realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

อุทยานจุฬาฯ100ปี

02 April 2017 6.8K

อุทยานจุฬาฯ100ปี

02 April 2017 6.8K
 

ของขวัญอันยิ่งใหญ่ให้สังคม อุทยานจุฬาฯ 100 ปี

จุฬาฯ ผุดโครงการยักษ์ “อุทยานและถนนจุฬาฯ100 ปี” บริเวณจุฬาฯซอย 9 จรดถนนบรรทัดทอง ภายใต้แนวคิด “สืบสานความสง่างาม สอดประสานองค์ความรู้ สรรสร้างสู่ความยั่งยืน” เพื่อให้เป็นอุทยานแห่งการเรียนรู้ขนาดใหญ่ ใจกลางกรุงเทพฯ ระหว่างนิสิตกับชุมชน คนกับธรรมชาติ เชื่อมต่อแนวแกนสีเขียว ตามแผนแม่บทของมหาวิทยาลัย
Image : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่ตั้ง   : บริเวณสวนหลวง-สามย่าน ขนาด : สวนสาธารณะ ประมาณ 28ไร่ เขตทางสาธารณะ 30 เมตร เชื่อมระหว่างถนนพระราม 1 - พระราม 4 วัตถุประสงค์ : ในโอกาสครบรอบ 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ตามแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ "เกื้อกูล" อันเป็นแนวทางการพัฒนาที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อสังคมส่วนรวม แนวความคิด : การจัดพื้นที่สีเขียว ในเขตการศึกษาและเชื่อมถนนพระราม 1 - พระราม 4 ผ่านเขตทางจุฬาฯ 100 ปี สร้างความต่อเนื่องของกิจกรรมการใช้ประโยชน์พื้นที่มหาวิทยาลัยกับชุมชน
    Photo : bangkokbiznews.com on March 25, 2017
Photo : ธิติ วรรณมณฑา on March 25, 2017
เมื่อเวลา 06.57 น. วันที่ 26 มีนาคม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในงานวันครบรอบ 100 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า โดยมี ศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และผู้บริหารมหาวิทยาลัย เฝ้าฯ รับเสด็จ การนี้ทรงวางพุ่มดอกไม้ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะ และทรงคม จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบาตร บริเวณเสาธงหน้าหอประชุมจุฬาฯ ร่วมกับเหล่าคณาจารย์ บุคลากร นิสิต นิสิตเก่า หลังจากทรงบาตรแล้ว ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับบุคลากรต่างๆซึ่งร่วมตักบาตรในลานบริเวณเสาธงฯ ด้วย
ต่อจากนั้นเสด็จฯไปยังโถงอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับอธิการบดีมหาวิทยาลัยต่างประเทศจากทั้งหมด 33 มหาวิทยาลัย อาทิ มหาวิทยาลัยเกียวโต, มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน, เดอ ลา ซาลล์ ยูนิเวอร์ซิตี้ และ ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ ควีนแลนด์ และเสด็จฯ ไปยังโครงการอุทยานจุฬาฯ 100 ปี Photo : bangkokbiznews.com on March 25, 2017 เมื่อเสด็จฯถึงโครงการอุทยานจุฬาฯ 100 ปี ทรงกดปุ่มเปิดแพรคลุมป้าย อุทยานจุฬาฯ 100 ปี และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงปลูกต้นจามจุรี 9 ต้นหน้าอาคารอเนกประสงค์ ซึ่งแต่ละต้นล้วนเป็นต้นกล้าที่เพาะมาจากต้นจามจุรีที่ในหลวงร.9 ทรงปลูกไว้หน้าหอประชุมจุฬาฯ เมื่อ 15 มกราคม 2505 การนี้ทรงปลูกแต่ละต้นให้มีระยะห่างกัน 9 เมตร เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จากนั้นเสด็จฯไปทอดพระเนตรนิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งได้จัดแสดงตัวอย่างพระราชกรณียกิจต่างๆอาทิ ฝนหลวง ในรูปแบบอินเตอร์แอคทีฟ และทอดพระเนตรพื้นที่ปลูกต้นไม้พระราชทาน 100 ต้น ที่อยู่ด้านข้างตัวอาคาร โดยต้นไม้พระราชทาน 100 ต้นนี้เป็นพันธุ์ไม้จากวังสระปทุม 100 สายพันธุ์ จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินออกจากอุทยานจุฬาฯ 100 ปี และเสด็จฯ ไปยังอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ เสวยพระกระยาหารกลางวัน และเสด็จฯกลับ   Image : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “อุทยานและถนนจุฬาฯ100 ปี” บนพื้นที่ 30+21 ไร่ บริเวณจุฬาฯซอย 9 จรดถนนบรรทัดทอง ภายใต้แนวคิด “สืบสานความสง่างาม สอดประสานองค์ความรู้ สรรสร้างสู่ความยั่งยืน” เพื่อให้เป็นอุทยานแห่งการเรียนรู้ขนาดใหญ่ ใจกลางกรุงเทพฯ ระหว่างนิสิตกับชุมชน คนกับธรรมชาติ เชื่อมต่อแนวแกนสีเขียว ตามแผนแม่บทของมหาวิทยาลัย ภายในอุทยาน มีการปลูกพืชพรรณพื้นถิ่นหลากหลายชนิด ด้วยแนวคิด “ป่าในเมือง” มีอาคารอเนกประสงค์ สำหรับจัดนิทรรศการและกิจกรรม พร้อมพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วยห้องเรียนรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งพื้นที่ชุ่มน้ำประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมระบบนิเวศ และนันทนาการ จัดสร้างสวนซึมน้ำ และพื้นที่แก้มลิง บริเวณทางเข้าอุทยาน นอกจากนี้ จะมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนจุฬาฯซอย 5 ตลอดแนว ตั้งแต่ถนนพระราม 4 จรดถนนพระราม 1 ให้เป็นถนนสีเขียว พร้อมปรับความกว้างถนน 30 เมตร รวมพื้นที่ถนนดังกล่าวอีก 21 ไร่  เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีจุฬาฯ Image : N7A Facebook
Image : N7A Facebook
อาคารอเนกประสงค์ ที่สอดประสานเป็นหนึ่งเดียวกับพื้นที่ภูมิทัศน์สถาปัตยกรรมเปรียบเสมือนซุ้มประตูจากกระบวนทัศน์ทางธรรมชาติเป็นแลนด์มาร์กสำคัญของอุทยาน ด้วยพื้นที่หลังคาเขียว(Green Roof)ของอาคารอเนกประสงค์ยังออกแบบให้เป็นเนื้อเดียวกับพื้นที่อุทยานด้านล่างด้วยการเชื่อมต่อที่ว่างภูมิทัศน์ในรูปแบบเนินดินและทางลาดให้เกิดความต่อเนื่องสูงสุด

ปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนจุฬาฯซอย 5

Image : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เส้นทางแห่งนี้จะเป็นถนนสีเขียวที่ร่มรื่นน่าเดิน  เชื่อมโยงความสุขของชุมชนเข้าสู่ อุทยานจุฬาฯ 100 ปี ด้วยพันธุ์ไม้หลากหลายตลอดแนวถนน พร้อมด้วยทางเท้าที่กว้างขวางขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกแก่คนเดิน เสริมเลนจักรยานและจุดจอดจักรยาน จุดจอดรถรับ-ส่ง สำหรับรถโดยสารสาธารณะ จุดคนข้ามที่ปลอดภัย เดินสะดวก Image : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความตั้งใจที่จะพัฒนาถนน จุฬาฯ ซอย 5 เพื่อสร้างประโยชน์และความสุขให้กับสังคม รวมถึงชุมชนโดยรอบ นำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดี ภูมิทัศน์ที่สวยงาม เป็นถนนสีเขียวที่ร่มรื่น ให้สอดคล้องไปกับการพัฒนาพื้นที่สีเขียว ของอุทยานจุฬาฯ 100 ปี   Image : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการตั้งอยู่บริเวณ สวนหลวง-สามย่าน   
หลังศึกษาค้นคว้า ทีมงานพบว่ากรุงเทพฯ ใน 100 ปีข้างหน้าจะต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ จะต้องพบสถานการณ์ภัยแล้งสลับกับน้ำท่วม สถาปนิกตั้งใจออกแบบสวนเพื่อเป็นตัวอย่างพื้นที่จัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ พวกเขาเปรียบสวนนี้กับรากของต้นจามจุรี (Rain Tree) ต้นไม้สัญลักษณ์ของจุฬาฯ ที่นอกจากให้ร่มเงาเกื้อกูลสิ่งรอบข้าง ยังมีรากที่มีศักยภาพเก็บความชุ่มชื้นไว้ในดินด้วย Info : adaymagazine
 

สวนที่ช่วยเมืองดูแลน้ำ

Image : adaymagazine
แนวคิดที่แตกต่างสะท้อนสู่สวนสาธารณะที่ไม่เหมือนใคร หน้าที่แรกของอุทยาน 100 ปีจุฬาฯ คือกักเก็บน้ำทุกหยดไว้ใช้ พื้นที่โดยรวมของสวนจึงถูกยกขึ้นจนลาดเอียงเพื่อให้น้ำฝนไหลมารวมกันที่สระรับน้ำด้านหน้าสุด (Retention Pond) รวมถึงไหลลงด้านข้างที่มีส่วนพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetland) ไว้รองรับน้ำ ขณะที่บริเวณอื่นซึ่งเป็นผืนดินก็มีทั้งสนามหญ้าและต้นไม้ช่วยดูดซับน้ำ ส่วนตรงไหนเป็นปูนก็ใช้วัสดุอย่างคอนกรีตรูพรุน (Porous concrete) แทนคอนกรีตปกติที่น้ำซึมสู่ดินไม่ได้ และถ้ามีน้ำเหลือบนพื้น น้ำนั้นจะไหลไปสู่สวนน้ำฝน (Rain Garden) ทางระบายน้ำที่ไม่ได้มีการวางท่อ แต่เป็นทางที่เรียงรายด้วยไม้พุ่มและพืชคลุมดินต้นไม้เล็กๆ ซึ่งช่วยซับน้ำ นอกจากกักเก็บ อุทยานนี้ยังช่วยบำบัดน้ำเสียให้กลับใสสะอาดโดยต่อเชื่อมไปยังละแวกเพื่อนบ้านให้น้ำซึ่งผ่านการบำบัดแล้วรอบหนึ่งไหลมาบำบัดต่อที่ส่วนระบบบำบัดน้ำ Wetland ด้านข้าง นอกจากนี้น้ำในสวนเองเมื่อไหลลง Rain Garden สู่รากต้นไม้เล็กๆ ในทางระบายน้ำนั้นก็มีคุณสมบัติช่วยบำบัดน้ำด้วย Info : adaymagazine
 

สวนที่เป็นห้องเรียนกลางแจ้ง

Image : adaymagazine
Photo : Landprocess Facebook on March 25, 2017
นอกจากเป็นตัวอย่างเรื่องจัดการน้ำ อุทยานแห่งนี้ยังตั้งใจจะเป็นห้องเรียนนอกห้องเรียนของเหล่านิสิตจุฬาฯ และชุมชนที่น่าจะเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ใช้หลัก แต่แทนที่จะยกส่วนสนับสนุนการเรียนรู้ไว้ตรงกลาง สถาปนิกเลือกใช้วิธีใหม่คือกระจายส่วนห้องเรียนไว้รอบๆ เพื่อให้เกิดความเคลื่อนไหวคึกคักรอบขอบสวน สร้างความปลอดภัยรวมถึงชวนให้คนอยากเข้ามาใช้พื้นที่ ขอบสวนแต่ละด้านจึงถูกแบ่งออกเป็นห้องเรียนกลางแจ้ง 8 ห้อง แต่ละห้องคอนเซปต์ต่างกันไป เช่นห้อง Herb Room ที่มีสวนสมุนไพรและพื้นที่ให้นั่งเล่นได้ และห้อง Earth Room ที่มีที่นั่งก่อจากดินหลากสีที่มาจากพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ใครๆ ก็มาใช้พื้นที่นี้ได้อย่างอิสระ Info : adaymagazine 
  Photo : Landprocess Facebook on March 25, 2017   Photo : Landprocess Facebook on March 25, 2017   Photo : Landprocess Facebook on March 25, 2017   Photo : Landprocess Facebook on March 25, 2017   Photo : Nop Leetavorn on March 21, 2017   Photo : Nop Leetavorn on March 21, 2017   Photo : Nop Leetavorn on March 21, 2017   Photo : Nop Leetavorn on March 21, 2017   Photo : Nop Leetavorn on March 21, 2017  

Presentation โครงการ

Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon