realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน 5 จังหวัด

06 Feb 2024 31.0K

รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน 5 จังหวัด

06 Feb 2024 31.0K
 

รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ผ่าน 5 จังหวัด

รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เตรียมหาข้อสรุปกลางเดือน ก.พ. 67 นี้

[Realist Post] รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เตรียมหาข้อสรุปกลางเดือน ก.พ. นี้ 
หลายคนๆ อาจจะเกิดความสงสัยว่าทำไมโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ถึงไม่เดินหน้าซักที มาในโพสต์นี้ เราจะมาสรุปให้เข้าใจกันแบบง่ายๆ ว่าในปัจจุบันโครงการนี้อยู่ในขั้นตอนไหนแล้ว และมีแววที่จะสร้างได้เมื่อไหร่กัน ทั้งนี้จากข้อมูลที่สรุปมา ถ้าผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
ก่อนอื่นเลย เราจะมาแนะนำ 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมหน้าที่ที่ต้องทำของแต่ละหน่วยงานให้ฟังกันแบบคร่าวๆ ครับ
  • คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งประกอบด้วยคณะ ครม. มีหน้าที่ทั้งกำหนด แก้ไข ดูแล รวมไปถึงอนุมัติ แนวทางและแผนงานของโครงการ
  • การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. มีหน้าที่เวนคืนที่ดิน เคลียร์พื้นที่สำหรับการก่อสร้างให้เอกชน
  • บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ กลุ่ม C.P. มีหน้าที่หลักคือดำเนินการก่อสร้างโครงการ
  • สำนักคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI คอยทำหน้าที่ส่งเสริมการลงทุน ในสิทธิประโยชน์ด้านภาษี อาทิ งดเว้นภาษีถึง 13 ปี และลดหย่อนภาษีให้อีก 50%
ในระยะเวลาที่ผ่านมานับจากวันลงนามสัญญา เมื่อปี 2562 จนถึงปัจจุบัน ทาง รฟท. ได้ส่งมอบพื้นที่ให้กับ กลุ่ม C.P.
  • ส่วนนอกเมืองช่วงสุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา ส่งมอบแล้ว 100% สามารถเตรียมงานก่อสร้างได้เลย
  • ส่วนในเมือง ช่วงดอนเมือง - พญาไท ปัจจุบันคืบหน้า 97.21% อยู่ระหว่างรื้อย้ายงานระบบต่างๆ คาดว่าจะส่งมอบทั้งหมดได้ใน พ.ค. 2567
ทุกท่านจะสังเกตุเห็นว่าการส่งมอบพื้นที่ในตอนนี้ก็เกือบครบ 100% แล้วทำไมถึงยังไม่เริ่มก่อสร้างซักทีล่ะ ?? เราขออธิบายสถานการณ์ล่าสุดของโครงการนี้ให้เข้าใจกันแบบง่ายๆ ว่าทำไมถึงยังไม่เริ่มสร้าง
ณ ตอนนี้จะมี 4 ประเด็นหลักที่อยู่ในขั้นตอนรอพิจารณาจากคณะกรรมการกำกับดูแล
ในประเด็นแรกเรื่องเกี่ยวกับการมีบัตรส่งเสริม BOI ล่าสุดทางสำนักอัยการสูงสุด ได้ตอบกลับเงื่อนไขสำหรับการให้ กลุ่ม C.P. จะสามารถก่อสร้างโครงการได้ จะต้องได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจาก BOI เสียก่อน เพื่อให้ทาง รฟท. สามารถส่งหนังสือ NTP ให้กับทาง กลุ่ม C.P. เริ่มก่อสร้างได้
ก่อนหน้านี้บัตรส่งเสริมการลงทุนของ กลุ่ม C.P. หมดอายุไปเมื่อ 22 ม.ค. ที่ผ่านมา ทำให้ต้องต่ออายุบัตรกับทาง BOI ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ BOI ด้วย โดยมีสิทธิขอยื่นบัตรส่งเสริมการลงทุนต่อ BOI ได้ 3 ครั้ง ขณะนี้ได้ยื่นไปแล้ว 2 ครั้ง
ประเด็นต่อมาคือเรื่องการเพิกถอนลำรางสาธารณะ บนที่ดินมักกะสัน ที่ทาง รฟท. จะต้องขอถอนสภาพลำรางนี้ให้เรียบร้อย ก่อนจะส่งมอบพื้นที่ให้ กลุ่ม C.P. ซึ่งสถานการณ์ ล่าสุดยังอยู่ในขั้นตอนกำลังรอพิจารณา ยังไม่ได้ข้อสรุปใดๆ
ในอนาคตถ้าลำรางสาธารณะได้รับการเพิกถอนแล้ว ทางกลุ่ม C.P. จะต้องจดทะเบียนสิทธิเช่าพื้นที่ TOD มักกะสัน ทาง รฟท. ถึงจะออกหนังสือ NTP ให้เริ่มการก่อสร้างได้ ซึ่งจะเป็นไปตามที่สัญญาเดิมที่ระบุไว้
ประเด็นที่ 3 และ 4 เกี่ยวกับการร่างสัญญาใหม่
ประเด็นที่ 3 จะเป็นเรื่องของพื้นที่ทับซ้อนกับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย - จีน ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง
ล่าสุด ได้ข้อสรุปแล้วว่าทาง กลุ่ม C.P. จะเป็นผู้ก่อสร้างเอง โดยจะต้องสร้างให้สอดคล้องกับทางมาตรฐานจีนที่รองรับโครงการรถไฟความเร็วสูงด้วย
ทาง กลุ่ม C.P. เคยยื่นข้อเสนอขอให้รัฐจ่ายเงินค่าก่อสร้างให้เร็วขึ้น แต่ไม่สามารถทำได้ เพราะทางบอร์ด ECC ไม่เห็นชอบกับข้อเสนอดังกล่าว ทาง รฟท. จึงขอให้ทาง กลุ่ม C.P. ยื่นข้อเสนอเพิ่มเติมมาใหม่ ซึ่งในปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนรอการพิจารณา เพื่อนำไปสู่การลงนามสัญญาครั้งใหม่
ประเด็นสุดท้ายคือการแก้ไขสัญญาเรื่องการชำระค่าสิทธิเข้าไปบริหาร Airport Rail link
ซึ่งสัญญาเดิมกำหนดให้ทาง กลุ่ม C.P. ชำระงวดเดียว 10,671 ล้านบาท ส่วนสัญญาใหม่จะให้ กลุ่ม C.P. แบ่งการชำระออกเป็น 7 งวด ในเวลา 7 ปี โดยงวดที่ 1-6 ชำระงวดละ 1,067 ล้านบาท และงวดที่ 7 ชำระส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ย ในปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนรอการพิจารณา เพื่อนำไปสู่การลงนามสัญญาครั้งใหม่เช่นเดียวกับประเด็นที่ 3
ในอนาคต หากมีการลงนามแก้ไขสัญญาแล้วเสร็จ ทางเอกชนจะต้องชำระค่าสิทธิบริหาร Airport Rail link จำนวน 3 งวดย้อนหลัง วงเงินประมาณ 3,000 ลบ. อีกด้วย
ทั้ง 4 ประเด็นนี้ ทางคณะกรรมการกำกับดูแล ได้นัดประชุมหารือกันในช่วงกลางเดือน ก.พ. 67 นี้ เพื่อพิจารณาหาแนวทางในการได้ข้อยุติ และต่อยอดไปสู่ขั้นตอนการลงนามสัญญาใหม่ ที่ตามแหล่งข่าวระบุไว้ว่า จะเกิดขึ้นในเดือน พ.ค. 67 นี้ และคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปีนี้
ครม.ไฟเขียวโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน "ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา" ในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยให้เอกชนร่วมลงทุนเป็นเวลา 50 ปี เมื่อ 27 มี.ค. 61 ที่ผ่านมา นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ แถลงว่า ครม.มีมติเห็นชอบหลักการโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้แก่ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา ระยะทางรวม 220 กม. 9 สถานี เป็นสถานียกระดับ 7 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง, สถานีกลางบางซื่อ, สถานีมักกะสัน, สถานีฉะเชิงเทรา, สถานีชลบุรี, สถานีศรีราชา และสถานีพัทยา และเป็นสถานีใต้ดิน 2 สถานี คือ สถานีสุวรรณภูมิ และสถานีอู่ตะเภา ขนาดทางรถไฟ 1.435 ม. (Standard Gauge) อัตราความเร็ว 160 กม./ชม. (เขตในเมือง) และ 250 กม./ชม. (เขตนอกเมือง) เปิดพื้นที่การพัฒนา 3 จังหวัด ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง ให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP Net Cost ระยะเวลา 50 ปี รวมมูลค่าโครงการ 224,544.36 ลบ. (มี.ค. 61) คาดว่าเปิดให้บริการ 2566
o การร่วมลงทุนแบบ Net Cost คือ การประมูลเพื่อหาผู้ที่สามารถยื่นข้อเสนอผลตอบแทนที่สูงที่สุดแก่รัฐ โดยผู้ที่คำนวณการบริหารต้นทุนให้ได้ผลตอบแทนมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ   o โครงการรถไฟความเร็วสูงนี้มีวงเงินลงทุนประมาณ 200,000 ลบ. ถ้าให้เวลาโครงการน้อย เอกชนอาจขาดทุนมาก ดังนั้นช่วงเวลาที่เหมาะสมของโครงการจึงอยู่ที่ 50 ปี  เมื่อครบ 50 ปี รัฐบาลจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหมด รวมรถไฟความเร็วสูง สถานี และพื้นที่สถานีทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 300,000 ลบ.

EEC คือ..?

EEC คือ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ พิเศษภาคตะวันออก  เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ "ไทยแลนด์ 4.0"มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคมขนส่ง เชื่อมโยงการเดินทางทั้งทางอากาศ ทางบก ทางราง ทางน้ำ แบบไร้รอยต่อ (Seamless Operation) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันจากการลดเวลาการเดินและประหยัดค่าขนส่ง โดยมีกลุ่มโครงการที่สำคัญ 2 กลุ่ม คือ
1. เชื่อมโยง EEC กับภูมิภาคทางอากาศ ผ่านโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก มุ่งเน้นการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอากาศยานและโลจิสติกส์ทางอากาศ และเชื่อมโยงการเดินของผู้โดยสารสนามบินหลัก (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) โดยรถไฟความเร็วสูง เพื่อให้การเดินทางระหว่างกทม. กับ EEC ไม่เกิน 1 ชม.
2. เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าของไทยกับภูมิภาค โดยพัฒนารถไฟทางคู่เชื่อมโยงจีน ลาว ไทย กัมพูชา และระบบขนส่งสินค้าแบบไร้รอยต่อ, ระบบขนส่งแบบอัตโนมัติ ผ่านศูนย์กระจายสินค้าใหม่ที่ฉะเชิงเทรา ไปยังท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังระยะ3 และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะ 3 รวมถึงส่งเสริม EEC ให้เป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกโดยการพัฒนาท่าเรือสำราญ (Cruise Port) ที่ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ

พัฒนาพื้นที่กองทัพเรือ เพื่อรองรับ EEC

.

ประโยชน์ของการเชื่อมต่อ 3 สนามบิน

การเชื่อมโยง 3 สนามบินด้วยรถไฟความเร็วสูงนี้ จะเป็นการยกระดับสนามบินอู่ตะเภามาเป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่ 3 ให้ทำงานควบคู่กับสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ โดยคาดว่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ถึง 2 ข้อหลักๆได้แก่
1. ศักยภาพของสนามบินอู่ตะเภานั้น สามารถจุคนได้ถึง 3 ล้านคน/ปี รวมถึงจะมีการปรับและเพิ่มรันเวย์อีก 1 รันเวย์ ภายในปี 2561 และสร้างอาคารเทอร์มินอลหลังที่ 3 สามารถรองรับผู้โดยสายได้ 15 ล้านคน ซึ่งหากมีการเชื่อมต่อเข้าสู่เมืองที่มีประสิทธิภาพ คาดว่าจะเป็นการช่วยกระจายผู้โดยสาร ทำให้ลดความแออัดไปได้มาก รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อชุมชนที่อยู่ตามแนวรถไฟอีกด้วย สามารถเข้าเมืองได้สะดวก รวดเร็ว ประหยัด โดยไม่ใช้รถยนต์ และจะทำให้พื้นที่บริเวณที่เส้นรถไฟความเร็วสูงผ่าน มีการพัฒนามากขึ้น
2. หากเชื่อมโยงสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิเข้ากับอู่ตะเภานั้น จะเป็นการช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดจากการเดินทางโดยรถยนต์เข้า-ออกเมืองพัทยา ระยอง ในช่วงเทศกาลไปได้ส่วนหนึ่ง ซึ่งมีคนเข้ามาเที่ยวพัทยาปีละ 10 ล้านคนเลยทีเดียว หากเทียบค่าใช้จ่ายในการเดินทางระหว่างรถไฟความเร็วสูง และรถยนต์ส่วนตัว ก็จะถือว่าพอๆกัน แต่การเดินทางโดยรถไฟจะเป็นการประหยัดเวลามากกว่า รู้เวลาที่ถึงจุดหมายชัดเจน ค่าใช้จ่ายตายตัว ซึ่งการเดินทางโดยรถยนต์นั้น ค่าใช้จ่าย และระยะเวลาในการเดินทางขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ออกเดินทาง
ทาง Realist ได้เปรียบเทียบเวลาในการเดินทาง และค่าใช้จ่าย จากสนามบินดอนเมือง-สนามบินอู่ตะเภา ซึ่งจะมี รถไฟความเร็วสูง, รถรับจ้าง และรถยนต์ส่วนตัว อัตราค่าบริการรถไฟความเร็วสูง (จากรถไฟแห่งประเทศไทย 04/2561) คือ ค่าแรกเข้า 80 บ. + 1.8 บ./กม. ราคาจะตกอยู่ประมาณ 476-500 บ. และมีเวลาในการเดินทางที่แน่นอนอยู่ที่ 2 ชม. 20 นาที หากเดินทางโดยรถตู้จะต้องนั่งแท็กซี่
จากดอนเมืองไปขึ้นรถตู้ที่บขส.หมอชิต ระยะเวลา 3 ชม. 40 นาที ยังไม่รวมเวลารอรถ เวลาเดิน และหากเดินทางในช่วงเวลาเร่งด่วน เวลาในการเดินทางก็จะเพิ่มขึ้น รวมถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วย ส่วนรถยนต์นั้น ได้คิดระยะจากเส้นทางที่ใกล้ที่สุด 188 กม. ซึ่งจะใช้เวลาอย่างต่ำ 3 ชม. และค่าใช้จ่าย 580 บ. ++ นั้นรวมค่าน้ำมันขั้นต่ำและค่าทางด่วนแล้ว 

เส้นทางรถไฟความเร็วสูง เฟส 1 : ดอนเมือง-ระยอง

สนามบินดอนเมือง-สนามบินอู่ตะเภา โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง 

1) รถไฟความเร็วสูงส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ ดอนเมือง-พญาไท ระยะทาง 21.8 กม. (อยู่ในแผนเดิมที่จะมีการก่อสร้าง ความเร็ว 160 กม./ชม.) 2) รถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ พญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ ระยะทาง 28.7 กม. (ดำเนินการอยู่แล้วในปัจจุบัน ความเร็ว 160 กม./ชม.) 3) รถไฟความเร็วสูง สนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กม. (ปรับจากแผนเดิมของรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก (ลาดกระบัง-ระยอง ความเร็ว 250 กม./ชม.) • ส่วนใหญ่เป็นทางยกระดับ มีทางลอดอุโมงค์ 4 ช่วงได้แก่ ถนนพระราม 6 -ถนนระนอง 1 , ช่องเข้า-ออกสุวรรณภูมิ , ช่องผ่านเขาชีย์จรรย์ , ช่วงเข้า-ออกสถานีอู่ตะเภา • วิ่งผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด มีทั้งหมด 9 สถานี เป็นสถานียกระดับ 7 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง สถานีกลางบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา และสถานีพัทยา เป็นสถานีใต้ดิน 2 สถานี คือ สถานีสุวรรณภูมิ และสถานีอู่ตะเภา ค่าโดยสาร 500 บาทต่อเที่ยว สำหรับเส้นทางด่วนพิเศษดอนเมือง-อู่ตะเภา และ 300 บาทต่อเที่ยวสำหรับเส้นทางด่วนพิเศษสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภ รถไฟวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดที่ 250 กม./ชม. ในเขตนอกเมือง และ 160 กม./ชม.เมื่อวิ่งผ่านกรุงเทพชั้นใน
หากจะเดินทางจากดอนเมืองไปสุวรรณภูมินั้นจะมี 2 ทางเลือกคือ 1.เดินทางโดย Airport Rail Link ซึ่งจะวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. อัตราค่าโดยสาร 13 บ.(ค่าแรกเข้า) + 2 บ./กม. ซึ่งรวม 10 สถานี ค่าโดยสารถูกกว่า แต่ใช้เวลา
มากกว่า ขณะที่หากเลือกเดินทางด้วย 2.รถไฟความเร็วสูง วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม.ในเมือง และ 250 กม./ชม.ในเขตนอกเมือง อัตราค่าโดยสาร 80 บ. (ค่าแรกเข้า) + 1.8 บ./กม. รวม 4 สถานี ซึ่งเวลาก็จะลดลงครึ่งหนึ่ง 

อ่านข่าวเพิ่มเติม สนามบินอู่ตะเภา และสุวรรณภูมิเฟส 2 ได้จากลิ้งค์ด้านล่าง

การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาตามนโยบายของกองทัพเรือ  เน้นให้เป็นท่าอากาศยานเชิงพาณิชย์แห่งที่ 3ของกรุงเทพฯ (รองจากสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง) ซึ่งจะมีอาคารผู้โดยสารใหม่ เปิดใช้งานราวกลางปีหน้า (ตอนนี้กำลังก่อสร้างอยู่) รองรับผู้โดยสารได้ 3 ล้านคน/ปี
เป้าหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้น 15 ล้านคน/ปี คือจากเดิม 45 ล้านคน/ปี เป็น  60 ล้านคน/ปี

จับมือเอกชน พัฒนาพื้นที่รอบสถานี

สถานีมักกะสัน         มีพื้นที่ประมาณ 150 ไร่ ถูกส่งเสริมให้เป็นหนึ่งในสถานีหลักของรถไฟความเร็วสูงสายนี้ โดยให้เอกชนที่รับพื้นที่ไปพัฒนา จ่ายค่าเช่าพื้นที่ตามราคาตลาด และให้รัฐมีส่วนร่วมรับกำไร พร้อมกับพัฒนาพื้นที่ให้เป็นอาคารจอดแล้วจร เพื่อส่งเสริมให้คนเลือกใช้รถไฟแทนการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ช่วยลดการจราจรและมลภาวะไปได้ด้วย ปัจจุบันยังไม่สรุปว่าจะพัฒนาเป็น "Makkasan Complex" หรือ "Makkasan Green"
สถานีศรีราชา   สถานีศรีราชา (ชลบุรี) มีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ แต่ปัจจุบันใช้ประโยชน์เพียง 75 ไร่ เพื่อที่จะเป็นสถานีรถไฟความเร็วสูงในอนาคต จะปรับปรุงพื้นที่ 75 ไร่นี้ให้เป็นสถานีและโรงซ่อมรถจักร (Depot) ส่วนอีก 25 ไร่ที่เหลือจะส่งเสริมให้เอกชนมาเช่า และนำไปพัฒนา โดยกำหนดค่าเช่าตามราคาตลาด 

รัฐได้อะไรจากโครงการนี้ ?

โครงการรถไฟความเร็วสูงนี้ ได้มีการที่ร่วมลงทุนกับเอกชน ทั้งปล่อยให้เอกชนประมูลโครงการรถไฟ ให้สัมปทานเป็นระยะเวลา 50 ปี และให้เอกชนมาเช่าพื้นที่ตามสถานีต่างๆในราคาตลาด แล้วรัฐได้อะไร?      1. การร่วมลงทุนกับเอกชนนี้เป็นการลดใช้งบประมาณของรัฐ รวมถึงเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้เอกชน เช่นการใช้วิศวกรของประเทศไทยที่เชี่ยวชาญด้านการรถไฟ และใช้วัสดุ, ชิ้นส่วนของประเทศไทยให้มากที่สุด  รัฐสามารถมีรายได้เพิ่มจากการจัดเก็บภาษีพิเศษจากธุรกิจบริเวณสถานีและตลอดเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายนี้      2. แก้ปัญหาขาดทุนของ Airport Rail Link ที่ต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน โดยให้เอกชนมา Take over กิจการในมูลค่าที่สามารถปลดหนี้ได้ เพราะการเก็บค่าโดยสารมักจะไม่สามารถคืนทุนในระยะเวลาอันสั้นได้ จึงมักจะขาดทุนเสมอ      3. ผู้โดยสารแอร์พอร์ตลิงก์ได้รับประโยชน์และความสะดวกสบาย เนื่องจาก Airport Rail Link  ปัจจุบันมีความเร็วจำกัด มีขบวนรถไฟน้อย ผู้โดยสารต้องรอ 15 นาทีต่อขบวน เมื่อขาดทุนจึงทำให้สถานการณ์การเงินไม่ดี และไม่สามารถลงทุนเพิ่มจำนวนขบวนรถไฟ ปัญหาที่ผู้โดยสารพบเจอคือคนล้นสถานีในช่วงเวลาเร่งด่วน ซึ่งหากมีสายรถไฟความเร็วสูงเพิ่มมา และทำการปลดหนี้ได้ จะสามารถเพิ่มจำนวนขบวนรถไฟได้ รอบรถต่อชม.ก็จะมากขึ้น ทุก 10 นาทีต่อขบวน และถือเป็นการช่วยกระจายผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางสายตรงไปสนามบินไปใช้รถไฟความเร็วสูงแทน ซึ่งจะจอดเพียงสถานีหลัก และความเร็วสูงสุดในเมืองคือ 160 กม./ชม.(ช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ) 

ข้อมูลจาก thaipublica และ EEC เมื่อมี.ค. 61

หน้าที่และความรับผิดชอบของรัฐและเอกชน

INFO :EEC (JUN 2018)

แผนปฏิบัติงาน

INFO :EEC (JUN 2018)

ผู้สนใจเข้าร่วมประมูล 

บริษัทที่เข้าร่วมประมูลแบ่งออกเป็นหลายหมวดหมู่เช่น บริษัทก่อสร้าง บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัทระบบรถไฟความเร็วสูง เป็นต้น มีบริษัทเอกชนจีนที่สนใจเข้าร่วมประมูลรถไฟความเร็วสูงจำนวนมาก เช่น ไชน่า เซาธ์ โลโคโมทีฟ แอนด์ โรลลิ่ง สต็อก, บริษัท China North Railway Corporation (CNRC), บริษัท ไชน่า ซีวีล เอ็นจีเนียริ่ง คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บริษัท ซีอาร์อาร์ซี ฉางชุน เรลเวย์ วีฮิเคิล จำกัด เป็นรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลจีนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งอาจเข้าข่ายข้อห้ามตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว ทำให้ยังคงมีการหารือกันต่อไป บ้างก็เชื่อว่าการดำเนินโครงการลงทุนภายในอีอีซี เป็นการดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จึงไม่ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง และ พ.ร.บ.ร่วมทุน แต่ต้องจัดให้มีคณะกรรมการคัดเลือกที่มีข้อกำหนดให้ผู้ซื้อไม่ขัดขวางอย่างเป็นธรรม หรือ Self Declaration ซึ่งถือเป็นมาตรฐานสากล   ข้อมูลจากฐานเศรษฐกิจ วันที่ 5-7 เม.ย. 61

Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon