realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

อัพเดต!!! ความคืบหน้าสนามบินขอนแก่น คาดเปิด 2565 นี้

16 Oct 2018 5.6K

อัพเดต!!! ความคืบหน้าสนามบินขอนแก่น คาดเปิด 2565 นี้

16 Oct 2018 5.6K
 

อัพเดต!!! ความคืบหน้าสนามบินขอนแก่น คาดเปิด 2565 นี้

จ.ขอนแก่น ตั้งอยู่บนเส้นทางตะวันออก - ตะวันตก (East-West Economic Corridor-EWEC) ทำให้เกิดโครงการพัฒนาหลายโครงการรวมถึงการปรับปรุงท่าอากาศยานขอนแก่นให้ทันสมัยและรองรับการให้บริการที่เพิ่มมากขึ้น โดยปรับปรุงอาคารผู้โดยสารเดิมและเปิดโครงการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่
โครงการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ ท่าอากาศยานขอนแก่น ที่มีวงเงิน 2,004 ลบ. ได้ดำเนินการก่อสร้างทั้งงานก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่, อาคารจอดรถยนต์ใหม่, งานปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสารหลังเดิม และอาคารจอดรถยนต์เดิม มีความคืบหน้าของโครงการในเดือน ก.ค. 64 อยู่ที่ 81.26%
ในเดือน ต.ค.64 จะเปิดให้บริการผู้โดยสารที่อาคารที่พักผู้โดยสารใหม่ชั่วคราว เพื่อปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสารที่ใช้อยู่ให้เสร็จ คาดเปิดบริการภายในปี 65  
 
โครงการนี้ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 61 โดยอาคารที่พักผู้โดยสารใหม่สูง 4 ชั้น พื้นที่ 28,000 ตร.ม. อาคารที่พักผู้โดยสารที่ใช้ปัจจุบันจะปรับปรุงเพิ่มพื้นที่เป็น 16,500 ตร.ม. ทำให้พื้นที่ใช้สอยของทั้ง 2 อาคารรวม 44,500 ตร.ม.รองรับผู้โดยสารจาก 1,000 คน/ชม. เป็น 2,000 คน/ชม. หรือ 5 ล้านคน/ปี นอกจากนั้นอาคารจอดรถยนต์ที่ใช้อยู่ปัจจุบันและอาคารใหม่สามารถรองรับรถยนต์ได้สูงสุด 1,002 คัน
การออกแบบอาคารที่พักผู้โดยสารใหม่ เน้นความโปร่ง ไม่แออัด รวมทั้งการผสมผสานความเป็นเอกลักษณ์ของขอนแก่นด้วย ทั้งเรื่องสถาปัตกรรมท้องถิ่น ลายของผ้ามัดหมี่ รวมทั้งฝ้าเพดานที่ได้แรงบันดาลใจจากโครงกระดูกของไดโนเสาร์ที่ถือว่าเป็นเรื่องขึ้นชื่อของขอนแก่น เป็นการออกแบบเพื่อแสดงถึงความเป็นไทยและเอกลักษณ์ของขอนแก่นที่สร้างความประทับใจให้แก่ผู้โดยสารนั่นเอง
 

ความคืบหน้าโครงการ

โดยกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ได้เปิดประมูลให้เช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสารใหม่บางส่วน ระยะสั้นสัญญา 1 ปี ประมาณ 1,314.03 ตร.ม. รวม 31 ล็อก จากพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั้งหมด 4,439.75 ตร.ม. รวม 112 ล็อก เมื่อโครงการเสร็จทั้งหมดจะเปิดประมูลพื้นที่ทั้งหมดและหาผู้ประกอบการใหม่อีกครั้งตามลักเกณฑ์ใหม่ของกรมธนารักษ์
โดยพื้นที่เชิงพาณิชย์นี้แบ่งเป็น ร้านค้าทั่วไป 70% และร้านค้าขายสินค้าชุมชน สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการท้องถิ่น 30% ค่าเช่าเฉลี่ยประมาณ 200 - 500 บ./ตร.ม. ขึ้นอยู่กับขนาดและที่ตั้งของร้านค้า
เดือน ก.ย. 64 ได้ผู้ประกอบการจากการเปิดประมูล และ ให้เข้าพื้นที่มาจัดเตรียมร้านค้าเพื่อรองรับผู้โดยสารที่ใช้บริการในอาคารที่พักผู้โดยสารใหม่เป็นการชั่วคราวในเดือนต.ค.64 ซึ่งจะต้องควบคุมราคาสินค้าให้ไม่สูงเกินกว่าปกติ
 
 

โครงการพัฒนาสนามบินขอนแก่น

Info : กรมท่าอากาศยาน
เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 61 กรมท่าอากาศยานได้จัดงานแถลงข่าวเซ็นสัญญาก่อสร้างอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานกระบี่และขอนแก่น กับบริษัท คริสเตียนนี และ นีลสัน (ไทย) จำกัดมหาชน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน ในปีงบประมาณ 61 โครงการพัฒนาท่าอากาศยานขอนแก่น (ก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร) เป็น 1 ใน 44 โครงการที่เกิดขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ กรอบวงเงินลงทุนรวม 2,021,283.52 ล้านบาท คาดเปิด 2565

ความเป็นมาและเป้าหมายของโครงการ

Info : กรมท่าอากาศยาน
Info : กรมท่าอากาศยาน
เมื่อดูจากข้อมูลตัวเลขก็จะเห็นได้ทันทีว่าจำนวนคนผู้โดยสารและเที่ยวบินพาณิชย์ของท่าอากาศยานขอนแก่นนั้นเพิ่มสูงขึ้นมาจากเดิมเยอะและมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากจำนวนเที่ยวบินพาณิชย์ในปี 2552 มีอยู่ที่ประมาณเพียง 2,000 เที่ยวบิน/ปี มาถึงในปี 2560 มีเพิ่มขึ้นจนเกือบถึง 14,000 เที่ยวบิน/ปี จำนวนผู้โดยสารในปีดังกล่าวก็เพิ่มจากประมาณ 400,000 คน/ปี มาอยู่ที่ประมาณ 1,700,000 คน/ปี
จากสถิติ 5 ปีย้อนหลัง ระหว่าง 2556 - 2560 มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 20 % ต่อปี ซึ่งเกินขีดความสามารถในการรองรับของสนามบิน การเตรียมตัวเพื่อรองรับต่อการเพิ่มขึ้นของผู้โดยสารในอนาคตจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
ช่วงเทศกาลอย่างเทศกาลปีใหม่ถือเป็นช่วงที่น่าจะมีผู้โดยสารและเที่ยวบินมากที่สุดในรอบปี จากการสรุปสถิติระหว่างปี 2558-2560 ออกมาจะเห็นว่าจำนวนผู้โดยสารและเที่ยวบินเพิ่มขึ้นสูงจริง

มีอะไรใหม่ในสนามบิน

EXISTING PLAN vs NEW PLAN

ศักยภาพของสนามบินขอนแก่นในปัจจุบันมีพื้นที่ 1,113 ไร่ ความยาวทางวิ่ง 3,050 เมตร มีลานจอดเครื่องบินที่สามารถจุเครื่องบิน boeing 737 ได้ 5 ลำในเวลาเดียวกัน มีอาคารที่พักผู้โดยสารที่สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 1,000 คน/ชม. ซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้งานที่เพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในโครงการพัฒนาสนามบินขอนแก่นจึงเน้นไปที่การปรับปรุงก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ให้มีความจุเพิ่มขึ้น รวมถึงขยายพื้นที่ลานจอดเครื่องบิน และ อาคารจอดรถ นอกจากนี้ยังมีการยกย้ายบ้านพักเจ้าหน้าที่ไปอยู่ในจุดที่เหมาะสมกว่าเดิม เพื่อนำพื้นที่ที่เคยเป็นบ้านพักเจ้าหน้าที่เดิมมาปรับปรุงเป็นอาคารใช้งานอื่นๆ อีกทั้งมีการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณทางเข้าสนามบิน
สนามบินเดิม • อาคารจอดรถ 660 คัน • อาคารผู้โดยสาร รองรับ 1,000 คน/ชม. • ลานจอดเครื่องบิน Boeing 737 จำนวน 5 ลำ สนามบินใหม่ • อาคารจอดรถ 1,160 คัน • อาคารผู้โดยสาร รองรับ 2,000 คน/ชม. • ลานจอดเครื่องบิน Boeing 737 จำนวน 11 ลำ

ระยะเวลาในการก่อสร้าง

ระยะเวลาก่อสร้างทั้งหมดตามแผนของโครงการคือ 30 เดือน ประกอบไปด้วย • บ้านพักเจ้าหน้าที่ จำนวน 5 หลัง : 5 เดือน • อาคารจอดรถหลังใหม่ : 17.5 เดือน • ทางเชื่อมอาคาร : 7.5 เดือน • อาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ : 20 เดือน • ปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสารหลังเก่า : 10 เดือน • งานปรับปรุงภูมิทัศน์ : 30 เดือน

ภาพบรรยากาศสนามบินขอนแก่นใหม่

ภาพบรรยากาศภายใน

ภาพบรรยากาศภายนอก

Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon