realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (386)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (386)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รถไฟฟ้าสายสีแดง

19 Jun 2018 258.0K

รถไฟฟ้าสายสีแดง

19 Jun 2018 258.0K
 

รถไฟฟ้าสายสีแดง คือระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่ดำเนินการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีจุดประสงค์เพื่อให้สามารถเดินทางไปยังบริเวณปริมิณฑลและชานเมืองได้ง่ายมากขึ้น รวมถึงอำนวยความสะดวกให้ผู้ที่อยู่ปริมิณฑลและชานเมืองสามารถเดินทางเข้ามาในกทม. ได้สะดวกเช่นเดียวกัน
ทำให้รถไฟสายนี้เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "รถไฟชานเมือง สายสีแดง" และด้วยความที่เส้นทางมีการเชื่อมต่อหลายจังหวัดทำให้เส้นทางต้องมีการแบ่งเป็นหลายเฟสและจะเปิดใช้ไปทีละส่วน ซึ่งปัจจุบันมีการสร้างเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 2 เส้นทางและได้มีการเปิดใช้แล้วตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 คือ เส้นทางช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน และ บางซื่อ - รังสิต
 

รถไฟฟ้าสายสีแดง เปิดแล้ว!! ทดลองใช้ฟรี 3 เดือน ตั้งแต่ 2 สค.64

รถไฟฟ้าสายสีแดง ทั้งสายสีแดงเข้มและสายสีแดงอ่อน เปิดให้บริการแล้ว ตั้งแต่วันที่ 2 สค. 2564 ประชาชนสามารถทดลองใช้บริการฟรี เป็นระยะเวลา 3 เดือน 
โดยการให้บริการ รฟฟ.สายสีแดงนั้นประกอบไปด้วย 2 สาย คือ 
สายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต)  ใช้เวลาเดินทาง 23-25 นาทีตลอดสาย โดยรถไฟเที่ยวแรกออกจากสถานี 6:00 น. และเที่ยวสุดท้ายจะออกจากสถานี 19:30 น. 
สายสีแดงอ่อน (บางซื่อ - ตลิ่งชัน) ใช้เวลาเดินทาง 13-15 นาทีตลอดสาย โดยรถไฟเที่ยวแรกออกจากสถานีบางซื่อ 6:00 น., ออกจากสถานีตลิ่งชัน 6:06 น. และเที่ยวสุดท้ายจะออกจากสถานีบางซื่อ 19:30 น., ออกจากสถานีตลิ่งชัน 19:36 น.  
รายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับรถไฟฟ้าสายสีแดงทั้ง 2 สายนี้จะเป็นอย่างไรนั้น ไปดูกันได้เลยค่ะ

ภาพรวมการใช้งานรถไฟฟ้าสายสีแดง

รถไฟฟ้าสายสีแดง รวมทั้ง 2 สายนั้นมี 13 สถานี ระยะทางรวมตลอดทั้งสาย (ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต) อยู่ที่ 41 กม.
ถ้านั่งจากสถานีตลิ่งชัน ไปยังสถานีบางซื่อ ระยะทาง 15 กม. ใช้เวลาประมาณ 13-15 นาที และถ้านั่งจากสถานีบางซื่อไปยังสถานีรังสิต ระยะทาง 26 กม. จะใช้เวลาเพียงแค่ 23-25 นาทีเท่านั้น 
ในส่วนของเวลาที่ให้บริการ เส้นทางสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต) เที่ยวแรกจะเริ่ม 6:00 น. / เที่ยวสุดท้าย เวลา 19:30 น. และเส้นทางสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน)  เที่ยวแรกที่ออกจากสถานีบางซื่อจะเริ่ม 6:00 น. และเริ่มออกจากสถานีตลิ่งชัน 6:06 น. / เที่ยวสุดท้ายที่ออกจากสถานีบางซื่อจะเริ่ม 19:30 น. และออกจากสถานีตลิ่งชัน 19:36 น. 
โดยนอกเวลาเร่งด่วน (Off Peak) ช่วง 6:00-7:00 / 9:00-17:00 รถไฟจะออกทุกๆ 30 นาที ถ้าเป็นเวลาเร่งด่วน (Rush Hour) ช่วง 7:00-9:00 / 17:00-19:30 รถไฟจะออกทุกๆ 15 นาที

อัตราค่าโดยสารและบัตรแบบรายเดือน

สำหรับอัตราค่าโดยสารรฟฟ.สายสีแดงนั้น เส้นทางสายสีแดงเข้ม สถานีบางซื่อ-สถานีรังสิต จะมีค่าโดยสารอยู่ที่ 12-38 บ. ส่วนเส้นทางสายสีแดงอ่อน สถานีบางซื่อ-สถานีตลิ่งชัน จะมีค่าโดยสารอยู่ที่ 12-27 บ. และถ้านั่งตั้งแต่สถานีตลิ่งชัน ไปถึง สถานีรังสิต จะมีค่าโดยสารอยู่ 42 บ.
และยังมี บัตรโดยสารแบบรายเดือน 
มีทั้งหมด 3 แบบ 
แบบที่ 1 : แบบ 20 เที่ยว ราคา 700 บ. เฉลี่ยเที่ยวละ 35บ.
แบบที่ 2 : แบบ 30 เที่ยว ราคา 900 บ. เฉลี่ยเที่ยวละ 30บ.
และแบบสุดท้าย แบบที่ 3 : แบบ 50 เที่ยว ราคา 1,250 บ. เฉลี่ยเที่ยวละ 25 บ.เท่านั้น 
นอกจากนี้ยังมีบัตรแบบอื่นๆอีก เช่น บัตรสำหรับเด็ก นักเรียน/นักศึกษา และบัตรสำหรับผู้สูงอายุ
 

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงทั้งหมด

ในบทความนี้ จะพาไปอัพเดทความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงกัน โดยจะเกริ่นที่มาเล็กน้อยของโครงการนี้ และพาไปดูเส้นทางที่มีทั้งหมดในแผนการ ณ ปัจจุบัน โดยประกอบไปด้วย
  • สายสีแดงเข้ม บางซื่อ-รังสิต
  • สายสีแดงเข้ม บางซื่อ-หัวลำโพง
  • สายสีแดงเข้ม รังสิต - ธรรมศาสตร์รังสิต - บ้านภาชี
  • สายสีแดงเข้ม หัวลำโพง-มหาชัย
  • สายสีแดงเข้ม มหาชัย - ปากท่อ
  • สายสีแดงอ่อน บางซื่อ - ตลิ่งชัน
  • สายสีแดงอ่อน บางซื่อ - หัวหมาก
  • สายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน-ศิริราช
  • สายสีแดงอ่อน พญาไท - แม่น้ำ
  • สายสีแดงอ่อน หัวหมาก - ฉะเชิงเทรา 
  • และสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน - ศาลายา - นครปฐม
ความคืบหน้าว่าสุด ”สายสีแดงส่วนต่อขยาย” ถูกถอดออกจากงบประมาณปี 2567 โดยให้ไปศึกษาทบเส้นทางเพื่อขยายระยะทางเพิ่มเติม เส้นทางสายเหนือจากรังสิต-มธ.รังสิต ไปถึงอยุธยา , ตลิ่งชัน-ศาลายา ต่อไปถึงนครปฐม เพื่อให้เป็นระบบรางหลักรองรับการขยายตัวของเมืองและชุมชนใหม่ๆ ปริมณฑลและหัวเมืองรอบกทม. คาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน 1-2 เดือน เนื่องจากโครงการมีผลศึกษาเดิมอยู่ก่อนแล้ว โดยจะนำกลับไปเสนอครม.ได้อีกครั้งประมาณเดือน ม.ค.- ก.พ. 2567
ซึ่งมี 6 ช่วงส่วนต่อขยายที่ได้มีการศึกษาโครงการเพิ่มเติมจากสายสีแดงเดิมที่ได้ศึกษาไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยทั้ง 6 ช่วงส่วนต่อขยายนี้ ได้แก่ สายสีแดงเข้ม ธรรมศาสตร์รังสิต - บ้านภาชี, หัวลำโพง-มหาชัย, สายสีแดงเข้ม มหาชัย - ปากท่อ, สายสีแดงอ่อน พญาไท - แม่น้ำ, สายสีแดงอ่อน หัวหมาก - ฉะเชิงเทรา และสายสีแดงอ่อน ศาลายา - นครปฐม ช่วงส่วนต่อขยายนี้ยังคงอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาศึกษาโครงการอยู่ ยกเว้นสายสีแดงช่วงธรรมศาสตร์รังสิต - บ้านภาชีที่ได้รับการอนุมัติโครงการเป็นที่เรียบร้อย และอยู่ในขั้นตอนการเตรียมประมูล ลองไปอ่านรายละเอียดในบทความนี้กันได้เลย

จุดมุ่งหมายของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง

รถไฟฟ้าสายสีแดงนั้นอย่างที่กล่าวไปข้างต้นคือโครงการที่เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องความล่าช้าและไม่ตรงเวลาของรถไฟที่ออกมาจากสถานีกลางเดิมคือ สถานีหัวลำโพง โดยหลักๆ คือ การสร้างสถานีกลางบางซื่อขึ้นมา เพื่อให้เป็นสถานีหลักแทนสถานีหัวลำโพง ซึ่งสถานีกลางบางซื่อสามารถรองรับปริมาณการเดินทางด้วยระบบรางได้หลากหลายระบบ รวมถึงแก้ปัญหาเรื่องขบวนรถไฟมาเจอกับจุดตัดเส้นถนนทางเดินรถด้วยการยกระดับทางรถไฟข้ามถนน หรือบางจุดก็ลดระดับทางรถไฟให้ลอดถนน (อุโมงค์) ซึ่งนอกจากนั้นก็ยังมีการเปลี่ยนขบวนรถไฟชานเมืองที่วิ่งบนระดับพื้นดินให้กลายเป็นรถไฟฟ้าชานเมืองอีกด้วย ข้อดีคือ ขบวนรถมีรอบวิ่งที่ถี่ขึ้น ตารางเวลาแน่นอนชัดเจน สะดวกสบายขึ้น
รวมถึงความเร็วในการวิ่งที่เพิ่มขึ้น อยู่ที่ 120-160 กม./ชม. และรถไฟที่วิ่งจะแบ่งออกเป็นสองขบวนคือ รถไฟที่จอดทุกสถานี กับรถไฟที่จอดเฉพาะสถานีใหญ่ (เป็นรูปแบบรถไฟทางไกล) และมีรถไฟขนส่งที่ค้าซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิ่งในเวลากลางคืน โดยเส้นสีแดงยังเป็นโครงข่ายที่วิ่งไปเชื่อมต่อกับสายอื่นๆ ที่กระจายตัวอยู่โดยรอบกรุงเทพฯ และฝั่งชานเมือง โดยรถไฟฟ้าสายสีแดงจะแบ่งออกเป็นสายหลักทั้งหมดสองสาย คือ สายสีแดงเข้ม รังสิต-หัวลำโพง (ซึ่งเป็นการวิ่งจากทิศเหนือถึงทิศใต้) และสายสีแดงอ่อน ศาลายา-หัวหมาก (วิ่งจากตะวันตกไปยังตะวันออก) ซึ่งสายล่าสุดที่กำลังจะเปิดให้บริการในปี 2564 คือ สายสีแดงอ่อน บางซื่อ-รังสิต และสายสีแดงอ่อน บางซื่อ - ตลิ่งชัน พร้อมกับการเปิดใช้งานสถานีกลางบางซื่อ

รูปแบบรถไฟฟ้าสายสีแดง

สายสีแดงเข้ม
  • - ตัวรถ ฮิตาชิ Series2000 (Class2000)
  • - ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 2.86 เมตร ยาว 20 เมตร ต่อตู้ สูงประมาณ 3.7 เมตร
  • - รูปแบบขบวนรถไฟสายสีแดงเข้ม 6 ตู้ต่อขบวน มีทั้งหมด 15 ขบวน 90 ตู้
  • - มีความเร็วสูงสุด 152 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • - ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ 25 กิโลโวลต์ 50 เฮิรตซ์ เพื่อป้อนระบบขับเคลื่อนรถ
  • - สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 18,213 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • - จุผู้โดยสารได้สูงสุด 1,366 คนต่อขบวน (คำนวณจากอัตราหนาแน่นที่ 3 คน/ตารางเมตร)
  • - ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ
สายสีแดงอ่อน
  • - ตัวรถ ฮิตาชิ Series2000 (Class2000)
  • - ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 2.8-3.7 เมตร ยาว 20 เมตร สูงประมาณ 3.7 เมตร
  • - รูปแบบขบวนรถไฟสายสีแดงอ่อน 4 ตู้ต่อขบวน มีทั้งหมด 10 ขบวน 40 ตู้
  • - มีความเร็วสูงสุด 114 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • - ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ 25 กิโลโวลต์ 50 เฮิรตซ์ เพื่อป้อนระบบขับเคลื่อนรถ
  • - สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 11,960 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • - ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงกับ เส้นทางเชื่อมท่าอากาศยาน (Airport Rail Link)

image : heidelbergcement.com
รถไฟทั้งสองสายจะให้บริการผู้โดยสารคนละกลุ่ม โดยเส้นเชื่อมท่าอากาศยาน (Airport Rail Link) จะวิ่งได้ไวกว่าเพื่อส่งเสริมศักยภาพการเชื่อมต่อระหว่างสนามบินทั้งสองที่ คือ สนามบินสุวรรณภูมิ กับ สนามบินดอนเมือง โดย Airport Rail Link จะเป็นเส้นทางขนานไปกับเส้นรถไฟสายสีแดง และใช้เป็นเพียงเส้นทางเสริม มีระยะทางแค่ส่วนหนึ่งของสายสีแดงทั้งหมด และมีศักยภาพรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 200,000 คน/วัน
กล่าวโดยสรุป คือ รถไฟฟ้าสายสีแดงถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นการวางรากฐานของรถไฟทางไกลของประเทศในอนาคต ซึ่งเป็นการใช้รูปแบบรถไฟพื้นฐานที่รองรับได้ทั้งรูปแบบดีเซลและไฟฟ้า โดยตัวรางยังคงใช้ขนาด 1 ม. อยู่เพื่อให้รถเดิมสามารถวิ่งได้ เนื่องจากงบประมาณที่มียังไม่สามารถเปลี่ยนเป็นแบบ 1.435 ม. ได้ ซึ่งหากเปลี่ยนต้องเปลี่ยนทั้งหมด งบที่ใช้จะมากกว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเสียอีก จึงไม่คุ้มค่าในการลงทุน (1.435ม. เป็นขนาดมาตรฐานของรางรถไฟทั่วโลก)
 

UPDATE รถไฟฟ้าสายสีแดงหัวลำโพง - มหาชัย 2567

รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (หัวลำโพง-มหาชัย) ระยะทางรวม 38 กม. ทั้งเส้นทางมีจำนวนทั้งหมด 20 สถานี โดยความคืบหน้าล่าสุดมีการปรับแผนเปลี่ยนแนวเส้นทางใหม่โดยจะวิ่งตามถนนเอกชัยแทนโดยเส้นทางจะเป็นระบบรางเหล็กแบบ Commuter Train แบบสายสีแดงส่วนที่เปิดบริการปัจจุบัน
รูปแบบเส้นทางช่วง หัวลำโพง - มหาชัย
  • เส้นทางช่วงหัวลำโพง - วัดสิงห์ จะเป็นทางวิ่งแบบอุโมงค์ใต้ดิน 
  • เส้นทางช่วงเอกชัย48 จนถึงมหาชัยจะเป็นทางวิ่งแบบยกระดับ
เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 4 สาย ได้แก่
  • เชื่อมสายสีน้ำเงิน MRT หัวลำโพง
  • เชื่อมสายสีเหลือง BTS คลองสาน
  • เชื่อมสายสีม่วง Mrt วงเวียนใหญ่
  • เชื่อมสายสีเขียวเข้ม BTS วุฒากาศ
ปัจจุบันโครงการกำลังอยู่ในช่วงศึกษารายละเอียดโครงการ ซึ่งในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้อีก ซึ่งทางเพจเราจะมาอัพเดตความคืบหน้าอย่างแน่นอนค่ะ
*ตำแหน่งสถานีเป็นการประมาณการโดยอ้างอิงจากชื่อสถานีใน M-Map2 ในอนาคตตำแหน่งอาจมีการเปลี่ยนแปลง
 

สถานีหัวลำโพง

สถานีตั้งอยู่รวมกับสถานีรถไฟหัวลำโพง เชื่อมต่อกับรฟฟ.สายสีน้ำเงินสถานีหัวลำโพง เป็นทางวิ่งแบบอุโมงค์ใต้ดิน
 

สถานีคลอนสาน

สถานีตั้งอยู่ใกล้รพ.สมเด็จเจ้าพระยาร บนถ.ลาดหญ้า เชื่อมต่อกับรฟฟ.สายสีทองสถานีคลองสาน เป็นทางวิ่งแบบอุโมงค์ใต้ดิน
 

สถานีวงเวียนใหญ่

สถานีตั้งอยู่บนถ.วงเวียนใหญ่ เชื่อมต่อกับรฟฟ.สายสีม่วงสถานีวงเวียนใหญ่ เป็นทางวิ่งแบบอุโมงค์ใต้ดิน
 

สถานีตลาดพลู

สถานีตั้งอยู่บนถ.เทอดไทเชื่อมถ.รัชดาภิเษก ใกล้ตลาดพลูและวัดราชคฤห์ ธนบุรี (วัดมอญ ตลาดพลู) เป็นทางวิ่งแบบอุโมงค์ใต้ดิน
 

สถานีตากสิน

สถานีตั้งอยู่บริเวณเลียบทางรถไฟ ใกล้ถ.ราชพฤกษ์และวัดใหม่ยายนุ้ย เชื่อมต่อกับรฟฟ.สายสีเขียวเข้มสถานีวุฒากาศ เป็นทางวิ่งแบบอุโมงค์ใต้ดิน
 

สถานีนางนอง

สถานีตั้งอยู่เลียบทางรถไฟ ใกล้ซ.วุฒากาศ 47 เชื่อมถ.วุฒากาศ ใดล้รร.แม่พระประจักษ์ กรุงเทพฯ  เป็นทางวิ่งแบบอุโมงค์ใต้ดิน
 

สถานีเอกชัย 10

สถานีตั้งอยู่บนถ.เอกชัย บริเวณหน้าซ.เอกชัย 10 ใกล้วัดแก้วไพฑูรย์ เป็นทางวิ่งแบบอุโมงค์ใต้ดิน
 

สถานีวัดไทร

สถานีตั้งอยู่บนถ.เอกชัย บริเวณหน้าซ.เอกชัย 23และซ.เอกชัย 24 ใกล้วัดไทรและตลาดพิบูลย์วิทย์ 6 เป็นทางวิ่งแบบอุโมงค์ใต้ดิน
 

สถานีวัดสิงห์

สถานีตั้งอยู่บนถ.เอกชัย บริเวณหน้ารร.มัธยมวัดสิงห์, ศาลแพ่งธนบุรี, ศาลอาญาธนบุรี, ศาลแขวงธนบุรี และที่ทำการไปรษณีย์ บางขุนเทียน เป็นทางวิ่งแบบอุโมงค์ใต้ดิน
 

สถาเอกชัย 48

สถานีตั้งอยู่บนถ.เอกชัย บริเวณหน้าซ.เอกชัย 48 ใกล้ Big C บางบอน, 7-Eleven สาขาเอกชัย 48 และลุมพินีคอนโดทาวน์ เอกชัย 48 เป็นทางวิ่งแบบยกระดับ
 

สถานีตลาดบางบอน

สถานีตั้งอยู่บนถ.เอกชัย บริเวณหน้าตลาดเอกชัยบางบอน ใกล้ตลาดสุขสวัสดิ์และ ตลาดสดศิริชัย เป็นทางวิ่งแบบยกระดับ
 

สถานีเอกชัย 76

สถานีตั้งอยู่บนถ.เอกชัย บริเวณหน้าซเอกชัย 76 ใกล้ บจก.ธนบุรี ฮอนด้า คาร์ส สาขาเอกชัย เป็นทางวิ่งแบบยกระดับ
 

สถานีวงแหวน

สถานีตั้งอยู่บนถ.เอกชัย เชื่อมถ.กาญจนาภิเษก ใกล้บริษัท วงศ์ธนาวุฒิ จำกัด และ Chersery Home Senior Care Bang Bon เป็นทางวิ่งแบบยกระดับ
 

สถานีบางบอน 3

สถานีตั้งอยู่บนถ.เอกชัย บริเวณหน้าถ.บางบอน 3 และซ.เอกชัย 109 ใกล้ตลาดกลางสินค้าสัตว์น้ำกรุงเทพฯ - บางบอน, ฮอนด้าบิ๊กวิง ธนบุรี และสยามนิสสัน บางบอน 3 เป็นทางวิ่งแบบยกระดับ
 

สถานีบางบอน 5

สถานีตั้งอยู่บนถ.เอกชัย บริเวณหน้าถ.บางบอน 5 และถ.พรมแดน ใกล้ตลาดบางบอน 5 และมาสด้า บางบอน เป็นทางวิ่งแบบยกระดับ
 

สถานีวัดโพธิ์แจ้

สถานีตั้งอยู่บนถ.เอกชัย บริเวณหน้าวัดโพธิ์แจ้ ใกล้บิ๊กซี ฟู๊ด เซอร์วิส สาขาเอกชัย, ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสมุทรสาครและไทวัสดุ บางบอน เป็นทางวิ่งแบบยกระดับ
 

สถานีพระราม 2

สถานีตั้งอยู่บนถ.เอกชัย บริเวณหน้า7-Eleven สาขาเลียบคลองสี่วาพาสวัสดิ์ ใกล้บิ๊กซ้ง เอกชัยและวัดราษฎร์รังสรรค์ (คอกกระบือ) เป็นทางวิ่งแบบยกระดับ
 

สถานีวัดบ้านขอบ

สถานีตั้งอยู่บนถ.เอกชัย บริเวณหน้าตลาดมุกมณีและแม็คโคร สาขาสมุทรสาคร เป็นทางวิ่งแบบยกระดับ
 

สถานีรพ.เอกชัย

สถานีตั้งอยู่บนถ.เอกชัย บริเวณหน้าสำนักงานบังคับคดี จังหวัดสมุทรสาครและรพ.เอกชัย ใกล้ Big C เอกชัย เป็นทางวิ่งแบบยกระดับ
 

สถานีมหาชัย

สถานีตั้งอยู่บนถ.เอกชัย บริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธร เมืองสมุทรสาคร ใกล้ศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร, วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร และ รร.สมุทรสาครบูรณะ เป็นทางวิ่งแบบยกระดับ
 
.

UPDATE รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม 2564

image : Render Thailand    

สายสีแดงเข้ม

รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (บ้านภาชี-ปากท่อ) ระยะทางรวม 185 กิโลเมตร รวม 62 สถานี เป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมกรุงเทพฯ โซนเหนือและใต้ ปัจจุบันเตรียมเปิดโครงการช่วงบางซื่อ-รังสิตในเดือน พ.ย. 64 ส่วนช่วงบางซื่อ - หัวลำโพง, ช่วงรังสิต - ธรรมศาสตร์รังสิต อยู่ในช่วงเตรียมประมูล และโครงการที่อยู่ในระหว่างพิจารณาโครงการคือ ช่วง ธรรมศาสตร์รังสิต - บ้านภาชี, หัวลำโพง - มหาชัย และมหาชัย - ปากท่อ

1. ช่วง บางซื่อ-รังสิต (เตรียมเปิด พ.ย. 64)

เส้นรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม บางซื่อ - รังสิต มีระยะทางทั้งหมด 25.7 กม. มีทั้งหมด 10 สถานี ปัจจุบันมูลค่าโครงการอยู่ที่ประมาณ 88,003 ลบ. โดยเส้นนี้จะเริ่มเปิดใช้งานอยู่ที่ พ.ย. ปี 2564 โดยแผนการณ์เปิดใช้งานเส้นนี้พร้อมกับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน บางซื่อ - ตลิ่งชัน และสถานีกลางบางซื่อซึ่งเป็นจุดศูนย์รวมสายรถไฟหลายสายด้วยกัน ในช่วงแรกจะเปิดให้บริการเพื่อทดลองระบบในวันที่ 26 มี.ค. 64 และ 28 ก.ค. 64 หลังจากนั้นตั้งแต่เดือน พ.ย. 64 จะเป็นการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการโดยคิดราคาค่าโดยสาร โดยเปิดบริการพร้อมกับสายสีแดงอ่อน บางซื่อ - ตลิ่งชัน
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์  และ Thailand-Infra 
 

สถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม บางซื่อ-รังสิต

สถานีกลางบางซื่อ

image : Property Guru Thailand
image : one31.net
image : Render Thailand
image : Render Thailand
สถานีกลางบางซื่อถูกสร้างขึ้นให้เป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนถ่ายระบบคมนาคมทางรางที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน เนื่องจากเป็นสถานีที่มีรถไฟฟ้าผ่าน 4 สาย ได้แก่ สายสีแดงชานเมือง สายสีแดงอ่อน สายสีน้ำเงิน สายสีเขียว และนอกจากนั้นยังมีรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่เชื่อมต่อจากภาคเหนือลงสู่ภาคใต้
และบริเวณโดยรอบสถานีมีการพัฒนาเป็น TOD (Transit Oriented Development) ที่รองรับประชากรที่เข้ามาได้มากขึ้นถึงสองล้านคน แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 โซน อย่างครบวงจร ทั้งแหล่งกินดื่ม พาณิชยกรรม สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ โรงแรม รวมไปถึงสถานที่จัดประชุมสัมมนาทำให้บริเวณสถานีบางซื่อ เป็นแหล่งทำเลทองแห่งใหม่ที่น่าจับตามอง

จุดเชื่อมต่อ

Mixed-use Project

สถานีบางเขน

สถานีหลักสี่

สถานีดอนเมือง

สถานีรังสิต

 

สถานีทุ่งสองห้อง

สถานีการเคหะ

สถานีหลักหก

2. ส่วนต่อขยาย บางซื่อ-หัวลำโพง

เส้นรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม บางซื่อ - หัวลำโพง มีระยะทางทั้งหมด 11 กม. มีทั้งหมด 5 สถานี สำหรับสาย บางซื่อ-หัวลำโพงจะเป็นเส้นทางที่มีการผสมผสานระหว่างโครงสร้างทางวิ่งระดับดิน (At Grade) โครงสร้างทางวิ่งยกระดับ (Elevated)  โครงสร้างทางวิ่งแบบคลองแห้ง  (Open Trench and Cut & Cover Tunnel)  และโครงสร้างระดับใต้ดิน 2 ชั้น โดยมีระบบการเดินรถสอดคล้องกับแผนการเดินรถในโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต  และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน  ซึ่งมีทั้งแบบรถด่วนและรถธรรมดา โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการทดลองวิ่งไปในปี 2567
ที่มา : Thailand-Infra 
     

3. ส่วนต่อขยายเหนือ รังสิต-ธรรมศาสตร์รังสิต 

เส้นรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม รังสิต - ธรรมศาสตร์รังสิต มีระยะทางทั้งหมด 10.3 กม. มีทั้งหมด 4 สถานี เป็นโครงการเพื่อบรรเทาปัญหาการติดขัดจราจรบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และบริเวณโดยรอบ เนื่องจากมีปัญหาการจราจรติดขัดมากในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน โครงการยังคงอยู่ในขั้นตอนของการเตรียมประมูล โดยตามแผนการจะเปิดให้บริการในปี 2567
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์  และ Thailand-Infra 
     

4. ส่วนต่อขยายเหนือ ธรรมศาสตร์รังสิต-บ้านภาชี 

เส้นรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ธรรมศาสตร์รังสิต - บ้านภาชี มีระยะทางทั้งหมด 22 กม. มีทั้งหมด 9 สถานี เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงตือโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง เส้นทางของสายรถไฟฟ้าสายนี้จะยาวไปถึงจังหวัดข้างเคียงด้วย สำหรับส่วนต่อขยายนี้ เส้นทางจะยาวไปถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่บ้านภาชีเลยทีเดียว ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของโครงการขนส่งมวลชนที่สามารถเดินทางข้ามจังหวัดได้อย่างง่ายดาย โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2572
ที่มา : Thailand-Infra
   

5. ส่วนต่อขยายใต้ หัวลำโพง-มหาชัย

 
เส้นรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม หัวลำโพง - มหาชัย มีระยะทางทั้งหมด 38 กม. มีทั้งหมด 17 สถานี ยังคงต้องรอการจัดทำแผนแม่บทโครงข่ายรถไฟฟ้าเพื่อพัฒนาขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (M-Map)  ระยะที่ 2 มีปัญหาในทางช่วงคลองสาน -วงเวียนใหญ่ ต้องการให้เป็นอุโมงค์ใต้ดิน ซึ่งต้องลงทุนเพิ่มอีกหลายหมื่นล้าน เลยทำให้ต้องมีการแก้ไขแบบ และไปเริ่มกระบวนการเตรียมการก่อสร้างใหม่
ที่มา : Thailand-Infra
 

6. ส่วนต่อขยายใต้ มหาชัย - ปากท่อ

เส้นรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม มหาชัย - ปากท่อ มีระยะทางทั้งหมด 78 กม. มีทั้งหมด 17 สถานี ยังคงต้องรอการจัดทำแผนแม่บทโครงข่ายรถไฟฟ้าเพื่อพัฒนาขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (M-Map)  ระยะที่ 2 เนื่องจากมีประชาชนในพื้นที่เส้นทางคัดค้าน จึงต้องพับโครงการ และทำการศึกษาขึ้นมาใหม่ เส้นทางนี้จะเริ่มจาก มหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร ไปจนถึง ปากท่อ จังหวัดราชบุรี
ที่มา : Thailand-Infra
 

UPDATE รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน 2564

 

สายสีแดงอ่อน

รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนหรือรถไฟชานเมืองสายตะวันออก-ตะวันตก เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าชานเมืองสีแดง มีระยะทางประมาณ 127.9 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ตอนนี้โครงการช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชันเตรียมเปิดให้บริการในเดือน พ.ย. 64 ส่วนโครงการช่วงบางซื่อ - หัวหมาก และช่วงศาลายา - ตลิ่งชัน - ศิริราช อยู่ในช่วงการเปิดประมูลโครงการ และโครงการช่วงพญาไท - แม่น้ำ, ช่วงศาลายา - นครปฐม และช่วงหัวหมาก - ฉะเชิงเทรา อยู่ในช่วงพิจารณาโครงการ

1. ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน (เตรียมเปิด พ.ย. 64)

โครงการรถไฟสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน มีระยะทางทั้งหมด 15 กม. มีทั้งหมด 5 สถานี งบประมาณโครงการอยู่ที่ 8,748 ลบ. โดยเส้นทางนี้จะเริ่มเปิดใช้งานอยู่ที่ พ.ย. 64 เช่นเดียวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ - รังสิต และสถานีกลางบางซื่อ โครงการนี้เป็นโครงการที่ก่อสร้างเสร็จมาตั้งแต่ปี 55 แต่เพราะ ร.ฟ.ท. ได้นำเรื่องงานระบบและจัดหาขบวนรถไปผูกติดกับงานสัญญาที่ 3 ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ - รังสิต จึงทำให้โครงการนี้ยังไม่สามารถเปิดบริการได้ในตอนนั้น ในภายหลังจึงได้รับการตรวจสอบสภาพความเสื่อมโทรมของโครงการก่อนการเปิดใช้งาน ในช่วงแรกจะเปิดให้บริการเพื่อทดลองระบบในวันที่ 26 มี.ค. 64 และ 28 ก.ค. 64 หลังจากนั้นตั้งแต่เดือน พ.ย. 64 จะเป็นการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการโดยคิดราคาค่าโดยสาร โดยเปิดบริการพร้อมกับสายสีแดงเข้ม บางซื่อ - รังสิต
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์  และ Thailand-Infra 
   

สถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน

สถานีบางซ่อน

Image : ประชาชาติธุรกิจ

สถานีบางบำหรุ

.. Image : ประชาชาติธุรกิจ

2. ช่วงบางซื่อ - หัวหมาก (Missing Link)

โครงการรถไฟสายสีแดงอ่อน Missing Link ช่วงบางซื่อ-หัวหมาก มีระยะทางทั้งหมด 19.4 กม. มีทั้งหมด 5 สถานี ปัจจุบันประเมินวงเงินที่ต้องใช้อยู่ที่ 44,000 ลบ.  และได้อยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอปรับเพิ่มกรอบวงเงินในส่วนที่เป็นงานอุโมงค์ บริเวณสถานีจิตรลดา ประมาณ 6,000 ลบ. เพื่อให้สายสีแดงดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างอุโมงค์เผื่อโครงสร้างของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ส่วนต่อขยายช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมืองไปก่อนเพื่อความสะดวกและไม่ต้องเปิดหน้าดินหลายครั้ง รัฐบาลได้เร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งผู้บริหารและทีมที่ทำเรื่องรถไฟเชื่อม 3 สนามบินจะต้องดำเนินการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ รฟท. จึงเห็นว่าส่วนของสายสีแดง Missing Link ควรรอให้ได้ตัวผู้บริหารรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน และให้เอกชนดำเนินการก่อสร้างรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ช่วงดอนเมือง-พญาไท พร้อมงานอุโมงค์บริเวณจิตรลดาที่ทับซ้อนกันจะเหมาะสมกว่า เนื่องจากเส้นทางเดินรถของช่วงบางซื่อ - หัวหมากนี้จะวิ่งเชื่อมไปถึงโซน มักกะสัน ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีมักกะสัน เป็นสายที่เชื่อมต่อกับท่าอากาศยาน หรือ Airport Rail Link นั่นเอง โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการทดลองวิ่งได้ในปี 2567
ที่มา : Thailand-Infra
 

3. ช่วงศาลายา - ตลิ่งชัน - ศิริราช

 
สายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และตลิ่งชัน-ศิริราช มีระยะทางทั้งหมด 18.5 กม. ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา มีทั้งหมด 4 สถานี ส่วนช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช มีทั้งหมด 3 สถานี มีการประเมินวงเงินในการก่อสร้างอยู่ที่ 17,671 ลบ. ปัจจุบันได้เสนอโครงการและผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการทดลองวิ่งได้ในปี 2565 รายละเอียดเพิ่มเติมคือ ทางรฟท. กำลังทบทวนรายละเอียดในการลงทุนในส่วนของการซื้อรถวงเงินหลายพันล้านบาทเพื่อใช้ในสายสีแดงอ่อน ช่วงศิริราช-ตลิ่งชัน-ศาลายา ว่ามีความจำเป็นหรือไม่ โดยได้พิจารณาจำนวนรถในสัญญา 3 ของสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่มีก่อน รวมถึงดูความสามารถในการบริหารจัดการเดินรถที่มีประสิทธิภาพ ทำให้อาจไม่จำเป็นต้องซื้อรถเพิ่มในส่วนของสีแดงอ่อนเพื่อประหยัดค่าลงทุน แต่ทั้งนี้ ต้องขึ้นกับการจัดตารางเดินรถความถี่ในการให้บริการด้วย
ที่มา : Thailand-Infra
 

4. ส่วนต่อขยายตะวันออก ช่วงพญาไท - แม่น้ำ

 
สายสีแดงอ่อน ช่วงพญาไท - แม่น้ำ มีระยะทางทั้งหมด 6 กม. มีทั้งหมด 3 สถานี  กระทรวงคมนาคมได้มีการจัดทำเส้นทางใหม่แต่ยังไม่ลงรายละเอียดเส้นทางเนื่องจากยังไม่นิ่ง ดังนั้นโครงการนี้ยังคงอยู่ในช่วงพิจารณาโครงการ แต่ทางกระทรวงคมนาคมมีการวางแผนการเชื่อมสายหลักทีอยู่ในเมืองไปยังเส้นทางเมืองรองมากขึ้น โดยเส้นทางของโครงการนี้จะไปสิ้นสุดตรงโครงการฟื้นฟูพัฒนาพื้นที่รอบสถานีแม่น้ำ ตรงย่านคลองเตย ที่กำลังพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ ซึ่งประกอบด้วยอาคารพาณิชยกรรมและค้าปลีก อาคารพักอาศัย สำนักงาน ศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้านานาชาติ และโรงแรม
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์  19 พ.ย. 61
 

5. ส่วนต่อขยายตะวันออก ช่วงหัวหมาก - ฉะเชิงเทรา

สายสีแดงอ่อน ช่วงหัวหมาก - ฉะเชิงเทรา มีระยะทางทั้งหมด 40 กม. มีทั้งหมด 10 สถานี ยังคงเป็นโครงการที่อยู่ในช่วงการรออนุมัติโครงการ และออกแบบรายละเอียด โดยเส้นทางการเดินรถนี้จะยาวไปถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งส่วนต่อขยายนี้วิ่งเชื่อมจากโซน หัวหมาก ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีหัวหมาก เป็นสายที่เชื่อมต่อกับท่าอากาศยาน หรือ Airport Rail Link เพื่อรองรับคนจากสนามบินและกระจายศักยภาพของโครงการขนส่งมวลชนไปยังทางฝั่งตะวันออกอีกด้วย
ที่มา : Thailand-Infra
 

6. ส่วนต่อขยายตะวันตก ช่วงศาลายา - นครปฐม

สายสีแดงอ่อน ช่วงศาลายา - นครปฐม มีระยะทางทั้งหมด 29 กม. มีทั้งหมด 6 สถานี ยังคงเป็นโครงการที่อยู่ในช่วงการรออนุมัติโครงการ และออกแบบรายละเอียด โดยเส้นทางการเดินรถนี้จะอยู่ในจังหวัดนครปฐม การพัฒนาพื้นที่รอบของโครงการ นับเป็นพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพสูงรองรับความต้องการในอนาคต เพราะนอกจากจะมีโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน - ศาลายา และ ศาลายา - นครปฐมแล้ว ในอนาคตยังมีอีก 6 โครงการคมนาคมขนส่งสำคัญอีกด้วย ได้แก่ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ถนนวงแหวนรอบที่ 3 , โครงการรถไฟความเร็วสูง ลงสู่ภาคใต้ , โครงการถนนนครอินทร์ – ศาลายา, โครงการสนามบินนครปฐม, โครงการนำร่อง คลองมหาสวัสดิ์ เชื่อมล้อ-ราง-เรือ ,โครงการต่อขยายถนนยกระดับบรมราชชนนี เป็นต้น
ที่มา : thebangkokinsight 30 ต.ค. 2562

อ่านบทความรถไฟฟ้าอื่นๆเพิ่มเติม คลิก!

รถไฟฟ้าสายสีทอง
รถไฟฟ้าสายสีม่วง
รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้
รถไฟฟ้า-บางนา-สุวรรณภูมิ
รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
รถไฟฟ้าสายสีส้ม
รถไฟฟ้าสายสีเทา
หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
รถไฟฟ้าสายสีชมพู
รถไฟฟ้า-โคราช
รถไฟฟ้า-ภูเก็ต
รถไฟฟ้า-เชียงใหม่  
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (386)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon