realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รวมกลุ่มภาคีสถาปนิกพัฒนา "สะพานเขียว" เชื่อมสวนลุมพินี - สวนเบญจกิติ

24 May 2021 4.9K

รวมกลุ่มภาคีสถาปนิกพัฒนา "สะพานเขียว" เชื่อมสวนลุมพินี - สวนเบญจกิติ

24 May 2021 4.9K
 

สะพานเขียว

เตรียมพบกับ "สะพานเขียว โฉมใหม่" กับการรวมตัวของสุดยอด Designers ระดับประเทศ พร้อมตั้งเป้าหมายให้เป็น The New Iconic of Bangkok 
นับเป็นเวลากว่า 2 ปี ที่ได้มีการพัฒนาแบบร่วมกับชุมชุน รวมถึงภาครัฐ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้ได้แบบที่ดีที่สุด เพื่อสร้าง “สะพานเขียว” ให้เกิดเป็นโครงข่ายการสัญจรจากพื้นที่สีเขียว ที่เชื่อมต่อระบบนิเวศ สังคม และเศรษฐกิจได้อย่างกลมกลืนไปกับชุมชนแบบมีประสิทธิภาพ 
โดยการร่วมมือระหว่าง กทม. กับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) และภาคีสถาปนิก ได้แก่ บริษัท สตูดิโอ ใต้หล้า จำกัด, บริษัท อะตอม ดีไซน์ จำกัด, บริษัท แลนด์สเคปคอลลาบอเรชัน จำกัด, ศูนย์วิจัย และนวัตกรรมแสงสว่าง ม.บางมด รวมถึงบริษัท วิศวกรรม และสถาปนิก คิวบิค จำกัด, และบริษัท ไทย-ธรรม ดีเวล๊อปเม้นต์ จำกัด ที่จะเข้ามาดูแลในส่วนของการก่อสร้าง

สะพานเขียวเชื่อม 2 สวนเข้าด้วยกัน (สวนลุมพินี-สวนเบญจกิติ)

ซึ่งสะพานเขียวนี้ มีศักยภาพคือเป็นทางเดินเท้า และทางจักรยาน ที่เชื่อม 2 สวน เข้าด้วยกัน (สวนลุมพินี - สวนเบญจกิติ) ซึ่งสามารถใช้เป็นทางลัด รวมถึงย่นระยะเวลาในการเดินทางได้เป็นอย่างดี โดยปัจจุบันพบว่าเป็นพื้นที่ถ่ายถาพยอดฮิตของวัยรุ่นอีกด้วย 
สำหรับโครงการสะพานเขียวโฉมใหม่ ใช้งบประมาณกว่า 260 ลบ. ในระยะทาง 1.6 กม. โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2565

Timeline โครงการ

หลังจากเมื่อปี 2558 สำนักการโยธา ได้กำเนินการก่อสร้างเส้นทางคนเดิน-ทางจักรยานลอยฟ้าเชื่อมระหว่างสวนสาธารณะ “สวนลุมพินีและสวนเบญจกิติ” หรือสะพานเขียว รวมเป็นระยะทาง 1.3 กม. โดยมีการปรับปรุงอีกครั้ง ในปี 2562 หลังจากได้รับการร้องเรียนในเรื่องของความปลอดภัย และอาชญากรรม
โดยระหว่างนั้นได้มีการผลักดันในการดำเนินการปรับโฉมสะพานเขียว ให้กลายเป็น Landmark แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ซึ่งล่าสุด ได้มีการของบในการก่อสร้างแล้วกว่า 260 ลบ. โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ภายในสิ้นปี 2564 นี้ และสามารถเปิดใช้งานได้ภายในปี 2565

เหตุผลที่ควรพัฒนา/ปรับปรุง พื้นที่สะพานเขียว

ซึ่งที่ผ่านมาพื้นที่สะพานเขียว เคยได้รับการร้องเรียนว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงอาชญากรรม อันดับ 2 ของประเทศมาแล้ว ทั้งนี้เกิดจากมีเสาไฟฟ้า และแสงสว่างที่ไม่เพียงพอ มีจุดขึ้น - ลง ตลอดสะพานน้อย และอยู่ห่างกัน รวมไปถึงปัญหามากมาย เช่น สภาพแวดล้อมบริเวณสะพาน และใต้สะพานที่ทรุดโทรม, โครงสร้างสะพานที่มีปัญหา และทรุดโทรมไปตามกาลเวลา

รวม 5 ภาคีสถาปนิก ผู้ออกแบบสะพานเขียว

การร่วมมือระหว่าง กทม. กับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง Urban Design and Development Center (UddC) และภาคีสถาปนิก สามารถแบ่งหน้าที่งานได้เป็นดังนี้ 
  • งาน Architecture (Landmark)
  • - บริษัท อะตอม ดีไซน์ จำกัด
  • งาน Landscape
  • - บริษัท แลนด์สเคปคอลลาบอเรชัน จำกัด
  • - บริษัท สตูดิโอ ใต้หล้า จำกัด 
  • งานไฟฟ้า และแสงสว่าง
  • - ศูนย์วิจัย และนวัตกรรมแสงสว่าง ม.พระจอมเกล้าธนบุรี 
  • งานก่อสร้าง วิศวกรรม
  • - บริษัท วิศวกรรม และสถาปนิก คิวบิค จำกัด
  • - บริษัท ไทย-ธรรม ดีเวล๊อปเม้นต์ จำกัด

ช่วงสวนลุมพินี - เฉลิมมหานคร

สำหรับช่วงสวนลุุมพินี - ทางพิเศษเฉลิมมหานคร จะมีการก่อสร้าง Landmark 2 แห่ง ได้แก่ บริเวณสะพานลอยข้ามแยกสารสิน และทางลอยฟ้าทางพิเศษเฉลิมมหานคร โดย ATOM Design 
งานบนสะพานจะปรับด้วยการเสริมทางลาดที่ได้มาตรฐานเข้าไป ตามหลักการ universal design โดย Landscape Collaboration ที่ใช้ได้ทุกคน ทั้งผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์ และคนสูงอายุ ตั้งใจให้เป็น connector สวนที่เชื่อมระหว่างสองสวนใหญ่ 
โดยงานไฟฟ้าและแสงสว่างจะถูกออกแบบโดย LRIC (ม.พระจอมเกล้าธนบุรี) โดยคำนึงถึงความประหยัดพลังงาน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับพื้นที่ใต้สะพานจะถูกปรับให้เป็น New Common Space โดย UDDC ที่จะปรับปรุงสภาพคลองที่เน่าเสีย รวมถึงผสานร่วมกับชุมชนในบริเวณ
 

ช่วงเฉลิมมหานคร - สวนเบญจกิติ

สำหรับช่วงทางลอยฟ้าทางด่วนเฉลิมมหานคร - สวนเบญจกิติ ได้มีการออกแบบ Landmark บริเวณสะพานลอย ถ.รัชดาฯ เพื่อความสะดวกสบายในการเดินทางมาใช้งาน โดย ATOM Design เช่นกัน 
สำหรับสะพานในช่วงนี้ เนื่องจากเป็นช่วงที่เป็นเส้นเลียบคลอง ทำให้ถูกออกแบบให้เป็น Learning Wetland หริอพื้นที่ชุ่มน้ำ ออกแบบทางเดิน และลานกิจกรรมในลักษณะโป๊ะ ยืดหยุ่นไปกับระดับน้ำ พร้อมปลูกพืชพรรณที่ทำหน้าเพิ่มความเขียวให้พื้นที่ และบำบัดน้ำไปในตัว โดยจะถูกออกแบบโดย Studio Taila
 

ต้องรอดูกันต่อไปว่า โครงการนี้แล้วเสร็จ

จะสวยและน่าใช้ตามภาพรึเปล่า !!!

Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon