realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

ร่างรัฐธรรมนูญ 2559

04 Aug 2016 24.5K

ร่างรัฐธรรมนูญ 2559

04 Aug 2016 24.5K
 

ร่างรัฐธรรมนูญ 2559

  ก่อนจะไปออกเสียงประชามติ เพื่อรับ/ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2559 กันในวันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2559 บางท่านอาจมีคำตอบในใจแล้วว่าจะโหวต YES หรือ NO แต่เชื่อว่าหลายๆท่าน น่าจะยังไม่ทราบเนื้อหา ประเด็นที่มีความสำคัญ เนื่องจากเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญที่่ค่อนข้างเยอะและมีความซับซ้อน ทาง REALIST จึงได้รวบรวมการสรุปเนื้อหาจาก source ต่าง ๆ เพื่อให้ท่านได้ทำความเข้าใจสาระสำคัญที่จะกำหนดทิศทางของประเทศของเราว่าจะดีขึ้นหรือแย่ลง แต่เนื่องจาก REALIST เป็น Page เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ในครั้งนี้จึงขออนุญาตแชร์ข้อมูลมาจาก source ต่าง ๆ จากทั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเอง (VDO จาก Youtube) และจากภาคเอกชนอย่าง Page I LAW (เนื้อหาและ Infographic ทั้งหมด)  จึงอยากลองให้ทุกท่านทำความเข้าใจจากสื่อที่แตกต่างกัน ฟังความจากทุกด้าน เทียบให้เห็นภาพทั้งของปี 2540, 2550, 2559 ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ก่อนที่จะไปโหวตกันในวันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2559 8.00-16.00 น. ลองอ่านกันดูครับ       สามารถโหลดร่างรัฐธรรมนูญฉบับเต็มได้โดยคลิกตรงนี้  

ภาพบัตรตัวอย่าง บัตรออกเสียงประชามติ ฉบับใหม่ มีช่องกากบาทสองช่อง คือ เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

         วันที่ 26 เมษายน 2559 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ตัวอย่างบัตรออกเสียงประชามติ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ พร้อมกับระเบียบของกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงลงประชามติดังกล่าว

iLaw ทำอินโฟกราฟฟิคจำนวน 24 ประเด็นในร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงประชามติ              ถ้าร่างรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบ วันที่ 7 สิงหาคม 2559 จะใช้เวลาอีก 480 หรือ 16 เดือนจะถึงวันเลือกตั้ง ซึ่งอย่างช้าจะเกิดการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรประมาณธันวาคม 2560 ระยะเวลาดังกล่าวใช้ไปกับ        - นายกฯ ทูลเกล้า ร่างรัฐธรรมนูญ ภายใน 30 วัน        - กรธ.จัดทำพ.ร.ป.รัฐธรรมนูญ ภไายใน 240 วัน - สนช.พิจารณาพ.ร.บ. ภายใน 60 วัน - จัดการเลือกตั้งภายใน 150 วัน นับจากพ.ร.ป.ประกาศใช้               ช่วงเวลา 480 วันก่อนถึงวันเลือกตั้ง ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้ใช้เวลาครึ่งนึง คือ 240 วัน หรือ 8 เดือน ไปกับการร่างพ.ร.ป.รัฐูธรรมนูญ อย่างน้อย 10 ฉบับ ซึ่งถ้าหากร่างรัฐธรรมนูญผ่าน จะเป็นอำนาจของ กรธ.ในการร่างพ.ร.ป.ทั้งหมด           หากเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ใช้เวลาสั้นกว่า โดยจะร่างเฉพาะกฎหมายที่สำคัญเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเลือกตั้ง                ในวาระเริ่มแรกร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มี ส.ว.250คน มาจากแต่งตั้งของคสช. และล็อก 6 ที่นั่งให้กับปลัดกลาโหม ผบ.สส. ผบ.ทบ. ผบ.ทร. ผบ.ทอ. และ ผบ.ตร. ซึ่งส.ว.ชุดนี้จะมีวาระ 5 ปี กล่าวได้ว่าคสช.ยังอยู่ต่อไปในฐานะเบื้องหลัง ส.ว.ชุดนี้           หากพ้นระยะเวลา 5 ปีไปแล้ว ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้ ที่มา ส.ว.มาจากการคัดเลือกกันเองของแต่ละกลุ่มอาชีพโดยไม่มีการเลือกตั้ง อย่างไรก็ดี รายละเอียดของการคัดเลือกกันเองยังอยู่ในมือของ กรธ. ซึ่งจะเผยโฉมออกมาเมื่อร่างรัฐธรรมนูญผ่าน            ในส่วนของ อำนาจ ส.ว. ก็จะเห็นได้ว่า ร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มอำนาจใหม่เข้าไปอย่างน้อย 3 ประเด็น ได้แก่         หนึ่ง อำนาจตรวจสอบว่า นักการเมืองคนใด ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม เช่น ถ้า ส.ว. เห็นว่ารัฐมนตรีคนใดขาดคุณสมบัติ อาทิ ไม่ซื่อสัตย์สุจริตจนเป็นที่ประจักษ์ ก็ให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญถอดถอนได้          สอง มีอำนาจตรวจสอบว่านักการเมืองคนใด มีการส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม กับการใช้เงินงบประมาณ ก็สามารถยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่งและเพิกถอนสิทธิลงเลือกตั้งได้และสาม ในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ในวาระหนึ่งและวาระสาม ต้องได้เสียงจาก ส.ว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนส.ว. ทั้งหมด                   ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดบทบาทสำคัญให้กับศาลรัฐธรรมนูญ คือถ้าไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญบังคับ ศาลรัฐธรรมนูญสามารถจัดให้มีการประชุมร่วมระหว่าง ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้าน ประธานวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานองค์กรอิสระเพื่อวินิจฉัย และให้คำวินิจฉัยของที่ประชุมเป็นที่สุดและผูกพันรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ                  ร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดให้มีองค์อิสระจำนวน 6 องค์กร (ตามอินโฟฯ) มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระมากขึ้นกว่าเดิม ขณที่คณะกรรมการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์อิสระมาจากชุดกันหมด ยกเว้น กสม. สัดส่วนของคณะกรรมการฯ ประกอบด้วยข้าราชการและองค์กรอิสระเป็นเสียงส่วนใหญ่ แต่ตัวแทนที่ยึดโยงกับประชาชนเป็นเสียงส่วนน้อย               ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญกับองค์กรอิสระ เป็นผู้กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมขึ้นบังคับใช้ โดยเนื้อหาต้องระบุให้ชัดแจ้งด้วยว่าการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมใดมีลักษณะร้ายแรง โดยมาตรฐานทางจริยธรรมจะถูกบังคับใช้กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระ รวมทั้ง ส.ส. ส.ว. และ ครม.ด้วย  ทั้งนี้ ส.ส. ส.ว. และ ครม.ก็สามารถออกมาตรฐานทางจริยธรรมเพิ่มขึ้นได้ ตามความเหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ของตน แต่ต้องไม่ขัดแย้งกับมาตรฐานทางจริยธรรมที่ศาลรัฐธรรมนูญกับองค์กรอิสระกำหนด             หากมีความผิดจากการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่ไต่สวน เสนอต่อศาลฎีกาพิจารณา หากผู้ถูกกล่าวหาถูกพิพากษาว่า มีความผิดจริง ต้องพ้นจากตำแหน่ง และอาจถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่เกิน 10 ปี                 กรธ.คิดค้นระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม (mixed member apportionment system หรือ MMA) โดยที่มาของ ส.ส.แบ่งเป็นสองส่วนคือ แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 350 คน และ แบบบัญชีรายชื่อ 150 คน ร่วมเป็น 500 คน ใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวในการเลือกผู้สมัครแบบแบ่งเขต และการเลือกผู้สมัครแบบแบ่งเขตคนใดก็เท่ากับเลือกพรรคที่เขาสังกัดด้วย ซึ่งคะแนนที่พรรคได้จากส.ส.แบ่งเขตจะถูกนำมาคิดที่นั่งส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ                      การเลือกนายกรัฐมนตรี ในกรณีปกติ ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้พรรคการเมืองเสนอชื่อนายกฯ ไม่เกิน 3 ชื่อไว้ก่อนเลือกตั้ง และหลังเลือกตั้งให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาจากรายชื่อที่เสนอไว้นั้น โดยผู้ที่ถูกเสนอในบัญชีรายชื่อไม่จำเป็นต้องได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในกรณีพิเศษ ร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดหากไม่สามารถตั้งนายกฯ จากสามรายชื่อของพรรคการเมืองตามปกติได้ ในครั้งแรกหลังการเลือกตั้งอาจตั้งนายกฯ คนนอกได้ โดยมี 3 ขั้นตอน คือ         1) ส.ส.ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง หรือ 250 คน เข้าชื่อเสนอให้มี “นายกฯ คนนอก”         2) รัฐสภา ซึ่งประกอบด้วย ส.ส. และ ส.ว. ลงมติด้วยเสียง 2 ใน 3 หรือ 500 คนจาก 750 คน ให้มีนายกฯ คนนอกได้         3) ส.ส. เข้าชื่อกัน 1 ใน 10 หรือ 50 คน เสนอชื่อใครก็ได้ให้เป็นนายกฯ และลงมติเห็นชอบด้วยเสียงมากกว่าครึ่งหนึ่ง หรือ 251 คน                     ร่างรัฐธรรมนูญ ถูกวิจารณ์ว่าให้อำนาจกับองค์กรตุลาการ และองค์กรอิสระ เพือตรวจสอบฝ่ายรัฐบาลมากเกินไป ซึ่งขัดแย้งกับหลักการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจ อีกทั้งร่างรัฐธรรมนูญจะทำให้เกิดรัฐบาลผสมที่อ่อนแอที่จะเสียเวลาส่วนใหญ่กับการต่อรองกันของพรรคร่วมรัฐบาล สร้างรัฐบาลเป็ดง่อย รัฐบาลรักษาการถาวร ที่ไม่มีสมาธิจัดการปัญหาโครงสร้างระยะยาว และรัฐบาลจะมีอายุสั้น เพราะต้องเผชิญความคลุมเครือในการพิจารณางบประมาณประจำปีและมาตรฐานทางจริยธรรมที่จะนำไปสู่การถอดถอนได้                    ในทางตรงข้าม กรธ.ตอบต่อข้อวิจารณ์ต่อประเด็นข้างต้นว่า การก้าวก่ายอำนาจการบริหารของ ครม. ร่างรัฐธรรมนูญนี้เพียงแต่เพิ่มกลไกในการตรวจสอบการทำงาน สร้างความโปร่งใสในการดำเนินกิจกรรมของรัฐ และกำหนดความรับผิดชอบของ ครม. ให้ชัดเจนเท่านั้น ขณะที่คำถามว่าองค์กรอิสระจะมาควบคุมและทำให้รัฐบาลอ่อนแอ คำตอบของกรธ. คือ เนื่องจากที่ผ่านมาการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารมีปัญหา ซึ่งองค์กรตรวจสอบก็จะมีอำนาจในการตรวจสอบเหมือนเดิม แต่ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น   สิทธิและเสรีภาพมีความเป็นสากลกว่าเดิม?          มีชัยอ้างว่า สิทธิและเสรีภาพในร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามตินี้ได้รับการเขียนให้เป็นสากลขึ้น สิทธิใดที่ไม่ได้เขียนไว้ในร่างฯ และไม่ได้มีกฎหมายใดห้ามประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพจะกระทำได้ ทั้งที่จริงหลักการเช่นนี้ปรากฏในประมวลกฎหมายอาญาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499 แล้วว่า ไม่สามารถเอาผิดหรือลงโทษบุคคลโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติได เงื่อนไขจำกัดสิทธิและเสรีภาพ "ความมั่นคงของรัฐ" ถูกนำมาใช้เป็นเงื่อนไขในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพภาพใหญ่เป็นครั้งแรกในร่างฯนี้ โดยเงื่อนไขของการจำกัดสิทธิของร่างฯนี้มีทั้งหมด 4 ข้อคือ 1) กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ 2) กระทบต่อความสงบเรียบร้อย 3) กระทบต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน 4) ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น ลักษณะกฎหมายจำกัดสิทธิและเสรีภาพ        กฎหมายที่ใช้ในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพตามร่างรัฐธรรมนูญ 2559 นี้จะต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม, ไม่เพิ่มภาระบุคคลเกินสมควร, ไม่กระทบศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และต้องระบุเหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิ ขณะที่รัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้าระบุว่า การจำกัดสิทธิจะกระทำเท่าที่จำเป็น แต่ร่างฯนี้เขียนเเทนว่า ไม่เกินสมควร นอกจากนี้ยังตัดคำว่า ไม่กระทบกระเทือนสาระสำคัญของสิทธิออก ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์?        ก่อนหน้านี้ในรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 เขียนให้สิทธิแก่บุคคลในการอ้างถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และการใช้อำนาจรัฐจะต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แต่เนื้อหาในลักษณะดังกล่าวกลับไม่ปรากฏในร่างฯนี้ อย่างไรก็ดีได้มีการเขียนเพิ่มเติมจากฉบับก่อนหน้าว่า การตรากฎหมายจะให้กระทบศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไม่ได้          สิทธิและเสรีภาพของร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติได้เพิ่มเติมว่า สิทธิใดกฎหมายไม่ห้ามสามารถทำได้ แต่ต้องไม่ขัดต่อสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งเป็นจุดแข็งของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่มักจะนำมาพูดอยู่บ่อยครั้ง แต่การจำกัดเสรีภาพก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน "ความมั่นคงของรัฐ" ถูกนำมาใช้จำกัดสิทธิในภาพรวมของหมวดสิทธิและเสรีภาพ ทั้งที่ในรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับก่อนหน้านี้ความมั่นคงของรัฐถูกนำมาใช้ในการจำกัดสิทธิบางเรื่องเท่านั้น ในการจำกัดเสรีภาพรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้าเขียนว่าต้อง"กระทำเท่าที่จำเป็น" แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใช้คำว่า "ต้องไม่สมควรแก่เหตุ" พร้อมตัดเงื่อนไขว่า "ต้องไม่กระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพ" ออกไป นอกจากนี้ข้อเขียนที่ว่า การใช้อำนาจรัฐที่ต้อง "คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์" และประชาชนสามารถอ้าง"ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์"ได้หายไปจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้   "หน้าที่ของรัฐ"         ร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ได้ย้ายสิทธิบางประการมาไว้ที่หมวดหน้าที่ของรัฐ โดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)ให้เหตุผลว่า ที่ผ่านมาสิทธิบางอย่างไม่ได้มีผลในทางปฏิบัติจึงเขียนหมวดหน้าที่ของรัฐขึ้นมาเพื่อเป็นหลักประกันสิทธิให้แก่ประชาชน โดยรัฐจะต้องจัดหาบริการให้แก่ประชาชนตามที่ระบุไว้ในร่างฯ         น่าสังเกตว่า หมวดหน้าที่ของรัฐหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า "สิทธิ" และพันธกรณีของรัฐที่มีต่อประชาชนยังลดน้อยลงด้วย ทำให้หลายฝ่ายแสดงความเป็นกังวลว่า หมวดหน้าที่ของรัฐจะเป็นการลดทอนสิทธิประชาชน บ้างก็ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำลังหวนกลับไปมองสิทธิในแบบที่รัฐต้องจัดหาให้ไม่ได้มองว่า สิทธิเป็นสิทธิที่มีติดตัวมนุษย์ดังนั้นประชาชนจึงไม่ใช่ผู้ทรงสิทธิอีกต่อไป   "สิทธิทางการศึกษา"         ที่ผ่านมารัฐธรรมนูญของไทยรับรองสิทธิการศึกษาฟรี 12 ปี ป.1-ม.6 ร่างฉบับใหม่คงสิทธิ 12 ปีไว้เท่าเดิมแต่ให้ร่นมาเริ่มเร็วขึ้นตั้งแต่ก่อนวัยเรียน จึงจบเรียนฟรีที่ม.3 และให้มีกองทุนช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ แนวทางจัดการศึกษามุ่งให้เป็นคนดีมีวินัย ภูมิใจในชาติ การศึกษาไม่เป็น "สิทธิ" รัฐต้องจัดเรียนฟรี 12 ปี จากเด็กเล็กถึงม.3 "มาตรา 54 รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย         รัฐต้องดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาตามวรรคหนึ่ง เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย"         ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ มาตรา 54 กำหนดให้รัฐจัดการศึกษาฟรียังเป็น 12 ปีเช่นเดิม แต่เปลี่ยนเป็นให้เริ่มตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ ซึ่ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ มาตรา 17 กำหนดว่า ให้มีการศึกษาภาคบังคับจํานวนเก้าปีให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก จึงพอเข้าใจได้ว่า การศึกษาภาคบังคับหมายถึง การศึกษาชั้น ป.1-ม.3 ดังนั้นร่างรัฐรรมนูญฉบับนี้ จึงกำหนดหน้าที่ให้รัฐจัดการศึกษาฟรี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียน คือ ในชั้นอนุบาลจนถึงม.3         #สิทธิทางด้านสาธารณสุข ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติเป็นประเด็นหนึ่งที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม เนื่องจากกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในวงกว้าง ประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงและกังวลของสังคมคือ ถ้าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านประชามติจะเปิดทางทางให้รัฐ “ยกเลิกบัตรทอง” ในอนาคตหรือไม่ หรือว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นร่างที่ครอบคลุมการดูแลสุขภาพประชาชน “ตั้งแต่ท้องแม่จนถึงแก่เฒ่า” ตามคำขวัญที่โฆษณากัน         #ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย อธิบายว่า ร่างรัฐธรรมนูญมีเจตนารมณ์ที่ไม่เคารพต่อสิทธิประชาชนที่ต้องได้รับการดูแลจากรัฐทั่วถึงและเท่าเทียม เพราะการที่ระบุไว้ว่า บุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตามที่กฎหมายบัญญัติ เท่ากับเป็นการเขียนเช็คเปล่าให้กับระบบ และกับนักการเมืองที่จะก้าวขึ้นมา หากเมื่อไหร่กังวลว่างบประมาณของประเทศจะถูกใช้ด้านการรักษาพยาบาลมากเกินไป ก็ไม่ต้องมีพันธะผูกพันการจัดสวัสดิการรักษาพยาบาลให้กับประชาชน และอาจให้มีการเรียกเก็บเงินได้ และระบบจะกลับไปสู่การสงเคราะห์หรือไม่สงเคราะห์ก็ได้         #ฝ่ายสนับสนุน อธิบายว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้มีการตัดสิทธิของประชาชน แต่ในทางกลับกัน เป็นการเพิ่มสิทธิ โดยเฉพาะในสิทธิประโยชน์ทางด้านสาธารณสุข และระบบบัตรทองไม่เคยถูกระบุไว้ในรัฐธรรมนูญมาก่อน ซึ่ง กรธ.เพียงแค่กำหนดไว้เพียงว่า ผู้ยากไร้ต้องได้รับการดูแลทางด้านสาธารณสุขอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ยังต้องคำนึงถึงความเป็นได้ในการดำเนินการด้วยเช่นกัน   หากเปิดร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติมาเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 จะพบว่า มีบางอย่างขาดหายไป อันได้แก่         หนึ่ง สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วม "ในการคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่อย่างปกติ และต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของคน"         สอง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ "ไม่มีการเขียนถึง สิทธิแสดงความคิดเห็นของบุคคลต่อการดำเนินโครงการต่างๆ ของรัฐ" แต่กลับเปลี่ยนการเสนอความคิดเห็นโดยการเข้าชื่อกัน และเขียนหมวด "หน้าที่ของรัฐ" ให้รัฐต้องรับฟังความคิดเห็นก่อนดำเนินโครงการที่มีผลกระทบ "อย่างรุนแรง" และสาม องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ที่ทำหน้าที่ปกป้อง คุ้มครองผลกระทบต่อชุมชน ได้ถูกตัดออกไปจากร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ   ในร่างรัฐธรรมนูญมีชัย สิทธิของผู้บริโภคและการจัดตั้งองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากรัฐอาจจะยากขึ้นไป         มาตรา46 กำหนดสิทธิของผู้บริโภคว่าย่อมได้รับการคุ้มครอง บุคคลย่อมมีสิทธิรวมกันจัดตั้งองค์กรของผู้บริโภคเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคที่มีความเป็นอิสระเพื่อให้เกิดพลังในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคโดยการสนับสนุนจากรัฐ ทั้งนี้หลักเกณฑ์และวิธีการจัดตั้ง อำนาจในการเป็นตัวแทนของผู้บริโภค และการสนับสนุนด้านการเงินจากรัฐ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ" ข้อกังวลใหญ่ ของภาคประชาชนเรื่อง องค์กรอิสระเพื่อผู้บริโภค         ความเห็นของ จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธาน คอบช. มองว่าการเขียนร่างรัฐธรรมนูญในการจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อผู้บริโภคแบบนี้ เท่ากับมองว่าปัจจุบันเราไม่มีองค์กรผู้บริโภคเลย ผู้บริโภคต้องไปรวมตัวกันก่อนจึงจะสามารถไปรวมตัวกันให้ความเห็นกับรัฐ โดยให้รัฐออกกฎหมายว่าจะให้เป็นตัวแทนอย่างไร ในเรื่องอะไรบ้าง         ส่วนความเห็นของ สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธีเพื่อผู้บริโภค มองว่า ถ้าหากย้อนกลับไปดูรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 ซึ่งมีการกำหนดให้มีการตั้งองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ก็ยังไม่สามารถตั้งได้เลยจนผ่านมาถึง 19 ปีแล้ว และร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2559 นี้ ยิ่งไม่มีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญอีก ก็ยิ่งไม่มีหวัง             สิทธิแรงงาน เป็นหนึ่งหลายประเด็นที่ยังไม่มีการพูดถึงมากนัก ในร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 เน้นชัดว่าเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะทำให้สิทธิเกิดขึ้นจริง ขาดหายไป ขณะที่เปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญปี 2540 หรือ 2550 มีความกังวลกันว่าสิทธิที่เคยได้รับการคุ้มครองในอดีตจะหายไปหรือไม่           ข้อดี ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือ การคุ้มครองความปลอดภัยและสุขภาพของผู้ใช้แรงงาน และบังคับให้รัฐสนับสนุนเรื่องการออมของแรงงานเพื่อการำรงชีพหลังวัยทำงานซึ่งเป็นเรื่องดีเพราะสิทธิแรงงานได้ขยายครอบคลุมถึงการดำรงชีพหลังวัยทำงานเป็นครั้งแรก           ข้อเสีย สิทธิรวมตัวของแรงงานกร่างรัฐธรรมนูญนี้ได้ทำให้เกิดความไม่แน่นอนและไม่มีหลักประกันใดๆ ให้กับแรงงานและเปิดช่องให้รัฐและนายจ้างละเมิดสิทธิได้ง่ายขึ้น เพราะคำว่าหมู่คณะอื่นไม่มีความชัดเจนเพียงพอ และ รัฐธรรมนูญนี้ได้ตัดคำว่า “อย่างเป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ” ออก และเปลี่ยนไปใช้คำว่า “อย่างเหมาะสมในการดำรงชีพ” แทน อาจจะก่อให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อการตีความว่า ดังนั้น “อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ” ของผู้ใช้แรงงานแต่ละพื้นที่ก็ควรไม่เท่ากันด้วย ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นจะยิ่งสร้างความไม่เป็นธรรมให้ผู้ใช้แรงงานมากยิ่งขึ้น                   หนึ่งในประเด็นที่น่าจะหยิบมาถกเถียงกันมากที่สุดก็คือเรื่องศาสนา เพราะ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติกำหนดว่า "ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทย ส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา" หรือถ้าจะให้สรุปอย่างง่ายๆ ก็คือ ให้รัฐสนับสนุนพุทธเถรวาท นั่นเอง อย่างไรก็ดี การเขียนในร่างรัฐธรรมนูญเช่นนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมากว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญให้ความสำคัญกับพุทธศาสนา" เป็นพิเศษ                อีกประเด็นในร่างรัฐธรรมนูญที่ใกล้ตัวเรา ส่งผลกระทบชัดเจนแต่ไม่ค่อยมีใครสนใจก็คือบทบาท การกระจายอำนาจ จากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น โดยจากเปรียบเทียบร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2559 กับการเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 และ 2550 ในประเด็นการกระจายอำนาจจะเห็นว่า ที่มาและอำนาจหน้าที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ในรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ท้องถิ่นมีอำนาจอิสระในการกำหนดนโยบายการปกครอง การบริหาร การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง การจัดบริการสาธารณะ ส่วนร่างรัฐธรรมนูญ 2559 กำหนดอำนาจท้องถิ่นว่าให้จัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ขั้นตอนและแบบแผนการกระจายอำนาจ รัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 กำหนดให้มีกฎหมายที่กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ เพื่อการกระจายอำนาจที่เพิ่มขึ้นของท้องถิ่น ส่วนร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ไม่ได้กำหนดไว้ คุณสมบัติของสภาและผู้บริหารท้องถิ่น ร่างรัฐธรรมนูญ 2559 กำหนดที่มาสภาและผู้บริหารท้องถิ่นต้องมาจากเลือกตั้ง ยกเว้นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษให้มาวิธีอื่นได้ ส่วนรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ตั้งเลือกตั้งเท่านั้น ขณะที่คุณสมบัติของคณะผู้บริหารท้องถิ่นถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ว่าห้ามข้าราชการประจำดำรงตำแหน่ง และมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ส่วนร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ไม่ได้กำหนดไว้ ขั้นตอนการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ เขียนไว้ใน มาตรา 178 #ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ #ลงประชามติ ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญปี 50 แต่มีรายละเอียดหลายอย่างที่เขียนใหม่และต่างไป        ก่อนหน้านี้ ถ้ารัฐบาลจะลงนามในข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีผลต่อเศรษฐกิจและสังคม เช่น ข้อตกลง FTA รัฐบาลจะทำไปโดยพลการไม่ได้ ต้องให้ข้อมูลประชาชนและจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนประก่อนการดำเนินการ ต้องเสนอกรอบการเจรจาให้รัฐสภาเห็นชอบ สุดท้ายต้องให้รัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนตัดสินใจ ตามร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับของมีชัย ฤชุพันธุ์ ตัดขั้นตอนในการทำหนังสือสัญญาออกไปบางประเด็น ได้แก่         1) การกำหนดให้รัฐบาลต้องให้ข้อมูล และรับฟังความคิดเห็นขอประชาชนก่อนการดำเนินการ         2) การกำหนดให้รัฐบาลต้องชี้แจงต่อรัฐสภา และเสนอกรอบการเจรจาให้รัฐสภาเห็นชอบก่อนการดำเนินการ         3) การกำหนดให้รัฐบาลต้องเปิดให้ประชาชนเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญาได้          สำหรับสิทธิในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนซึ่งเดิมรัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดให้รัฐบาลต้องทำ "ก่อน" การดำเนินการเจรจาหรือลงนามข้อตกลงใดๆ แต่ตามร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ไม่ได้บังคับให้รัฐบาลต้องให้ข้อมูลและรับฟังประชาชนก่อน แต่เขียนไว้ว่าให้ออกกฎหมายกำหนดวิธีการที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมได้ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวยังไม่แน่ว่าจะทำเสร็จภายในระยะเวลาเท่าใด และยังไม่แน่ว่าจะกำหนดหน้าที่การรับฟังไว้อย่างไรบ้าง และไม่แน่ว่าจะให้รัฐบาลต้องรับฟัง "ก่อน" เริ่มดำเนินการ หรือรับฟังในขั้นตอนใด         สำหรับประเด็นการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น ก็เขียนไว้ว่าให้ออกเป็นกฎหมายเช่นกัน ซึ่งตามร่างรัฐธรรมนูญเขียนไว้เพียงว่า การเยียวยา "ที่จำเป็น" ต่างจากรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่กำหนดว่า ต้องเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ "อย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม" ประเด็นนี้เป็นสาเหตุที่ เครือข่าย FTA Watch ประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้   ปัจจัยชี้ขาดอย่างหนึ่งที่จะทำให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ผ่านหรือไม่ผ่านประชามติครั้งนี้ คือ เนื้อหาในส่วนของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื้อหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญของร่างนี้นับว่าซับซ้อนกว่ารัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ประเด็นหลัก คือ เมื่อมีการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต่อรัฐสภา วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ กำหนดว่าจะต้องได้เสียงเห็นชอบเกินครึ่งหนึ่งของทั้งสองสภา โดยต้องมี ส.ว.เห็นชอบ ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวน ส.ว.ที่มีอยู่ วาระที่ 3 ขั้นเห็นชอบ ต้องมี ส.ส.จากพรรคที่ไม่มีสมาชิกเป็นรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรองประธานผู้แทนราษฎร เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน ถ้าเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ยิ่งพบว่าการแก้รัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติเป็นไปได้ยากกว่าเดิมมาก เพราะฉบับ 2540 และ 2550 ใช้เสียงข้างมากธรรมดา และไม่มีการแบ่งแยก ส.ส. และ ส.ว. ส่วนกรณีที่จะแก้ไขเกี่ยวกับหมวดบททั่วไป หมวดพระมหากษัตริย์ หมวดการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ หรือเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของศาลหรือองค์กรอิสระ ต้องจัดทำประชามติก่อน หากผลประชามติเห็นชอบ จึงจะดำเนินการแก้ไขได้ อย่างไรก็ตาม ส.ส.หรือ ส.ว.หรือทั้งสองสภารวมกัน จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของแต่ละสภา หรือทั้งสองสภารวมกัน สามารถเข้าชื่อเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐหรือไม่ หรือเป็นเรื่องที่ต้องทำประชามติก่อนหรือไม่ การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญ เพราะไม่ว่ารัฐธรรมนูญจะเขียนออกมาดีหรือไม่แค่ไหน แต่หากไม่เปิดทางให้แก้ไขได้ความหวังที่จะปรับปรุงรัฐธรรมนูญให้ดีขึ้นเพื่อเข้ากับสภาพสังคม เศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา ก็มีโอกาสจะทำให้สังคมนั้นเผชิญหน้ากับวิกฤติในอนาคต อีกหนึ่งประเด็นใหญ่ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนวันลงประชามติ ที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงสับสนคงหนีไม่พ้นเรื่องคำถามพ่วง ที่มีเสียงท้วงติงมาว่ายาวเกินไป สร้างความสับสน และค่อนข้างชี้นำ คำถามพ่วง มีความหมายว่า "ให้ส.ว.ร่วมกับส.ส.โหวตเลือกนายกฯ ในช่วง 5 ปีแรก" โดยวัตถุประสงค์เพื่อความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาต เราสามารถขยายคำพ่วงไปได้อีกสี่ประเด็น คือ     1) หลักการของคำถามพ่วงที่ สนช.เสนอไปนั้น เขียนว่าให้ "ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา" พิจารณาเลือกนายกรัฐมนตรี หมายความว่าให้ ทั้ง ส.ส. 500 คน และ ส.ว. อีก 250 คน ลงมติร่วมกันเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี     2) ตามร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดว่า ในวาระเริ่มแรกให้อำนาจคสช. ในการตัดสินใจเลือก ส.ว. ทั้ง 250 คน และระบบเลือกตั้งตามร่างรัฐธรรมนูญ ก็กำหนดวิธีการแบ่งเก้าอี้ส.ส.ไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มีพรรคการเมืองใหญ่ที่มีส.ส.มากเกินไป จึงเป็นไปได้ยากมากที่จะมีพรรคการเมืองใดได้ส.ส.มากกว่า 250 ที่นั่ง ดังนั้น "ในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา" อันประกอบด้วยทั้ง ส.ส.และส.ว. หาก ส.ว. ทั้ง 250 คนลงคะแนนเสียงไปทางเดียวกันทั้งหมด ก็มีโอกาสไม่น้อยที่จะเป็นเสียงชี้ขาดในการเลือกนายกรัฐมนตรี     3) การที่คำถามพ่วง กำหนดว่าให้ใช้ "ในระหว่าง 5 ปีแรก" หมายความว่า ให้ทั้ง ส.ส. และ ส.ว. ร่วมกันเลือกนายกรัฐมนตรี ในช่วง 5 ปีแรกนับตั้งแต่มีการเลือกตั้งและมีรัฐสภาชุดแรก โดยไม่จำกัดว่าจะให้เลือกนายกรัฐมนตรีกี่คน หากภายในระยะเวลา 5 ปีแรกนายกรัฐมนตรีที่เข้ารับตำแหน่งลาออก หรือต้องยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ หรือต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอื่น ส.ส.และส.ว.ก็ยังจะร่วมกันเลือกนายกรัฐมนตรีคนต่อไปภายในระยะเวลานี้ ไม่ว่าจะต้องเลือกกี่คนก็ตา     4) ส่วนที่กำหนดเป็นวัตถุประสงค์ของคำถามพ่วงไว้ว่า "เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ" นั้น "แผนยุทธศาสตร์ชาติ" ที่อ้างถึง ปัจจุบันยังไม่ได้จัดทำขึ้นจึงยังไม่ทราบแน่ชัดว่าการปฏิรูปประเทศให้ต่อเนื่องนั้นจะเป็นไปในทิศทางใด อย่างไรก็ตามร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 275 กำหนดให้ คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันเป็นผู้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติขึ้น และมาตรา 162 กำหนดว่า คณะรัฐมนตรีชุดใหม่หลังการเลือกตั้งจะต้องแถลงนโยบายซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้วย   VDO : คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ, รู้ก่อนด่า รธน.2559, โชคประเสริฐแสง วิศวกรรม Info & Infographic : ILAW
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon