realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

เซ็นทรัล โรบินสัน ยกทัพลุยอาเซียน !

25 Feb 2014 2.3K

เซ็นทรัล โรบินสัน ยกทัพลุยอาเซียน !

25 Feb 2014 2.3K
 

เซ็นทรัล โรบินสัน ยกทัพลุยอาเซียน !

 

เซ็นทรัลพลาซ่า ไอ-ซิตี้ มาเลเซีย

Image : Central I-City Malaysia Image : City Mall ที่ตั้ง Central Malaysia - มูลค่าโครงการ : 5,800 ลบ. (CPN ถือหุ้น 60% *ICP ถือหุ้น 40%) *ICP เป็นบริษัทในเครือของ I-Berhad ยักษ์ใหญ่ด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในมาเลเซีย - ขนาดที่ดิน : 27.5 ไร่ (Freehold) - GFA : 278,000 ตร.ม. - NLA : 89,700 ตร.ม. - เริ่มก่อสร้าง 2014 เปิดบริการ 2016Image : CPN Info : Than Online (5-7 Sep 2013), Prachachat Online (10-12 Feb 2014)   เซ็นทรัล ทุ่ม 5.8 พันล้านปักธง “เซ็นทรัลพลาซา ไอ-ซิตี้” รีจินอล มอลล์แห่งแรกในมาเลเซีย เล็งปูทางขนทัพสินค้าไทยรุกอาเซียน มั่นใจพร้อมเปิด 2559 ก่อนเดินหน้ารุกอินโดฯ เวียดนามต่อทันที ชี้ศักยภาพสูง ประชากรเยอะนางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานพัฒนาธุรกิจและบริหารโครงการก่อสร้าง บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า บริษัทมีแผนขยายธุรกิจด้วยการเข้าไปลงทุนในประเทศที่มีการเติบโตของเมือง มีจำนวนประชากรสูง รวมไปถึงมีการเติบโตของกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้ในระดับกลาง-สูง ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีอำนาจต่อรอง ซึ่งประเทศที่อยู่ในกลุ่มดังกล่าว ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม โดยบริษัทมุ่งเน้นการทำตลาดเชิงรุก พร้อมวางแผนที่จะเปิดศูนย์การค้าในตลาดอาเซียนให้ได้ 2-3 แห่ง ภายในระยะเวลา 5 ปีนับจากนี้ โดยจะใช้เงินลงทุน 4-5 พันล้านบาทต่อแห่ง ล่าสุดบริษัทยังยืนยันว่า แผนการลงทุนในมาเลเซีย ยังเป็นไปตามแผนเดิมที่วางไว้ คือบริษัทจะร่วมมือกับ ICP ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ I-Berhad ยักษ์ใหญ่ด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในมาเลเซีย พัฒนาศูนย์การค้าภายใต้ชื่อ “เซ็นทรัลพลาซา ไอ-ซิตี้” ศูนย์การค้าในรูปแบบรีจินัล มอลล์ แห่งแรกของมาเลเซีย มูลค่าโครงการราว 5.8 พันล้านบาท หรือ 580 ล้านริงกิต โดยเป็นการจัดตั้งบริษัทย่อยขึ้นในมาเลเซีย โดย ICP ถือหุ้นในสัดส่วน 40% และ CPN 60% “มาเลเซีย เป็นประเทศที่มีศักยภาพ มีเศรษฐกิจที่เติบโต แข็งแกร่ง มีการลงทุนอย่างคึกคักโดยเฉพาะในภาคค้าปลีก ประชากรมีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีอำนาจการซื้อสูงกว่าประเทศไทยและมีรายได้ของประชากรเฉลี่ยสูงกว่าประเทศไทยถึง 2 เท่า และมีผู้บริโภคกลุ่ม (Middle to High Income) เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนธุรกิจค้าปลีกที่สำคัญ” นางสาววัลยา กล่าวและว่าซีพีเอ็น ได้พันธมิตรที่ดี เป็นยักษ์ใหญ่ที่มีความพร้อมรอบด้าน เข้าใจตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค กฎหมายท้องถิ่น และส่งเสริมให้เรานำความเชี่ยวชาญของซีพีเอ็นมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดและผู้บริโภคมาเลเซียได้อย่างลงตัว สำหรับเซ็นทรัลพลาซา ไอ-ซิตี้ ตั้งอยู่ในโครงการ i-City ซึ่งเป็นไซเบอร์ เซ็นเตอร์ หรือเมืองเทคโนโลยีแห่งใหม่ของมาเลเซีย โดยเซ็นทรัลพลาซา ไอ-ซิตี้ จะเป็นศูนย์กลางของไลฟ์สไตล์ทันสมัยทั้งการช็อปปิ้ง บันเทิง และเป็นศูนย์กลางการพบปะของชุมชนในเขตตะวันตกของรัฐสลังงอร์ ตั้งอยู่บนที่ดินฟรีโฮลด์ขนาดกว่า 28 ไร่ มีพื้นที่โครงการทั้งหมด (GFA) ประมาณ 2.78 แสนตารางเมตร และมีพื้นที่ขาย (NLA) ประมาณ 8.97 หมื่นตารางเมตรโดยจะเริ่มก่อสร้างในปี 2557 และจะเปิดให้บริการในปี 2559 นางสาววัลยา กล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการไทยจำนวนมากเข้าไปขยายการลงทุนในมาเลเซีย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มจัสปาล, เอ็มเค เรสโตรองต์, บาร์บีคิว พลาซา ฯลฯ การเข้าไปลงทุนศูนย์การค้าในมาเลเซียครั้งนี้ จึงถือเป็นอีกช่องทางในการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการที่สนใจขยายการลงทุนในต่างประเทศ เพราะจะมีความได้เปรียบในด้านโลจิสติกส์ และการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) อย่างไรก็ดี ปัจจุบันในเมืองสลังงอร์ ถือเป็นเขตเศรษฐกิจแห่งใหม่ที่กำลังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีนักธุรกิจสนใจเข้าไปลงทุนจำนวนมาก ขณะที่ในภาคธุรกิจค้าปลีก ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใหญ่เข้าไปลงทุนมากนัก โดยกลุ่มเซ็นทรัลถือเป็นผู้ประกอบการต่างชาติรายแรกๆ ที่ชิงเข้าไปลงทุน  

โรบินส์ เวียดนาม

Image : Royal City Mega Mall ที่ตั้ง Robins Vietnam Image : Robins Vietnam Image : Robins Vietnam   - ทุนจดทะเบียน 163 ลบ. - มูลค่าโครงการโรบินส์และอีกสาขาที่จะเปิดที่ โฮจิมินห์ ปลายปีนี้ : 200 ลบ. - GFA : 10,000 ตร.ม. บริเวณชั้น B1 ของโรยัลซิตี้ (เมกะมอลล์ขนาดใหญ่ 200,000 ตร.ม) - เปิดบริการ : มีนาคม 2014Image : Robinson Info : Than Online (5-7 Sep 2013), Prachachat Online (10-12 Feb 2014)
บิ๊กมูฟ โรบินสัน แนวรบใหม่ยึด “อาเซียน”นับตั้งแต่ “โรบินสัน” ได้เปิดดำเนินกิจการห้างสรรพสินค้าแห่งแรกเมื่อปี 2522 ต่อมาเซ็นทรัลได้ก้าวเข้ามาร่วมทุน กระทั่งภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 เกิดการเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นครั้งใหญ่ในห้างสรรพสินค้าแห่งนี้ ทำให้โรบินสันเข้าไปอยู่ภายใต้ร่มชายคากลุ่มเซ็นทรัลอย่างเต็มตัว จากสาขาแรกเริ่มอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โรบินสัน สยายปีกสร้างอาณาจักรปูพรมทุกทิศทางทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ด้วยจำนวนสาขาในปัจจุบัน 34 สาขา เป็นสาขาในกรุงเทพฯและปริมณฑล 10 สาขา และต่างจังหวัดอีก 24 สาขา ปูพรมใน 26 จังหวัด ด้วยแผนการขยายต่อเนื่องปีละ 5 สาขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2557-2558 โรบินสันจะมีสาขาใหม่ ๆ อีก 5 สาขา คือ ปราจีนบุรี, ฉะเชิงเทรา, ร้อยเอ็ด, ระยอง และบางพลี กลายเป็นยุทธศาสตร์หลักสำหรับการเติบโตแบบก้าวกระโดด ด้วยเป้าหมายการขยายครอบคลุม 60 สาขา ครอบคลุม 40 จังหวัด ใน 4 ปีข้างหน้า หรือปี 2561 เน้นตลาดต่างจังหวัด ในจังหวัดขนาดกลางและเล็กที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและกำลังซื้อใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะจังหวัดที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ล่าสุด “โรบินสัน” กำลังขยับตัวครั้งสำคัญอีกครั้ง เป็นการเคลื่อนทัพเปิดสาขาแรกของห้างสรรพสินค้าภายใต้แบรนด์ ROBINS ปักธงครั้งแรกในประเทศเวียดนาม โดยบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา จัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ในประเทศเวียดนาม ภายใต้ชื่อ ROBINSON DEPARTMENT STORE (VIETNAM) JOINT STOCK COMPANY สำหรับประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้า ภายใต้ชื่อ ROBINS ในเวียดนาม ด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 163 ล้านบาท โดยมีบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 99.99% ประเดิมการรุกคืบลงทุนภายใต้การนำทัพของหัวเรือคนใหม่ “อลัน ทอมสัน” ที่เข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ แทน “ปรีชา เอกคุณากูล” ที่โยกไปเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เซ็นทรัลพัฒนา ตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา สอดคล้องกับนโยบายของกลุ่มเซ็นทรัลที่ต้องการเคลื่อนทัพบุกตลาดอาเซียนเต็มรูปแบบ และชะลอแผนการบุกตลาดเมืองจีนที่มีความผันผวนและการแข่งขันรุนแรงเอาไว้ก่อน
การเปิดตัวห้างสรรพสินค้าภายใต้แบรนด์ “โรบินส์” ในเวียดนามของกลุ่มเซ็นทรัลสาขาแรกนำร่องที่เมืองฮานอย ในเดือนมีนาคม 2514 นี้และอีก 1 สาขาพร้อมเปิดในปลายปีที่เมืองโฮจิมินห์ ด้วยงบฯลงทุน 200 ล้านบาท “ทศ จิราธิวัฒน์” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ฉายภาพว่า ประชากรเวียดนามมีกว่า 90 ล้านคน และกว่า 60% เป็นกลุ่มวัยทำงานซึ่งมีกำลังซื้อสูง ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดที่มีศักยภาพ เหมาะแก่การเข้าไปลงทุนด้านธุรกิจค้าปลีกเป็นอย่างมาก ประกอบกับการขยายตัวของเมืองหลวงและชานเมืองที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญรายได้ประชากรมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน “เราเห็นสัญญาณที่เกิดความมั่นใจ คือภาพการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติเข้ามาในเวียดนามอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เศรษฐกิจเวียดนามมีการเติบโตที่แข็งแกร่ง และการใช้จ่ายของกลุ่มเป้าหมายสูงต่อเนื่องตลอด 1-2 ปีที่ผ่านมา” เช่นเดียวกับ “อลัน ทอมสัน หัวเรือใหญ่โรบินสันระบุว่า โรบินส์ สาขาแรกมีพื้นที่ 10,000 ตร.ม. ตั้งอยู่ในรอยัลซิตี้ ซึ่งเป็นเมกะมอลล์ขนาดใหญ่กว่า 200,000 ตร.ม. และทันสมัยที่สุดในฮานอย โดยจะมีแบรนด์สินค้ากว่า 100 แบรนด์ ทั้งแบรนด์ไทยและแบรนด์ต่างประเทศเข้าไปเปิดตลาดร่วมกัน ส่วนสาเหตุที่ไม่ใช้ชื่อว่า “โรบินสัน” เหมือนเมืองไทย น่าจะเป็นเพราะในภูมิภาคนี้มีกิจการค้าปลีกที่ใช้ชื่อว่า “โรบินสัน” ซ้ำกัน การใช้ชื่อว่า ROBINS จะช่วยให้ไม่สับสน ก่อนหน้านี้ “ทศ จิราธิวัฒน์” ได้ฉายมุมมองถึงทิศทางการยกทัพลุยอาเซียนว่า กลุ่มเซ็นทรัลเติบโตเกินกว่าขีดความสามารถของประเทศจะรับได้ ช่วง 5 ปีข้างหน้าจากนี้จึงเป็นการหาความตื่นเต้นในตลาดอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ประชากรกว่า 500 ล้านคน ในบทบาทแม่ทัพใหญ่ เจ้าตัวย้ำว่า การออกไปโตนอกบ้าน ไม่เพียงทำให้การเติบโตของกลุ่มเซ็นทรัลขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องแล้วนั้น แต่ยังมีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือซัพพลายเออร์ในประเทศ กว่า 90% ที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับเซ็นทรัลให้ออกไปเติบโตในระดับนานาชาติ ที่ผ่านมา กลุ่มเซ็นทรัลได้ศึกษาตลาดและซุ่มทดลองโมเดลต่างๆ ไปนำร่องเปิดตลาดในเวียดนามบ้างแล้ว รวมถึงการได้เข้าไปตั้งสำนักงานในเวียดนาม เพื่อเปิดสาขาในรูปแบบของร้านสเปเชียลิตี้สโตร์ เบื้องต้น 15 แห่ง 
Image : Robins Vietnam Image : Robins Vietnam Image : Robins Vietnam
โดยเริ่มจากสินค้าในกลุ่มเสื้อผ้าแฟชั่นของกลุ่มเซ็นทรัล มาร์เก็ตติ้ง เป็นการนำร่องทดลองตลาดในรูปแบบร้านขนาดย่อมในเวียดนาม เพื่อศึกษาและทดลองตลาด ก่อนที่จะเปิดเป็นรูปแบบห้างสรรพสินค้า หลังจากนั้นได้เปิดร้านซูเปอร์สปอร์ตในกลุ่มธุรกิจเซ็นทรัลรีเทลเข้าไปเสริม ด้วยงบฯลงทุน 100 ล้านบาท นำร่องเปิดซูเปอร์สปอร์ตสาขา 4 แห่ง และตั้งเป้าขยายร้านซูเปอร์สปอร์ตเพิ่มอย่างน้อยปีละ 8 แห่งในรูปแบบเดียวกับเมืองไทย เน้นเข้าไปเปิดในศูนย์การค้าขนาดใหญ่ สร้างการรับรู้ต่อแบรนด์ โดยจะเปิดตลาดทั้งโฮจิมินห์และฮานอย ที่เป็นเมืองขนาดใหญ่ของเวียดนาม มีกำลังซื้อสูงเหมือนไทย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการลงทุนธุรกิจในเวียดนามยังมีความซับซ้อนและมีปัญหาด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ราคาแพง แต่ก็เป็นตลาดที่มีศักยภาพและโอกาสในการขายสูง จากจำนวนประชากร การเติบโตของเศรษฐกิจ กำลังซื้อ และพฤติกรรมการบริโภคไม่แตกต่างจากเมืองไทย เฉกเช่นเดียวกับตลาดในอินโดนีเซียและมาเลเซีย ที่กลุ่มเซ็นทรัลได้ประกาศแผนการลงทุนและจับจองพื้นที่ไปแล้วก่อนหน้านี้ ด้วยการส่งห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเข้าไปเปิดในศูนย์การค้าแกรนด์ อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นแหล่งช็อปปิ้งคอมเพล็กซ์ระดับไฮเอนด์ บนพื้นที่ประมาณ 21,000 ตร.ม. และจะเป็นสาขาแรกของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ในการเปิดตลาดอาเซียน ขณะที่กลุ่มเซ็นทรัลพัฒนาจะเข้าไปลงทุนพัฒนาศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซาครั้งแรกในอาเซียนที่ประเทศมาเลเซียภายใต้ชื่อ “เซ็นทรัลพลาซา ไอ-ซิตี้” ซึ่งจะเป็นศูนย์การค้ารูปแบบรีจินัลมอลล์ 2.78 แสน ตร.ม. ที่พัฒนาร่วมกับกลุ่ม I-Berhad ยักษ์ใหญ่ด้านอสังหาริมทรัพย์ของมาเลเซียที่ถือหุ้น 60% และเซ็นทรัลพัฒนา 40% เริ่มก่อสร้างปี 2557 และเปิดให้บริการได้ในปี 2559 การสยายปีกโกอินเตอร์ของกลุ่มเซ็นทรัล จึงไม่เพียงออกไปสร้างชื่อด้วยการซื้อกิจการในต่างประเทศ อย่างห้างหรู ลา รีนาเซนเต้ อิตาลี หรืออิลลุม เดนมาร์ก แต่หลังจากนี้จะเป็นการผลักดันและปั้นแบรนด์ที่มีอยู่ในมือให้ออกไปเติบโตในตลาดอาเซียน กลายเป็น “บิ๊กมูฟ” ที่จะเห็นการเคลื่อนทัพครั้งสำคัญนับจากนี้ไป  

เซ็นทรัลดีพาร์ตเม้นท์สโตร์ อินโดนีเซีย

(สาขาแรกที่ไปเปิดในอาเซียน)

Image : Grand Indonesia Shopping Town ที่ตั้ง Central Image : Grand Indonesia Shopping Town ที่ตั้ง Central
Image : Central department store Indonesia Image : Central department store Indonesia
Image : Central department store Indonesia Image : Central department store Indonesia
- มูลค่าโครงการ : 600 ลบ. - พื้นที่ฝั่งตะวันออกของศูนย์การค้า "แกรนด์ อินโดนีเซีย" ซึ่งเป็นช๊อปปิ้งคอมเพล็กซ์ระดับไฮเอนด์ พื้นที่ 4 ชั้น ประมาณ 21,000 ตร.ม. - เปิดบริการ : 2014 Info : Than Online (5-7 Sep 2013), Prachachat Online (10-12 Feb 2014)
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (219)
 (317)
 (381)
 (28)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (8)
 (181)
 (85)
 (109)
 (106)
 (41)
 (17)
 (44)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon