realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (220)
 (317)
 (380)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (40)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (220)
 (317)
 (380)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (40)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รถไฟฟ้าสายสีเทา

28 Oct 2022 90.0K

รถไฟฟ้าสายสีเทา

28 Oct 2022 90.0K
 

รฟฟ.สายสีเทา ช่วงวัชรพล - ทองหล่อ

ล่าสุด 2565 ชะลอแผนโครงการ

 
รฟฟ.สายสีเทา มีแนวเส้นทางวิ่งผ่านช่วงวัชรพล ผ่านเส้นประดิษฐ์มนูธรรม เข้าเพชรบุรี เลี้ยวเข้าทองหล่อมาเชื่อมต่อที่ BTS สถานีทองหล่อ ส่วนอีกช่วงเริ่มจากพระโขนงผ่านเส้นพระราม 4 เข้านราธิวาสฯ แล้วเข้าสู่พระราม 3 โดยสายสีเทานี้ กทม.จะเป็นผู้ดูแล
รฟฟ.สายสีเทา จะช่วยเชื่อมต่อการเดินทางเข้า - ออกระหว่างใจกลางเมืองกับพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือของกทม. และพื้นที่อยู่อาศัยบริเวณสาธุประดิษฐ์และริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณพระราม 3 โดยแบ่งเป็น 3 ช่วงด้วยกัน ได้แก่ ช่วง 1 วัชรพล - ทองหล่อ ช่วง 2 พระโขนง - พระราม 3 และ ช่วง 3 พระราม 3 - ท่าพระ
ปัจจุบัน โครงการ รฟฟ.สายสีเทา ช่วงวัชรพล - ทองหล่อ ได้ผ่าน EIA จากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2565 ได้มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น รฟฟ.สายสีเทา ช่วงวัชรพล - ทองหล่อ รวมถึงนำสรุปผลการศึกษา ต่อจากนั้นจะมีการนำเสนอโครงการต่อคณะรัฐมนตรี คัดเลือกเอกชนให้ร่วมลงทุน และเริ่มก่อสร้างในปี 2569 - 2572 รวม 4 ปี และคาดเปิดบริการในปี 2573
โดยรูปแบบ รฟฟ.สายสีเทา ช่วงวัชรพล - ทองหล่อจะเป็นระบบ Monorail หรือ รถไฟรางเดี่ยว ขนาดเบา ที่มีค่าโดยสารเริ่มที่ 18 บ. และคาดมีผู้โดยสารรวมถึง 97,000 คน/เที่ยว/วัน ในปี 2573 ปีแรกที่เปิดบริการ ส่วนรายละเอียดของโครงการจะเป็นอย่างไร ติดตามอ่านต่อได้เลย
 

ความคืบหน้าล่าสุด ก.ย. 2566

การดำเนินการรถไฟฟ้าสายสีเทา ปัจจุบัน เฟส 1 (ช่วงวัชรพล - ทองหล่อ) ได้มีการศึกษา EIA เรียบร้อย รอการพิจารณาต่อว่า จะให้ รฟม.เป็นผู้ดูแลโครงการหรือไม่
ปี 2558 เริ่มมีการศึกษาความเป็นไปได้ และจัดทำ EIA เพื่อให้พร้อมต่อการก่อสร้างได้เลย
ปี 2566 กทม.เริ่มเสนอให้รัฐเป็นผู้ลงทุนสายสีเทา เนื่องจากมีจุด Interchange เยอะ หากรฟม.เป็นเจ้าของ จะช่วยลดค่าแรกเข้าได้เยอะ
หากกทม.และรฟม.ตกลงกันสำเร็จ คาดการณ์ว่าในช่วง ปี 2567 - 2568 จะเริ่มทำการประมูลได้
และเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2569 โดยคาดการณ์ว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี
และสร้างเสร็จในปี 2573
คาดการณ์ว่าหลังจากนั้น 5 ปี จึงจะเปิดให้บริการ เฟส 2 (ช่วงพระโขนง - พระราม 3) และ เฟส 3 (พระราม 3 - ท่าพระ) ได้ในปี 2578
 

ล่าสุด 2565 ชะลอแผน ช่วงวัชรพล - ทองหล่อ

เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา กทม.ได้จัดสัมมนาสรุปผลการศึกษาข้อมูลโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) สายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ เฟสที่ 1 ต่อผู้ว่าฯกทม. เพื่อผ่านความเห็นชอบ  และนำเสนอต่อกระทรวงมหาดไทย  คณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้อนุมัติโครงการภายในปี 2566
แต่ล่าสุดในช่วงเดือนตุลาคม 2565 สถานะของโครงการนี้กลับถูกชะลอแผนการพัฒนาออกไปก่อน
สาเหตุที่โครงการถูกชะลอ 1) กทม.ยังไม่มีงบประมาณที่เพียงพอ ต่อโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าการลงทุนสูง 2) กทม.กำลังพิจารณาแผนส่งมอบรถไฟฟ้าสีเทานี้ ให้รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้พัฒนาและบริหารโครงการแทน
โดยล่าสุด นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม. เปิดเผยหลังการประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 23/2565 (24 ต.ค.2565) กทม.เพิ่งตัดสินใจไม่ดำเนินโครงการดังกล่าว และผู้บริหารเล็งเห็นแนวคิดที่จะส่งมอบให้รฟม.ดำเนินการพัฒนาและบริหารจัดการแทน

รฟฟ.สายสีเทา แบ่งเป็น 3 ช่วง

รฟฟ.สายสีเทา แบ่งออกเป็น 3 ช่วง มีระยะทางรวม 40 กม. และมี 39 สถานี โดยแบ่งเป็น
  • ช่วง 1 วัชรพล - ทองหล่อ ระยะทาง 16.3 กม. รวม 15 สถานี แนวเส้นทางเริ่มต้นที่วัชรพลตรงจุดตัดกับถ.รามอินทรา มุ่งหน้าลงใต้ตามแนวถ.ประดิษฐ์มนูธรรม ผ่านซอยนวลจันทร์ ข้ามสะพานเกษตรนวมินทร์ ไปสิ้นสุดที่จุดตัดกับถ.ลาดพร้าว จากนั้นมุ่งหน้าสู่ถนนพระราม 9 แล้วเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้มที่ถ.ประชาอุทิศ ออกสู่ถ.เพชรบุรี เข้าสู่ถ.ทองหล่อมาเพื่อมาตัดกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีทองหล่อ
  • ช่วง 2 พระโขนง - พระราม 3 ระยะทาง 12.2 กม. รวม 15 สถานี เริ่มต้นจากสถานีพระโขนง มุ่งหน้าสู่ถนนพระราม4 ผ่านตลาดคลองเตย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสาทรเพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีลุมพินี จากนั้นวิ่งสู่แยกสาทร-นราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนนราธิวาสราชนครินทร์ มุ่งหน้าสู่ถนนพระราม 3 ไปสิ้นสุดที่สถานีพระราม 3
  • ช่วง 3 พระราม 3 - ท่าพระ ระยะทาง 11.5 กม. รวม 9 สถานี เริ่มต้นที่สถานีพระราม 3 วิ่งตามแนวเส้นทางถนนพระราม 3 ผ่านสะพานพระราม 9 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระราม 3 ผ่านนแยกมไหศวรรย์ เข้าสู่ถนนรัชดาภิเษกเพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีตลาดพลู ไปสิ้นสุดที่แยกท่าพระ เพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีท่าพร

ข้อมูลรฟฟ.สายสีเทาทั้ง 3 ช่วง

ช่วงที่ 1 วัชรพล - ทองหล่อ

ช่วงที่ 2 พระโขนง - พระราม 3

ช่วงที่ 3 พระราม 3 - ท่าพระ

แนวเส้นทางและสถานีเชื่อมต่อ เฉพาะช่วงวัชรพล - ทองหล่อ

สายสีเทา สถานีวัชรพล เชื่อมต่อ สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี สถานีวัชรพล บริเวณจุดตัดถ.รามอินทราและประดิษฐ์มนูธรรม ด้วย Sky walk ระยะห่าง 320 ม.
 
สายสีเทา สถานีฉลองรัช เชื่อมต่อ สายสีน้ำตาล สถานีต่างระดับฉลองรัช บริเวณทางต่างระดับฉลองรัช ที่ตัดกับถ.ประเสริฐมนูกิจ ด้วย Sky walk ระยะห่าง 500 ม.
 
สายสีเทา สถานีฉลองรัช เชื่อมต่อ สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-พัฒนาการ สถานีลาดพร้าว บริเวณจุดตัดถ.ลาดพร้าวและประดิษฐ์มนูธรรม ด้วย Sky walk ระยะห่าง 150 ม.
 
สายสีเทา สถานีพระราม 9 เชื่อมต่อ สายสีส้ม ช่วงมีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรม ที่สถานีประดิษฐ์มนูธรรม บริเวณจุดตัดถ.พระราม 9 และประดิษฐ์มนูธรรม ด้วยทางเดินระดับพื้น ระยะห่าง 90 ม.
 
สายสีเทา สถานีทองหล่อ เชื่อมต่อ สายสีเขียว (ฺBTS) สถานีทองหล่อ บริเวณ ถ.สุขุมวิท 55 ด้วย Sky walk ระยะห่าง 130 ม.

รูปแบบรถไฟฟ้า เฉพาะช่วงวัชรพล - ทองหล่อ

รูปแบบรถไฟฟ้าของสายสีเทาเป็นระบบโมโนเรล (Monorail)

  • โครงสร้างทางเดี่ยว ทางวิ่งขนาดเล็ก
  • ก่อสร้างได้ง่ายและรวดเร็ว กีดขวางการจราจรน้อย
  • วัสดุสามารถผลิดจากโรงงานและยกมาประกอบหน้างานได้
  • ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย
  • ใช้ล้อยางเป็นตัวขับเคลื่อน เสียงและความสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นจึงมีไม่มาก
  • สามารถกำหนดจำนวนตู้โดยสารได้ตามความเหมาะสม
  • สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 8,000 - 20,000 คน/ชั่วโมง/เส้นทาง
 

โครงสร้างทางวิ่ง เฉพาะช่วงวัชรพล - ทองหล่อ

รูปแบบสถานี เฉพาะช่วงวัชรพล - ทองหล่อ

รูแบบสถานีแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
  1. ชานชาลากลาง (Central Platform) แบบโครงเสาคู่หรือ Portal Frame สำหรับกรณีที่ไม่สามารถวางเสาที่เกาะกลางถนนได้ เสาต้องคร่อมถนนเป็นรูปแบบสถานีต้นทางที่สถานีวัชรพล และสถานีทองหล่อที่เป็นสถานีปลายทาง
  2. สถานีชานชาลาข้าง (Side Platform) เสากลางถนน เป็นรูปแบบของ 10 สถานี เริ่มที่สถานี นวลจันทร์ - สถานีพระราม 9 และแบบเสาคร่อมถนน บริเวณสถานีเพชรบุรี-ทองหล่อ, แจ่มจันทร์ และ ทองหล่อ 10

แผนดำเนินงานโครงการ เฉพาะช่วงวัชรพล - ทองหล่อ

  • ก.พ. 2565 รายงาน EIA ของโครงการ รฟฟ.สายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.)
  • 27 พ.ค. 2565 ได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็น รถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล-ทองหล่อ
  • ปี 2566 เป็นการเสนอโครงการ รฟฟ.สายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ขึ้นต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.)
  • ปี 2567 - 2568 เป็นช่วงการจัดเตรียมและคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน
  • ปี 2569 - 2572 ช่วงการก่อสร้างโครงการ คาดใช้เวลา 4 ปี
  • ปี 2573 คาดเปิดบริการ รฟฟ.สายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ

คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร เฉพาะช่วงวัชรพล - ทองหล่อ

คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารโครงการ รฟฟ.สายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ หากสร้างเสร็จและเปิดบริการในปี 2573 ตามแผนการดำเนินงาน จะมีผู้โดยสารรวม 97,000 คน/เที่ยว/วัน และมีรายได้ถึง 3.8 ลบ. และจะมีจำนวนผู้โดยสารและรายได้ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ในปี 2602 หรือ 30 ปีให้หลัง จะมีผู้โดยสารรวม 249,000 คน/เที่ยว/วัน และมีรายได้ถึง 19.24 ลบ. และอีก 50 ปี ตอนปี 2622 จะมีผู้โดยสารรวม 370,000 คน/เที่ยว/วัน และมีรายได้ถึง 48.21 ลบ.

ราคาค่าโดยสาร เฉพาะช่วงวัชรพล - ทองหล่อ

คาดการณ์ราคาค่าโดยสารของโครงการ รฟฟ.สายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ในปี 2573 เป็นปีแรกที่เปิดบริการ จะเก็บค่าโดยสารเริ่มต้นอยู่ที่ 18 บ. คิดเป็นค่าโดยสารต่อระยะทางอยู่ที่ 3.3 บ./กม.
ยังคงรักษาเรตราคาแรกเข้าที่ 18 บ. จนถึงปีที่ 10 จะปรับราคาแรกเข้าอยู่ที่ 21 บ. คิดเป็นค่าโดยสารต่อระยะทางอยู่ที่ 3.8 บ./กม. และปรับราคาขึ้นต่อเนื่อง ปีที่ 46 ที่คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารอยู่ที่ 341,000 คน/เที่ยว/วัน จะเก็บค่าโดยสารเริ่ม 63 บ. หรือค่าโยสารต่อระยะทางอยู่ที่ 10.7 บ./กม.

ตัวอย่าง วิดีทัศน์ รถไฟฟ้าสายสีเทา

คลิ๊ก! เพื่ออ่านบทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

 
 

อ่านบทความรถไฟฟ้าอื่นๆเพิ่มเติม คลิก!

รถไฟฟ้าสายสีทอง
รถไฟฟ้าสายสีม่วง
รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้
รถไฟฟ้าสายสีแดง
รถไฟฟ้า-บางนา-สุวรรณภูมิ
รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
รถไฟฟ้าสายสีส้ม
หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
รถไฟฟ้าสายสีชมพู
รถไฟฟ้า-โคราช
รถไฟฟ้า-ภูเก็ต
รถไฟฟ้า-เชียงใหม่
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (220)
 (317)
 (380)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (40)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon