realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

หอชมเมือง

04 Jan 2018 11.9K

หอชมเมือง

04 Jan 2018 11.9K
 

หอชมเมือง กรุงเทพมหานคร

The Unity Tower , Bangkok

  หากพูดถึง  "Landmark แห่งใหม่ของคนกรุงเทพมหานคร" หอชมเมืองกรุงเทพมหานคร คงจะเป็นสถานที่อันดับต้น ๆ ที่ผู้คนนึกถึง  เพราะเมื่อวันที่ 27 มิ.. 2560 ทาง ครม.ได้มีมติอนุมัติให้โครงการ สามารถหาเอกชนมาดำเนินการโดยไม่ต้องมีการประมูลจัดหาผู้ดำเนินการ เกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ทาง Realist จึงอาสาพาทุกท่านไปรู้จักกับ "หอชมเมืองกรุงเทพมหานคร" ในแต่ละแง่มุม

การใช้งานต่างๆบนหอชมเมือง

โครงการหอชมเมืองนั้น สามารถแบ่งการใช้งานออกแบบ 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่ 1.พื้นที่ด้านล่าง เป็นพื้นที่อเนกประสงค์สำหรับจัดกิจกรรมต่างๆ ทางวัฒนธรรม 2.พื้นที่ชั้นกลางไปจนถึงชั้นบน เป็นหอชมเมืองที่สามารถรับชมทัศนียภาพของเมืองกรุงเทพฯ ได้ถึง 360 องศา เรียกง่ายๆว่า สามารถรับชมได้รอบตัวนั่นเอง บนหอชมเมืองนั้นสามารถมองเห็นสถานที่สำคัญของกรุงเทพฯได้อย่างชัดเจน อาทิ หัวลำโพง , ตึกมหานคร, ICONSIAM, เอเชียทีค เป็นต้น
3.พื้นที่ชั้นบนสุด จะเป็นโถงจัดแสดงและนิทรรศการ เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  และโถงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช แห่งมหาจักรี  พระบรมราชวงศ์โดยประดิษฐานพระบรมรูปของบูรพมหากษัตริยาธิราชในมหาจักรีบรมราชวงศ์ และเพื่อเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อพระคลังมหาสมบัติ เพื่อให้ประชาชนได้สักการะบูชาและเผยแพร่ "ศาสตร์ของพระราชา" ในทุกๆด้าน แก่บุคคลที่เข้ามา
 

สถานที่ตั้ง

โครงการหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนที่ดินราชพัสดุ แปลงหมายเลข กท.3257 เขตคลองสาน กรุงเทพฯ มีอาณาเขต 4 ไร่ 2 งาน 34 ตรว.  ซึ่งอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาและที่สำคัญยังตั้งอยู่ติดกับโครงการ ICONSIAM ที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง  และในอนาคตนั้นจะมีรถไฟสายสีทองจะสามารถเชื่อมต่อไปยังรถไฟฟ้าสายสีแดง,ม่วง และเขียว  ยิ่งส่งเสริมให้หอชมเมืองกรุงเทพมหานครเป็น Landmark สำคัญในการกระตุ้นการท่องเที่ยวในบริเวณนั้น

อ่านเพิ่มเติ่มเรื่อง

 

เปรียบเทียบความสูงหอชมเมือง 2017

หอชมเมืองมีความสูงถึง 459 ม. และมีจำนวนชั้น 24 ชั้น หากสร้างเสร็จ จะเป็นหอชมเมืองที่สูงเป็นอันดับ 6 ของโลก โดยเรียงลำดับ ดังนี้ 1.Tokyo Sky Tree (ญี่ปุ่น) สูง 634 ม. 2. Canton Tower (จีน) สูง 596 ม. 3. CN Tower (แคนาดา)สูง 553 ม. 4. Ostankino Tower (รัสเซีย) สูง 540 ม. 5. Oriental Pearl Tower (จีน) สูง 468 ม. 6. หอชมเมือง (ไทย)  สูง 459 ม. 7. Milad Tower (อิหร่าน) สูง 435 ม. 8. Kuala Lumper Tower (มาเลเซีย) สูง 421 ม.
หอชมเมืองหากเปรียบเทียบกับตึกสูงต่างๆในประเทศไทย จะอยู่ถึงอันดับที่ 2 ของประเทศไทย    โดย เรียงลำดับดับ ดังนี้ 1. Grand Rama IX Super Tower 615 ม. 2. หอชมเมือง 459 ม. 3. Magnolias Waterfront Residences Tower  315 ม. 4. MahaNakhon 314 ม.
5. Four Season Hotel 305 ม. 6. ฺBaiyoke Tower II 304 ม. 7. Magnolias WAterfront Residences Tower II  304 ม. 8. The River Tower A 265 ม. 9. Canapaya Residences 253 ม. 10. State Tower 247 ม.

ย้อนรอยความเป็นมาของหอชมเมือง

หากจะกล่าวถึงโครงการหอชมเมือง อีกสิ่งหนึ่งที่จะไม่พูดไม่ได้ก็คือโครงการ ICONSIAM ที่อยู่ติดกัน โดยที่ทั้งสองโครงการนั้นแทบจะถูกพัฒนามาร่วมกัน พ.ศ. 2555  ทาง CP , SIAMPIWAT และ Magnolia Quality Development  ได้จับมือกันเริ่มต้นโครงการ ICONSIAM พ.ศ. 2557  โครงการ ICONSIAM ได้เปิดตัวขึ้นมาพร้อมแผนการดำเนินสร้างเสร็จภายใน พ.ศ.2560 มีการจัดตั้งมูลนิธิหอชมเมือง โดยมีผู้บริหารของSIAMPIWAT เป็นกรรมการ พ.ศ. 2559 ครม. ได้มีการอนุมัติให้ รถไฟฟ้าสายสีทอง ผ่านหน้า ICONSIAM และยังอนุมัติให้ หอชมเมือง ใช้พื้นที่บริเวณข้าง ICONSIAM เป็นที่ตั้ง พ.ศ. 2560 ครม. ได้มีการอนุมัติให้ หอชมเมืองสามารถสร้างได้โดยไม่ต้องทำการเปิดให้ประมูล

อ่านเพิ่มเติมเรื่อง ICONSIAM คลิ๊ก

หอชมเมืองกับคำถามยอดฮิต

ทาง นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมธนารักษ์ ได้มาตอบคำถามประเด็นสำคัญที่เป็นที่ถกเถียงในขณะนี้ ดังนี้ " ทำไมถึงไม่เปิดประมูล ? " โครงการนี้เป็นโครงการเชิงสังคม ไม่ใช่โครงการเชิงพาณิชย์  อีกทั้งการเปิดประมูลยังอาจส่งผลให้โครงการล่าช้า " ที่มาของบประมาณ ? " ค่าใช้จ่ายและงบประมาณทั้งหมด มาจากเอกชนทั้งหมดโดยรัฐไม่ได้ออกค่าใช้จ่าย โดยประกอบด้วย 1.มูลนิธิหอชมเมือง 5 แสนบาท 2.เงินกู้จากสถาบันการเงิน 2.5 พัน ลบ. 3.เงินบริจาคจากเอกชน 2.1 พัน ลบ. " ตรงตามแนวทาง ประชารัฐ ? " โครงการหอชมเมืองเกิดจากการร่วมมือกันระหว่าง ภาครัฐ , ภาคเอก และ ภาคประชา กว่า 50 องค์กร ตามแนวนโยบายประชารัฐที่เกิดจากความร่วมมือของหลายภาคส่วนและขั้นตอนของกฎหมายร่วมลงทุน

6 เรื่องหน้ารู้เกี่ยวกับ "หอชมเมือง"

1.เป็น New Global Destination กระตุ้นเศรฐกิจการท่องเที่ยวในย่าน สร้างรายได้กระจายสู่พื้นที่ในชุมชน 2.เอกชนเป็นผู้เสนอโครงการให้รัฐ ไม่ใช่รัฐจัดหาเอกชนมาลงทุน 3.ถูกพัฒนามาจากพิ้นที่ตาบอด ซึ่งพื้นที่ตาบอดก็คือพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้หรือเข้าถึงได้ยาก
4.รายได้ทั้งหมดหลังจากหักค่าใช้จ่ายบริจาคให้องค์กรการกุศล 5.ราคาค่าเข้าชม 790 บ./คน พิเศษ สำหรับประชาชนคนไทย ลด 50% จะตกราคาประมาณ 395 บ./คน 6.สัญญาเช่าที่ กรมธนารักษ์ 30ปี หลังจากนั้นกรรมสิทธิ์คืนให้กรมธนารักษ์
เนื่องจากที่ดินที่ใช้สร้างหอชมเมืองนั้นเป็นพื้นที่ตาบอด จึงต้องใช้ทางเข้าจากทาง ICONSIAM ผ่านถนนเจริญนคร  ดังภาพ

สุดท้ายนี้ โครงการหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร ยังคงดำเนินต่อไปท่ามกลางความสงสัยว่า

" ผลประโยชน์ที่ได้นั้นตกอยู่กับใคร เอกชน , รัฐบาล หรือ ประชาชน ? "

หรือจริงๆแล้วผลประโยชน์นั้นกระจายสู่ทุกภาคส่วนจริงๆ

 

( ภาพตัวอย่างหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร )

( ภาพแบบรูปตัดของหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร )

( ภาพแบบรูปด้านของหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร )

ขอบคุณข้อมูลจาก : Thaipbs , Thairath , TNN24 

The Momentum,Prachachat

Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon