realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รพ.กรุงเทพเปิดตัว "เทเลคลีนิก" (คลีนิกชุมชน)

26 Jan 2014 3.0K

รพ.กรุงเทพเปิดตัว "เทเลคลีนิก" (คลีนิกชุมชน)

26 Jan 2014 3.0K
 
รพ.กรุงเทพเปิดตัว "เทเลคลีนิก"(คลีนิกชุมชน)
ที่มาข้อมูล ผู้จัดการ 10 พ.ย. 56
เครือกรุงเทพดุสิตเวชการ หรือกลุ่ม BGH ต้องปรับกระบวนทัพครั้งใหญ่ เพื่อสู้ศึกรอบด้าน ทั้ง “ศึกใน “จากการชุมนุมทางการเมืองของมวลมหาประชาชนภายใต้การนำของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือ กปปส. ที่ยืดเยื้อยาวนานหลายเดือน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อภาวะเศรษฐกิจ จำนวนลูกค้าทั้งคนไทย ต่างชาติ และ “ศึกนอก” ที่มีเครือข่ายโรงพยาบาลต่างชาติประกาศปักธงรุกขยายตลาดเข้าสู่อาเซียน รวมถึงแถบเอเชียแปซิฟิกแม้ด้านหนึ่ง กลุ่ม BGH ต้องถอยหลายก้าว เลื่อนเป้าหมายการขยายเครือข่ายโรงพยาบาลครบ 50 แห่งทั่วประเทศไทยและอาเซียนภายในปี 2558 ออกไปอีกอย่างน้อย 2-3 ปี เพื่อรอดูสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้งประกาศนโยบายการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบมากขึ้นและเน้นการบริหารต้นทุน เพื่อรักษาอัตราผลกำไรให้สวยงาม แต่อีกด้านหนึ่ง มรสุมและปัจจัยเสี่ยงที่รุมเร้ากลับสอดรับกับแนวทางใหม่ของกลุ่ม BGH การพุ่งเป้าเจาะตลาดรากหญ้า โดยใช้โมเดลธุรกิจใหม่ สร้างและขยาย “คลินิกชุมชน” เป็นกลไกเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลแม่ทั้ง 5 แบรนด์ คือ กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลบีเอ็นเอช กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท และกลุ่มโรงพยาบาลเปาโล โรงพยาบาลในเครือข่ายที่กลุ่ม BGH ซื้อกิจการและลงทุนสร้างให้เป็นโรงพยาบาลระดับกลางเจาะชุมชนใหม่ หรือหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด ซึ่งล่าสุดเปิดแล้ว 34 แห่ง และเครือข่ายคลินิกพันธมิตรในชุมชน เพื่อกระจายเป็นขุมข่ายครอบคลุมตลาดหลักทั่วประเทศ ตามแผนของโมเดลใหม่ คลินิกชุมชนเปรียบเสมือน “เอเย่นต์” หรือ “คลินิกลูก” ขยายฐานกลุ่มลูกค้าระดับในชุมชนผ่านการให้บริการรักษาพยาบาลและสร้างเครือข่าย “คลินิกพันธมิตร” หรือ “คลินิกหลาน” โดยเจรจาขยายความร่วมมือต่างๆ เช่น การสนับสนุนด้านการทำแล็บ (Lab) การเอกซเรย์ การให้คำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทาง และการส่งต่อผู้ป่วยในกรณีโรคที่ต้องการการรักษาพยาบาลเชิงลึกมากขึ้น ฐานลูกค้าผู้ป่วยของทั้งคลินิกลูกและคลินิกหลานจะกลายเป็นฐานลูกค้าใหม่ของกลุ่ม BGH จากเดิมที่ผู้ป่วยเหล่านี้จะเข้ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งหมดจะถูกส่งต่อเพื่อแอดมิดเข้ามายังโรงพยาบาลแม่ทั้ง 5 แบรนด์ หรือโรงพยาบาลในเครือข่ายที่มีมากกว่า 30 แห่ง ในระดับราคาและพื้นที่ให้บริการที่มีให้เลือกอย่างหลากหลาย นพ.ชาตรี ดวงเนตร กรรมการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ-การแพทย์ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) และประธานคณะผู้บริหารศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ยุคนี้เป็นยุคที่กลุ่ม BGH จะกินคำเล็กๆ ไม่ใช่กินคำใหญ่ๆ แบบเดิม การเข้าสู่รากหญ้าเป็นสิ่งที่ดีเพราะจะได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ไม่เคยเข้ารักษาในกลุ่ม BGH ฐานข้อมูลประวัติของคลินิกลูกและคลินิกหลานจะเชื่อมกับโรงพยาบาลในเครือข่ายทั้งหมด แม้คนไข้ต่างชาติหายไปจะไม่กระทบมาก ไม่ต้องพึ่งต่างชาติมากและคู่แข่งหรือต่างชาติอาเซียนจะเจาะตลาดของ BGH ยาก “โรงพยาบาลในกลุ่ม BGH มีโครงสร้างสถานพยาบาลดูแลทุกระดับ ทุกตลาด ครอบคลุมทุกกลุ่มลูกค้า บางแห่งมีลูกค้าต่างชาติมาก 50-70% บางแห่งไม่ถึง 10% แต่เฉลี่ย 25% กลุ่มผู้ป่วยคนไทยยังมากถึง 75% และกลุ่มคนไทยที่เป็นฐานใหม่และเป็นตลาดใหญ่อีกมากสามารถเลือกได้ ไม่ต้องเข้าโรงพยาบาลแม่ ราคาแพงอย่างกรุงเทพ ไปเข้าเปาโลหรือโรงพยาบาลเครือข่าย แค่เงินเข้ากระเป๋าซ้ายไปกระเป๋าขวาเท่านั้นเอง” สำหรับจำนวนคลินิกชุมชน ซึ่งเริ่มทดลองแยกตามแบรนด์โรงพยาบาลแม่นั้น กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ เปิดให้บริการ 3 สาขา ได้แก่ สาขามีนบุรี เจริญกรุง 93 และสาขาวัชรพล กลุ่มสมิติเวช 9 สาขา อยู่ในกรุงเทพฯ 3 สาขา ที่ซอยลาซาล 27, สุวรรณภูมิ และรามอินทรา อยู่ใน จ.นนทบุรี 1 สาขาที่เมืองทองธานี อีก 5 สาขา แยกอยู่ใน จ. ชลบุรี 4 สาขา และ จ. ระยอง 1 สาขา กลุ่มบีเอ็นเอช 2 สาขา ที่อาคารออลซีซั่นส์และสุรวงศ์, กลุ่มพญาไท เริ่มทดลองเปิด 2 สาขาที่บ่อวินและศรีราชา แต่รวมเป็นสาขาเดียวที่บ่อวิน จ. ชลบุรี ส่วนกลุ่มโรงพยาบาลเปาโลยังไม่มีการเปิดคลินิก อย่างไรก็ตาม คลินิกชุมชนของกลุ่มสมิติเวช บีเอ็นเอชและพญาไท เป็นรูปแบบ “Outreach Clinics” หรือการขยายแผนก OPD( Out Patient Department) ลักษณะย่อส่วน สามารถรักษาพยาบาลเบื้องต้นไม่ต่างจากคลินิกเวชกรรมทั่วไป และหมุนเวียนแพทย์ในแต่ละสาขา ไม่ใช่แพทย์ประจำ ซึ่งถือเป็นจุดอ่อนสำคัญจนล่าสุด กลุ่มสมิติเวชต้องปิดสาขาแจ้งวัฒนะไปแล้ว 1 แห่ง ขณะที่โมเดลของกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพที่เรียกว่า “เทเลแคร์คลินิก (Tele Care Clinics)” เป็นรูปแบบแผนก OPD ที่มีบริการและเครื่องมือแพทย์ระดับขั้นปฐมภูมิเหมือนโรงพยาบาล มีบริการตรวจรักษาโรคทั่วไป บริการเอกซเรย์ ตรวจสุขภาพประจำปี กายภาพบำบัด บริการด้านวัคซีน บริการตรวจแล็บ เลือดและปัสสาวะ บริการพยาบาลทั่วไป เช่น ทำแผลต่างๆ บริการทันตกรรม โดยเฉพาะบริการเอกซเรย์และแล็บสามารถทราบผลภายใน 30 นาที ที่สำคัญ เทเลแคร์คลินิกมีแพทย์ประจำคลินิกที่ไม่ได้หมุนเวียนหรือเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ป่วย และในกรณีการรักษาพยาบาลโรคเฉพาะทางหรืออาการที่มีความยากขึ้นจะอาศัยระบบ Tele-Consultation กับแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ และมีบริการส่งต่อผู้ป่วยเข้ารักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพ หรือโรงพยาบาลในเครือข่ายได้ทันที เนื่องจากข้อมูลลิงค์ถึงกัน และยังมีบริการล่ามภาษาสำหรับผู้ป่วยต่างชาติผ่านระบบเทเลมากถึง 32 ภาษา “เทเลแคร์คลินิกเหมือนการนำโรงพยาบาลแม่มาตั้งที่นี่และคอนเซ็ปต์หลักคือ ต้องเป็นมิตรกับงูดินเจ้าถิ่น ถ้าไปแข่งกับงูดินเจ้าถิ่น จบ เพราะหมอในคลินิกท้องถิ่นเหมือนหมอประจำครอบครัว หมอประจำชุมชน มีความสัมพันธ์ ถ้าเอาคลินิกไปตั้งแล้วเปลี่ยนหมอไปมา แข่งไม่ได้ ดึงลูกค้าไม่ได้ ไม่ใช่เอาเฉพาะยี่ห้อ แต่ต้องมีหมอประจำ Head Doctor เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระยะยาว และมีจุดขาย คือ เซอร์วิสครบทุกอย่างเหมือนไปโรงพยาบาลกรุงเทพ” ทั้งนี้ ตามแผนจะปรับโมเดลคลินิกชุมชนของกลุ่มโรงพยาบาลแม่ทั้ง 5 แบรนด์ จาก Outreach Clinics เป็น Tele Care Clinics เพื่อแก้จุดอ่อนเรื่องแพทย์ประจำและสร้างจุดขายด้านบริการให้ต่างจากคลินิกท้องถิ่นทั่วไป เนื่องจากเป้าหมายสำคัญยังอยู่ที่การเป็นพันธมิตรและหวังผลเรื่องการส่งต่อผู้ป่วยมาใช้บริการรักษาในกรณีโรคเฉพาะทาง การรักษาที่ยากขึ้น รวมถึงการรักษากรณีฉุกเฉินต่างๆ นอกจากนั้น ยังมีบริการขายยาเหมือนร้านขายยาในชุมชน โดยมีเภสัชกรประจำคลินิกและสามารถปรึกษาเภสัชกรที่โรงพยาบาลแม่ผ่านระบบ Tele Pharmacist โดยไม่คิดบริการเพิ่มเติม ซึ่งถือเป็นจุดขายที่กลุ่ม BGH ต้องการใช้เป็นตัวเจาะฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ หรือเฉลี่ยการรักษาต่อครั้งไม่เกิน 1,000 บาทต่อบิล แต่จุดขายเรื่องราคาต่อบิลที่ไม่สูงมากทำให้เทเลแคร์คลินิกเองต้องหาพันธมิตรคลินิกท้องถิ่น เพื่อเพิ่มกลุ่มลูกค้าส่งต่อเป็นขั้นๆ และช่วยเรื่องต้นทุนที่สูงกว่าคลินิกท้องถิ่นทั่วไป หรือคิดเฉลี่ยแล้ว เทเลแคร์คลินิกต้องมีกลุ่มลูกค้าในระดับจุดคุ้มทุนไม่ต่ำกว่า 50 รายและสามารถรองรับการรักษาพยาบาลสูงสุด 60-80 ราย ซึ่งถ้าประเมินจากเป้าหมายการขยายเทเลแคร์คลินิกทั้งหมด 30 แห่งภายใน 3 ปี จะมีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นประมาณ 2,400 ราย ผนึกกับคลินิกท้องถิ่นหรือ “คลินิกหลาน” ที่ตั้งเป้าสร้างพันธมิตร 1 คลินิกลูก ต่อเครือข่าย 5 แห่ง รวม 150 แห่ง เฉลี่ยจำนวนผู้ป่วยต่อคลินิก 50-60 ราย จะเพิ่มขึ้นอีก 7,500 ราย หรือรวมแล้วเกือบ 10,000 ราย ปัจจุบัน ในตลาดธุรกิจโรงพยาบาลที่มีมูลค่าเม็ดเงินประมาณ 110,000-114,000 ล้านบาท อัตราขยาย 15-20% จากจำนวนโรงพยาบาลกว่า 400 แห่ง คลินิกเกือบ 20,000 แห่ง ถือว่า กลุ่ม BGH เป็นผู้นำ โดยมีส่วนแบ่ง 15% ในตลาดธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน และ 5% ในตลาดรวมโรงพยาบาลทั้งรัฐกับเอกชน ก้าวต่อไป ซึ่งไม่ใช่แค่การขยายเครือข่ายคลินิกเอกชนยึดตลาดชุมชนระดับกลางถึงบนและรุกเข้าสู่กลุ่มรากหญ้าเท่านั้น BGH ยังมีแผนเจาะเข้าสู่การรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิมากที่สุด คือ โฮมแคร์ (Home Care) โดยใช้คลินิกลูก หรือเทเลแคร์คลินิกเป็นกลไกหลัก ไม่ต่างจากเอเย่นต์ที่บุกเข้าถึงตัวผู้บริโภค รวมถึงการสร้างระบบแฟรนไชส์คลินิก เช่น การส่งแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพไปตรวจมาตรฐานต่างๆ ให้คลินิกที่ต้องการเอกสารรับรองยกระดับมาตรฐาน หมอชาตรียอมรับว่า เคยทำระบบโฮมแคร์เมื่อ 15 ปีก่อน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากขาดความพร้อมด้านบุคลากร ทั้งแพทย์ พยาบาล ข้อจำกัดเรื่องระยะทางและเวลา แต่โมเดล “เทเลแคร์คลินิก” จะปูทางให้ระบบโฮมแคร์เกิดขึ้นได้จริงอีกครั้ง ไม่ใช่แค่การสร้างเครือข่ายบริการระดับปฐมภูมิที่แข็งแกร่ง แต่ยังเป็นเกมขยายอาณาจักรธุรกิจโรงพยาบาลของกลุ่ม BGH อย่างไร้ขอบเขตด้วย
BGH เข้าถึงฐานลูกค้ารากหญ้า
- คลีนิกชุมชน เสมือนการขยายหน้าด่านแผนก OPD ซึ่งเป็นจุดเริ่มรับคนไข้ในรพ.ออกสู่ชุมชน เพื่อเปิดช่องทางการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ซึ่งท้ายที่สุดจะกลายเป็นลูกค้าประจำของรพ. - ปัจจุบัน มี 3 สาขา : รามคำแหง 106 (สุขาภิบาล 3), เจริญกรุง 93 และ วัชรพล (งบลงทุน/สาขา 10-20 ลบ. ขึ้นอยู่กับขนาด) - เฉพาะ บีพลัส เทเลแคร์ คลีนิก ของรพ.กรุงเทพ 1 ปีแรก ขยาย 10 แห่ง >> 1-2 ปี ขยาย 30 แห่ง - คลีนิกในกลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช มี 9 สาขา / พญาไท 1 สาขา - นับรวมเบ็ดเสร็จ ทั้งคลีนิคของรพ.กรุงเทพเอง และเครือข่าย >> ใน 3 ปี น่าจะมีทั้งหมด 150 คลีนิกInfo : Than (18-22 Jan 2014), gotomanager.com (10 Nov 2013) & SamitivejHospitals.com
B PLUS TELE CLINIC
Image : Prachachat Online, 13 Sep 2013
คลีนิคในเครือ 'สมิติเวช'และ 'พญาไท'
คลีนิกในกลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช ใช้ชื่อว่า “สมิติเวช คลินิกเวชกรรม / สหคลีนิค” ปัจจุบันเปิดแล้ว 9 แห่ง ได้แก่ เมืองทองธานี, แจ้งวัฒนะ, อมอรินี รามอินทรา, ลาซาล 27, สนามบินสุวรรณภูมิ, ศรีราชา อีสเทิร์นซีบอร์ด, บ้านบึง ชลบุรี, แหลมฉบัง, เครือสหพัฒน์ คลีนิกในกลุ่มโรงพยาบาลพญาไท ใช้ชื่อว่า “พญาไท คลินิกเวชกรรม / พญาไท เทเลคลีนิก” ล่าสุดเริ่มทดลองเปิด 2 สาขาที่บ่อวินและศรีราชา แต่จะรวมเป็นสาขาเดียวที่บ่อวิน จ. ชลบุรี Info : SamitivejHospitals.com, phyathai.com
ตำแหน่งที่ตั้งคลีนิคในเครือ 'สมิติเวช'
Image : SamitivejHospitals.com
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon