realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

อุโมงค์ยักษ์

30 Jun 2017 34.3K

อุโมงค์ยักษ์

30 Jun 2017 34.3K
 

5 อุโมงค์ยักษ์รอบกรุง

ฝนตกมาหลายวันแล้ว ชาวกรุงเทพฯคงจะรู้สึกเบื่อไม่น้อยที่จะต้องเจอกับปัญหารถติด น้ำท่วมขัง เฉอะแฉะ วันนี้ทางREALIST BLOGเลยนำความรู้และอัพเดทข่าวคราวเกี่ยวกับฝนตก น้ำท่วมมาฝาก นั่นก็คือ "อุโมงค์ยักษ์" อุโมงค์ยักษ์ หรือ อุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ เป็นหนึ่งในระบบการระบายน้ำของกรุงเทพฯ ที่จะมีการก่อสร้างขึ้นตามแผนโครงการคือ 5 แห่ง ซึ่งปัจจุบันนี้กำลังก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อ และมีการลงนามก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำบึงบางบอนแล้ว ทั้งสองอุโมงค์นี้อยู่ในฝั่งพระนคร ในอนาคตจะมีการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคองเปรมประชากรตามมา ส่วนในพื้นที่ฝั่งธนฯไม่ต้องน้อยใจนะครับ ยังมีแผนโครงการอีก 2 อุโมงค์ คือ อุโมงค์ระบายน้ำคลองทวีวัฒนา และอุโมงค์ระบายน้ำคลองพระยาราชมนตรี ซึ่งเราต้องรอดูความคืบหน้ากันต่อไป แต่ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าคับว่ากรุงเทพฯของเรามีระบบการระบายน้ำอย่างไรบ้าง
   

ระบบระบายน้ำของกรุงเทพฯ มีอะไรบ้าง?

กรุงเทพมหานคร พื้นที่ประมาณ 1,568 ตร.กม. ตั้งอยู่บนพื้นที่ลุ่มน้ำตอนปลายของแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้อ่าวไทย ระดับความสูงเฉลี่ยประมาณ 0+0.00 ม. ถึง +1.50 ม. เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง บางพื้นที่มีระดับต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง การระบายน้ำออกจากพื้นที่โดยใช้การไหลตามธรรมชาติ (Gravity Flow) ทำได้ยากลำบาก เนื่องจากกรุงเทพเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ อีกทั้งการระบายน้ำออกจากพื้นที่ของสถานีสูบน้ำและคลองระบายน้ำหลักมีขีดจำกัด และไม่สามารถปรับปรุงขยายความกว้างของคลองได้ กรุงเทพมหานครจึงดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมโดยใช้ระบบพื้นที่ปิดล้อม ด้วยการก่อสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมล้อมรอบพื้นที่ เพื่อป้องกันน้ำจากพื้นที่ภายนอกไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ ส่วนภายในพื้นที่ปิดล้อมก่อสร้างระบบระบายน้ำ เพื่อระบายน้ำท่วมขังลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยกรุงเทพมหานครแบ่งการป้องกันและ แก้ไขปัญหาน้ำท่วม เป็น 2 ระบบ
 

1. ระบบป้องกันน้ำท่วม โดยก่อสร้างคันป้องกันน้ำท่วมปิดล้อมพื้นที่เพื่อป้องกันน้ำหลากและน้ำทะเลหนุนสูง

เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากน้ำหลากจากแม่น้ำเจ้าพระยาและน้ำบ่าจากทุ่ง กรุงเทพมหานครก่อสร้างคันป้องกันน้ำท่วมปิดล้อมพื้นที่ โดยก่อสร้างคันป้องกันน้ำท่วม ดังนี้
 

2. ระบบระบายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังเนื่องจากน้ำฝน

ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังเนื่องจากฝนตกในพื้นที่ปิดล้อมกรุงเทพมหานครได้ก่อสร้างระบบระบายน้ำ เพื่อเร่งระบายน้ำท่วมขังในพื้นที่ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและอ่าวไทยโดยเร็ว โดยขีดความสามารถของระบบระบายน้ำสามารถรองรับปริมาณฝนได้ไม่เกิน 60 มม./ชม. ประกอบด้วยระบบระบายน้ำต่างๆ ดังนี้
   

สถานีสูบน้ำต่างจากประตูระบายน้ำอย่างไร ?

หลายคนอาจจะสงสัยว่าสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำต่างกันอย่างไร ทางREALIST BLOGขออธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ สถานีสูบน้ำมีหลักการคือ ช่วยสูบเพื่อส่งต่อ เป็นการสูบน้ำจากคลองสายย่อยหรือจากท่อระบายน้ำในกรุงเทพ ไปรวมยังบ่อบำบัด แล้วค่อยปล่อยออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เนื่องจากน้ำบางแห่งไม่สามารถไหลไปตามธรรมชาติได้ ในขณะที่ประตูระบายน้ำ ใช้เพื่อปรับปริมาณน้ำที่ต้องการให้ไหลผ่าน รักษาระดับน้ำ ปรับความเร็วของน้ำ ให้มีปริมาณน้ำตามที่ที่ต้องการ เป็นอีกวิธีการควบคุมน้ำ ในกรณีของระบบป้องกันน้ำท่วม ประตูระบายน้ำใช้ในการลดระดับของผิวน้ำสำหรับแม่น้ำหรือคลองเส้นหลัก โดยให้น้ำไหลผ่านคลองลัดน้ำ เมื่อปริมาณระดับน้ำใกล้ล้นตลิ่ง    

แผนที่ระบบระบายน้ำของกรุงเทพฯ

  มาดูกันว่าพื้นที่ไหนในกรุงเทพมีระบบระบายน้ำในรูปแบบใดบ้าง เริ่มจากคูคลองธรรมชาติสายต่างๆถึง 1,682 สาย ความยาวรวมประมาณ 2,600 กม. สถานีสูบน้ำ 174 แห่ง, ประตูระบายน้ำ 227 แห่ง และแก้มลิงที่รองรับหรือเก็บกักน้ำฝนไว้ชั่วคราว ปัจจุบันจัดหาได้รวมทั้งสิ้น 25 แห่ง เก็บกักน้ำได้ 12.74 ล้าน ลบ.ม. รวมถึงท่อระบายน้ำที่เราเห็นกันอยู่ตามถนน มีความยาวรวมประมาณ 6,400 กม. แบ่งเป็นถนนสายหลัก 1,640 กม. ในตรอกซอย ยาวประมาณ 4,760 กม. คันป้องกันน้ำท่วมด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร (คันกั้นน้ำพระราชดำริ)  ระยะทาง 77 กม.และคันป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อยและคลองมหาสวัสดิ์  ระยะทาง 75 กม.
และอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเร่งระบายน้ำท่วมขัง ปัจจุบันมี 7 แห่ง ความยาวรวมประมาณ 19 กม. มีประสิทธิภาพระบายน้ำได้ 155.50 ลบ.ม./วินาที ในอนาคตจะมีการก่อสร้างอุโมงค์อีก 5 แห่ง เพื่อประสิทธิภาพการระบายน้ำของกรุงเทพมหานครที่มากขึ้น ซึ่งจะมีรายละเอียดในส่วนต่อไป    

อุโมงค์ระบายน้ำในในปัจจุบัน

ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีอุโมงค์ระบายน้ำที่สร้างเสร็จและเปิดใช้งาน 7 แห่ง ความยาวรวม 19 กิโลเมตร มีประสิทธิภาพการระบายน้ำรวม 155.50 ลบ.ม./วินาที ดังนี้

อุโมงค์ระบายน้ำซอยสุขุมวิท 26

อุโมงค์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของอุโมงค์ 1.00 ม. ยาวประมาณ 1.10 กม. มีประสิทธิภาพการระบายน้ำ 4 ลบ.ม./วินาที ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในถนนสุขุมวิทระหว่างซอยสุขุมวิท 22-28 ในซอยสุขุมวิท 26 และบริเวณใกล้เคียง

อุโมงค์ระบบผันน้ำคลองเปรมประชากร

อุโมงค์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.40 ม. ยาวประมาณ 1.88 กม. มีประสิทธิภาพการระบายน้ำ 30 ลบ.ม./วินาที แก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ตอนบนของกรุงเทพมหานคร เขตบางซื่อ จตุจักร หลักสี่ บางเขน และดอนเมือง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3.50 ตร.กม.
 

อุโมงค์ระบบระบายน้ำพื้นที่เขตพญาไท

อุโมงค์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.40 ม. ยาวประมาณ 6.79 กม. และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.50 ม. ยาวประมาณ 1.90 กม. มีประสิทธิภาพการระบายน้ำ 4.50 ลบ.ม./วินาที แก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เขตพญาไท ถนนพหลโยธิน ช่วงจากซอยพหลโยธิน 5-11 และถนนพระราม 6 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ตร.กม.

สถานีสูบน้ำและอุโมงค์ระบายน้ำซอยสุขุมวิท 36

อุโมงค์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.80 ม. ยาวประมาณ 1.32 กม. มีประสิทธิภาพในการระบายน้ำ 6 ลบ.ม./วินาที ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในถนนสุขุมวิทและบริเวณซอยสุขุมวิท 36
 

อุโมงค์ระบายน้ำซอยสุขุมวิท 42

อุโมงค์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.80 ม. ยาวประมาณ 1.10 กม. มีประสิทธิภาพการระบายน้ำ 6 ลบ.ม./วินาที ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในถนนสุขุมวิทและซอยสุขุมวิท 42  

อุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบและคลองลาดพร้าวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

(อุโมงค์ยักษ์พระรามเก้า-รามคำแหง)

อุโมงค์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.00 ม. ยาวประมาณ 5.11 กม. มีประสิทธภาพการระบายน้ำ 60 ลบ.ม./วินาที ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เขตห้วยขวาง บางกะปิ บึงกุ่ม วัฒนา วังทองหลาง และลาดพร้าว ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 50 ตร.กม.

อุโมงค์ระบายน้ำบึงมักกะสันลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

อุโมงค์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.60 ม. ยาวประมาณ 5.98 กม. มีประสิทธิภาพการระบายน้ำ 45 ลบ.ม./วินาที ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เขตวัฒนา ปทุมวัน ราชเทวี พญาไท ห้วยขวาง และดินแดง  ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 26 ตร.กม.
   

5 อุโมงค์ยักษ์ในอนาคต

อุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำบริเวณที่มีปัญหาน้ำท่วม เพื่อเร่งระบายน้ำจากพื้นที่น้ำท่วมขังให้ระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาโดยตรงไม่ต้องผ่านระบบคลองตามปกติ และยังช่วยลดระดับน้ำในคลองระบายน้ำสายสำคัญให้มีระดับต่ำได้รวดเร็วเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในคลอง ปัจจุบันกรุงเทพมหานครอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ยักษ์ 1 แห่ง และอยู่ระหว่างดำเนินการอีก 4 แห่งในพื้นที่ฝั่งพระนครและธนบุรี โดยอุโมงค์พื้นที่พระนครจะมีความคืบหน้ามากกว่าอุโมงค์พื้นที่ฝั่งธนบุรี อุโมงค์ทั้งหมดมีความยาวรวม 40.25 กม. มีประสิทธิภาพการระบายน้ำรวม 260 ลบ.ม./วินาที มีรายละเอียดของแต่ละโครงการดังนี้ 

โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อ จากคลองลาดพร้าวถึงแม่น้ำเจ้าพระยา

  พื้นที่โครงการ : เริ่มจากบริเวณถนนรัชดาภิเษกลอดใต้คลองบางซื่อไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเกียกกาย รายละเอียดอุโมงค์ : อุโมงค์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.0 เมตร ยาวประมาณ 6.40 กม. สถานีสูบน้ำตอนปลายอุโมงค์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณเกียกกายกำลังสูบ 60 ลบ.ม./วินาที พร้อมระบบเครื่องกลและไฟฟ้า 1 แห่ง อาคารรับน้ำ 3 แห่ง คือ อาคารรับน้ำถ.รัชดาภิเษก, อาคารรับน้ำถ.วิภาวดีรังสิต และอาคารรับน้ำถ.กำแพงเพชร อาคารสำนักงาน 1 แห่ง พื้นที่ที่ได้รับประโยชน์ : ครอบคลุมพื้นที่ 6 เขต ประมาณ 56 ตร.กม. ได้แก่ ดุสิต บางซื่อ พญาไท จตุจักร ดินแดง และห้วยขวาง ระยะเวลาดำเนินการ : กำลังก่อสร้าง (ระยะเวลา 1,080 วัน) กำหนดแล้วเสร็จเดือน ก.ย. 2559 งบประมาณ : ใช้งบประมานในการก่อสร้าง 2,442 ล้านบาท และค่าว่าจ้างที่ปรึกษาจำนวน 41 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งโครงการ 2,483 ล้านบาท

โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองเปรมประชากร จากคลองบางบัวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

  พื้นที่โครงการ : เริ่มจากคลองบางบัวลอดใต้คลองวัดหลักสี่ คลองเปรมประชากร ถนนรัชดาภิเษก ถนนวงศ์สว่าง ไปออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณใต้สะพานพระราม 7 รายละเอียดอุโมงค์ : อุโมงค์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.70 เมตร ยาวประมาณ 13.50 กม. ก่อสร้างสถานีสูบน้ำ ตอนปลายอุโมงค์กำลังสูบ 60 ลบ.ม./วินาที พื้นที่ที่ได้รับประโยชน์ : ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 109 ตร.กม. ได้แก่ ดอนเมือง สายไหม บางเขน หลักสี่ และจตุจักร ระยะเวลาดำเนินการ : อยู่ระหว่างสำรวจออกแบบ รายละเอียด ระยะเวลาการก่อสร้าง 4 ปี งบประมาณ : ประมาณการค่าก่อสร้างเบื้องต้น 6,000 ล้านบาท 

โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำจากบึงหนองบอนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

  พื้นที่โครงการ : เริ่มจากบริเวณบึงรับน้ำหนองบอนลอดใต้คลองหนองบอน คลองตาช้าง ถนนอุดมสุขสุขุมวิท 101/1 คลองบางอ้อ ออกแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณพื้นที่บริษัทไม้อัดไทย รายละเอียดอุโมงค์ : อุโมงค์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.00 เมตร ยาวประมาณ 9.40 กม. สถานีสูบน้ำตอนปลายอุโมงค์กำลังสูบ 60 ลบ.ม./วินาที อาคารรับน้ำ 7 แห่ง คือ อาคารรับน้ำบึงหนองบอน, อาคารรับน้ำคลองหนองบอน, อาคารรับน้ำคลองเคล็ด, อาคารรับน้ำคลองหลอด กม.3, อาคารรับน้ำคลองหลอด กม.2, อาคารรับน้ำถนนสุขุมวิท 101/1 และอาคารรับน้ำ ซอยสุขุมวิท66/1 อาคารทิ้งน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองบางอ้อ 1 แห่ง พื้นที่ที่ได้รับประโยชน์ : ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 85 ตร.กม. ได้แก่ พื้นที่เขตประเวศ บางนา พระโขนง และสวนหลวง ระยะเวลาดำเนินการ : ลงนามก่อสร้างแล้ว เมื่อ 30 ก.ย. 2558 ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ใน ปี พ.ศ. 2558 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2562 งบประมาณ : ประมาณการค่าก่อสร้างเบื้องต้น  งบประมาณ 5,900 ล้านบาท

โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองทวีวัฒนาบริเวณคอขวด

  รายละเอียดอุโมงค์ :  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร ความยาวประมาณ 2.00 กม. โดยจะต้องระบายน้ำผ่านคลองทวีวัฒนาประมาณ 32 ลบ.ม./วินาที พื้นที่ที่ได้รับประโยชน์ : กรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรี วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในคลองทวีวัฒนาให้สามารถระบายน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนผ่านพื้นที่กรุงเทพมหานคร ฝั่งธนบุรี เพื่อระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โครงการแก้มลิง คลองมหาชัย – คลองสนามชัย แม่น้ำท่าจีนและลงสู่อ่าวไทย ระยะเวลาดำเนินการ : ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐศาสตร์การเงินและผลกระทบโครงการ เพื่อดำเนินการออกแบบรายละเอียดต่อไป งบประมาณ : ประมาณการค่าก่อสร้างเบื้องต้น  งบประมาณ 1,912.9 ล้านบาท

โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองพระยาราชมนตรี จากคลองภาษีเจริญถึงคลองสนามชัย

  รายละเอียดอุโมงค์ :  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 5.00 เมตร ความยาวประมาณ 8.95 กม.  กำลังสูบ 48 ลบ.ม./วินาที พื้นที่ที่ได้รับประโยชน์ : กรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรี รับน้ำจากโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองทวีวัฒนาผ่านคลองภาษีเจริญ และระบายน้ำลงสู่โครงการแก้มลิงคลองมหาชัย – คลองสนามชัย ระยะเวลาดำเนินการ : ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐศาสตร์การเงินและผลกระทบโครงการ เพื่อดำเนินการออกแบบรายละเอียดต่อไป งบประมาณ : ประมาณการค่าก่อสร้างเบื้องต้น  งบประมาณ 4,500 ล้านบาท
 

โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อ

จากคลองลาดพร้าวถึงแม่น้ำเจ้าพระยา

สำหรับอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อนั้น มีความคืบหน้าในการก่อสร้างมากที่สุด เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมถนนสายสำคัญทางเศรษฐกิจและบริเวณจุดอ่อนน้ำท่วม 6 จุด ประกอบด้วย 1. ถนนพหลโยธิน จากสี่แยกสะพานควายถึงห้าแยกลาดพร้าว 2. ถนนวิภาวดีรังสิต จากสี่แยกสุทธิสารถึงห้าแยกลาดพร้าว 3. ถนนรัชดาภิเษก จากสี่แยกรัชโยธินถึงคลองบางซื่อ 4. ถนนลาดพร้าว จากสี่แยกรัชดาลาดพร้าวถึงคลองบางซื่อ
5. ถนนกำแพงเพชร จากใต้ทางด่วนศรีรัชถึงตลาดนัดสวนจตุจักร 6. ถนนสามเสน จากคลองบางกระบือถึงสี่แยกเกียกกาย อีกทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในคลองบางซื่อบริเวณคอขวดช่วงถนนพหลโยธินถึงถนนวิภาวดีรังสิตด้วย    

PRESENTATION

  ที่มาข้อมูล : www.bangkok.go.th                     www.bangkokgis.com  
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon