realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

สวนหลวง ร.9

30 Oct 2000 1.8K

สวนหลวง ร.9

30 Oct 2000 1.8K
 
สวนหลวง ร.9 เกิดจากการที่คณะรัฐมนตรีได้ร่วมประชุมหารือกัน ว่าควรมีการสร้างบางสิ่งบางอย่างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแก่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ท่านทรงงานเพื่อประชาชนชาวไทยอย่างหนักและยาวนาน ช่วยบรรเทาปัญหาและความทุกข์ยากของประชาชน ในศุภมงคลสมัยเจริญพระชนมพรรษาครบรอบ 60 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530
จนกระทั่งได้ข้อตกลงว่า จะสร้างเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ระดับเมือง ในทุ่งหนองบอน ที่ทางกรุงเทพมหานครจัดหาให้ ซึ่งเดิมพื้นที่แห่งนี้ไม่ได้ต่อกันเป็นผืนเดียว แต่มีหลายโฉนดปะปนกับพื้นที่ของเอกชน จึงมีการแลกเปลี่ยนที่ดินและระดมทุนจัดซื้อที่ดิน จนได้พื้นที่ขนาดใหญ่กว่า 500 ไร่ เกิดเป็น สวนสาธารณะและสวนพฤกษศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร รวมถึงเป็นพื้นที่สำคัญในการให้ความรู้ทางด้านพฤกษศาสตร์ 
 

PROJECT

โครงการ : อุทยานสวนหลวง ร.9 KING RAMA IX PARK สถานที่ตั้ง :  ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กทม. พิกัด : 13°41'18.2"N 100°39'49.9"E ขนาด : เนื้อที่ทั้งหมด 500 ไร่ แบ่งเป็นสวนพฤกษศาสตร์ 150 ไร่ วันเปิดทำการวันแรก : 1 ธันวาคม 2530 สถานที่สำคัญภายในสวน : หอรัชมงคล โดมพันธุ์ไม้ทะเลทราย สวนนานาชาติ ตระพังแก้ว

FACT

จุดประสงค์ : น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแก่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในศุภมงคลสมัยเจริญพระชนมพรรษาครบรอบ 60 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ประโยชน์และความสำคัญต่อเมือง : 1. เพื่อเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ นันทนาการ และให้ความรู้ทางด้านพฤกษศาสตร์ 2. เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กทม. โดยทำหน้าที่เป็นแก้มลิง แหล่งพักน้ำขนาดใหญ่จากกทม.ก่อนระบายลงสู่ทะเล

DETAIL

กิจกรรม :  การเดิน-วิ่ง การเต้นแอโรบิก การรำกระบี่กระบอง การรำมวยจีน โยคะ รวมถึงมีสวนสุขภาพ ซึ่งมีอุปกรณ์สำหรับออกกำลังกาย ทั้งของเด็กและผู้ใหญ่ สวนกลสำหรับฝึกสมอง มีจักรยานน้ำและเรือพาย สำหรับออกกำลังและพักผ่อน เวลาเปิดทำการ : เปิดให้เข้าชมสวนทุกวันตั้งแต่เวลา 05.00 – 19.00 น.  รถประจำทางที่ผ่าน : สาย 2, 25, 38, 83, 133, 145, 207, ปอ.13, ปอ.8, ปอ. 11, ปอ.7
 
อุทยานสวนหลวง ร.9 ตั้งอยู่ที่ ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กทม. โดยเลือกพื้นที่ทุ่งหนองบอนแห่งนี้ เพราะสืบเนื่องจากเหตุการณ์น้ำท่วม ปีพ.ศ.2523 ในหลวง ร.9 เสด็จไปทอดพระเนตรเห็นความลำบากของประชาชนและปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในชุมชนหนองบอนที่เกิดขึ้นบ่อย เนื่องจาก การระบายน้ำทางด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและอ่าวไทยทำได้ยาก เพราะด้านตะวันออกเป็นฝั่งที่ลุ่ม  จึงทรงมีพระราชดำริอยากให้น้ำระบายลงคลองหนองบอน เพื่อเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว เมื่อจัดการเรื่องพื้นที่เรียบร้อย จึงได้มีการเชิญ ศ.กิตติคุณ เดชา ให้ช่วยวางแผนและเขียนผังแม่บท เพื่อถวายผ่านทาง ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล การก่อสร้างสวนหลวง ร.9 เป็นการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ลุ่มและรกร้าง ซึ่งมีศักยภาพเป็นพื้นที่รองรับน้ำของเมือง ให้เป็นพื้นที่พักน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในกทม. จึงได้มีการออกแบบให้มีการปรับระดับพื้นที่ภายในสวนให้มีพื้นที่เก็บน้ำ
 

แนวความคิดการจัดการพื้นที่สวนหลวง ร.9 เป็นแนวคิดจากในหลวง ร.9  พระองค์มีแนวคิดการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use) ที่มีหลักการเดียวกันกับต่างประเทศ ที่มีการวางแผนพัฒนาที่ดินจากธรรมชาติ คือมีการสร้างตามแบบแผน โดยไม่เปลี่ยนแปลงธรรมชาติโดยรอบมากนัก แต่เดิมมีแนวคิดจะทำเป็นสวนน้ำง่ายๆ ไม่ต้องใช้งบประมาณมากนัก แต่ด้วยพระปรีชาสามารถในการวางแผนและมองการณ์ไกลของพระองค์ จึงมีพระประสงค์อยากให้โครงการนี้ เป็นโครงการที่สามารถช่วยลดปัญหาน้ำท่วมแก่ประชาชนในระยะยาว เกิดเป็นแนวคิดใหม่ที่ต้องกลับมาคิดและวางแผน จึงเปลี่ยนการดำเนินการก่อสร้างคือไม่ถม แต่จะสร้างเป็นคันดินขึ้นมาแทนเพื่อใช้เก็บกักน้ำ ทำให้ประหยัดค่าถมดินและค่าทำระบบระบายน้ำไปได้มาก โดยน้อมนำมาจากแนวคิดในพระราชดำริ “โครงการแก้มลิง”
โดยภายในสวนหลวง ร.9 จะมีส่วนที่เรียกว่า "ตระพังแก้ว" เป็นบ่อพักน้ำภายในสวน ในขณะเดียวกัน ก็สร้างความเย็นสบาย เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และสร้างทัศนียภาพที่สวยงาม  นอกจากจากนี้ ยังมีส่วนของ "บึงหนองบอน" ซึ่งเป็นพื้นที่เก็บน้ำเพิ่มเติมขนาดใหญ่ เริ่มขุดเมื่อปี พ.ศ. 2536 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2542 เป็นพื้นที่ 644 ไร่ มีความลึก 10 ม. สามารถเก็บน้ำได้มากถึง 5 ล้าน ลบ.ม.
บึงหนองบอน นอกจากจะเป็นพื้นที่เก็บน้ำสำคัญแล้ว ยังเป็นพื้นที่นันทนาการ ได้รับการพัฒนาเป็น ศูนย์กีฬาทางน้ำบึงหนองบอน ศูนย์กีฬาทางน้ำแห่งแรกของกรุงเทพมหานคร ยังมีส่วนจัดนิทรรศการน้ำคือชีวิตอีกด้วย นอกจากนี้ ยังเป็น แหล่งอาหารและแหล่งพึ่งพิงของสัตว์นานาชนิด เช่น นกกระยาง นับว่าเป็นการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่า 

ทัศนียภาพบริเวณตระพังแก้ว ด้านหน้าหอรัชมงคล ที่มา : zodiactor

 

เมื่อมีแนวคิดให้ทุ่งหนองบอนเป็นแก้มลิงของชาวกทม.ฝั่งตะวันออก จึงเกิดเป็น บึงหนองบอนและตระพังแก้ว บ่อพักน้ำภายในสวนหลวง ร.9 โดย “โครงการแก้มลิง” เป็นโครงการบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับพื้นที่หน่วงน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ซึ่งมีแนวคิดมาจาก “ลิง” ที่อมกล้วยไปไว้ในปากครั้งละมากๆที่กระพุ้งแก้ม จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจึงจะค่อยๆเอากล้วยที่เก็บไว้ในแก้มออกมาเคี้ยวและกินภายหลัง การจัดการน้ำก็เช่นกัน ถ้าเรามีน้ำเข้ามาทีละมากๆจนเกินความจำเป็น เราควรหาแหล่งพักน้ำเพื่อรองรับ เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม จึงค่อยปล่อยระบายน้ำออกไป

ทัศนียภาพบริเวณบึงหนองบอน ที่มา : http://www.optima.bike

การทำงานของระบบโครงการแก้มลิง คือ การระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน โดยผ่านแม่น้ำลำคลองไปยังบ่อพักน้ำขนาดใหญ่ เมื่อระดับในบ่อต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็เปิดประตูระบายน้ำ เพื่อระบายน้ำไปยังพื้นที่พักน้ำตามแรงโน้มถ่วงของโลกตามธรรมชาติ จากนั้น เมื่อเวลาเหมาะสม จึงสูบน้ำออกจากบ่อพักน้ำที่ทำหน้าที่แก้มลิง ให้ระบายออกในระดับต่ำที่สุดออกสู่ทะเลต่อไป เมื่อทำเช่นนี้ น้ำทางตอนบนจะไหลลงมาเองตามธรรมชาติ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่น้อยลงอย่างมาก
ในขณะเดียวกัน เมื่อระดับน้ำแหล่งอื่นสูงกว่าในลำคลอง ให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับ โดยยึดกลักให้ น้ำไหลทิศทางเดียวตามธรรมชาติ พระองค์ท่านทรงเข้าใจลักษณะของภูมิประเทศทั้งหมดของไทยอย่างลึกซึ้ง ว่าที่ไหนต้องทำอะไร ตรงไหน อย่างไร นี่จึงเป็นอีกหนึ่งพระปรีชาสามารถด้านภูมิทัศน์และการวางแผน เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
 

ทัศนียภาพด้านหน้าของโดมพันธุ์ไม้ทะเลทราย ที่มา : http://atthakorn.blogspot.com

โดมพันธุ์ไม้ทะเลทราย

สวนหลวง ร.9 นั้น ภายในมีความพิเศษมากเกินกว่าสวนสาธารณะทั่วไป อย่างแรกคือ “โดมพันธุ์ไม้ทะเลทราย” ผลงานการออกแบบ โดย ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา โดมแห่งนี้ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน ทางด้านสถาปัตยกรรม ได้รับแนวคิดจากการออกแบบของ Buckminster Fuller, Ph.D. นักปราชญ์ชาวอเมริกัน ตัวโดมนั้นสร้างจากวัสดุโปร่งแสง ที่สามารถมองทะลุไปเห็นท้องฟ้าได้ และแสงก็สามารถสาดส่องเข้ามาอย่างเต็มที่ได้เช่นกัน ซึ่งจุดประสงค์หลักในการสร้างโดมแห่งนี้ นอกจากทูลเกล้าถวายแด่พระองค์แล้ว ยังเป็นการจำลองสภาพภูมิอากาศเขตร้อนแบบทะเลทราย เป็นที่รวมพันธุ์ไม้ทะเลทรายและไม้อวบน้ำต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศให้คนไทยได้มีโอกาสเห็น 

 

หอรัชมงคล

สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นที่สุดและสำคัญในสวนหลวง ร.9 เพราะเป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อถวายในหลวง ร.9 และเป็นพื้นที่จัดแสดงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ ออกแบบโดย หม่อมหลวงตรีทศยุทธ เทวกุล อาคารเป็นทรง 9 เหลี่ยม ภายในประกอบด้วยหลายส่วนจัดแสดง เช่น ห้องพระราชประวัติ แสดงพระบรมฉายาลักษณ์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ พระราชชนก พระราชชนนี รัชกาลที่ 8 ภาพกับพระบรมวงศานุวงศ์ และพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ฯลฯ  ห้องฝีพระหัตถ์ฝากประชา แสดงผลงานทางศิลปะและทางช่างของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีทั้งจิตรกรรมและประติมากรรม การถ่ายภาพนิ่ง การถ่ายภาพยนตร์ และงานประดิษฐ์  ห้องกีฬาชื่นบาน จัดแสดงอุปกรณ์กีฬาส่วนพระองค์ และฉลองพระองค์ที่ทรงใช้ มีทั้งเรือใบ ไม้แบดมินตัน ฯลฯ ห้องงานดนตรี จัดแสดงเครื่องดนตรีหลายประเภท โดยเฉพาะเครื่องเป่า ห้องพระราชกรณียกิจ จัดไว้คล้ายกับห้องทำงานคือมีโต๊ะทำงาน บนโต๊ะมีแผนที่ อุปกรณ์ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์รุ่นเก่า

สวนนานาชาติ

ภายในสวนหลวง ร.9 มีการจัดแสดงสวนนานาชาติมากถึง 7 ประเทศ อันมีเอกลักษณ์และแนวคิดที่แตกต่างกัน โดยการจัดแสดงสวนนานาชาติยังแสดงถึงความเป็นมิตรของทั้ง 7 ชาติอีกด้วย ได้แก่  สวนจีน สวนญี่ปุ่น เป็นสวนของโลกภาคตะวันออก สวนอังกฤษ สวนฝรั่งเศส สวนอิตาลี สวนสเปน เป็นสวนของโลกภาคตะวันตก  สวนอเมริกัน มีลักษณะเป็นสวนชนิดใหม่ โดยสวนนานาชาติแห่งนี้ นอกจากให้ทัศนียภาพที่มีความสวยงามแตกต่างกันไปแล้วนั้น ยังเป็นสถานที่ค้นคว้าข้อมูลความรู้ต่างๆ ทั้งด้านประวัติศาสตร์และการพัฒนาด้านภูมิสถาปัตยกรรมได้เป็นอย่างดี
      ขอขอบคุณเนื้อหาบางส่วนจากนิตยสาร ASA CREW ISSUE 01 – JANUARY 2017 – สถาปนิกแห่งแผ่นดิน  / http://suanluangrama9.or.th  

คลิ๊ก! เพื่ออ่านบทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon