realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

ทำความรู้จัก อุโมงค์ทับลาน สะพานเชื่อมผืนป่า (Wildlife Corridor) แห่งแรกของไทย

05 Nov 2020 8.8K

ทำความรู้จัก อุโมงค์ทับลาน สะพานเชื่อมผืนป่า (Wildlife Corridor) แห่งแรกของไทย

05 Nov 2020 8.8K
 

ย้อนรอย "อุโมงค์ทับลาน" สะพานเชื่อมผืนป่า (Wildlife Corridor) แห่งแรกของไทย

จากเหตุการณ์น้ำท่วมอุโมงค์ทับลาน เมื่อต้นเดือนตุลาที่ผ่านมานั้น อาจจะทำให้หลายคนหันมาสนใจว่า อุโมงค์นี้อยู่ที่ไหน ? หรือมีความสำคัญอย่างไร ? ทางเราจึงขอพาทุกท่านไปย้อนรอยดูโครงการอุโมงค์ทับลาน ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไรกันครับ
ก่อนจะเข้าเนื้อหา เราจะขอเกริ่นถึงอุโมงค์ทับลานกันเสียหน่อย อุโมงค์ทับลาน เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการขยายถนนสาย 304 กบินทร์บุรี-ปักธงชัย ภายใต้การดูแลของ กรมทางหลวง ที่ตัดผ่านระหว่างอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และอุทยานแห่งชาติทับลาน image : Voice TV

Location ของโครงการ

ถ.ทางหลวงหมายเลข 304 เป็นถนนเส้นหลักที่วิ่งตัดผ่านตั้งแต่ จ.นครราชสีมา ตัดผ่านอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และทับลาน เชื่อมไปถึงพื้นที่ ECC (ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง)ในพื้นที่ภาคตะวันออกของไทย
. ในช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมานี้ ได้มีฝนตกในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมตามมามากมาย และหนึ่งในนั้น คือ “อุโมงค์ทับลาน” ที่อยู่บน ถ.ทางหลวงหมายเลข 304 (กบินบุรี-ปักธงชัย) . วิ่งผ่านระหว่างอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และอุทยานแห่งชาติทับลาน ที่ทั้งสองได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกอีกด้วย
อุโมงค์ทับลาน นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการขยายถนนสาย 304 กบินทร์บุรี-ปักธงชัย ที่จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 1.ทางหลวง 304 กบินทร์บุรี-ปักธงชัย (Wildlife Corridor) -ระยะทางรวม 3.45 กม. -งบประมาณ 1,319,257,000 บ. -ดำเนินการโดย บริษัท Italian-Thai Development Corporation Limited 2.ทางหลวง 304 กบินร์บุรี-วังน้ำเขียว ตอนที่ 3 ช่วงที่ 1 -ระยะทางรวม 8.8 กม. -งบประมาณ 795,365,000 บ. -ดำเนินการโดย บริษัท Italian-Thai Development Corporation Limited 3.ทางหลวง 304 กบินร์บุรี-วังน้ำเขียว ตอนที่ 3 ช่วงที่ 2 -ระยะทางรวม 6.7 กม. -งบประมาณ 794,200,000 บ. -ดำเนินการโดย บริษัท Tanasinpattana (1999) Co., Ltd.

อุโมงค์ทับลาน (Wildlife Corridor) คืออะไร ?

พื้นที่อุโมงค์ทับลาน Wildlife Corridor จะมีลักษณะเป็นอุโมงค์ระดับพื้นถนน ที่ด้านบนอุโมงค์นั้นจะถูกทำเป็นพื้นที่สีเขียวเชื่อมระหว่างอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และทับลาน ให้สัตว์ป่าสามารถสัญจรผ่านไปมาได้ นอกเหนือจากนั้นยังมีทางลอดใต้ถนนสำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กอีกด้วย เพื่อการรักษาระบบนิเวศน์ และลดการเกิดอุบัติเหตุรถชนกับสัตว์ป่า . ทั้งนี้โครงการได้มีการป้องกันและลดผลกระทบของถนนต่อธรรมชาติ ตลอดแนวสองฝั่งถนนตลอดโครงการนั้น จะมีการกั้นรั้วเหล็ก เพื่อป้องกันอันตรายหากมีสัตว์ป่าเข้ามาในพื้นที่ถนน

หลังเปิดใช้งาน พบร่องรอยสัตว์ชนิดไหนใช้งานสะพานนี้บ้าง ?

หลังจากการเปิดใช้งานอุโมงค์ทับลานเมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา ทางโครงการก็ได้มีการติดตามเหล่าสัตว์ป่าและระบบนิเวศน์ว่าจะได้รับผลกระทบจากโครงการนี้อย่างไรบ้าง . โดยมีการจัดเจ้าหน้าที่สำหรับลาดตระเวนติดตามการใช้งานของสัตว์ป่า, ติดกล้องวงจรปิด รวมถึงทำ Sand Trap เพื่อสังเกตุพฤติกรรมของสัตว์ป่า . จากข้อมูลของกรมอุทยาน สัตว์ป่าและพรรณพืช ได้มีการเปิดเผยข้อมูลออกมาว่า พบร่องรอยของ กวาง, กระทิง, เลียงผา, แมวดาว, สุนัขจิ้งจอก และเสือโคร่ง มาใช้งานสัญจรผ่านสะพานเชื่อมผืนป่าบริเวณอุโมงค์ทับลานแห่งนี้ . ทั้งนี้อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และทับลานนั้น ก็ยังมีสัตว์ป่าอีกหลายสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ ฉะนั้นเราอาจจะต้องติดตามดูพฤติกรรมของสัตว์ป่าเหล่านี้ต่อไป ว่าในระยะยาวนั้นจะมีความคืบหน้าหรือเปลี่ยนแปลงอย่างไร

จุดที่น่าสนใจของโครงการ

นอกเหนือจากการสร้าง สะพานเชื่อมผืนป่า ( Wildlife Corridor) แล้ว โครงการทางหลวง 304 นี้ยังมีรายละเอียดอื่นๆ ที่แสดงถึงการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ของพื้นที่อุทยานอีกด้วย ดังนี้ . มีการเพิ่มติดตั้งกำแพงกันเสียงเพื่อลดผลกระทบจากเสียงแก่สัตว์ป่า . มีการปลูกป่าทดแทนในพื้นที่อุทยาน เพื่อทดแทนพื้นที่ป่าที่ใช้ในการขยายถนน . มีการปลูกพืชที่เป็นอาหารของสัตว์ป่าและสร้างโป่งเทียมเพิ่ม

เหตุการณ์น้ำท่วมอุโมงค์ทับลาน ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563

image : Posttoday
ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุน้ำท่วมบริเวณอุโมงค์ทับลาน,รีสอร์ทและบ้านเรือนขาวบ้านในระแวกใกล้เคียงอย่างฉับพลัน เนื่องจากก่อนหน้านี้มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 2 ชม. อีกทั้งลำน้ำในพื้นที่บริเวณที่ท่วมยังเป็นจุดรวมของลำน้ำหลายสาย เมื่อเกิดฝนตกในปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง จึงมีโอกาสที่น้ำจะเอ่อล้นขึ้นมาท่วมเส้นทางสัญจรและพื้นที่ใกล้เคียง . โดยมีระดับน้ำนั้น ท่วมสูงถึง 1.8 ม.ทำให้ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวต่างต้องรีบอพยพออกมาจากพื้นที่ ทั้งนี้ในปัจจุบันเส้นทางสัญจรและอุโมงค์ทับลาน สามารถใช้งานได้เป็นปกติแล้ว จากบทสัมภาษณ์ของ ผู้ว่าฯ ปราจีนบุรี นายวรพันธุ์ สุวัณณุสส์ ได้ความว่า เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกในพื้นที่บริเวณนี้ และตัวอุโมงค์ทับลานเองไม่ได้สร้างขวางทางน้ำ ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.facebook.com/mitrearth/posts/791031591463677 https://www.youtube.com/watch?v=YnkkmWeluek

เราได้เรียนรู้อะไร ? จากเหตุการณ์ครั้งนี้

อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าการก่อสร้างในพื้นที่ธรรมชาตินั้น ถึงแม้ว่าจะมีคำนึงถึงและเตรียมการสำหรับผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและสัตว์ป่าแล้วนั้น . เราคงต้องกลับมาตั้งคำถามกับทางผู้รับผิดชอบและผู้ออกแบบโครงการอาจจะต้องคำนึงถึงแนวโน้มในการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติมากขึ้นรึไม่ ? และถ้าหากในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเกิดภัยพิบัติอีกจะต้องเตรียมรับมืออย่างไร ?
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon