถานีจะตั้งอยู่บน ถ.แจ้งวัฒนะ หน้า BigC แจ้งวัฒนะ ทางขึ้นลง 4 ฝั่ง ลงหน้า BigC หน้า ซ.แจ้งวัฒนะ 14 หน้า ซ.แจ้งวัฒนะ และหน้าธนาคารกรุงไทย บริเวณ ซ.คุณวิเวียน
 

PK12 - ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ

PK - 12 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ
สถานีตั้งอยู่บน ถ.แจ้งวัฒนะ บริเวณหน้ากรมการกงสุลและกรมปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยาน ทางขึ้นลง 4 ทาง เชื่อมกรมทหารฯ และปั้มน้ำมัน PTT ส่วนฝั่งศูนย์ราชการทางขึ้นลงจะอยู่บริเวณหน้ากรมการกงสุลสามารถเดินไปศาลปกครองและ DSI ได้
 

PK13 - โทรคมนาคมแห่งชาติ

PK13 - โทรคมนาคมแห่งชาติ
สถานีตั้งอยู่บน ถ.แจ้งวัฒนะ หน้าบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด ที่เดิมที่เป็น TOT แต่มีการควบรวมกับ กสทช. และปลี่ยนชื่อเป็น NT. ทางขึ้นลงมี 4 ทาง ฝั่ง NT. 2 ทาง เชื่อม ปั้ม Caltex 1 ทาง และอีก 1 ทางเชื่อม บ.ศรีสวัสดิ์
 

PK14 - หลักสี่

PK14 - หลักสี่
สถานีจะตั้งอยู่ริม ถ.แจ้งวัฒนะ ตรงบริเวณทางเลี้ยวจาก ถ.วิภาวี-รังสิต เข้า ถ.แจ้งวัฒนะ มาทางบางเขน ทางเข้าออกสถานีจะอยู่ใต้สถานีเลย โดยสถานีนี้จะมีแค่ 2 ชั้น คือชั้นซื้อตั๋วที่อยู่ระดับถนน และชั้นชานชาลา นอกจากนี้ยังอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง ที่มีทางเชื่อมถึงกัน
 

PK15 - ราชภัฎพระนคร

PK15 - ราชภัฎพระนคร
สถานีตั้งอยู่บน ถ.แจ้งวัฒนะ หน้ามหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร ทางขึ้นลง 4 ทาง ได้แก่ หน้าห้างแม็กซ์แวลูหลักสี่ หน้าหลักสี่สแควร์ และหน้าราชภัฎพระนคร
 

PK16 - วัดพระศรีมหาธาตุ

PK16 - วัดพระศรีมหาธาตุ
ตั้งอยู่ฝั่ง ถ.รามอินทรา บริเวณวงเวียนบางเขน เป็นสถานีที่มีความแปลกคือสร้างค่อมสะพานข้ามแยกไว้ ตัวสถานีถูกแบ่งเป็น 2 ฝั่ง จะมีสะพานในการเชื่อมทั้ง 2 ฝั่งอยู่ โดยทางเข้าออกมี 2 ฝั่ง คือฝั่งรามอินทราที่อยู่หน้า สน.บางเขน และ ฝั่งบางเขน ที่อยู่ข้างๆสำนักงานเขต ซึ่งตัวสถานีจะสามารถเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวได้เลย ทำให้มีความสะดวกสบายในการใช้งาน
 

PK17 - รามอินทรา 3

PK17 - รามอินทรา 3
ตั้งอยู่บน ถ.รามอินทรา ใกล้กับเซ็นทรัลรามอินทรา ทางขึ้นลงมี 4 ฝั่ง คือ 1 ฝั่งทาง เซ็นทรัลรามอินทรา 1 ฝั่งทาง ปั้มเซลล์ และ 2 ฝั่ง ที่อยู่ตรงกันข้าม
 

PK18 - ลาดปลาเค้า

PK18 - ลาดปลาเค้า
สถานีตั้งอยู่บน ถ.รามอินทรา บริเวณ BigC รามอินทรา และ ซ.รามอินทรา 23 ทางขึ้นลง 4 ทาง ฝั่งซอยเลขคี่ ทางขึ้นลงจะอยู่บริเวณหน้า ซ.รามอินทรา 19 และ ซ.รามอินทรา 23 ส่วนอีกฝั่งจะอยู่หน้า BigC รามอินทรา และ ซ.รามอินทรา 4
 

PK19 - รามอินทรา 31

PK19 - รามอินทรา 31
สถานีตั้งอยู่บน ถ.รามอินทรา ใกล้กับตลาดปั่นทอง กม.4 ทางขึ้นลง 4 ทาง ได้แก่ หน้า ซ.รามอินทรา 8, 10, 33 และตลาดปั่นทอง กม.4
 

PK20 - มัยลาภ

PK20 - มัยลาภ
สถานีตั้งอยู่บน ถ.รามอินทรา บริเวณ ถ.รามอินทรา 14 (มัยลาภ) ทางขึ้นลงมี 4 ทาง ได้แก่ หน้า ซ.รามอินทรา 14, 22, 41 และ 43
 

PK21 - วัชรพล

PK21 - วัชรพล
สถานีตั้งอยู่บน ถ.รามอินทรา ใกล้กับทางแยกขึ้นทางด่วนฉลองรัช ทางขึ้นลงอยู่ทั้ง 4 ด้านของสถานี โดยเป็นสถานีที่อยู่ใกล้กับสายสีเทาในอนาคต การเดินทางไปลาดพร้าว รามคำแหง ทองหล่อ ก็จะสะดวกรวดเร็วขึ้น
 

PK22 - รามอินทรา 40

PK22 - รามอินทรา 40
สถานีตั้งอยู่บน ถ.รามอินทรา อยู่ระหว่าง ซ.รามอินทรา 40 กับ 42 ทางขึ้นลงสถานี 4 ทาง บริเวณแยกนวลจันทร์ ปั้มเอสโซ่ และ รามอินทรา 42
 

PK23 - คู้บอน

PK23 - คู้บอน
สถานีตั้งอยู่บน ถ.รามอินทรา กม.8 ใกล้กับ ถ.นวมินทร์ และ ถ.คู้บอน ทางขึ้นลง 4 ทาง เชื่อมต่อพื้นที่โดยรอบ
 

PK24 - รามอินทรา 83

PK24 - รามอินทรา 83
สถานีอยู่บน ถ.รามอินทรา ระหว่าง ซ.รามอินทรา 83 กับ 85 ทางขึ้นลง 4 ฝั่ง หน้า Lotus,s, Ichiba Station และ รพ.สินแพทย์
 

PK25 - วงแหวนตะวันออก

PK25 - วงแหวนตะวันออก
สถานีตั้งอยู่บน ถ.รามอินทรา หน้าห้างแฟชั่นไอส์แลนด์ ทางขึ้นลง 4 ทาง 2 ทางเชื่อมเข้าสู่ห้างแฟชั้นและพรอมานาด และอีก 2 ทางเชื่อมไปถนนฝั่งตรงข้าม
 

PK26 - นพรัตนราชธานี

PK26 - นพรัตนราชธานี
สถานีตั้งอยู่บน ถ.รามอินทรา ใกล้กับ รพ.นพรัตนราชธานี ทางขึ้นลงสถานีมี 4 ทาง เชื่อมต่อพื้นที่รอบๆสถานี
 

PK27 - บางชัน

PK27 - บางชัน
สถานีตั้งอยู่บน ถ.รามอินทรา ระหว่าง ซ.รามอินทรา 111 กับ 115 ทางขึ้นลง 4 ฝั่งอยู่หน้า ซ.รามอินทรา 115 และอีก 3 ทางรอบสถานี
 

PK28 - เศรษฐบุตรบำเพ็ญ

PK28 - เศรษฐบุตรบำเพ็ญ
สถานีตั้งอยู่บน ถ.รามอินทรา ระหว่าง ซ.รามอินทรา 121 กับ 123 ทางขึ้นลง 4 ทาง 1 ทางหน้าปั้ม Shell และ PTT อีก 1 ทางเชื่อม รร.เศรษฐบุตรบำเพ็ญ
 

PK29 - ตลาดมีนบุรี

PK29 - ตลาดมีนบุรี
สถานีตั้งอยู่บน ถ.สีหบุรานุกิจ ระหว่าง ซ.สีหบุรานุกิจ 9 กับ 11 ทางขึ้นลงมี 4 ทาง อยู่หน้า ซ.สีหบุรานุกิจ 9, 11, 14 และ Market Parade
 

PK30 - มีนบุรี

PK30 - มีนบุรี
สถานีจะตั้งอยู่ในถัดจาก ถ.รามคำแหง ใกล้กับอาคารจอดแล้วจร ทางขึ้นลงของสถานีจะเชื่อมกับอาคารจอดแล้วจร โดยสถานีนี้ขะใกล้กับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่เดินทางไปพระราม 9 ได้

ส่วนต่อขยายเมืองทองธานี

ส่วนต่อขยายเมืองทองธานี จะต้องเปลี่ยนขบวนที่สถานีศรีรัช โดยสถานีจะมี ชานชาลาเพิ่มสำหรับส่วนต่อขยาย
 

MT01 - อิมแพคเมืองทองธานี

MT01 - อิมแพคเมืองทองธานี
สถานีส่วนต่อขยายที่อยู่บน ถ.บางปะอิน-ปากเกร็ด ใกล้กับ Challenger Hall ของ อินแพค โดยจะมีทางเชื่อมจากสถานีเข้าสู่ Challenger Hall ได้เลย
 

MT02 - ทะเลสาบเมืองทอง

MT02 - ทะเลสาบเมืองทอง
สถานีตั้งอยู่บน ถ.แข้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39 บริเวณทางแยกไปทางพิเศษอุดรรัถยา ทางขึ้นลงสามารถเชื่อมไปที่ Impact Forum และ ทะเลสาบเมืองทองได้เลย
     

รถไฟฟ้าสายสีชมพู

ในวันที่ 29 มีนาคม 2559 ทางคณะรัฐมนตรี ได้มีอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) ระยะทางรวม 34.5 กม.  และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทางรวม 30 กม. มีวงเงินลงทุนตามมติคณะรัฐมนตรีรวมประมาณ 105,300 ล้านบาท (รวมค่าจัดกรรมสิทธิที่ดิน) แบ่งเป็น วงเงินลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูประมาณ 53,490 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองประมาณ 51,810 ล้านบาท (“สัญญาสัมปทานหลัก”) ซึ่งถ้าไม่รวมค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน สายสีชมพูจะใช้งบประมาณ 47,564 ลบ. และสายสีเหลืองจะใช้งบประมาณ 46,654 ลบ. รถไฟฟ้าสายสีชมพู จะเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Stradle Monorial) โดยจะเป็นการร่วมทุนกับภาคเอกชน (Publc Private Partnership) ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2562 คณะกรรมการ รฟม. อนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายศรีรัช - เมืองทองธานี ทำให้ระยะทางรวมส่วนต่อขยายช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี เป็น 37.5 กม. จำนวน 32 สถานี  เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ได้จัดพิธีลงนามสัญญาร่วมลงทุนการออกแบบและก่อสร้างงานโยธา การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี ระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) ในการเดินหน้าก่อสร้าง 2 สถานี ส่วนต่อขยายเข้าสู่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ภายใน มิ.ย. 2564 นี้ เพื่อเพิ่มศักยภาพการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ลดปัญหาการจราจร และ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน
รัฐบาลลงทุนจัดหากรรมสิทธิที่ดิน และเอกชน (บริษัทร่วมทุน) ลงทุนค่าก่อสร้างงานโยธา, ระบบรถไฟฟ้า, ขบวนรถไฟฟ้า รวมทั้งบริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษาระบบรถไฟฟ้าและเป็นผู้จัดเก็บรายได้ค่าโดยสาร ระยะเวลารวม 33 ปี 3 เดือน แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่
  1. ระยะที่ 1 : ช่วงออกแบบก่อสร้างและงานโยธา เป็นเวลา 3 ปี 3 เดือน
  2. ระยะที่ 2 : ช่วงเปิดบริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง 30 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือรับรอง
ตามข้อมูลที่ BSR ยื่น ให้แก่ รฟม. และเงินสนับสนุนงานโยธาจากภาครัฐ ในแต่ละโครงการสามารถสรุปได้ดังนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูคาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนสุทธิสำหรับสัญญาสัมปทานหลักและส่วนต่อขยายประมาณ 47,564 ล้านบาท (ไม่รวมค่าจัดกรรมสิทธิที่ดิน)

สัญญาสัมปทานหลัก

1.งานโยธา 22,000 ลบ.
2.งานระบบไฟฟ้า 23,764 ลบ.
3.ค่าใช้จ่าย Pre-operating 300 ลบ.
4.ผลประโยชน์ที่จ่ายให้ รฟม. ตลอดสัมปทาน 250 ลบ.
รวมเงินลงทุนสุทธิของสัญญาสัมปทานหลัก 46,314 ลบ.

ส่วนต่อขยาย

1.งานโยธา 1,800 ลบ.
2.งานระบบไฟฟ้า 700 ลบ.
3.หัก เงินสนับสนุนจากเอกชน* 1,250 ลบ.
รวมเงินลงทุนสุทธิของส่วนต่อขยาย 1,250 ลบ.

รวมเงินลงทุนสุทธิ

(ไม่รวมค่าจัดกรรมสิทธิที่ดิน)

47,564

ลบ.

หมายเหตุ * อ้างอิงจากบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Agreement) ระหว่างบริษัทและบริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) ลงวันที่7 พฤศจิกายน 2559 และสารสนเทศของ บริษัท บางกอกแลนด์ จา กัด (มหาชน) ซึ่งเปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 BSR - กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (ถือหุ้น BSR ในสัดส่วนร้อยละ 75) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (“STEC”) (ถือหุ้น BSR ในสัดส่วนร้อยละ 15) และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)(“RATCH”) (ถือหุ้น BSR ในสัดส่วนร้อยละ 10)
 
ปัจจุบันโครงการได้มีการทดสอบระบบแล้ว เพื่อตรวจโครงสร้างโยธา, ขบวนรถไฟฟ้า และระบบจ่ายไฟฟ้า โดยเริ่มทดสอบที่ความเร็ว 25 กม./ชม. ทำความเร็วสูงสุดได้ที่ 80 กม./ชม. โดยจะมีการทดสอบอย่างต่อเนื่องเพื่อความปลอดภัย (มกราคม พ.ศ.2565)
ในการทดสอบเดินรถ ใช้ระยะทาง 4.45 กม. เริ่มจากศูนย์ซ่อมบำรุง --> สถานีมีนบุรี (PK30) --> สถานีตลาดมีนบุรี (PK29) --> สถานีเศรษบุตรบำเพ็ญ (PK28) และสถานีบางชัน (PK27) เป็นสถานีสุดท้าย

แผนการดำเนินงาน

สายสีชมพู ระยะทาง 34.5 กม. จำนวน 30 สถานี จากเดิมจะเปิดบริการในปี 2564 แต่เนื่องจากติดโควิดไม่สามารถนำเข้าอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าและเครื่องกลจากต่างประเทศทั้งในเอเชียหรือยุโรป และพื้นที่ก่อสร้างช่วงแยกแครายที่ปรับตำแหน่งสถานีใหม่ ทำให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะเปิดได้ตลอดสายในปี 2565 หรืออย่างช้าต้นปี 2566
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2562 คณะกรรมการ รฟม. อนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายศรีรัช - เมืองทองธานี ทำให้ระยะทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูรวมส่วนต่อขยายช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี เป็น 37.5 กม. จำนวน 32 สถานี จะเปิดบริการภายใน ก.ย. 2567 ซึ่งจะเปิดให้บริการช้ากว่าจากสายหลัก ในปีแรกจะใช้รถทั้งหมด 92 ตู้หรือ 23 ขบวน มีผู้โดยสาร 130,000 คน/วัน ในระยะเวลา 30 ปี มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) อยู่ที่ 15.65% และผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) อยู่ที่ 3.86%
สำหรับรูปแบบรถไฟฟ้าทาง รฟม. ยืนยัน เป็นโมโนเรล และเป็นสัญญาเดียวคือทั้งก่อสร้างและเดินรถ ซึ่งระบบโมโนเรลก่อสร้างได้เร็วและง่าย ใช้พื้นที่น้อยลง สร้างยกระดับได้โดยไม่ต้องรื้อสะพานช่วงหลักสี่ออก ขณะที่รูปแบบสนับสนุนเอกชน ทาง รฟม.ให้การสนับสนุนเป็นระยะเวลา มากกว่า 10 ปีขึ้นไป โดยรายละเอียดจะต้องบรรจุไว้ในประกาศทีโออาร์ เพราะช่วยลดภาระรัฐ แต่ห้ามเกินวงเงินโยธาและเป็นการทยอยจ่าย ข้อมูลข่าว : ประชาชาติธุรกิจ 17 มี.ค. 59 12:54

รูปแบบโครงการและตำแหน่งของสถานี

เรียบเรียงโดย REALIST คลิกที่ สี่เหลี่ยมด้านซ้ายบนของแผนที่เพื่อเลือกตำแหน่งสถานี
ในวันที่ 16 มิถุนายน 2560  ทาง รฟม. และกระทรวงคมนาคม ได้จัดพิธีลงนามในสัญญาสัมปทานโครงการกับบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ เพื่อจัดหาซื้อ ขบวนรถบอมบาร์ดิเอร์ อินโนเวีย 300 จำนวน 144 ตู้ (4 ตู้/1 ขบวน ทั้งหมด 36 ขบวน) 
  1. 1.บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาของโครงการ
  2. 2.บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้เดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงของโครงการ
  3. 3.บริษัท บางกอกสมาร์ทการ์ดซัสเท็ม จำกัด เป็นผู้ติดตั้งระบบจัดเก็บค่าโดยสารเบื้องต้น
  4. 4.บริษัท บอมบาดิเอร์ ผลิตและติดตั้งระบบและขบวนรถไฟฟ้าโมโนเรล
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2562 คณะกรรมการ รฟม. อนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายช่วงศรีรัช - เมืองทองธานี จำนวนรถบอมบาร์ดิเอร์ อินโนเวีย 300 จึงเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 168 ตู้ (4 ตู้/1 ขบวน ทั้งหมด 42 ขบวน) 
  • - มีระยะทางประมาณ 37.5 กม. มีทั้งหมด 30 สถานี และสถานีต่อขยาย 2 สถานี 
  • - โครงการระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบคล่อมราง (Straddle Monorail)
  • - มีทางเดินสำหรับอพยพฉุกเฉิน  (Emergency Walkway) ตลอดทาง
Info : http://www.btsgroup.co.th 16 มิ.ย. 2560
 
 

ความคืบหน้าในการดำเนินการ (ก.ค. 2566)

ปัจจุบันความคืบหน้าการก่อสร้าง รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี มีความคืบหน้าถึง 97% แล้ว โดยแบ่งเป็น งานโยธา 96% และงานระบบ 97%
ด้านกำหนดการเปิดให้บริการ มีกำหนดเปิดให้ใช้ฟรีช่วงเดือน ก.ย. - ต.ค. นี้ และเริ่มคิดค่าโดยสารในเดือน พ.ย. แต่ส่วนต่อขยายช่วงเมืองทองธานี ยังไม่มีกำหนดการชัดเจนแต่คาดการณ์ว่าจะสร้างเสร็จในปี 2568 นี้ครับ
 
- ปัจจุบันโครงการได้มีการทดสอบระบบแล้ว เพื่อตรวจโครงสร้างโยธา, ขบวนรถไฟฟ้า และระบบจ่ายไฟฟ้า โดยเริ่มทดสอบที่ความเร็ว 25 กม./ชม. ทำความเร็วสูงสุดได้ที่ 80 กม./ชม. โดยจะมีการทดสอบอย่างต่อเนื่องเพื่อความปลอดภัย (มกราคม พ.ศ.2565)
- การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และกระทรวงคมนาคม ได้จัดพิธีลงนามในสัญญาสัมปทานร่วมลงทุนโครงการกับ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด กรณีโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงศรีรัช - เมืองทองธานี วงเงินลงทุนเพิ่มเติม 4,000 ล้านบาท  (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564)
- แผนการเปิดโครงการเดิมจะเปิดบริการให้บริการในปี 2564 แต่เนื่องจากติดโควิดไม่สามารถนำเข้าอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าและเครื่องกลจากต่างประเทศทั้งในเอเชียหรือยุโรป และพื้นที่ก่อสร้างช่วงแยกแครายที่ปรับตำแหน่งสถานีใหม่ ทำให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะเปิดได้ตลอดสายในปี 2565 หรืออย่างช้าต้นปี 2566 และสายสีชมพูส่วนต่อขยายช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี จะเปิดบริการภายใน ก.ย. 2567 ซึ่งจะเปิดให้บริการช้ากว่าจากสายหลัก

ส่วนต่อขยาย สถานีศรีรัช-เมืองทอง

  • - เริ่มต้นจากถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณสถานีศรีรัชของ Main Line ไปทางทิศตะวันตก และเลี้ยวขวา เข้าสู่เมืองทองธานี ตาม ซ.แจ้งวัฒนะ –ปากเกร็ด 39 แนวทางเดียวกันกับทางพิเศษอุดรรัถยา ต่อเนื่องไปยังจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี
  • - รวมระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตรโดยโครงสร้างรางจะอยู่เหนือเกาะกลางตามแนวเส้นทางของทางพิเศษอุดรรัถยา
  • - สถานีรับส่งผู้โดยสาร 2 สถานี คือ สถานีอิมแพ็คชาเลนเจอร์ และ สถานีทะเลสาบเมืองทองธานี
 
 
 

รายชื่อสถานีใหม่ 32 สถานี

1.สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี : ตั้งอยู่บน ถ.รัตนาธิเบศร์ จะมีสกายวอล์กเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง
2.สถานีแคราย : ถ.ติวานนท์ ใกล้โรงพยาบาลโรคทรวงอก ระหว่างซอยติวานนท์ 13 กับซอย 15
3.สถานีสนามบินน้ำ : ถ.ติวานนท์ ใกล้แยกสนามบินน้ำ ระหว่างแยก ถ.สนามบินน้ำกับซอยติวานนท์ 35
4.สถานีสามัคคี : ถ.ติวานนท์ ใกล้แยกเข้า ถ.สามัคคี ระหว่างคลองบางตลาด กับ ถ.สามัคคี
5.สถานีกรมชลประทาน : ถ.ติวานนท์ ใกล้โรงเรียนชลประทานวิทยา ระหว่างซอยติวานนท์ 4 กับซอย 6
6.สถานีปากเกร็ด : อยู่บริเวณหัวมุมห้าแยกปากเกร็ด
7.สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด : ถ.แจ้งวัฒนะ ใกล้แยกถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ตัดกับ ถ.แจ้งวัฒนะ
8.สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 : ตั้งอยู่บน ถ.แจ้งวัฒนะ ใกล้ห้างเซ็นทรัล พลาซ่า
9.สถานีเมืองทองธานี : ใกล้กับถนนเข้าเมืองทองธานีและสะพานข้ามแยกเมืองทองธานี
10.สถานีศรีรัช : บริเวณปากทางเข้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี
11.สถานีเมืองทอง 1 : บริเวณซอยแจ้งวัฒนะ 14 (ซอยหมู่บ้านเมืองทอง 1)
12.สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ : หน้ากรมการกงสุลและการสื่อสาร
13.สถานีทีโอที : อยู่ระหว่างซอยแจ้งวัฒนะ 5 กับซอย 7
จุดตัดสายสีแดง-สีเขียว
14.สถานีหลักสี่ : ใกล้ศูนย์การค้าไอทีสแควร์ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต)
15.สถานีราชภัฏพระนคร  : หน้าห้างแม็กซ์แวลูและ ม.ราชภัฏพระนคร
16.สถานีวงเวียนหลักสี่ : ตั้งอยู่บน ถ.รามอินทรา ใกล้วงเวียนอนุสาวรีย์หลักสี่ เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่)
17.สถานีรามอินทรา 3 : อยู่ระหว่างซอยรามอินทรา 3 กับซอย 5 ใกล้ห้างเซ็นทรัลรามอินทรา และคอนโดมิเนียมลุมพินีเพลส
18.สถานีลาดปลาเค้า : ใกล้ทางเข้า ถ.ลาดปลาเค้า
19.สถานีรามอินทรา 31 : ใกล้ฟู้ดแลนด์ ระหว่างรามอินทราซอย 29 และ 31
20.สถานีมัยลาภ : อยู่ระหว่างรามอินทราซอย 12 กับซอย 14
21.สถานีวัชรพล : ใกล้ซอยวัชรพล ช่วงรามอินทราซอย 59 กับซอย 61 อนาคตจะเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทา
22.สถานีรามอินทรา 40 : อยู่ระหว่างรามอินทราซอย 40 กับซอย 42
สถานีปลายทาง "มีนบุรี"
23.สถานีคู้บอน : อยู่บริเวณทางแยกนวมินทร์ หรือรามอินทรา กม.8 ระหว่างรามอินทราซอย 46 กับซอย 48 ใกล้แยกคู้บอน
24.สถานีรามอินทรา 83 : ใกล้โรงพยาบาลสินแพทย์
25.สถานีวงแหวนตะวันออก : หน้าศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์
26.สถานีนพรัตนราชธานี : ใกล้แยกเข้าสวนสยาม
27.สถานีบางชัน : ใกล้ซอยรามอินทรา 109 และซอย 115
28.สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ : ใกล้กับโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
29.สถานีตลาดมีนบุรี : ตั้งอยู่บน ถ.สีหบุรานุกิจ ใกล้ตลาดมีนบุรี
30.สถานีมีนบุรี : ตั้งอยู่บน ถ.รามคำแหงซอย 192 ใกล้แยกร่มเกล้า เป็นสถานีปลายทาง มีจุดจอดแล้วจร (Park and Ride) จอดรถได้ 2,000 คัน และศูนย์ซ่อมบำรุงบนพื้นที่ 280 ไร่
เส้นทางสายแยก (อิมแพ็คลิงก์)
31.สถานีอิมแพ็คชาเลนเจอร์ : ตั้งอยู่บริเวณวงเวียนเมืองทองธานี มีทางเดินเชื่อม(Skywalk) เข้าสู่อาคารอิมแพ็คชาเลนเจอร์ (Impact Challenger)
32.สถานีทะเลสาบเมืองทองธานี : ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของทะเลสาบเมืองทองธานี
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 03 ต.ค. 2555 เวลา 18:22:01 น. และ 28 เมษายน 2561 เวลา 12:56 น.

รายละเอียดรถไฟฟ้าสายสีชมพู

- รถไฟฟ้าโมโนเรลโดยไม่ต้องใช้คนควบคุมหรือสั่งการ สายแรกของประเทศไทย
- รถรุ่น Bombardier Innovia Monorail 300 เป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.147 เมตร ยาว 11.8-13.2 เมตร สูงประมาณ 4.06 เมตร (เมื่อคร่อมคานทั้งหมด)
- ความยาวขบวนรถ 50,474 เมตร น้ำหนัก 14,500 - 15,000 กก.
- ระบบจ่ายไฟฟ้า ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ในการขับเคลื่อนรถ
- ความเร็วสูงสุด 80 กม./ชม.
- รูปแบบขบวนรถไฟ 4 ตู้ต่อขบวน มีทั้งหมด 42 ขบวน 168 ตู้
- บรรจุผู้โดยสาร 17,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง
ที่มา : https://www.youtube.com/  9 กุมภาพันธ์ 2564
 
 
 

PRESENTATION

ที่มา : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

คลิ๊ก! เพื่ออ่านบทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

 
 

อ่านบทความรถไฟฟ้าอื่นๆเพิ่มเติม คลิก!

รถไฟฟ้าสายสีทอง
รถไฟฟ้าสายสีม่วง
รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้
รถไฟฟ้าสายสีแดง
รถไฟฟ้า-บางนา-สุวรรณภูมิ
รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
รถไฟฟ้าสายสีส้ม
รถไฟฟ้าสายสีเทา
หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
รถไฟฟ้าสายสีชมพู
รถไฟฟ้า-โคราช
รถไฟฟ้า-ภูเก็ต
รถไฟฟ้า-เชียงใหม่  

Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon