realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

เขตเศรษฐกิจพิเศษ

14 Nov 2016 79.4K

เขตเศรษฐกิจพิเศษ

14 Nov 2016 79.4K
 

เปิดพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ

ภายหลังการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มีกำหนดเสร็จสมบูรณ์ ทุกภาคส่วนย่อมได้รับผลกระทบ เนื่องจากการขยายตัวและการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาค อีกทั้งผลกระทบของความร่วมมืออื่น ๆ เช่น กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง (GMS) ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการพัฒนาพื้นที่เขตการค้าและการลงทุนเพื่อเป็นประตูรองรับการเชื่อมโยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น เขตเศรษฐกิจพิเศษมีการกำหนดพื้นที่จำเป็นต้องเร่งพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ คือระยะแรก ประกอบด้วย ตาก สระแก้ว สงขลา ตราด และมุกดาหาร และระยะที่ 2 ประกอบด้วย กาญจนบุรี เชียงราย นครพนม หนองคายและนราธิวาส โดยรัฐบาลเร่งพัฒนาระยะที่ 1 ก่อนเนื่องจากเป็นกลุ่มจังหวัดที่มีความได้เปรียบทางด้านกิจการการค้าชายแดน ซึ่งมีมูลค่าสูงอยู่แล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ 
เขตเศรษฐกิจพิเศษ คือเขตพื้นที่ที่จัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะตามกฎหมายเพื่อประโยชน์ต่อการส่งเสริม สนับสนุน และอำนวยความสะดวก รวมทั้งให้สิทธิพิเศษบางประการในการดำเนินกิจการต่าง ๆ เช่น การอุตสาหกรรม การพาณิชยกรรม การบริการ หรือกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ รูปแบบของเขตเศรษฐกิจพิเศษมีหลายประเภท เช่น เขตการค้าเสรี เขตอุตสาหกรรมเสรี เขตปลอดภาษี เขตการค้าชายแดนเสรี และเขตพัฒนาการส่งออก
Credit : http://www.taksez.com/
ซึ่งในปี 2558 คณะกรรมการนโยบายพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพน.) กำหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็น 2 ระยะ เพื่อเป็นการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เพิ่มขีดความสามารถของประเทศ กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และแก้ปัญหาความมั่นคง โดยใช้กลยุทธ์สำคัญ 4 ประการ 1. สนับสนุนพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ 2. สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน 3. สนับสนุน SMEs และการลงทุนต่อเนื่อง 4. จัดระเบียบพื้นที่เศรษฐกิจชายแดน
เขตเศรษฐกิจพิเศษมีการกำหนดพื้นที่ที่จำเป็นต้องเร่งพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ประกอบด้วย ตาก สระแก้ว สงขลา ตราด และมุกดาหาร และระยะที่ 2 ประกอบด้วย กาญจนบุรี เชียงราย นครพนม หนองคายและนราธิวาส โดยในระยะที่ 1 ก่อนเนื่องจากเป็นกลุ่มจังหวัดที่มีความได้เปรียบทางด้านกิจการการค้าชายแดน ซึ่งมีมูลค่าสูงอยู่แล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน   
คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตาม คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนของประเทศ ตามนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยใช้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงด้านคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียนและข้อตกลงการค้าเสรี ปัจจุบันคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษได้กำหนดกิจการเป้าหมายในเขตพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 5 พื้นที่แรกแล้ว โดยในแต่ละพื้นที่จะมีกิจการเป้าหมายแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับศักยภาพ ข้อจำกัด และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยจัดกลุ่มได้เป็น 12 กลุ่มอุตสาหกรรม 62 ประเภทกิจการ  สำหรับการที่กลุ่มผู้ประกอบการจะตัดสินใจเลือกลงทุนในกลุ่มกิจการที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ นอกจากผู้ประกอบการจะพิจารณาศักยภาพและความสามารถของตนและความชำนาญแล้ว ด้านล่างเป็นกราฟอัตตราการขยายตัวมูลค่าการส่งออกชายแดนในแต่ละเขต เพื่อพิจรณาในการตัดสินใจประกอบการจัดตั้งกิจการในแต่ละเขต Info : Kasikorn Bank (2559)
แต่ละจังหวัดล้วนมีศักยภาพที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับพื้นที่ ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เราได้แบ่งออกมาให้ดูทั้งหมดใน 5 เขตได้ ตามด้านล่างนี้ครับ

เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด

" ศูนย์กลางการค้าส่ง ขนส่งต่อเนื่องระหว่างประเทศ และศูนย์กลางการให้บริการการท่องเที่ยวระดับภูมิภาค "
เขตเศรษฐกิจพิเศษตราด ครอบคลุมพื้นที่อำเภอคลองใหญ่ มีด่านบ้านหาดเล็กเป็นจุดผ่านแดนเชื่อมจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา ซึ่งมีการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเกาะกง ตัวอย่างธุรกิจเป้าหมาย ได้แก่ กิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บริการพื้นฟูสุขภาพ การเดินเรือท่องเที่ยว การค้าชายแดนปลอดภาษี คลังสินค้า การขนส่งทางบก ทางทะเล ทางอากาศ ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและยานพาหนะ คลังสินค้า ห้องเย็น และแปรรูปสินค้าเกษตร อาหาร ประมง  

เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก

" ศูนย์กลางการค้าส่ง ขนส่งต่อเนื่องระหว่างประเทศ และศูนย์กลางการให้บริการการท่องเที่ยวระดับภูมิภาค "
เขตเศรษฐกิจพิเศษตาก ครอบคลุมพื้นที่อำเภอแม่สอด พบพระ และแม่ระมาด มีด่านแม่สอดเป็นจุดผ่านแดนเชื่อมต่อเมืองเมียวดี ประเทศเมียนมา ซึ่งมีการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเมียวดี สามารถเชื่อมโยงไปยังเมืองย่างกุ้ง อินเดีย และจีนตอนใต้ได้ ตัวอย่างธุรกิจเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ เครื่องหนัง อัญมณีและเครื่องประดับ ชิ้นส่วนประกอบยานยนตร์ และกิจการด้านโลจิสติกส์

เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร

" ศูนย์ค้าส่งและขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ "
เขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองมุกดาหาร หว้านใหญ่ และดอนตาล มีด่านมุกดาหารเป็นจุดผ่านแดนเชื่อมต่อแขวงสะหวันเขต ประเทศลาว ซึ่งมีการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน ตัวอย่างธุรกิจเป้าหมาย ได้แก่ แปรรูปอาหารและเครื่องดื่ม ยางพาราและผลิตภัณฑ์ บริการฟื้นฟูสุขภาพ เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน ศูนย์การเปลี่ยนถ่ายสินค้าและยานพาหนะ คลังสินค้า และศูนย์กลางสินค้าเกษตร

เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว

" ศูนย์อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ "
เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว ครอบคลุมพื้นที่อำเภออรัญประเทศ และวัฒนานคร มีด่านอรัญประเทศเป็นจุดผ่านแดนเชื่อมต่อจังหวัดบันเตียเมียนเจย ประเทศกัมพูชา ซึ่งมีการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ 3 แห่ง คือ ปอยเปต-โอเนียง ซันโค-ปอยเปต และบริเวณเมืองศรีโสภณ ตัวอย่างธุรกิจเป้าหมาย ได้แก่ แปรรูปสินค้าเกษตรและอาหาร พลังงานทดแทน สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ศูนย์กระจายสินค้า และกิจการสนับสนุนการท่องเที่ยว  

เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา

" ศูนย์อุตสาหกรรมแปรรูปและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ "
เขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา ครอบคลุมพื้นที่อำเภอสะเดา มีด่านสะเดาและด่านปาดังเบซาร์เป็นจุดผ่านแดน เชื่อมต่อรัฐเคดาห์และรัฐเปอร์ริส ประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีการพัฒนาเขตอุตสาหกรรม และระบบถนน-ระบบรางเชื่อมโยงชานแดนไทย ตัวอย่างธุรกิจเป้าหมาย ได้แก่ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ เครื่องเรือน ชิ้นส่วนยานยนต์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม แปรรูปอาหารทะเล และอาหารฮาลาล
กิจการที่เข้าไปลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น มาตรการสนับสนุนด้านภาษี การอำนวยความสะดวกของหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น โดยหากอยู่ในประเภทกิจการที่กำหนด ก็จะได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากร ได้แก่ มาตรการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ มาตรการของกระทรวงการคลังมาตรการส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (1) สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรณีเป็นกิจการเป้าหมายและตั้งในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ได้แก่ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี โดยไม่เกินร้อยละ 100 ของเงินลงทุน ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน ลดหย่อนกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 เป็นเวลา 5 ปี นับจากวันสิ้นสุดการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า ค่าประปา 2 เท่าของค่าใช้จ่ายดังกล่าว เป็นเวลา 30 ปี หักเงินลงทุนในการติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกร้อยละ 25 ของเงินลงทุนนอกเหนือจากค่าเสื่อมราคา ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรและวัตถุดิบ/วัสดุจำเป็นสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก 5 ปี รวมถึงอนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมตามแนวทางที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด (2) สิทธิประโยชน์กรณีกิจการไม่ได้รับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้แก่ การลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 20 เหลือร้อยละ 10 เป็นเวลา 10 รอบระยะเวลาบัญชี และการผ่อนปรนดอกเบี้ยเงินกู้ รายละ 1-20 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากกรมศุลกากรกรณีตั้งเขตปลอดอากรและคลังสินค้าทัณฑ์บนอีกด้วย  
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon