realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (220)
 (317)
 (380)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (40)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (220)
 (317)
 (380)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (40)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รถไฟฟ้าสายสีส้ม

31 Oct 1991 1.2K

รถไฟฟ้าสายสีส้ม

31 Oct 1991 1.2K
 

รถไฟฟ้าสายสีส้ม

โครงสร้างรถไฟฟ้าแบบยกระดับระยะทาง 9 กิโลเมตร สถานียกระดับ 7 สถานี และโครงสร้างรถไฟฟ้าแบบใต้ดินระยะทาง 30.6 กิโลเมตร สถานีใต้ดิน 23 สถานี โครงการเริ่มต้นจากสถานีรถไฟตลิ่งชัน จากนั้นใช้แนวเขตรถไฟสายบางกอกน้อย ผ่านโรงพยาบาลศิริราช ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ผ่านใต้ถนนราชดำเนินแล้วเบี่ยง ใช้แนวถนนหลานหลวง ผ่านยมราชแล้วเข้าสู่แนวถนนเพชรบุรี เลี้ยวเข้าถนนราชปรารภถึงดินแดงแล้วเลี้ยว ไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) ตัดตรงไปเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย แล้วเบี้ยงเข้าแนวถนนพระรามเก้า ตัดผ่านถนนประดิษฐ์ธรรมนูญ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนรามคำแหง ผ่านแยกลำสาลี แยกถนนกาญจนาภิเษก ไปสิ้นสุดที่สถานีสุวินทวงศ์บริเวณมีนบุรี
Image : MRTA Orange Line รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม Metropolitan Rapid Transit Orange Line, MRT Orange Line เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดินและยกระดับ มีแนวเส้นทางที่รองรับการเดินทางภายในเขตเมืองตามแนวตะวันออก-ตะวันตก เริ่มต้นจากสถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน ชานเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี เข้าสู่ย่านบางกอกน้อย แล้วลอดแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่ย่านเมืองเก่าในเขตพระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต ผ่านสถานที่สำคัญเช่น สนามหลวง ถนนราชดำเนิน ภูเขาทอง ตลาดมหานาค เข้าสู่ใจกลางเมืองย่านราชเทวี ประตูน้ำ ดินแดง ไปยังชุมชนประชาสงเคราะห์ ถนนวัฒนธรรม ออกสู่ถนนรามคำแหง บางกะปิ สะพานสูง มาสิ้นสุดเส้นทางที่เขตมีนบุรี ชานเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ มีระยะทางรวม 35.4 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 26.2 กิโลเมตร และเป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 9.2 กิโลเมตร มีสถานีทั้งสิ้น 29 สถานี แบ่งเป็นสถานีใต้ดิน 22 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี   แนวเส้นทางในส่วนตะวันตกเป็นเส้นทางใต้ดินทั้งหมด เริ่มต้นจากที่สถานีบางขุนนนท์ ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน จากนั้นวิ่งผ่านสถานีรถไฟธนบุรี โรงพยาบาลศิริราช ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่แนวถนนราชดำเนินกลาง ผ่านสนามหลวง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วงที่สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ผ่านสะพานผ่านฟ้าลีลาศเข้าสู่แนวถนนหลานหลวง ผ่านตลาดมหานาค เข้าสู่แนวถนนเพชรบุรีที่แยกยมราช ผ่านแยกอุรุพงษ์ แยกเพชรพระราม มาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีราชเทวี เลี้ยวซ้ายที่แยกประตูน้ำมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือตามแนวถนนราชปรารภ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่สถานีราชปรารภ เบี่ยงขวาที่แยกสามเหลี่ยมดินแดงเข้าสู่ถนนดินแดง เลี้ยวซ้ายเข้าถนนวิภาวดี-รังสิต และเลี้ยวขวาลอดโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี เข้าสู่ชุมชนประชาสงเคราะห์ และทะลุออกสู่ถนนรัชดาภิเษภ เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย     เริ่มต้นจากจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จากนั้นวิ่งตามแนวถนนวัฒนธรรม ออกสู่ถนนพระราม 9 ที่บริเวณหน้าที่ทำการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก ผ่านแยกพระราม 9 - ประดิษฐ์มนูธรรม แล้วเข้าสู่ถนนรามคำแหง บริเวณแยกรามคำแหง ผ่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง ราชมังคลากีฬาสถาน ไปสิ้นสุดเส้นทางที่แยกลำสาลีในย่านบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง หลังจากนั้นจะเป็นสถานียกระดับตามแนวถนนรามคำแหง เริ่มต้นจากโครงสร้างอุโมงค์ใต้ดินที่แยกลำสาลีซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับเส้นทางช่วงก่อนหน้านี้ จากนั้นจึงเริ่มยกระดับตามแนวเกาะกลางถนนเข้าสู่สถานีบ้านม้า ผ่านหมู่บ้านสัมมากร ยกข้ามทางแยกต่างระดับรามคำแหงจุดตัดถนนกาญจนภิเษก ผ่านแยกลาดบัวขาวจุดตัดถนนมีนพัฒนา ผ่านเคหะรามคำแหง ไปสิ้นสุดเส้นทางที่สถานีมีนบุรี บริเวณก่อนถึงแยกรามคำแหง-ร่มเกล้าซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และเป็นที่ตั้งของศูนย์ซ่อมบำรุงสำหรับเส้นทางส่วนนี้ร่วมกับสายสีชมพู รวมระยะทางทั้งสิ้น 11 กิโลเมตร  

รถไฟฟ้าสายสีส้มเตรียมเปิดขายซองหาผู้รับเหมา 1 ก.ค.นี้

พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดรฟม. เห็นชอบร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) ระยะทาง 21.2 กม. และเห็นชอบกรอบราคากลางค่าก่อสร้าง 79,777 ล้านบาท (มีค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด หรือ Provisional Sum 3,486 ล้านบาท)    สำหรับการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มนั้น จะแบ่งออกเป็น 6 สัญญา รวมค่างานโยธา 76,240 ล้านบาท ประกอบด้วย   สัญญาที่ 1 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงศูนย์วัฒนธรรม-รามคำแหง 12 ระยะทาง 6.9 กิโลเมตร มี 3 สถานี ราคากลาง 19,829 ล้านบาท   สัญญาที่ 2 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงรามคำแหง 12-หัวหมาก ระยะทาง 3.44 กิโลเมตร จำนวน 4 สถานี ราคากลาง 20,659 ล้านบาท   สัญญาที่ 3 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า ระยะทาง 4.04 กิโลเมตร จำนวน 3 สถานี ราคากลาง 17,839 ล้านบาท   สัญญาที่ 4 งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับช่วงคลองบ้านมา-สุวินทวงศ์ ระยะทาง 8.80 กิโลเมตร จำนวน 7 สถานี ราคากลาง 9,586 ล้านบาท   สัญญาที่ 5 งานก่อสร้างอาคารศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดและจร วงเงิน 4,700 ล้านบาท   สัญญาที่ 6 งานออกแบบและก่อสร้างระบบราง ระยะทาง 22.50 กิโลเมตร ราคากลาง 3,624 ล้านบาท   ตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางฯ ได้กำหนดให้โครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้ม เป็นระบบขนส่งมวลชนสายหลักที่เชื่อมโยงฝั่งตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพมหานคร และผลการศึกษาทบทวนความเหมาะสมและแนวเส้นทางของโครงการ โดยเป็นความเห็นร่วมกันของ สนข. และ รฟม. กำหนดให้จุดเริ่มต้นโครงการอยู่ที่สถานีบางขุนนนท์ โดยเชื่อมต่อกับเส้นทางจากระบบรถไฟฟ้าสายสีแดงที่บริเวณสถานีบางขุนนนท์ จากนั้นใช้แนวเขตรถไฟสายบางกอกน้อย ผ่านโรงพยาบาลศิริราช ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ผ่านใต้ถนนราชดำเนิน แล้วเบี่ยงใช้ใต้ถนนหลานหลวง ผ่านแยกยมราชแล้วเข้าสู่แนวถนนเพชรบุรี เลี้ยวเข้าถนนราชปรารภถึงดินแดง แล้วเลี้ยวไปตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต จากนั้นเลี้ยวขวาผ่านศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) ตัดตรงไปเชื่อมกับ โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม แล้วเบี่ยงเข้าแนว แล้วเบี่ยงเข้าแนว ถนนพระราม 9 เลี้ยวซ้ายเข้าถนนรามคำแหง ผ่านแยกลำสาลี ถนนกาญจนาภิเษกตัดกับถนนร่มเกล้าเขตมีนบุรี สิ้นสุดที่ทางแยกถนนสุวินทวงศ์    

มีระยะทางรวม 35.4 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 26.2 กิโลเมตร และเป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 9.2 กิโลเมตร มีสถานีทั้งสิ้น 29 สถานี แบ่งเป็นสถานีใต้ดิน 22 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี

  • ทางวิ่งใต้ดินทั้งหมด 22 สถานี เป็นอุโมงค์คู่ ยกเว้นช่วงที่มีเนื้อที่จำกัดและมีประชาชนอาศัยหนาแน่นจะเป็นอุโมงค์เดี่ยว และเป็นสถานียกระดับ 7 สถานี
  • ขนาดราง 1.435 เมตร (standard gauge) โดยมีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ
  • ตัวรถใช้ระบบเดียวกันกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน เป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.2 เมตร ยาว 20-24 เมตร สูงประมาณ 3.7 เมตร ความจุ 320 คนต่อคัน เดินรถ 3-6 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสาร

รูปแบบสถานี

สถานียกระดับ

สถานียกระดับ เป็นโครงสร้างคอนกรีตหล่อในที่ หลังคาโครงเหล็ก มีพื้นที่ใช้งานทั้งหมด 3 ชั้น คือ ชั้น At grade, Concourse และ Platform ตามลำดับ ใช้ระบบทางเข้าชานชาลา ระบบ AFC Gate สถานีมีความยาวประมาณ 150 เมตร กว้างประมาณ 25 เมตร มีทางขึ้นทั้งหมด 4 ทาง แและมีลิฟท์ขึ้นสู่ชั้น Concourse 2 ตัว มีทั้งแบบ Central Platform และ Side Platform

สถานีใต้ดิน

สถานีใต้ดินยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 20 เมตร มีประตูชานชาลา (platform screen door) ส่วนสถานียกระดับยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 18 เมตร มีประตูชานชาลาความสูงแบบ Half-Height มีทั้งแบบ Central Platform และ Side Platform   รถไฟฟ้าสายสีส้มมีอาคารซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถไว้ไว้บริการดังนี้ เส้นทางช่วงบางขุนนนท์-บางกะปิใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ รฟม. พระราม 9 (ที่ทำการ กิจการรถไฟฟ้า บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) ร่วมกับรถไฟฟ้าสายมหานคร สายเฉลิมรัชมงคลส่วนเส้นทางช่วงบางกะปิ-มีนบุรีใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู และอาคารจอดแล้วจอดไว้บริการบริเวณสถานีคลองบ้านม้า
อาคารจอดรถ สถานีคลองบ้านม้า

อาคารจอดแล้วจร

ในแนวสายทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม มีอาคารจอดแล้วจร 2 แห่ง ดังนี้ 1. อาคารจอดรถสถานีคลองบ้านม้า เป็นอาคาร 10 ชั้น จอดรถยนต์ได้ประมาณ 1,200 คัน 2. อาคารจอดรถสถานีมีนบุรี เป็นของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู เป็นสถานีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสชมพูกับสีส้ม เป็นคาร 10 ชั้น จอดรถยนต์ได้ประมาณ 3,000 คัน
อาคารซ่อมบำรุงบริเวณพื้นที่ของ รฟม.

ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า

ศูนย์ซ่อมบำรุงอยู่บนพื้นที่ขนาด 155 ไร่ ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ของ การรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทย พระราม 9 ประกอบด้วยกลุ่มอาคารทีสำคัญดังนี้ 1. ศูนย์ควบคุมการเดินรถ (Operation Control Center) 2. กลุ่มอาคารซ่อมบำรุง ( Main Workshop) 3. สำนักงานบริหารและจัดการ (Administrator Office) 4. รางทดสอบ (Test Track) 5. โรงจอดรถไฟฟ้า (Stabling Yard)  

สถานีบางขุนนท์

ตั้งอยู่ใต้ถนนเรียบทางรถไฟ บริเวณตัดกับถนนจรัญสนิทวงศ์ เป็นสถานีเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

สถานีศิริราช

ตั้งอยู่ใต้สะพานอรุณอัมรินทร์ บริเวณใกล้โรงพยาบาลศิริราช

สถานีสนามหลวง

ตั้งอยู่ใต้ถนนราชินี บริเวณด้านหน้าโรงละครแห่งชาติ

สถานีอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย

ตั้งอยู่ใต้ถนนราชดำเนินกลาง บริเวณด้านตะวันออกของอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย ด้านหน้าลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์

สถานีหลานหลวง

ตั้งอยู่ใต้ถนนราชินี บริเวณด้านหน้าโรงละครแห่งชาติ

สถานียมราช

ตั้งอยู่ใต้ถนนหลานหลวง บริเวณบ้านมนังคศิลาเป็นสถานีเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง

สถานีราชเทวี

ตั้งอยู่ใต้ถนนเพชรบุรี บริเวณซอยเพชรบุรี 3-7 ก่อนขึ้นสะพานข้ามแยกราชเทวีเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า BTS สถานีราชเทวี

สถานีประตูน้ำ

ตั้งอยู่ใต้ถนนเพชรบุรี บริเวณด้านหน้าห้างพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า

สถานีราชปรารภ

ตั้งอยู่ใต้ถนนราชปรารภบริเวณด้านหน้าห้างอินทรา แควร์ เป็นสถานีเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงค์ สถานีราชปรารภ

สถานีรางน้ำ

ตั้งอยู่ใต้ถนนราชปรารภ บริเวณด้านหน้าปากซอยรางน้ำตัดกับถนนราชปรารภ

สถานีดินแดง

ตั้งอยู่ใต้ถนนวิภาวดีรังสิตฝั่งขาเข้า บริเวณด้านหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2

สถานีประชาสงเคราะห์

ตั้งอยู่ใต้พื้นที่มหาวิทยลัยราชภัฏสวยสุนันทาศูนย์การศึกษาดรุณพิทยาหรือโรงเรียนดรุณพิทยา ปัจจุบันปิดดำเนินการแล้ว

สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ตั้งอยู่ใกล้ถนนรัชดาภิเษก บริเวณด้านหน้าห้างเอสพลานาด รัชดา เป็นสถานีเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายรัชมงคล

สถานี รฟม.

ตั้งอยู่ใต้พื้นที่ของ รฟม. บริเวณประตู 1 ถนนพระราม 9

สถานีประดิษฐ์มนูธรรม

ตั้งอยู่ใต้ถนนพระรามเก้า บริเวณใกล้สี่แยกพระราม 9 – ประดิษฐ์มนูธรรมหน้าปากซอยเข้าวัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก

สถานีรามคำแหง 12

ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหง บริเวณด้านหน้าห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์สาขารามคำแหง

สถานีรามคำแหง

ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหงบริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง

สถานีราชมังคลา

ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหงบริเวณด้านหน้าสนามกีฬาราชมังคลา

สถานีหัวหมาก

ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหง บริเวณด้านหน้งโรงพยาบาลรามคำแหง

สถานีลำสาลี

ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหง บริเวณด้านใต้แยกลำสาลี เป็นสถานีเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง สถานีลำสาลี

สถานีศรีบูรพา

ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหง บริเวณสามแยกถนนรามคำแหงตัดถนนศรีบูรพาหรือด้านหน้าห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า สุขาภิบาล 3

สถานีคลองบ้านม้า

ตั้งอยู่ใต้ถนนรามคำแหง บริเวณระหว่างซอยรามคำแหง 92-94 และมีอาคารจอดแล้วจร ฝั่งขาเข้าติดกับสถานี

สถานีสัมมากร

ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง บริเวณใกล้หมู่บ้านสัมมากร

สถานีน้อมเกล้า

ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง บริเวณด้านหน้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

สถานีราษฏร์พัฒนา

ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง บริเวณสามแยกถนนรามคำแหง-ราษฏร์พัฒนาด้านหน้าสำนักงานใหญ่บริษัทมิสทีน

สถานีมีนพัฒนา

ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง บริเวณด้านหน้าทางเข้าวัดบางเพ็ญใต้ ตรงข้ามนิคมอุตสาหกรรมบางขัน

สถานีเคหะรามคำแหง

ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง บริเวณด้านปากซอยรามคำแหง 184 ใกล้เคหะรามคำแหง

สถานีมีนบุรี

ตั้งอยู่ริมถนนรามคำแหงด้านทิศใต้ บริเวณสะพานข้ามคลองสองต้นนุ่น เป็นสถานีสำหรับเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ชวงแคราย-มีนบุรี สถานีมีนบุรี

สถานีสุวินทวงศ์

ตั้งอยู่ริมถนนรามคำแหงด้านทิศใต้ บริเวณใกล้แยกสุวินทวงศ์ Image : MRTA Orange Line
       
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (220)
 (317)
 (380)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (40)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon