realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รื้อสถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นโครงการ Mixed-use มูลค่ากว่า 100,000 ลบ.

18 Nov 2021 1.1K

รื้อสถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นโครงการ Mixed-use มูลค่ากว่า 100,000 ลบ.

18 Nov 2021 1.1K
 

รื้อสถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นโครงการ Mixed-use มูลค่า 100,000 ลบ. เปิดให้เอกชนร่วมลงทุน

ปิดตำนาน 105 ปี สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ย้ายทุกขบวนรถไฟสู่ “สถานีกลางบางซื่อ” ในเดือนพฤศจิกายน 2564 รฟท.เตรียมปรับผังหัวลำโพงครั้งใหญ่กลายเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์และพื้นที่สาธารณะในอนาคต
รายงานข่าวจาก รฟท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ รฟท.กำลังเร่งมือกับการปรับสีผังเมือบริเวณสถานีหัวลำโพงจากพื้นที่สีน้ำเงิน เป็นพื้นที่สีเเดง ( พท.สีน้ำเงิน = พท.หน่วยงานราชการไม่สามารถนำมาพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้  /พท.สีเเดง = พท.พาณิชยกรรม + ที่อยู่อาศัยเเบบหนาเเน่น ) เพื่อให้สามารถจูงใจให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนและได้รับผลตอบแทนจากการทุนในพื้นที่นี้ด้วย
รฟท. ได้มอบหมายให้ บริษัท เอสอาร์ที เเอสเสท จำกัด บริษัทลูกจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่หัวลำโพง และนำเสนอแนวทางให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาภายใน ธ.ค.2564
รายงานข่าวจาก ฐานเศรษฐกิจ กล่าวว่า ทางที่ปรึกษาเสนอให้มีการพัฒนานำร่องก่อนในระยะสั้น ช่วง 3-5 ปี (64-68) เฉพาะโซน A, B และ C แต่ทางกระทรวงคมนาคมได้มีข้อท้วงติง โดยขอให้บริษัท เอสอาร์ที กลับไปจัดทำแผนพัฒนาทั้ง 5 โซนพร้อมกันเพื่อเปรียบเทียบความคุ้มค่า
เพราะกระทรวงคมนาคมมองว่าการเปิดประมูลที่ดินผืนใหญ่ผืนเดียวจะจูงใจให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนมากกว่าการซอยแปลงย่อยประมูล ทั้งนี้กระทรวงคมนาคม ได้ขอให้บริษัท เอสอาร์ที ปรับแผนพัฒนาที่ดินโซน D ให้เป็นพื้นที่แนวดิ่ง เป็นคอมมูนิตี้มอลหรือตลาด เพื่อให้มีการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า และสร้างรายได้สูงสุดให้กับ รฟท.
 

สำหรับแนวทางการพัฒนาพื้นที่ของหัวลำโพง 120 ไร่ ล่าสุด แบ่งออกเป็น 5 โซน ประกอบไปด้วย

[ โซน A ]  บริเวณอาคารสถานีหัวลำโพง พื้นที่สาธารณะ (16 ไร่ 1,920 ลบ.) พัฒนาเป็น พื้นที่สาธารณประโยชน์
[ โซน B ]   อาคารสถานีกรุงเทพ หัวลำโพง (13 ไร่ 1,560 ลบ.) พัฒนาเป็นอาคารตามแนวทางอนุรักษ์
[ โซน C ]  โรงซ่อมรถรางและรถโดยสาร (22 ไร่ 2,640 ลบ.)  พัฒนาเป็นเชิงพาณิชย์ ร้านค้า ร้านอาหาร พื้นที่กิจกรรม ปรับพื้นที่เป็น water front promenade เลียบคลองผดุงกรุงเกษม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เน้นพื้นที่สีเขียว
[ โซน D ]  พื้นที่ชานชาลา ทางรถไฟ และย่านสับเปลี่ยนรถไฟ ศูนย์กลางเชื่อมระบบการสัญจรและพื้นที่ฝั่งเมือง (49 ไร่ 5,880 ลบ.) พัฒนาเป็น lifestyle mixed-use โรงแรม อาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัย คอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า พื้นที่จัดแสดงงาน
[ โซน E ]  20 ไร่ อาคารสำนักงาน ร.ฟ.ท. คลังพัสดุ (200 ไร่ 2,400 ลบ.) พัฒนาเป็น urban mixed-use โรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์กิจกรรม พื้นที่ให้ความร่มรื่น เชื่อมต่อสิ่งปลูกสร้างเชิงอนุรักษ์โครงสร้างอาคารเดิม กำหนดจุด node สำหรับกิจกรรมพิเศษหรือสวนสาธารณะ มีระยะห่างไม่เกิน 500 เมตรตลอดแนวคลอง ปรับชุมชนริมน้ำ พร้อมจัดทำทางจักรยานริมทางรถไฟ
อย่างไรก็ตามภาพของการพลิกฟื้น ‘หัวลำโพง’ ในครั้งนี้ หลายฝ่ายต่างหวังว่านี่จะเป็นแลนด์มาร์ค ขนาดใหญ่ใจกลางกรุง ที่ผสานฟังก์ชั่นของ Community Sapace กับ พื้นที่เชิงพาณิชยกรรม ไว้ด้วยกัน ผู้คนต่างสามารถใช้ประโยชน์ได้ ขณะเดียวกันก็ยังคงอัตลักษณ์พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ในฐานะสถานีรถไฟในตำนานคู่เมืองกรุงเทพฯ สุดท้ายแล้วจะออกมาในรูปแบบไหนก็ต้องติดตามกันต่อไป
   
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon