realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

สนามบินนครปฐม - สนามบินที่ 3 ใกล้กรุงเทพฯ สุด

03 Jan 2020 24.4K

สนามบินนครปฐม - สนามบินที่ 3 ใกล้กรุงเทพฯ สุด

03 Jan 2020 24.4K
 

สนามบินนครปฐม - สนามบินที่ 3 ใกล้กรุงเทพฯ สุด

ฝั่งธนฯ กำลังจะมีสนามบินแล้ว  หากชาวฝั่งธนต้องเตรียมตัวไปสนามบิน จะไม่ต้องเดินทางไปไกลถึงดอนเมืองหรือสุวรรณภูมิแล้ว เพราะว่าตอนนี้มีการศึกษาโครงการที่จะพัฒนาสนามบินพื้นที่ภาคกลางเพิ่มอีก 1 ที่ โดยที่จะตั้งอยู่บริเวณ จ.นครปฐม ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ เทียบแล้วคนฝั่งธนเดินทางใกล้กว่าเดินทางไป สุวรรณภูมิ หรือ ดอนเมืองแน่นอน แถมรถไม่ติดอีกด้วย
ปัจจุบัน ปี2562 ดำเนินการมาถึงการรับฟังความคิดเห็นทั้งส่วนของคนในพื้นที่ และเอกชนที่สนใจลงทุน ซึ่งก็ได้ตำแหน่งที่ตั้งโครงการที่เหมาะสมมาเรียบร้อยแล้ว รายละเอียดของโครงการจะเป็นอย่างไรลองไปอ่านกันต่อได้เลย

คาดการณ์แล้วสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง ขยายยังไงก็ไม่พอ!!

หลายๆ คนคงเกิดคำถามว่า สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบบินดอนเมืองมีแผนจะขยายแล้วยังไม่พออีกหรอ? ถึงต้องมีอีกสนามบิน ต้องบอกเลยว่าการพัฒนาขยายสนามบินเดิมทั้ง 2 สนามบินจะสามารถรองรับได้ระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารมีอัตราที่เพิ่มขึ้นทุกปี และสนามบินทั้ง 2 แห่งก็มีขีดจำกัดในการพัฒนาเช่นเดียวกัน จึงทำให้ต้องมีการศึกษาหาสนามบินแห่งที่ 3 เพื่อใช้ในการรองรับผู้โดยสารในอนาคต
จากแผนการขยายสนามบินของสนามบินสุวรรณภูมิ และดอนเมืองจะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ อยู่ 3 ครั้ง คือ
ปี 2567 - จะมีการขยายสนามบินดอนเมือง ระยะที่ 3 ซึ่งเป็นการรื้ออาคารเดิม และสร้างอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 3 ใหม่ขึ้นเพื่อรองรับจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นถึง 18 ล้านคน/ปี
ปี 2570 - พัฒนาอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 2 สนามบินสุวรรณภูมิ ระยะที่ 4 จะอยู่ทางด้านใต้ของสนามบินสุวรรณภูมิถัดจากอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ที่ปัจจุบันสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะเป็นส่วนที่จะขยายต่อไปยังโครงการระยะที่ 5 หรืออาคารผู้โดยสารทิศใต้ต่อไป
ปี 2573 - พัฒนาอาคารผู้โดยสารทิศใต้ และทางวิ่งที่ 4 สุวรรณภูมิ ระยะที่ 5 เป็นระยะที่สนามบินสุวรรณภูมิพัฒนาได้เต็มศักยภาพแล้ว โดยมีการก่อสร้างทางวิ่งที่ 4 และอาคารผู้โดยสารทางด้านใต้ ใกล้กับถ.บางนาตราด ซึ่งในระยะการพัฒนานี้สนามบินสุวรรณภูมิจะสามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารได้ทั้งหมด 150 ล้านคน/ปี

เชื่อมโยงกับสนามบินอื่นยังไง

การเชื่อมโยง-เข้าถึง ที่ตั้งของสนามบินนครปฐมจะอยู่ใกล้มอเตอร์เวย์ บางใหญ่- กาญจนบุรี (M81) ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้ใช้ได้ตั้งแต่ปี 2566 และมอเตอร์เวย์ ชลบุรี-สระบุรี-นครปฐม (M92) โดยสามารถเชื่อมต่อกับวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครวงที่ 2 และ 3 ได้
ปัจจุบันปริมาณการรองรับผู้โดยสารของสนามบินสุวรรณภูมิ และดอนเมืองในปี 2561 ยังไม่เพียงพอ ซึ่งหากมีการพัฒนาสนามบินนครปฐมขึ้นและเปิดใช้งานในปี 2569 คาดการณ์ว่าจะสามารถรองรับผู้โดยสารประมาณ 3.3 ล้านคน/ปี รวมถึง 30,000 เที่ยวบิน
ตำแหน่งของสนามบินนครปฐม จากผลการศึกษามีที่ตั้งทางเลือกอยู่ทัั้งหมด 7 ตำแหน่ง หลังจากวิเคราะห์และประเมินความเหมาะสมแล้วจะได้ตำแหน่งที่อยู่บริเวณระหว่าง อ.บางเลน และ อ.นครชัยศรี คือตำแหน่งที่ 2 ตามภาพ ซึ่งเมื่อเปรียบกับตำแหน่งอื่นๆ แล้วก็จะมีระยะที่ใกล้กับถนนสายหลักมากกว่า กระทบบกับความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่น้อยกว่า และมีอุปสรรค์ของเส้นทางการบิน และการก่อสร้างที่น้อยกว่าที่ดินตำแหน่งอื่นๆ
 

รองรับเครื่องบินแบบไหนบ้าง

เนื่องจากปัญหาในปัจจุบันเครื่องบินธุรกิจ (เครื่องบินส่วนตัว) ไม่มีที่จอดที่สนามบินสุวรรณภูมิ และ ดอนเมือง ทำให้ผู้โดยสารประเภทดังกล่าวต้องนำเครื่องบินไปจอดที่สนามบินอื่นทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ทำให้แนวคิดในการพัฒนาสนามบินนครปฐมนอกจากจะเพื่อรองรับเที่ยวบินพาณิชย์จากสนามบินสุวรรณภูมิ และดอนเมืองแล้ว ยังเน้นในส่วนของเครื่องบินส่วนตัวอีกด้วย
โดยการคาดการณ์เมื่อสนามบินนครปฐมมีการพัฒนาที่เต็มศักยภาพแล้ว จะสามารถรองรับเครื่องบินพาณิชย์ได้ถึง 144,000 เที่ยวบิน และเครื่องบินธุรกิจได้ 11,800 เที่ยวบิน โดยเที่ยวบินพาณิชย์ 1 เที่ยวบินจะมีผู้โดยสารเฉลี่ยที่ 200 คน และเครื่องบินธุรกิจจะมีจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยที่ 3 คนต่อเที่ยว

ข้างในมีอะไรบ้าง

  พื้นที่สนามบินมีขนาดประมาณ 5 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,500 ไร่ วางตัวตามแนวเหนือ-ใต้ มีทางเข้า-ออก 2 ทาง ภายในสนามบิน มีอาคารผู้โดยสาร 3 อาคาร รวมพื้นที่ประมาณ 115,740 ตารางเมตร ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปทรงครึ่งวงกลม และมีสะพานเทียบ และหลุมจอดอยู่รอบๆ รวม 24 หลุมจอด ถัดไปทางด้านข้างจะเป็นหลุมจอดเครื่องบินธุรกิจ เฮลิคอปเตอร์ และอาคารปฎิบัติการ FBO สำหรับเครื่องบินเชิงธุรกิจ หรือเครื่องบินส่วนตัว
 
รูปแบบของอาคารผู้โดยสารมีทั้งหมด 3 อาคาร มีลานจอดรถอยู่ด้านหลัง ด้วยลักษณะของอาคารผู้โดยสารที่มีความแตกต่างจากสนามบินแห่งอื่นที่มักจะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งรูปทรงครึ่งวงกลมนี้สามารถช่วยลดระยะเวลาในการเดินจากส่วนเคาน์เตอร์เช็คอินกับตัวเครื่องบินให้สั้นลงได้
อาคาร FBO (Fixed Base Operation) สำหรับเครื่องบินส่วนตัวตามผังแม่บทจะพบว่ามีอาคาร FBO อยู่ 16 อาคาร ซึ่งภายในอาคารจะประกอบไปด้วยโรงเก็บเครื่องบินส่วนตัว ห้องรับรองสำหรับผู้ใช้บริการ และลูกเรือ รวบรวมสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการใช้บริการของเครื่องบินเชิงธุรกิจหรือเครื่องบินส่วนตัว
โดยสรุปแล้วสนามบินนครปฐม จะสามารถจอดเครื่องบินประเภทต่างๆได้ดังนี้
เครื่องบินพาณิชย์ได้ทั้งหมด 34 ลำ เป็นหลุมจอดที่เชื่อมกับอาคารผู้โดยสาร 24 ลำ ลานจอดระยะยาว 8 ลำ และลานจอดฉุกเฉิน 2 ลำ
เครื่องบินธุรกิจ หรือ เครื่องบินส่วนตัว ทั้งหมด 112 ลำ
เฮลิคอปเตอร์ ทั้งหมด 16 ลำ
ส่วนของอาคารผู้โดยสารสามารถรองรับได้ 5,100 คน/ชั่วโมง และมีที่จอดรถทั้งที่เป็นลาน และอาคารอยู่ทั้งหมดที่ 4,200 คัน

กรอบระยะเวลาคร่าวๆ

กรอบระยะเวลาทั้งหมดตั้งแต่ริ่มการศึกษาไปจนถึงก่อสร้างเสร็จจะใช้เวลาคร่าวๆ ที่ 8 ปี และสัญญาการบริหารโครงการจะมีระยะเวลาอยู่ที่ 30 ปี
รูปแบบการลงทุนเป็นลักษณะของ รัฐ-เอกชนร่วมลงทุนกัน Public-Private Partnership มีอยู่หลายทางเลือก โดยรัฐจะลงทุนในที่ดินเป็นหลัก และในแต่ละกรณีก็จะแตกต่างกันในเรื่องสัดส่วนของการการลงทุนส่วนของการก่อสร้าง
  • กรณีที่ 1 รัฐลงทุนที่ดินอย่างเดียว และเอกชนลงทุนส่วนของการก่อสร้างทั้งหมด
  • กรณีที่ 2 รัฐลงทุนที่ดิน และงานระบบงานโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนเอกชนลงทุนในอาคารผู้โดยสาร อาคาร FBO และลานจอดเครื่องบิน
  • กรณีที่ 3 รัฐลงทุนในที่ดิน ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และลานจอดเครื่องบินพาณิชย์ ส่วนเอกชนลงทุนในอาคารผู้โดยสาร อาคาร FBO และ ลานจอดเครื่องบินธุรกิจ

เสียงการคัดค้านของคนในพื้นที่

ผลกระทบของโครงการที่มีแน่ๆ คือมลภาวะทางเสียงซึ่งเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอนอยู่แล้ว แต่ส่วนที่ชาวบ้านในพื้นที่ร้องเรียนคือ เนื่องจากพื้นที่โดยรอบโครงการเป็นพื้นที่การเกษตรเป็นพื้นที่รองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก ซึ่งการสร้างสนามบินอาจทำให้พื้นที่สีเขียวลดลง และเกิดน้ำท่วมซ้ำซากได้ ส่วนในประเด็นอื่นๆ คือผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการเกษตรกรรมของคนในพื้นที่ที่มีความกังวลว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งการเชื่อมต่อสนามบินกับระบบนส่งมวลชนอื่นๆ
นอกจากนั้นพื้นที่โครงการยังเป็นพื้นที่อยู่อาศัย  และพื้นที่ทำกินมาหลายช่วงอายุคนแล้ว ซึ่งหากโครงการจะดำเนินต่อไปก็อาจจะกระทบความเป็นอยู่วิถีชีวิตของชาวบ้าน อย่างไรก็ตามในขั้นตอนต่อไปจะเป็นกระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งก็ต้องทำการศึกษาเพื่อหาคำตอบให้กับประชาชนในในพื้นที่ให้ได้

PRESENTATION สนามบินนครปฐม

 
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon