realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

"รัชดาภิเษก" ถนนวงแหวนสายแรกที่วิ่งรอบกรุงเทพฯ

23 May 2022 1.8K

"รัชดาภิเษก" ถนนวงแหวนสายแรกที่วิ่งรอบกรุงเทพฯ

23 May 2022 1.8K
 

"รัชดาภิเษก" ถนนวงแหวนสายแรกที่วิ่งรอบกรุงเทพฯ

ถ.รัชดาภิเษก หรือ ถนนวงแหวนรอบใน เป็นถนนที่สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการจราจรของกรุงเทพชั้นใน โดยเป็นถนนที่วิ่งรอบกรุงเทพเหมือนกับ ถ.กาญจนาภิเษก ประกอบขึ้นจากการนำถนนหลายสายมาเชื่อมกัน ถนนวงแหวนรอบในส่วนที่ 1 เริ่มจากทางแยกท่าพระถึงถนนเพชรบุรี ส่วนที่ 2 จากถนนพระรามที่ 4 ถึงทางแยกท่าพระ รวมระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตร
ถ.รัชดาภิเษก จึงเป็นถนนที่มีความสำคัญกับกรุงเทพ วิ่งผ่านย่านเศรษฐกิจสำคัญของกรุงเทพอย่าง พระราม 9 -อโศก และเชื่อมฝั่งธนฯ กับพระนคร
เส้นทางเริ่มจากสะพานข้ามคลองบางกอกใหญ่ ผ่านสะพานกรุงเทพ ตัดผ่านถนนพระรามที่ 3 ถนนสุขุมวิท ถนนเพชรบุรี ถนนพระราม 9 ถนนลาดพร้าว ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนประชาชื่น ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ข้ามสะพานพระราม 7 เข้าเขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ตัดกับถนนบางกรวย-ไทรน้อย ลอดใต้สะพานพระราม 6 เข้าเขตกรุงเทพมหานคร รวมกับถนนจรัญสนิทวงศ์ และมาบรรจบที่ทางแยกท่าพระ

ความเป็นมาของ "วงแหวนรัชดาภิเษก"

ถ.รัชดาภิเษก เกิดจากพระราชดำริของ ในหลาง รัชกาลที่ 9 ที่ต้องการให้สร้างถนนเพื่อแก้ปัญหารถติด โดยมีรับสั่งให้ทำถนนวงแหวนรอบกรุงเทพในปี 2514 และในปีดังกล่าวรัฐบาลก็มีมติในการสร้าง วงแหวนรัชดาภิเษก ขึ้น โดยรวมเอาถนนต่างๆเข้าด้วยกันให้เป็นถนนที่สามารถวิ่งรอบกรุงเทพได้
วงแหวนรัชดาภิเษก เลยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2514 และมีพิธีเปิดในปี 2519 เป็นการเปิดในช่วงระยะแรกของโครงการ บริเวณช่วงแยกท่าพระ-ถนนเพชรบุรี หลังจากนั้นโครงการก็มีการก่อสร้างในช่วงอื่นๆยาวมาจนถึงปี 2536 จึงแล้วเสร็จทั้งโครงการในส่วนของถนน
ปี 2540 รัฐบาลได้ตั้งในถนนรัชดาภิเษก บริเวณแยกถนนตกถึงแยก ณ ระนอง เป็นถนนเศรษฐกิจของไทย โดยต่อมาก็ได้มีการสร้างสะพานและอูโมงค์ข้ามแยกขึ้นหลายแห่ง เพื่อทำให้การเดินทางในถนนวงแหวนราบลื่นโดยไม่ติดไฟแดง
และในปี 2565 เป็นปีที่มีกำหนดจะเปิดใช้อุโมงค์ข้ามแยกใหม่ 2 จุดคือบริเวณ แยกไฟฉาย และ รัชดา-ราชพฤกษ์ ก็จะทำให้การเดินทางมีความคล่องตัวมากขึ้น

ตำแหน่ง สะพาน/อุโมงค์ ข้ามแยก

ความพิเศษของถนนวงแหวนคือความคล่องตัวในการเดินทาง สามารถสัญจรผ่านได้โดยไม่ติดไฟแดง ดังนั้น ถนนวงแหวนรัชดาภิเษก จึงมีการสร้างทั้งสะพานและอุโมงค์ข้ามแยกขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง จนมาถึงปัจจุบัน ถนนสายนี้มีความสมบูรณ์ของเส้นทางแล้วกว่า 90%
ยังเหลืออุโมงค์ที่กำลังก่อสร้างอยู่ 3 จุดคือ บริเวณแยกไฟฉายที่อยู่ใต้ MRT อุโมงค์รัชดา-ราชพฤกษ์ โดยทั้ง 2 โครงการมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2565 และอีก 1 โครงการคือ อุโมงค์แยกอโศก ซึ่งถ้าแล้วเสร็จก็จะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรลงได้

2 อุโมงค์ใหม่ส่งเสริมวงแหวาน

ถนนวงแหวนรอบใน รัชดาภิเษก มีจุดประสงค์เพื่อให้รถยนต์สามารถสัญจรได้อย่างคล่องตัว เลยมีการทำสะพานข้ามแยกขึ้นให้หลายจุดในช่วง 51 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มสร้างโครงการ
มาถึงในปัจุบันโครงการยังมีอุโมงค์อีก 3 จุดที่ยังไม่สมบูรณ์ โดย 2 จุดอยู่ในระหว่างก่อสร้าง และเตรียมที่จะเปิดให้บริการในปี 2565 ได้แก่ อุโมงค์แยกไฟฉายที่ก่อสร้างมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2552 แต่ถูกเลื่อนการก่อสร้างเพราะติดการก่อสร้างรถไฟฟ้า เมื่อรถไฟฟ้าสร้างเสร็จจึงมีการก่อสร้างอุโมงค์ต่อจนใกล้แล้วเสร็จ
อีกหนึ่งโครงการที่เหลืออยู่คือ อุโมงค์รัชดา-ราชพฤกษ์ ที่เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2562 และทำให้เกิดปัญหารถติดในระหว่างก่อสร้างอย่างมาก เลยต้องมีการเร่งการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ โดยมีกำหนดเปิดใช้งานในเดือน ก.ย.65
โดย 1 จุดสุดท้ายยังเป็นเพียงแผนในการสร้างอุโมงค์ที่จะแก้ปัญหารถติดบริเวณ แยกอโศก โดยเป็นการศึกษาจาก "กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และการขนส่งแห่งสาธารณรัฐเกาหลี" ในการแก้ปัญหามีการเสนอให้สร้างอุโมงค์ที่ลอดตั้งแต่แยกพระราม9 บริเวณหน้าห้างฟอร์จูนทาวน์ วิ่งยาวไปจนถึงหน้าศูนย์สิริกิติ์ เป็นระยะทางกว่า 6 กม. ซึ่งในปัจุบันยังอยู่ในช่วงการศึกษาโครงการ
 

ความคืบหน้าอุโมงค์แยกไฟฉาย

อุโมงค์แยกไฟฉาย เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2552 แต่ติดปัญหาการก่อสร้างรถไฟฟ้า MRT ทำให้การก่อสร้างต้องล่าช้าออกไป โดยอุโมงค์นี้จะลอดผ่านถนนพรานนกไป อยู่ใต้ MRT ไฟฉาย ช่วยระบายรถทางตรงใน ถ.จรัญสนิทวงศ์ โดยไม่ต้องติดตรง 4 แยกไฟฉาย โดยมีกำหนดการแล้วเสร็จในเดือน สิงหาคม ปี 2565 นี้  
 
ขอบคุณภาพจาก : Khaosod.co.th, Google street view

ความคืบหน้าอุโมงค์รัชดา-ราชพฤกษ์

อุโมงค์ลอดแยกรัชดา-ราชพฤกษ์ เป็นทางลอดเพื่อลดปัญหาการจราจร โดยลอดผ่านถนนราชพฤกษ์ รวมระยะทาง 1.5 กม. ใช้เงินในการก่อสร้างมูลค่า 925 ล้านบาท  มีกำหนดเปิดให้ใช้งาน กันยายน ปี 2565
 
ขอบคุณภาพจาก : FB:ชัชชาติ,  Google street view

อุโมงค์ที่จะแก้ปัญหารถติดที่แยกอโศก

โครงการที่การร่วมมือกันระหว่างไทยกับเกาหลี โดยให้ทาง "กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และการขนส่งแห่งสาธารณรัฐเกาหลี" เข้ามาศึกษาบริเวณแยกอโศก เพื่อหาวิธีแก้ปัญหาการจราจร โดยทางเกาหลีเสนอให้สร้างอุโมงค์ใต้ดินตั้งแต่แยกพระราม9 บริเวณหน้าห้างฟอร์จูนทาวน์ วิ่งยาวไปจนถึงหน้าศูนย์สิริกิติ์ เป็นระยะทางกว่า 6 กม. เพื่อให้รถที่จะตรงไปตามวงแหวนรัชดาภิเษก ไม่ต้องมาติดบริเวณแยกอโศก เป็นการลดปริมาณรถที่จะผ่ายแยกลง โดยตามกำหนดการทางเกาหลีต้องส่งรายงานการศึกษาให้กับไทยในช่วงปลายปี 64 และทางการไทยจะนำมาศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ
ซึ่งถ้าโครงการมีการก่อสร้างขึ้นก็จะทำให้ปัญหาการจราจรในบริเวณนี้หนักขึ้นไปอีก แต่ถ้าสร้างเสร็จก็จะช่วยระบายรถและเสริมความสมบูรณ์ของวงแหวนรอบในได้มากขึ้น

กรุงเทพกำลังจะมีวงแหวนรอบที่ 3

ข้อมูลเพิ่มเติม >> CLICK

   
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon