realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รฟม.UPDATE สายสีส้ม สายสีเขียว

14 Jul 2015 12.0K

รฟม.UPDATE สายสีส้ม สายสีเขียว

14 Jul 2015 12.0K
 

รฟม.UPDATE สายสีส้ม สายสีเขียว

สายสีส้ม

กลับไปใช้แนวเดิม "ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี"

รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้คจร. ที่มี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิจารณาแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม ระยะทาง 17.5 กิโลเมตร กรณีที่ รฟม. เสนอปรับเปลี่ยนช่วงที่ผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์-สถานี ศูนย์วัฒนธรรม เป็นแนวใหม่โดยให้ผ่านดินแดง-ถนนพระราม 9 โดย คจร.มีมติให้ รฟม.ดำเนินการก่อสร้างตามแนวเส้นทางเดิม เนื่องจากเป็นแนวเส้นทางที่เหมาะสม ผ่านชุมชน และมหาวิทยาลัย ซึ่งส่วนใหญ่ประชาชนมีรายได้น้อยจะได้ใช้ประโยชน์จากรถไฟฟ้ามากกว่า
นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ รฟม.กำลังปรับแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้า สายสีส้ม ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.) กำหนด โดยจะกลับไปใช้แนวเส้นทางเดิมคือ "ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี" จากเดิมที่ได้มีการศึกษาไว้ว่าจะเปลี่ยนไปใช้เส้นทางตลิ่งชัน-พระราม 9-มีนบุรี โดยจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ในวันที่ 3 ก.ค.
 
 Images : PPTV
ในขณะที่แนวเส้นทางใหม่เป็นย่านคอนโดมิเนียมและตึกสูงซึ่งเป็นที่อยู่ของคนมีฐานะ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นแนวเดิมหรือเปลี่ยนแนวใหม่ล้วนแต่มีผลกระทบแต่ควรเลือกแนวที่มีการประกาศไว้แล้ว ซึ่งที่ผ่านมา รฟม.ดำเนินงานล่าช้าจึงต้องรีบไปทำความเข้าใจกับประชาชน ขณะเดียวกันที่ประชุมยังมีมติอนุมัติโครงการช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทาง 21.5 กิโลเมตร ด้วย
"ม.ร.ว.ปรีดิยาธร" รองนายกรัฐมนตรี ระบุการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเส้นทางศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี จะใช้เส้นทางผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ตามแผนเดิม ชี้ลดแออัดจราจรดีกว่าถนนพระรามเก้าและไม่ได้เอื้อเอกชน ย้ำจะสร้างเส้นทางใดก็ส่งผลกระทบต่อประชาชนเหมือนกัน วันนี้ (10 มิ.ย.2558) ที่ประชุมคณะกรรมการการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่มี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน  เพื่อพิจารณาการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มเส้นทางตลิ่งชัน-มีนบุรี มีมติจะใช้เส้นทางเดิมในการก่อสร้างช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ซึ่งต้องผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ตามแผนแม่บทเดิม เพราะมีการประกาศล่วงหน้าแล้วมานานกว่า 10  ปี และได้ผ่านการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) อีกทั้งหากสร้างผ่านเส้นประชาสงเคราะห์จะสามารถลดปัญหาการจราจรที่แอดอัดได้ดีกว่าบริเวณถนนพระรามเก้า และขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างเส้นทางจากมีนบุรีมาถึงศูนย์วัฒนธรรมและยังไม่เริ่มดำเนินการก่อสร้างผ่านชุมชน ดังนั้น ควรใช้ระยะต่อเวลาต่อจากนี้ในการบริหารจัดการพื้นที่และจัดหาที่อยู่ใหม่ให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินจำนวน 184 ครัวเรือน   Info : Khaosod Online ( 30 June 2015)  

สายสีเขียว

ไม่รื้อสะพานรัชโยธินแต่สร้างรางสูงขึ้นอีก 2 เมตรแทน

พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด รฟม.มีมติเห็นชอบการแก้ไขปัญหาการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต บริเวณแยกรัชโยธิน จากเดิมที่วางแผนจะรื้อสะพานรัชโยธินและก่อสร้างเป็นอุโมงค์ทางลอด แต่ข้อเสนอใหม่จะไม่รื้อสะพานรัชโยธิน โดยจะยกระดับโครงสร้างของรถไฟฟ้าและสะพานข้ามแยกในแนวถนนพหลโยธินให้อยู่เหนือสะพานข้ามแยกเดิม ทั้งนี้ เหตุที่ต้องทบทวนแผนการก่อสร้างดังกล่าว เนื่องจากการรื้อสะพานรัชโยธินและสะพานข้ามแยกเกษตรนั้น สร้างความกังวลถึงผลกระทบด้านการจราจรที่จะเกิดขึ้นในช่วงการก่อสร้าง โดยเฉพาะการก่อสร้างอุโมงค์จะใช้เวลาถึง 3 ปี จึงมีการเสนอเพิ่มทางเลือก 4 แนวทางให้บอร์ด รฟม.พิจารณา ประกอบด้วย
1.ทุบสะพานข้ามแยกรัชโยธินและก่อสร้างเป็นอุโมงค์ทางลอดแทน ส่วนรถไฟฟ้าจะมาตามแนวถนนพหลโยธิน และใต้รถไฟฟ้าจะมีถนนยกระดับซึ่งใช้ตอม่อเดียวกับรถไฟฟ้า แต่อยู่ต่ำกว่ารถไฟฟ้า เป็นแนวทางที่แก้ปัญหาจราจรได้ค่อนข้างสมบูรณ์เพราะรถที่วิ่งบนถนนพหลโยธินและรัชดาภิเษก เวลาเลี้ยวซ้ายและขวาจะไม่ตัดกับรถทางตรง เพราะมีทั้งสะพานข้ามแยกและอุโมงค์ลอด แต่ข้อเสียคือใช้เวลาก่อสร้างนาน 3 ปี
2.ไม่ทุบสะพานรัชโยธิน แต่การก่อสร้างรถไฟฟ้าต้องยกระดับสูงจากแนวเดิมอีก 2 เมตร จาก 16 เมตร เป็น 18 เมตรแทน เพื่อให้ข้ามเหนือสะพานรัชโยธิน ส่วนใต้รถไฟฟ้าจะมีถนนซึ่งใช้ตอม่อเดียวกับรถไฟฟ้า แนวทางนี้มีข้อดีเรื่องระยะเวลาก่อสร้างน้อยลง ค่าใช้จ่ายลดลง 1,200 ล้านบาท เพราะไม่มีการก่อสร้างอุโมงค์ และช่วยบรรเทาปัญหาในช่วงระหว่างการก่อสร้างได้
3. รื้อสะพานรัชโยธินและก่อสร้างสะพานข้ามแยกแนวถนนรัชดาภิเษก โดยให้ข้ามเหนือจากโครงสร้างของรถไฟฟ้าซึ่งจะมีความสูงถึง 24 เมตร แนวทางนี้มีความเสี่ยงมากในเรื่องของความปลอดภัยและผลกระทบ รวมทั้งเทคนิคการก่อสร้างสะพานที่จะต้องไต่ลาดสูง 24 เมตร
Images : Prachachat Online
4.ไม่รื้อสะพานรัชโยธิน แต่จะก่อสร้างเฉพาะโครงสร้างรถไฟฟ้า โดยไม่มีการก่อสร้างสะพานข้ามแยกในแนวถนนพหลโยธิน วิธีการนี้สามารถประหยัดค่าก่อสร้างได้มากที่สุด แต่การแก้ไขปัญหาการจราจรไม่ดีเท่ากับแนวทางที่ 2
“ขณะนี้บอร์ดได้เห็นชอบแนวทางที่ 2 แต่รอผลพูดคุยกับ กทม. หากไม่มีข้อเสนออะไร และไม่ติดปัญหาทางเทคนิคจะสามารถดำเนินการได้ และจะสรุปเสนอบอร์ดครั้งหน้า จากนั้นเสนอเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) คาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้ต้นปี 2559” พล.อ.ยอดยุทธ กล่าว Info : Posttoday Online ( 6 July 2015) ความคืบหน้ารถไฟฟ้า สายสีส้ม สายสีเขียว
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon