realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้

20 Sep 2022 118.0K

รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้

20 Sep 2022 118.0K
 

รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ "เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ-ครุใน"

Real Recap - ชี้เป้า!! รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ จ่อหน้าบ้านใครบ้าง

17 สถานี รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ บันไดรถไฟฟ้าจะไปลงที่หน้าบ้านใคร??

แผนผังรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้

รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ มีทั้งหมด 17 สถานีใหม่ เชื่อมรถไฟฟ้า 3 สาย ในปัจจุบันกำลังเตรียมการก่อสร้าง คาดว่าแล้วเสร็จ 2570
โดยถ้าสายสีม่วงสร้างเสร็จตลอดสาย จะเป็นรถไฟฟ้าที่เชื่อม 3 จังหวัด ทำให้การเดินทางสะดวกสบายมากขึ้นอย่างมาก

สถานีเตาปูน

สถานี เตาปูน เป็นสถานีเดิมของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่เชื่อมกันรถไฟฟ้า MRT โดยรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ก็จะทำรางจากสถานีเตาปูน สร้างต่อออกมาทางปลายชานชาลาทิศใต้ โดยจะเป็นแนวเส้นทางที่ต้องเวนคืน ก่อนจะมุดลงเป็นการวิ่งใต้ดิน

สถานีรัฐสภา

สถานี รัฐสภา เดิมใช้ชื่อว่า สถานีเกียกกาย และมีการย้ายตำแหน่งจากเดิมมาทางตะวันตกเฉียงใต้ และเปลี่ยนชื่อให้ตรงกับตำแหน่งที่ตั้ง โดยเป็นสถานีแรกของโครงการ ตำแหน่งที่ตั้งจะอยู่ติดกับรัฐสภาแห่งใหม่ ทางขึ้นลงจะมี 4 เส้นทาง อำนวยความสะดวกให้กับพนักงานที่ทำงานในรัฐสภา

สถานีศรีย่าน

สถานี ศรีย่าน เดิมใช้ชื่อว่า สถานีกรมชลประทาน เปลี่ยนชื่อเพราะจะได้ไม่ซ้ำกับสถานีของรถไฟฟ้าสายสีชมพู ตัวสถานีตั้งอยู่ใต้ถนนสามเสน หน้ากรมชลประทาน ทางขึ้นลงมีทั้งหมด 4 ทาง โดย
  • ทางออก 3 กับ 4 จะอยู่บริเวณกรมชลประทาน
  • ทางออก 1 อยู่บริเวณซอยสามเสน 20
  • ทางออก 2 จะอยู่บริเวณที่เป็นปั้มน้ำมันเดิม

สถานีวชิรพยาบาล

สถานีวชิรพยาบาล เดิมชื่อสถานี สามเสน ก่อนจะมีการย้ายตำแหน่งสถานีและเปลี่ยนชื่อให้สอดคล้องกับตำแหน่งที่ตั้ง ตำแหน่งที่ตั้งของสถานีจะอยู่หน้า รพ.วชิรพยาบาล ทางเข้าออกมี 4 ทาง ได้แก่
  • ทางออก1 อยู่ตรงบริเวณสมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
  • ทางออก 2 อยู่บริเวณสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา
  • ทางออก 3 อยู่บริเวณสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
  • ทางออก 4 อยู่บริเวณโรงพยาบาลวชิรพยาบาล

สถานีหอสมุดแห่งชาติ

สถานีหอสมุดแห่งชาติ ตำแหน่งที่ตั้งอยู่หน้าหอสมุดแห่งชาติ โดยทางขึ้นลง 4 จะเป็นทางที่เชื่อมกับหอสมุดได้เลย ทางขึ้นลงอื่นๆ ได้แก่
  • ทางขึ้นลง 1 อยู่ตรง ถ.อู่ทองนอก
  • ทางขึ้นลง 2 อยู่ตรง ซ.สามเสน 12 ที่เป็นพื้นที่ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
  • ทางขึ้นลง 3 อยู่ที่ ถ.พิษณุโลก ที่สามารถเดินไป ม.เทคโนโลยีราชมงคล

สถานีบางขุนพรหม

สถานีบางขุนพรหม ตำแหน่งสถานีจะอยู่บน ถ.สามเสน หน้าวัดเอี่ยมวรนุช ทางขึ้นลงมี 4 ทาง
  • ทางขึ้นลง 1 ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดเอี่ยมวรนุช ใกล้สี่แยกวิสุทธิกษัตริย์
  • ทางขึ้นลง 2 ตั้งอยู่บริเวณปั๊ม ปตท. ตรงข้ามวัดสามพระยา
  • ทางขึ้นลง 3 ตั้งอยู่บริเวณโรงพิมพ์ศรีหงส์
  • ทางขึ้นลง 4 ตั้งอยู่บริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย ถนนวิสุทธิกษัตริย์

สถานีผ่านฟ้า

สถานีผ่านฟ้า เป็นสถานีที่อยู่ปริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อยู่กลาง ถ.พระสุเมรุ ใกล้กับแยกผ่านฟ้า ทางขึ้นลงสถานี มีทั้งหมด 4 ทาง ได้แก่
  • ทางขึ้นลง 1 จะอยู่ตรงสำนักการโยธา
  • ทางขึ้นลง 2 จะอยู่บริเวณลานจอดรถของหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
  • ทางขึ้นลง 4 ก็จะอยู่ทางทิศเหนือของสถานี
  • ส่วนทางขึ้นลงที่ 3 จะเป็นทางที่เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีส้มในอนาคต และเป็นทางที่สามารถเดินไปที่

สถานีสามยอด

สถานีสามยอด เดิมชื่อ สถานีวังบูรพา เนื่องจากมีการย้ายตำแหน่งสถานีไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ตามถนนมหาไชย โดยทางขึ้นลงสถานีจะมี 4 ทาง
  • ทางขึ้นลง 1 อยู่บนมุม ถ.หลวง
  • ทางขึ้นลง 2 กับ 3 จะอยู่ติดกับถนนเจริญกรุงและสามารถเชื่อมกับรถไฟฟ้า MRT สามยอดได้
  • และยังมีอาคารจอดรถจำนวน 53 คันที่รองรับคนที่มาศูนย์การเรียนรู้ที่อยู่ใกล้กับสถานี

สถานีสะพานพุทธฯ

สถานีสะพานพุทธยอดฟ้า ตำแหน่งสถานีอยู่กลางถนนประชาธิปก ระหว่าง ถ.สมเด็จเจ้าพระยา กับ ถ.อิสรภาพ เป็นสถานีแรกของฝั่งธนฯ หลังจากลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยามาแล้ว ทางขึ้นลงมีทั้งหมด 4 ทาง
  • ทางขึ้นลง 1 และ 4 จะอยู่ด้านบนของสถานี ใกล้กับ ถ.สมเด็จเจ้าพระยา
  • ส่วนทางขึ้นลงที่ 2 กับ 3 จะอยู่ใกล้กับ ถ.อิสรภาพ

สถานีวงเวียนใหญ่

สถานีวงเวียนใหญ่ ตำแหน่งของสถานีจะอยู่ติดกับวงเวียนใหญ่ บน ถ.สมเด็จพระเข้าตากสิน ทางขึ้นลงมีทั้งหมด 4 ทาง
  • ทางขึ้นลง 1 กับ 4 อยู่อยู่ฝั่งวงเวียนใหญ่ ในอนาคตจะมีรถไฟฟ้าสายสีแดงก็จะใช้ทางขึ้นลง 4 ในการเชื่อมต่อกัน
  • ทางขึ้นลง 2 กับ 3 ใกล้กับ ซ.สมเด็จพระเข้าตากสิน 5 และยังเป็นทางเชื่อมไปยัง BTS วงเวียนใหญ่ที่ห่างออกไป 500 ม.

สถานีสำเหร่

สถานีสำเหร่ ตำแหน่งที่ตั้งจะอยู่ถัดลงมาตาม ถ.สมเด็จพระเข้าตากสิน บริเวณ ซ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน 9 ทางขึ้นลงมีทั้งหมด 4 ทาง
  • ทางขึ้นลง 1 อยู่ตรงบริเวณ ซ.สมเด็นพระเจ้าตากสิน 19 ใกล้ตลาดสำเหร่
  • ทางขึ้นลง 2 กับ 3 จะอยู่ใกล้กับ รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า
  • ทางขึ้นลง 4 อยู่ฝั่งตรงข้ามตลาดสำเหร่

สถานีดาวคะนอง

สถานีดาวคะนอง เดิมชื่อสถานีจอมทอง แต่มีการย้ายตำแหน่งสถานีมาอยู่บริเวณ ซ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน 37 ใกล้กับคลองดาวคะนอง ทางขึ้นลงมี 2 ทางอยู่บริเวณกลางสถานี โดยสถานีนี้จะเป็นสถานีแรกที่ขึ้นมาเป็นรถไฟลอยฟ้าและวิ่งยาวไปถึง ครุใน

สถานีบางปะแก้ว

สถานีบางปะแก้ว เดิมแล้วสถานีนี้ชื่อสถานีดาวคะนองแต่มีการปรับชื่ิให้สอดคล้องกับตำแหน่งที่ตั้ง ตำแหน่งของสถานีจะอยู่บริเวณ ถ.สุขสวัสดิ์ 5 และ 9 ทางขึ้นลง มี 4 ทาง ได้แก่
  • ทางขึ้นลง 1 อยู่หน้า ซ.สุขสวัสดิ์ 5
  • ทางขึ้นลง 2 อยู่หน้า ซ.สุขสวัสดิ์ 7
  • ทางขึ้นลง 3 อยู่หน้า ซ.สุขสวัสดิ์ 14
  • ทางขึ้นลง 4 อยู่หน้า ซ.สุขสวัสดิ์ 12 ใกล้กับ ตลาดสุขสวัสดิ์

สถานีบางปะกอก

สถานีบางปะกอก ตำแหน่งของสถานีอยู่บน ถ.สุขสวัสดิ์ ใกล้กับ ซ.สุขสวัสดิ์ 23 ทางขึ้นลงมี 2 ทาง โดยทั้ง 2 จะเชื่อมกับอาคารจอดรถของสถานีที่รองรับได้ 1,657 คัน

สถานีแยกประชาอุทิศ

สถานีแยกประชาอุทิศ ตำแหน่งสถานีอยู่บริเวณซอยวัดสารอด (สุขสวัสดิ์ 44) ใกล้กับสามแยกประชาอุทิศ ทางขึ้นลงมี 4 ทาง ได้แก้
  • ทางขึ้นลง 1 กับ 2 อยู่ฝั่ง ถ.สุขสวัสดิ์ 29
  • ทางขึ้นลง 3 กับ 4 อยู่ฝั่ง ถ.สุขสวัสดิ์ 44

สถานีราษฎร์บูรณะ

สถานีราษฎร์บูรณะ ตำแหน่งของสถานีจะอยู่อยู่ถัดจากทางด่วนมา บริเวณ ถ.สุขสวัสดิ์ ที่ตัดกับ คลองแจงร้อน ทางขึ้นลง มี 2 ทางเชื่อมอาคารจอดรถที่รองรับได้ 1,378 คัน

สถานีพระประแดง

สถานีพระประแดง สถานีที่เพิ่มขึ้นมาภายหลังเนื่องจากการทำศูนย์ซ่อมบำรุงไว้ห่างออกไป 4.4 กม. ระหว่างทางจึงทำสถานีเพิ่มขึ้นมาอีก 2 สถานี ตำแหน่งของสถานีอยู่บน ถ.สุขสวัสดิ์ ตัดกับ ถ.นครเขื่อนขันธ์ ทางขึ้นลงมีทั้งหมด 4 ทาง
  • ทางขึ้นลง 1 จะอยู่ฝั่ง ถ.นครเขื่อนขันธ์
  • ทางขึ้นลง 2 จะอยู่ฝั่ง ถ.สุขสวัสดิ์ 37/11
  • ทางขึ้นลง 3 จะอยู่ฝั่งโรงงานโทเร เท็กไทล์
  • ทางขึ้นลง 4 จะอยู่ใกล้กับตลาดพระประแดงอาเขต

สถานีครุใน

สถานีครุใน สถานีสุท้ายของโครงการ ตำแหน่งอยู่ ถ.สุขสวัสดิ์ 70 ทางขึ้นลงมี 4 ทาง
  • ทางขึ้นลงที่ 1 กับ 4 จะอยู่บริเวณพื้นที่ว่าง บ.อุตสาหกรรมแอร์เคมีไทยและบริเวณปั้มซัสโก้ติดกับคลองเจ็กทิม
  • ทางขึ้นลงที่ 2 กับ 3 จะอยู่บริเวณศูนย์ซ่อมรถยนต์และพื้นที่ว่างบริเวณ สุขสวัสดิ์ 70

สถานีซ่อมบำรุง

ศูนย์ซ่อมบำรุงและอู่จอดรถไฟฟ้า ตำแหน่งอยู่ติดกับด่านเก็บเงินบางครุ ของทางด่วนสายกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) เป็นสถานีซ่อมบำรุงย่อยของรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยสถานีหลักจะอยู่ที่คลองบางไผ่

สัญญาการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้

รฟม.ประกาศรายชื่อบริษัทที่จะรับผิดชอบในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้
คาดจะเซ็นสัญญาก่อสร้างกันได้ภายในเดือน มีนาคม 2565 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปี 2570
ในการก่อสร้างจะมีการแบ่งสัญญาออกเป็น 6 สัญญา แยกกันเปิดประมูลเพื่อหาบริษัทที่จะเข้ามา
รับผิดชอบในการก่อสร้าง โดยได้ผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างในแต่ละช่วง คือ
สัญญาที่ 1 ช่วงเตาปูน – หอสมุดแห่งชาติ และ  ได้ผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างคือ ช.การช่าง กับ ซิโน-ไทย ชนะประมูลไปในราคา 19,433 ล้านบาท
สัญญาที่ 2 ช่วงหอสมุดแห่งชาติ – ผ่านฟ้า ได้ผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างคือ ช.การช่าง กับ ซิโน-ไทย ชนะประมูลไปในราคา 15,880 ล้านบาท
สัญญาที่ 3 ช่วงผ่านฟ้า – สะพานพุทธ ได้บริษัท อิตาเลียนไทย และ เนาวรัตน์พัฒนาการ ในการก่อสร้าง ชนะประมูลไปในราคา 15,109 ล้านบาท
สัญญาที่ 4 ช่วงสะพานพุทธ – ดาวคะนอง ได้ ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง มารับผิดชอบในการก่อสร้าง ชนะประมูลไปในราคา 14,982 ล้านบาท
สัญญาที่ 5 ช่วงดาวคะนอง – ครุใน เส้นทางโครงการ ได้ผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างเป็น อิตาเลียนไทย ชนะประมูลไปในราคา 13,139 ล้านบาท
สัญญาที่ 6 งานออกแบบและก่อสร้างระบบรางตลอดแนว ได้ผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างเป็น อิตาเลียนไทย ชนะประมูลไปในราคา 3,591 ล้านบาท
โดยในการก่อสร้างรถไฟฟ้า ก็จะส่งผลกระทบต่อการจราจรในหลายพื้นที่และถนนหลายเส้น โดยเฉพาะช่วงที่เลยช่วงดาวคะนอง ที่รถไฟฟ้าจะเปลี่ยนมาเป็นทางยกระดับ ทำให้ในการก่อสร้างอาจจะต้องมีการผิดช่องการจราจรในบ้างจุด ถ้ามีความจำเป็นในการใช้เส้นทาง ก็อาจจะต้องมีการวางแผนและเผื่อเวลาการเดินทางเพิ่มเติม

อัพเดทสายสีม่วงใต้ ปี 64 หลังจากที่ผ่าน EIA พร้อมลุยก่อสร้างปี 65

รฟม. เคาะ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ วงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท พร้อมเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP สัญญามูลค่ากว่า 2.3 หมื่นล้านบาท เริ่มก่อสร้างปี 2565 และเปิดใช้งานปี 2570 โดยทาง รฟม.เตรียมเปิดประมูล ภายในเดือน กันยายน 2564 โดยจะได้ผู้ชนะการประมูลต้นปี 2565
ในขณะนี้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างเร่งสำรวจอสังหาริมทรัพย์ตามแนวสายทางโครงการฯ และจัดทำร่างเอกสารรายละเอียดเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) และคาดว่าจะเปิดประมูลงานโยธาด้วยวิธีประกวดราคานานาชาติ (International Bidding) เร็วๆ นี้
Info: dailynews (17 May 2020)

เงินลงทุนจำนวน 1.01 แสนล้านบาทแบ่งออกเป็น

  • งานโยธา : 77,385 ล้านบาท
  • ค่าเวนคืนที่ดิน :  15,913 ล้านบาท
  • ค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์ : 32 ล้านบาท
  • ค่าสิ่งก่อสร้างทดแทน : 1,335 ล้านบาท
  • ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงาน : 2,865 ล้านบาท
  • ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาดงานโยธา : 3,582 ล้านบาท

มีเปลี่ยนแปลงชื่อ 6 สถานี

  • สามเสน เป็น วชิรพยาบาล
  • วังบูรพา เป็น สามยอด (เชื่อมต่อสายสีน้ำเงิน)
  • สะพานพระพุทธยอดฟ้า เป็น สะพานพุทธฯ
  • จอมทอง เป็น ดาวคะนอง
  • ดาวคะนอง เป็น บางปะแก้ว
  • ประชาอุทิศ เป็น แยกประชาอุทิศ

ยกเลิกสถานีมไหสวรรย์

ซึ่งเป็นสถานีใต้ดิน เนื่องจากติดอุโมงค์ทางลอดรถยนต์ ทำให้ไม่สามารถก่อสร้างสถานีได้ตามแบบ และแก้ปัญหาด้วยการขยับระยะห่างของสถานีสำเหร่ และดาวคะนองเข้าหากัน ให้ใกล้แยกมไหสวรรย์มากขึ้น

เปลี่ยนแปลงเส้นทางช่วงสถานีเตาปูน-รัฐสภา

เส้นทางจากสถานีเตาปูน จนถึงสถานีรัฐสภานั้น มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่ตัดผ่านพื้นที่ชุมชน (ทิศตะวันตกเฉียงใต้) เป็นลงทิศใต้ผ่านซอยสะพานขวา, ซอยศรีเผื่อน, ซอยศรีพิชัย, ซอยประดู่ แล้วจึงเลี้ยวขวาข้ามคลองบางซื่อ สู่แยกเกียกกาย ซึ่งแนวทางใหม่นี้ จะช่วยลดผลกระทบต่อชุมชนได้ดีที่สุด

เพิ่มอีก 2 สถานีใหม่

คาดว่าจะมีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอีก 6% และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเข้ามา 1,400 ล้านบาท (สถานีละ 700 ล้านบาท) และมีอัตราส่วนผลตอบแทนการลงทุนมากกว่า 1.0

การเวนคืนที่ดินที่จะต้องเวนคืนภายในปี 2563

ในเขตกรุงเทพมหานครทั้งหมด 10 เขต และพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการอีก 1 อำเภอ
  • เขตบางซื่อ
  • เขตดุสิต
  • เขตพระนคร
  • เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
  • เขตสัมพันธวงศ์
  • เขตธนบุรี
  • เขตคลองสาน
  • เขตจอมทอง
  • เขตราษฎร์บูรณะ
  • เขตทุ่งครุ
  • อำเภอพระประแดง
ทั้งนี้ต้องรอขึ้นทูลเกล้าฯ และประกาศลงในพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ตามลำดับ
โครงสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ
ระยะทาง : 23.6 กม.
  • โครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 12.6 กม.
  • โครงสร้างทางยกระดับ 11 กม. 
จำนวนสถานี : 17 สถานี
  • สถานีใต้ดิน 10 สถานี
  • สถานียกระดับ 7 สถานี
  • มูลค่าโครงการ : 1.01 แสนล้านบาท
  • คาดเริ่มก่อสร้าง : ปี 2565
  • คาดเปิดให้บริการ : ปี 2570
แนวเส้นทางโครงสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ) เริ่มจากจุดเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงเหนือ (ช่วงบางใหญ่ – บางซื่อ) ที่บริเวณสถานีเตาปูน โดยเปลี่ยนเป็นเส้นทางใต้ดินแล้วตรงเข้าถนนทหารเลี้ยวเข้าถนนสามเสน ผ่านรัฐสภาแห่งใหม่ (โรงเรียนโยธินบูรณะเดิม) โรงเรียนราชินีบน กรมชลประทาน โรงพยาบาลวชิรพยาบาล หอสมุดแห่งชาติ คลองบางลำพู เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพระสุเมรุ ผ่านวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร แยกผ่านฟ้า เข้าสู่ถนนมหาไชย ผ่านวัดราชนัดดารามวรวิหาร
เข้าสู่ถนนจักรเพชร ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระปกเกล้า เข้าสู่ถนนประชาธิปก ผ่านสี่แยกบ้านแขก ลอดใต้วงเวียนใหญ่ เข้าสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ลอดข้ามแยกมไหสวรรย์ จากนั้นเปลี่ยนเส้นทางยกระดับผ่านแยกถนนจอมทองเข้าสู่ถนนสุขสวัสดิ์ และสิ้นสุดเส้นทางบริเวณครุใน
 
คลิก google map เพื่อดูที่ตั้งสถานี  (สามารถเลื่อน ซูม แผนที่และคลิกปุ่มซ้ายบนเพื่อเลือกตำแหน่งของแต่ละสถานี)
สถานีใต้ดิน
1. สถานีรัฐสภา
2. สถานีศรีย่าน
3. สถานีวชิรพยาบาล
4. สถานีหอสมุดแห่งชาติ
5. สถานีบางขุนพรหม
6. สถานีผ่านฟ้า
7. สถานีสามยอด
8. สถานีสะพานพุทธฯ
9. สถานีวงเวียนใหญ่
10. สถานีสำเหร่
สถานียกระดับ
11. สถานีดาวคะนอง
12. สถานีบางปะแก้ว
13. สถานีบางปะกอก
14. สถานีแยกประชาอุทิศ
15. สถานีราษฎร์บูรณะ
16. สถานีพระประแดง
17. สถานีครุใน
   
การศึกษาในปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อจากเกียกกาย เป็นสถานีรัฐสภา และปรับตำแหน่งสถานีออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามแนวถนนสามเสน เป็นระยะ 134 เมตร พร้อมเพิ่มทางขึ้น-ลง จำนวน 2 จุด (จุดที่ 1 และ 3)
การศึกษาในปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อสถานีจากกรมชลประทาน เป็นสถานีศรีย่าน เพื่อให้ตรงกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู และปรับแบบให้มีความกว้างเสมอกับถนนสามเสน และเพิ่มระยะห่างของทางขึ้น-ลง พร้อมเพิ่มตำแหน่งขึ้น-ลง อีก 1 จุดเป็น 4 จุดตามรูป
มีการปรับตำแหน่งทางขึ้น-ลงใหม่ พร้อมขยายความยาวของสถานีเป็น 133 เมตร
  1. สมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
  2. สํานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา
  3. สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
  4. โรงพยาบาลวชิรพยาบาล
  1. 1. สวนมูลนิธิรัฐบุรุษ
  2. 2. สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
  3. 3. สวนหน้าหอสมุดแห่งชาติ
  1. 1. วัดเอี่ยมวรนุช ใกล้สี่แยกวิสุทธิกษัตริย์
  2. 2.ปั๊ม ปตท. ตรงข้ามวัดสามพระยา
  3. 3. โรงพิมพ์ศรีหงส์
  4. 4. ธนาคารแห่งประเทศไทย ถนนวิสุทธิกษัตริย์
  1. 1. อาคารเทเวศร์ประกันภัย (เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม)
  2. 2. ที่จอดรถหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
  3. 3. อาคารเทเวศร์ประกันภัย (เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม)
  4. 4. สํานักงานก่อสร้างและบูรณะ สํานักการโยธา กรุงเทพมหานคร
การศึกษาในปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อสถานีจากวังบูรพา เป็นสถานีสามยอด พร้อมปรับตําแหน่งสถานีออกไป ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตามแนวถนนมหาไชย เป็นระยะประมาณ 211 เมตร
  1. 1. ที่ดินของสํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (ติดกับถนนหลวง)
  2. 2. โรงแรมบูรพา
  3. 3. ที่ดินของสํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นตึกแถว 3 ชั้น
  4. 4. ศูนย์การเรียนรู้ระหว่างประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม (หน้าสวนรมณีนาถ)
การศึกษาในปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อสถานีจากสะพานพระพุทธยอดฟ้า เป็นสถานีสะพานพุทธฯ พร้อมย้ายตำแหน่งเข้าใกล้แยกบ้านแขก 
  1. 1. อาคารพาณิชย์ตลาดวงเวียนใหญ่ ติดกับห้างสรรพสินค้าเมอรี่คิงส์
  2. 2. ซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน 5
  3. 3. คลองบางไส้ไก่
  4. 4. ซอยอินทรพิทักษ์
  1. 1. ตลาดสําเหร่ (ซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน 19 )
  2. 2. บ้านสวนสุขจิต ตรงข้ามโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
  3. 3. ลานจอดรถด้านหน้าของโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
  4. 4. อาคารพาณิชย์ 3 ชั้น ฝั่งตรงข้ามกับตลาดสําเหร่
การศึกษาในปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อสถานีจากจอมทอง เป็นสถานีดาวคะนอง เพื่อให้สอดคล้องกับตำแหน่งสถานี และปรับทางขึ้น-ลงเหลือ 2 จุด
  1. 1. อาคารพาณิชย์ 4 ชั้น ใกล้กับคลองบางสะแก
  2. 2. อาคารพาณิชย์ 2 ชั้น ใกล้กับคลองบางสะแก
การศึกษาในปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อสถานีจากดาวคะนอง เป็นสถานีบางปะแก้ว เพื่อให้สอดคล้องกับตำแหน่งสถานี และปรับตำแหน่งขึ้น-ลงใหม่
  1. 1. ลานจอดรถของบริษัท คอมพิวเตอร์ เลเบิ้ล เวิลด์ไวด์ จํากัด
  2. 2. อาคารพาณิชย์ 1 ชั้น ใกล้กับซอยสุขสวัสดิ์ 7
  3. 3. ซอยสุขสวัสดิ์ 14 ใกล้ธนาคารกรุงเทพ
  4. 4. ลานจอดรถโรงเรียนสิริอักษรธนบุรีติดกับซอยสุขสวัสดิ์ 12
จากการศึกษาในปัจจุบันมีการปรับตำแหน่งทางขึ้น-ลงให้เหลือ 2 จุดตามรูป
การศึกษาในปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อสถานีจากประชาอุทิศ เป็นสถานีแยกประชาอุทิศ เพื่อให้สอดคล้องกับตำแหน่งสถานี และขยับตำแหน่งของสถานีให้เข้ามาใกล้กันยิ่งขึ้น
  1. 1. ซอยสุขสวัสดิ์ 29
  2. 2. ซอยสุขสวัสดิ์ 31
  3. 3. ซอยสุขสวัสดิ์ 46
  4. 4. ซอยสุขสวัสดิ์ 44
มีการปรับจำนวนสถานีให้เหลือ 2 จุด บริเวณอาคารจอดแล้วจร และปรับลดความยาวของสถานีเหลือ 85 เมตร
[wc_html name="section "]๊สถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น[/wc_html]
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ มีสถานี Interchange ทั้งหมด 5 สถานีคือ
  • • สถานีเตาปูน
  • [ เชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงิน ]
  • • สถานีสะพานผ่านฟ้า
  • [ เชื่อมต่อกับสายสีส้ม ]
  • • สถานีสามยอด
  • [ เชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงิน ]
  • • สถานีสะพานพุทธ
  • [ เชื่อมต่อกับสายสีทอง ]
  • • สถานีวงเวียนใหญ่
  • [ เชื่อมต่อกับสายสีเขียว และสายสีแดงเข้ม ]
และสถานีสำเหร่ อยู่บริเวณหน้าโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ บนถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินนั้น อยู่ห่างจากสายสีเทา สถานีมไหสวรรย์ประมาณ 800 เมตร
อาคารจอดรถ (Park & Ride) มีจำนวน 2 แห่ง รวมทั้งสิ้น 2,999 คัน
1. อาคารจอดรถสถานีบางปะกอก ตั้งอยู่ที่สถานีบางประกอก เป็นอาคารสูง 10 ชั้น จอดรถยนต์ได้ประมาณ 1,640 คัน 
2. อาคารจอดรถสถานีราษฎร์บูรณะ มี 2 อาคารทั้งฝั่งขาเข้า และขาออก อาคารที่ 1 สูง 10 ชั้น จอดรถยนต์ได้ประมาณ 495 คัน อาคารที่ 2 สูง 10 ชั้น จอดรถยนต์ได้ประมาณ 864 คัน

คลิ๊ก! เพื่ออ่านบทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon